รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 กำหนดให้วุฒิสภามีอำนาจอย่างกว้างขวางมากกว่ารัฐธรรมนูญฉบับใดๆ
ก่อนหน้านี้อำนาจหน้าที่ดังกล่าวนี้กล่าวโดยสรุปแล้วมีอยู่อย่างน้อย 3 ประการ
กล่าวคือ
ประการแรก ได้แก่ อำนาจในการกลั่นกรองกฎหมาย ดุจเดียวกับรัฐธรรมนูญ ฉบับปี
2517 ฉบับปี 2521 และฉบับปี 2534
ประการที่สอง ได้แก่ อำนาจในการแต่งตั้งบุคคลดำรงตำแหน่งในองค์กร ที่ทำหน้าที่ตรวจสอบด้านต่างๆ
ในสังคมการเมืองไทย ดังเช่นคณะกรรมการการเลือกตั้งคณะกรรมการป้องกัน และปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ
ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ตุลาการศาลปกครอง ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน และผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน
และคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
ประการที่สาม ได้แก่อำนาจในการถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งระดับสูง นับตั้งแต่นายกรัฐมนตรี
รัฐมนตรี สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา ประธานศาลฎีกา ประธานศาลรัฐธรรมนูญ
ประธานศาลปกครองสูงสุด อัยการสูงสุด ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา กรรมการตรวจเงินแผ่นดิน
ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ กรรมการการเลือกตั้ง ผู้พิพากษาหรือตุลาการ พนักงานอัยการ
และผู้ดำรงตำแหน่งระดับสูงอื่นๆ
ด้วยเหตุ ที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2540 กำหนดให้วุฒิสภามีอำนาจหน้าที่อย่างกว้างขวางเช่นนี้
รัฐธรรมนูญฉบับนี้จึงออกแบบ การเมือง (political design) โดยหวัง ที่จะได้
"อรหันต์" มาดำรงตำแหน่ง สมาชิกวุฒิสภา นอกจากการกำหนดคุณสมบัติด้านคุณวุฒิ
(อย่างน้อยระดับปริญญาตรี) วัยวุฒิ (อย่างน้อยอายุ 40 ปีบริบูรณ์) และวุฒิภาวะอย่างค่อนข้างเข้มงวดแล้ว
ยังมีข้อห้ามมิให้สังกัดพรรคการเมือง และห้ามหาเสียง ผู้ที่เคยดำรงตำแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจะสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภามิได้
เว้นแต่จะพ้นจากตำแหน่งมาแล้วเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 1 ปี ส่วนสมาชิกวุฒิสภาไม่มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภาสมัย ที่สองติดต่อกัน
การออกแบบทางการเมืองในส่วน ที่เกี่ยวกับวุฒิสภาดัง ที่กล่าวข้างต้นนี้ ขัดต่อธรรมชาติของมนุษย์ ที่มีกิเลสตัณหา และความเห็นแก่ได้
และขัดต่อความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ในสังคม ในประการสำคัญมิได้เกื้อกูลให้ตลาดนักการเมืองมีการแข่งขัน ที่สมบูรณ์
(Perfect Com-petition) และมีความเป็นธรรม ในการแข่งขัน ดังนั้น จึงสมควรพิจารณาแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายรัฐธรรมนูญ
และกฎหมายการเลือกตั้ง เพื่อให้สังคมการเมืองไทยสามารถขับเคลื่อนอย่างมีประสิทธิภาพได้
ข้อเสนอต่อไปนี้มุ่งแก้ไขข้อบกพร่องอันเกิดจากกฎหมายรัฐธรรมนูญ และกฎหมายการเลือกตั้งปัจจุบัน
ข้อเสนอประการแรก การออกแบบการเมืองควรยึดถือข้อสมมติ ที่ว่า มนุษย์มีกิเลส
มีตัณหา และมีความเห็นแก่ได้ โดยต้องการแสวงหาอรรถประโยชน์สูงสุด (Utility
Maximization) ทั้งนี้จะต้องไม่ตั้งความหวังว่าจะได้ "อรหันต์" มาเป็นสมาชิกรัฐสภา
ในสังคมประชาธิปไตย ที่ยึดถือการเลือกตั้งเป็นกลไกในการคัดสรรบุคคลเข้ารัฐสภา
ย่อมเป็นไปมิได้ ที่จะได้มา ซึ่ง "อรหันต์" ในเมื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้งเป็นเพียงปุถุชน ที่มีกิเลสตัณหา และความเห็นแก่ได้
หากมี "อรหันต์" ก้าวล่วงสู่รัฐสภาก็เป็นเหตุบังเอิญอย่างยิ่ง ในสังคมเผด็จการ/คณาธิปไตยก็ไม่มีหลักประกันเฉกเช่นเดียวกันว่าจะได้
"อรหันต์" เป็นสมาชิกรัฐสภา ในเมื่อผู้มีอำนาจเผด็จการก็เป็นปุถุชนไม่แตกต่างกัน
ข้อเสนอประการที่สอง เป้าหมายหลักของกฎหมายรัฐธรรมนูญ และ กฎหมายการเลือกตั้งอยู่ ที่การเกื้อกูลให้ตลาดการเมืองมีการแข่งขัน ที่สมบูรณ์
โ ดยพยายามทำลายทำนบกีดขวางการเข้าสู่ตลาด เพื่อการแข่งขัน (Barriers to Entry)
หากรัฐธรรมนูญ และกฎหมายการเลือกตั้งเสริมสร้างอำนาจผูกขาดในตลาดการเมือง
ย่อมมีผลบั่นทอนประสิทธิภาพของตลาด
ข้อเสนอประการที่สาม การไม่บังคับให้ผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภาต้องสังกัดพรรค
ช่วยให้อุปทานนักการเมืองในตลาดวุฒิสมาชิกมีมากขึ้น เพราะการสังกัดพรรคเป็นทำนบกีดขวางการเข้าสู่ตลาด
แต่การบังคับว่าผู้สมัคร ส.ว.ต้องไม่สังกัดพรรคเป็นการลดทอนความสมบูรณ์ของสารสนเทศ
การไม่บังคับให้สังกัดพรรคแตกต่างจากการบังคับว่าต้องไม่สังกัดพรรค บท บัญญัติในเรื่องนี้ควรเป็นไปในทาง
ที่ผู้สมัครมีเสรีภาพในการเลือกว่าจะสังกัด หรือไม่สังกัดพรรคก็ได้
รัฐธรรมนูญฉบับปี 2540 ห้ามผู้สมัคร ส.ว.สังกัดพรรคเพราะต้องการ คนที่เป็นกลางในทางการเมืองมากลั่นกรองกฎหมาย
รวมทั้งแต่งตั้ง และถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งสำคัญในสังคมการเมืองไทย แต่มิอาจมีบทบัญญัติห้ามผู้ที่เคยเป็นสมาชิกหรือผูกพันกับพรรคการเมืองลงสมัครรับเลือกตั้ง
เพราะละเมิดสิทธิ และเสรีภาพทางการเมืองขั้นพื้นฐาน ข้อเท็จจริงปรากฏว่า ในการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภาครั้งแรกนี้
ผู้ที่เคยดำรงตำแหน่ง ส.ส. และ ส.ว. รวม ทั้งลูกเมีย และคนใกล้ชิดจำนวนมากลงสมัครรับเลือกตั้ง
แม้จะมีการเรียกร้อง และ "โฆษณา" มิให้เลือกผู้ที่มีความสัมพันธ์กับพรรคการเมืองหรือกลุ่มการเมืองเข้าวุฒิสภา
แต่ผลการเลือกตั้งปรากฏว่าบุคคลกลุ่มนี้ได้รับเลือกจำนวนมาก
ในอีกด้านหนึ่ง พรรคการเมือง และกลุ่มการเมืองขนาดใหญ่ล้วนต้องการยึดกุมวุฒิสภา
เพื่อเสถียรภาพของรัฐบาล ที่จะจัดตั้งในอนาคตแม้จะไม่มีการส่งตัวแทนลงสมัครรับเลือกตั้งโดยนิตินัย
แต่พฤตินัยกลับตรงกันข้าม หัวหน้าพรรคบางพรรคถึงกับลงทุนหาเสียงให้สมุนของตนอย่างเปิดเผย
ในด้านผู้สมัครรับเลือกตั้งก็ต้องการประโยชน์จากเครือข่ายทางการเมือง ที่มีอยู่แล้ว
ของพรรคการเมืองขนาดใหญ่
ดังนี้ จะเห็นได้ว่า ข้อห้ามผู้สมัคร ส.ว. มิให้สังกัดพรรคเป็นข้อห้าม ที่ไร้ประสิทธิผล
เพราะขัดกับธรรมชาติของพรรคการเมือง และกลุ่มการเมืองขนาดใหญ่ ที่ต้องการยึดกุมวุฒิสภา
และขัดกับระบบความสัมพันธ์เชิงอุปถัมภ์ ที่ร้อยรัดสังคมไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งความต้องการของผู้สมัคร
ส.ว. ที่จะได้ประโยชน์จากเครือข่ายทางการเมืองของพรรค และกลุ่มการเมืองขนาดใหญ่
หากรัฐธรรมนูญ และกฎหมายการเลือกตั้งเปิดกว้างให้ผู้สมัคร ส.ว. สังกัดพรรคหรือไม่ก็ได้
แล้วปล่อยให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งมีเสรีภาพในการตัดสินใจว่าจะเลือกผู้สมัครประเภทใด
สังคมการเมืองไทยก็จะได้ประโยชน์สูงสุด เพราะการเลือก ส.ว. เป็นไปตามเจตจำนงเสรีของผู้มีสิทธิเลือกตั้งภายใต้ระบบ ที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน
ผู้มีสิทธิเลือกตั้งไม่มีสารสนเทศ ที่สมบูรณ์เกี่ยวกับผู้สมัครในประเด็นการสังกัดพรรค
ข้อเสนอประการที่สี่ ระบบบัณฑิตยาธิปไตย เป็นระบบ ที่ไม่พึงปรารถนา กล่าวคือ
ไม่ควรนำระดับการศึกษา มาเป็นทำนบกีดขวางการเข้าสู่ตลาดนักการเมืองสังคมไทยในชนบทอยู่รอดมาได้ด้วยผู้นำท้องถิ่น
และ ปราชญ์ชาวบ้าน คนเหล่านี้มีการศึกษาอย่างเป็นทางการน้อย แต่อุดมด้วยบทเรียนจากการศึกษานอกระบบ
สมควรส่งเสริมให้มีบทบาทในรัฐสภาในอีกด้านหนึ่ง การไขว่คว้าปริญญาบัตรในปัจจุบันมิใช่เรื่องยาก
เพราะสถาบันอุดมศึกษาทั้งของรัฐ และเอกชนพร้อม ที่จะ "ขาย" อยู่แล้ว ในเมื่อสถาบันเหล่านั้น
แปรสภาพเป็น McUniversityเป็นเวลาช้านานแล้ว
ข้อเสนอประการที่ห้า ผู้สมัครรับเลือกตั้งควรมีสิทธิในการหาเสียง การหาเสียงเป็นการให้สารสนเทศแก่ประชาชน
ผู้มีสิทธิเลือกตั้งควรรับทราบจุดยืนทางการเมืองของผู้สมัคร และรับรู้แนวนโยบายทั้งด้านเศรษฐกิจการเมือง
และสังคมของผู้สมัคร เพราะสมาชิกวุฒิสภามีหน้าที่ในการกลั่นกรองกฎหมาย โดยที่กระบวนการกลั่นกรองมิอาจหลีกเลี่ยงการใช้ดุลพินิจอันมี ที่มาจากอุดมการณ์ทางเศรษฐกิจการเมือง
และสังคมได้
ข้อห้ามมิให้ผู้สมัคร ส.ว. หาเสียง ดัง ที่เป็นอยู่ในระบบปัจจุบันก่อให้เกิดการแข่งขัน ที่ไม่เป็นธรรม
นักการเมืองหน้าเก่าย่อมได้เปรียบนักการเมืองหน้าใหม่ ผู้ที่ทำงานด้านสื่อมวลชน
และผู้ที่เป็น "บุคคลสาธารณะ" ย่อมได้เปรียบบุคคลอื่น คนธรรมดาสามัญย่อมเสียเปรียบผู้มีชื่อเสียงอยู่ก่อนแล้ว
การห้ามหาเสียงจึงก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรมในการแข่งขัน ข้อเท็จจริงจากการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภาครั้งแรกปรากฏว่า
ผู้ที่ไม่มีชื่อเสียง และไม่มีฐานเสียงไม่สามารถหลุดเข้าสู่วุฒิสภา นอกจากนี้
การห้ามหาเสียงไม่สามารถหยุดยั้ง การซื้อขายเสียงได้
ข้อเสนอประการที่หก กฎการลงคะแนนเสียง "หนึ่งคน หนึ่งคะแนนเสียง" (one person,
one vote) จักต้องบังคับใช้ควบคู่กับการแบ่งเขตเลือกตั้งตามเกณฑ์ "เขตเดียว
คนเดียว"
ในการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภารัฐธรรมนูญ แห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 กำหนดให้ใช้เขตจังหวัดเป็นเขตเลือกตั้ง
(มาตรา 122) โดยที่มี สมาชิกวุฒิสภารวมทั้งสิ้น 200 คน (มาตรา 121) ด้วยเหตุดังนี้
บางจังหวัดจึงมี วุฒิสมาชิกมากกว่า 1 คน ความพิกลพิการเกิดขึ้นเมื่อกฎหมายการเลือกตั้ง
กำหนดให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งเลือกผู้สมัครได้เพียงคนเดียว ไม่ว่าจังหวัดนั้น จะมี
สมาชิกวุฒิสภาจำนวนมากน้อยเพียงใด ระบบการเลือกตั้งเช่นนี้ส่งเสริมให้มีการจัดตั้งฐานเสียง
และเกื้อกูลการซื้อเสียง เพราะสามารถคำนวณได้โดยง่ายว่า จะต้องได้รับคะแนนเสียงอย่างน้อยเท่าไร
จึงจะได้รับการเลือกตั้ง
กฎหมายรัฐธรรมนูญ และกฎหมายการเลือกตั้งฉบับปัจจุบันออกแบบทางการเมือง และออกแบบสถาบันการเมืองจากข้อสมมติ และความคาดหวังอันขัดต่อธรรมชาติของมนุษย์ และสังคม
โดยเฉพาะอย่างยิ่งต้องการคัดสรร "อรหันต์" เป็นสมาชิกวุฒิสภา การออกแบบเช่นนี้
นอกจากมิอาจบรรลุเป้าหมาย (คือ การได้ "อรหันต์" เป็นวุฒิสมาชิก) แล้ว ยังไม่เป็นผลดีต่อกระบวนการปฏิรูปการเมืองอีกด้วย
หากต้องการปฏิรูปการเมืองก็ต้องออกแบบการเมือง และออกแบบสถาบันการเมือง เพื่อเกื้อกูลให้ตลาดการเมืองมีการแข่งขัน ที่สมบูรณ์