สุรเกียรติ์ เสถียรไทย กับแผนแปรรูปปตท. ภารกิจในวงการพลังงาน"ผมทำเสร็จแล้ว"
3 มีนาคม 2543 คณะกรรมการบริหาร การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย (ปตท.) ชุด ที่มีสุรเกียรติ์
เสถียรไทย เป็นประธาน ได้รับรายงานผลการศึกษารูปแบบการแปรรูปปตท. จากทีม ที่ปรึกษา
ซึ่งประกอบด้วยบริษัทบอสตัน คอนซัลติ้ง บริษัทบีซีจี บริษัทเลห์แมน บราเธอร์
และบริษัทหลักทรัพย์เมอริลลินช์ ภัทร
ถือเป็นการสิ้นสุดภารกิจสำคัญของสุรเกียรติ์ หลังจากเข้ามารับตำแหน่ง ดังกล่าวได้เพียง
3 เดือน
"ภารกิจข องผมในปตท.มี 2 อย่าง คือ การเจรจาปรับโครงสร้างหนี้ของบริษัทลูก ที่ปตท.ถือหุ้นอยู่
และ การดำเนินการเรื่องการแปรรูปปตท." สุรเกียรติ์ กล่าวกับ "ผู้จัดการ"
สุรเกียรติ์ ไม่ใช่บุคคล ที่คลุกคล ีอยู่กับวงการพลังงานมาอย่างต่อเนื่อง
พื้นเพในอดีตของเขาเป็นนักกฎหมายเศรษฐกิจ อาจารย์มหาวิทยาลัย เคยเข้าสู่วงการเมือง
เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังในยุครัฐบาลบรรหาร ศิลปอาชา
แต่กลับมีบทบาทในอุตสาหกรรมนี้ค่อนข้างมาก ในช่วงเวลา 2 ปีที่ ผ่านมา ซึ่งเป็นช่วง ที่องค์กรธุรกิจหลายแห่งประสบปัญหาทางการเงิน
เดือนมีนาคม 2541 รัฐบาล มีแผนจะแปรรูปบริษัทปตท.สำรวจ และผลิตปิโตรเลียม
(ปตท.สผ.) โดยการนำหุ้นจำนวน 36 ล้านหุ้น ออกกระจายขายให้กับนักลงทุนต่างประเทศ
ในจำนวนนี้เป็นหุ้นเดิม ที่ถืออยู่โดยปตท. 20 ล้านหุ้น และหุ้นเพิ่มทุนใหม่
ที่ได้มติจากผู้ถือหุ้นในวันที่ 24 มีนาคมปี เดียวกันอีก 16 ล้านหุ้น
สมศักดิ์ เทพสุทิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมในสมัยนั้น ต้องการบุคคล ที่ได้รับการยอมรับจากนักลงทุนต่างประเทศ
ให้เป็นผู้นำในการออกไปโรดโชว์หุ้นเพิ่มทุนของปตท. สผ.จึงได้ชักชวน สุรเกียรติ์ให้เข้ามารับตำแหน่งประธานกรรมการ
นับเป็นก้าวแรกของสุรเกียรติ์ในวงการอุตสาหกรรมพลังงาน
"คุณสมศักดิ์บอกว่า ผมน่าจะคุยกับพวกนักลงทุนต่างประเทศได้ เพราะ 1. ผมเคยเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังมาก่อน
2. ขณะนั้น ผมมีตำแหน่งเป็นประธานธนาคารแหลมทอง และ 3. ผมเป็นนักกฎหมาย จึงไม่น่าจะเสียเปรียบหากต้องเจรจาต่อรองกับพวกนักลงทุนเหล่านั้น "
สุรเกียรติ์เล่า ถึงเหตุผลที่ถูกชักชวนเข้าไปรับตำแหน่ง
ปรากฏว่าผลของการออกไปโรดโชว์ เพื่อขายหุ้นเพิ่มทุนของปตท.สผ. ครั้งนั้น
ประสบความสำเร็จ มียอดจองซื้อเข้ามามากกว่าจำนวนหุ้น ที่นำออกไปจำหน่าย แม้จะขายในราคาสูงถึงหุ้นละ
300 บาท ส่งผ ลให้ปตท.สผ.ได้ เงินกลับเข้ามาถึง 10,800 ล้านบาท
ซึ่งเป็นเรื่อง ที่ทำได้ค่อนข้างลำบากในภาวะ ที่เศรษฐกิจของประเทศกำลังบอบช้ำอย่างหนัก
ภายหลังประกาศ ลอยตัวค่าเงินบาทมาได้ไม่ถึงปี
และการขายหุ้นครั้งนี้ ได้รับการจัดอันดับให้เป็นดีลยอดเยี่ยมแห่งปี จากนิตยสารฮ่องกงถึง
2 ฉบับ ได้รับรางวัลถึง 5 รางวัลด้วยกัน คือ รางวัล The Best Primary Equity
Issue และ รางวัล International Equity Review Deal of the Quarter จากนิตยสาร
Asia Money และรางวัล Best Over- all Equity Deal รางวัล Best Release Offering
Privatisation และ รางวัล Annual Achievement Award จากนิตยสาร Finance Asia
ต้นเดือนตุลาคม 2541 มีการปรับคณะรัฐมนตรี สุวัจน์ ลิปตพัลลภ ซึ่งมาเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมแทนสมศักดิ์
ได้ให้ความสำคัญ กับการปรับโครงสร้างหนี้ของบริษัทไทยออยล์ ซึ่งมีปตท.เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่
เพราะมีมูลหนี้สูงถึง 9.39 หมื่นล้านบาท และจำนวนเจ้าหนี้สูงถึง 168 ราย
จึงได้ชักชวนให้สุรเกียรติ์เข้ามาเป็น ประธานกรรมการไทยออยล์ เพื่อดูแลเรื่องการปรับโครงสร้างหนี้โดยเฉพาะ
ปรากฏว่าสุรเกียรติ์ สามารถเจรจากับเจ้าหนี้คืบหน้า สุวัจน์จึงชวนให้สุรเกียรติ์เข้ามาดูแลการปรับโครงสร้างหนี้ของบริษัทลูกอื่นๆ
ของปตท. อีก 2 บริษัทประกอบด้วยบริษัทอะโรมาติกส์ (ประเทศไทย) และบริษัทไทย
โอเลฟินส์
พร้อมกันนี้ก็ได้มอบหมายให้เร่งรัดแผนการแปรรูปปตท. ซึ่งล่าช้ามาเป็นเวลาเกือบ
2 ปี
ในการนี้จึงได้มีการตั้งคณะกรรมการบริหาร ปตท.ขึ้นมา โดยให้สุรเกียรติ์เป็นประธาน
เมื่อเดือนธันวาคม 2542
"การท ี่ต้องตั้งเป็นคณะกรรมการชุดเล็กขึ้นมา เพราะถือว่าทั้ง 2 เรื่อง
นี้เป็นเรื่อง ที่ต้องให้เวลากับมันมาก ต้องประชุมกันบ่อยครั้ง ครั้งละ 3-4
ชั่วโมง ซึ่งบอร์ดชุดใหญ่อาจไม่มีเวลาพอ" สุรเกียรติ์กล่าวถึงบทบาทของคณะกรรมการบริหาร
ซึ่งถือเป็นชุดแรก นับแต่ก่อตั้งปตท.มา เมื่อปี 2523
การเจรจาปรับโครงสร้างหนี้บริษัทลูกของปตท.ทั้ง 3 แห่ง มีความคืบหน้าจนใกล้จะเซ็นสัญญากับเจ้าหนี้ได้
โดยเฉพาะ ที่ไทย ออยล์ ซึ่งศาลล้มละลายกลางได้มีคำสั่งฟื้นฟูกิจการออกมาแล้วตั้งแต่เมื่อวันที่
11 มกราคม ที่ผ่าน มา
ภารกิจ ที่เหลือของสุรเกียรติ์ จึงเน้นหนักมา ที่แผนการแปรรูปองค์กร
"เรื่องนี้เริ่มมีการศึกษากันมาตั้งแต่ต้นปี 2541 แต่ล่าช้ามาก เมื่อผมเข้ามา
ก็เรียก ที่กลุ่มบริษัทที่ปรึกษามาคุยกัน และก็กำหนดเวลาไปเลยว่า ต้องการจะให้เสร็จภายในเดือนกุมภาพันธ์
ซึ่งเขาก็ทำได้ตามกำหนด"
ตามรูปแบบ ที่กลุ่มบริษัทที่ปรึกษาได้เสนอเข้ามา จะมีการตั้งบริษัทปตท. แห่งชาติขึ้นมา
โดยให้ปตท.เป็นผู้ถือหุ้น 100% หลังจากนั้น จะแยกธุรกิจ ที่มีกำไรของปตท. คือ
ปตท.น้ำมัน, ปตท.ก๊าซธรรมชาติ และปตท.อิน เตอร์เนชั่นแนล ให้มาขึ้นอยู่กับบริษัทปตท.
แห่งชาติ
ส่วนธุรกิจ ที่ยังไม่มีกำไร คือ ไทยออยล์, โรงกลั่นน้ำมันสตาร์ปิโตรเลียม,
โรงกลั่นน้ำมันระยอง และธุรกิจปิโตรเคมีทั้งหมด ให้ยังคงอยู่ในการดูแล ของปตท.ไปก่อน
ต่อเมื่อบริษัทเหล่านี้เริ่มมีกำไร แล้วค่อยย้ายมารวมไว้ในปตท.แห่งชาติทีหลัง
ส่วนปตท.สผ. ซึ่งเป็นบริษัทในตลาดหลักทรัพย์ฯ ก็จะถ่ายโอนการถือหุ้นใหญ่จากปตท.มาไว้ ที่ปตท.แห่งชาติ
เมื่อจัดโครงสร้างธุรกิจเสร็จแล้ว ก็จะเริ่มนำหุ้นของปตท.แห่งชาติจำนวนหนึ่ง
ซึ่งอาจเป็น 20% ออกมากระจายขายให้กับนักลงทุนทั้งใน และต่างประเทศ ก่อน ที่จะนำเข้าไปจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ
(รายละเอียดรูปแบบการแปรรูปดูจากแผนภูมิประกอบ)
"รูปแบบนี้ ทุกฝ่ายได้ประโยชน์หมด ไม่ว่าจะเป็นรัฐผู้บริหาร หรือ พนักงานของปตท.
เพราะไม่มีส่วนไหน ที่จะไปกระทบกับสถานภาพของเขา" สุรเกียรติ์กล่าวกับ "ผู้จัดการ"
ตามขั้นตอน หลังจากคณะกรรมการบริหาร ได้รับผลการศึกษาดังกล่าวแล้ว ได้ส่งเรื่องต่อไปยังผู้ว่าการปตท.ให้นำไปชี้แจง เพื่อรับฟังความเห็นจากพนักงาน
หลังจากนั้น จะเสนอกลับเข้าสู่ ที่ประชุมคณะกรรมการชุดใหญ่เป็นผู้ตัดสินใจก่อน ที่จะเสนอเข้าสู่ ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี
ซึ่งหากไม่มีขั้นตอนใด ที่เป็นปัญหา ก็คาดว่าจะสามารถนำเสนอเข้าสู่ ที่ประชุมคณะกรรมการได้ภายใน
2 เดือน
"ผมถือว่าภารกิจของผมตรงนี้เสร็จแล้ว ในฐานะประธานกรรมการบริหาร ผมมาผลักดันเรื่องนี้ให้เกิดขึ้น
หลังจากนี้ไปก็ขึ้นอยู่กับฝ่ายบริหาร และ พนักงานว่าเขาจะเลือกอย่างไร"