วิกฤติการณ์ทีพีไอมุมมองของ AWJN


นิตยสารผู้จัดการ( เมษายน 2543)



กลับสู่หน้าหลัก

11 กุมภาพันธ์เจ้าหนี้ของทีพีไอกำลังพิจารณาเข้าควบคุมกิจการบริษัทลูกหนี้ หลังจากทีพีไอพยายามสกัดกั้นแผนปรับโครงสร้างหนี้

การพิจารณาเกิดขึ้นหลังจากทีพีไอยื่นคำร้องค้านศาลล้มละลายกลาง โดยกล่าวหาว่าเจ้าหนี้มีเจตนาไม่สุจริตในแผนการปรับโครงสร้างหนี้ 3,500 ล้านดอลลาร์

แม้ว่าทีพีไอจะถอนคำค้านในเวลาต่อมาเจ้าหนี้ก็แสดงท่าทีไม่พอใจโดยกล่าวว่าการกระทำของทีพีไอเป็นการผิดข้อตกลง ที่ทีพีไอลงนามไว้เมื่อเดือนก่อน เจ้าหนี้จึงอาจตอบโต้ด้วยการยื่นคำร้องขอเข้าควบคุมการบริหารจาก ประชัย เลี่ยวไพรัตน์ ซึ่งเป็นประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ผู้ก่อตั้งกิจการ และผู้ถือหุ้นใหญ่ของทีพีไอ

แหล่งข่าวรายหนึ่งกล่าวว่า ผู้บริหารของทีพีไอปฏิบัติไม่ถูกต้อง และเจ้าหนี้จะไม่อดทนอีก แต่ไม่สามารถติดต่อกับประชัยหรือผู้บริหารรายอื่น เพื่อขอความเห็นในเรื่องนี้ได้

คณะกรรมการเจ้าหนี้ทั้ง 10 รายประชุมกันในวันพฤหัส แต่ยังไม่ตัดสินใจว่าจะใช้สิทธิร้องเรียนตอบโต้หรือไม่ "เรากำลังรอดูว่าทีพีไอ จะทำอะไรบ้างในวันศุกร์" (11 กุมภาพันธ์)

กรณีทีพีไอจะเป็นกรณีปรับโครงสร้างหนี้ ที่โดดเด่นทั้งในแง่ของจำนวนหนี้สิน และจำนวนเจ้าหนี้ทั้ง 148 ราย การเผชิญหน้าระหว่างฝ่ายเจ้าหนี้ และลูกหนี้ครั้งใหม่นี้อาจจะไม่ได้หยุดยั้งจังหวะก้าวเร่งของการปรับโครงสร้างหนี้ในไทย แต่ก็เป็นการฉุดรั้งความพยายามในการสร้างความเชื่อมั่นเกี่ยวกับการสะสางหนี้ประเภทไม่ก่อรายได้จำนวนมหาศาลของไทย

ธนาคารเองก็ได้รับผลกระทบจากข่าวการกระทำของทีพีไอเช่นกันโดยเฉพาะราคาหุ้นของธนาคารกรุงเทพ ที่ลดลง 7.1% มาอยู่ ที่หุ้นละ 54 บาท และลดลง 8.5% ในกระดานต่างประเทศ อีกทั้งยังทำให้ดัชนีหุ้นไทยลดลง 2.2%

กว่าสองปีของการเจรจาในเรื่องการปรับโครงสร้างหนี้กับทีพีไอ ที่มักเป็นไปอย่างเผ็ดร้อนทำให้เจ้าหนี้เกือบจะหมดความอดทน ทั้งสองฝ่ายได้ลงนามในข้อตกลงการชำระหนี้ เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ปี 1999 ตามแผนการลดมูลหนี้ระยะ 5 ปี โดยที่ฝ่ายเจ้าหนี้จะเปลี่ยนหนี้ค้างชำระบางส่วนเป็นหุ้นจำนวน 30% โดยมีประชัย เลี่ยวไพรัตน์ เป็นผู้บริหารแผนดังกล่าว แต่หลังจากใช้เวลาครึ่งปีเจรจาในเรื่องเนื้อหาของข้อตกลงทั้งหมด ทีพีไอก็ปฏิเสธ ที่จะลงนาม และบอกว่าควรจะมีแผนการเพิ่มทุนจำนวน 1,000 ล้านดอลลาร์ด้วย

ฝ่ายเจ้าหนี้กล่าวว่าจะพิจารณาเรื่องการเพิ่มทุนก็ต่อเมื่อทีพีไอลงนามในข้อตกลงแล้ว และกำหนดเส้นตายเมื่อวันที่ 17 มกราคม ที่ผ่านมา ทีพีไอยอมลงนามในข้อตกลงดังกล่าวในเช้าวันกำหนดเส้นตาย โดยทำหนังสือชี้แจงรายละเอียดต่างๆ ให้กับฝ่ายเจ้าหนี้ โดยเน้นว่าทีพีไอตกลงว่าจะไม่คัดค้านแผนการดังกล่าว

จากนั้น ทีพีไอ และ ที่ปรึกษาทางการเงินก็เร่งดำเนินการเจรจาเรื่องการเพิ่มทุน เพื่อรับกับกระแสการฟื้นตัวของตลาดปิโตรเคมี ทั่วโลก ผู้บริหารของทีพีไอก็แสดงความเห็นว่าความสัมพันธ์ของบริษัทกับเจ้าหนี้ดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด หลังจากบรรลุข้อตกลงเรื่องการปรับโครงสร้างหนี้ แต่ดูเหมือนประชัย จะเร่งรัดให้ฝ่ายเจ้าหนี้ตกลงรับข้อเสนอเรื่องการเพิ่มทุน ก่อน ที่ศาลล้มละลายจะเริ่มพิจารณา เรื่องการปรับโครงสร้างหนี้

ก่อน ที่จะมีการพิจารณาคดีห้าวัน ทีพีไอก็ได้ยื่นคำร้องคัดค้านแผนการปรับโครงสร้างหนี้โดยแก้ข้อกล่าวหา ที่ว่าบริษัทมีสภาพล้มละลายว่าสินทรัพย์ของทีพีไอมีสูงกว่าหนี้สิน และกล่าวหาว่าแผนปรับโครงสร้างหนี้แสดงให้เห็นเจตนาไม่สุจริตของเจ้าหนี้ ที่จะเข้าควบคุมกิจการของบริษัท

ฝ่ายเจ้าหนี้ได้ตอบโต้กลับว่า "จากจุดยืนของเราเราถือว่านั่นเป็นการกระทำ ที่ร้ายแรง" ผู้มีส่วนร่วมในการเจรจารายหนึ่งกล่าว กรรมการฝ่ายเจ้าหนี้ ได้ยื่นคำขาดให้ทีพีไอถอนคำร้องค้านภายในวันพุธ มิฉะนั้น เจ้าหนี้จะดำเนินการยื่นคำร้องต่อศาล แบบเป็นปฏิปักษ์ ซึ่งจะทำให้ต้องเปลี่ยนตัวผู้บริหารแผนคนใหม่แทนประชัย

ทีพีไอถอนคำร้องค้านในเช้าวันพฤหัส โดยชี้แจงเหตุผลต่อศาลว่า "เนื่องจากบริษัทพบว่าคำร้องค้านมีข้อผิดพลาดสำคัญ จึงขอให้ศาลอนุญาตถอนคำร้อง ที่บริษัทยื่นไว้"

15 กุมภาพันธ์

ผู้บริหารของทีพีไอพ่ายแพ้ในกรณีพิพาท เมื่อศาลล้มละลายอนุญาต ตามคำร้องของฝ่ายเจ้าหนี้ ที่ขอเข้าควบคุมกิจการทีพีไอ

"การต่อสู้กันในเรื่องของการชำระหนี้บริษัท ที่มีมูลหนี้สูงที่สุดในไทย จะเป็นสิ่งชี้นำ ที่สำคัญระดับชาติ และสำคัญกว่าทั้งฝ่ายเจ้าหนี้ และลูกหนี้" ซรียัน พีเทอร์ส์ แห่งเอสจีเอเชียเครดิต ในกรุงเทพฯ ให้ความเห็น

กรณีดังกล่าวมีการเจรจายืดเยื้อมากว่าสองปีในเรื่องหนี้สินของทีพีไอ ราว 3,500 ล้านดอลลาร์ โดยในกลางเดือนมกราคม ที่ผ่านมา ทีพีไอ และ เจ้าหนี้ได้บรรลุข้อตกลงตามแผนการปรับโครงสร้างหนี้ ซึ่งมีประชัย เลี่ยวไพรัตน์ เป็นผู้บริหารแผน แต่ฝ่ายเจ้าหนี้ก็เปลี่ยนท่าทีเมื่อสัปดาห์ ที่แล้ว เมื่อที พีไอยื่นคัดค้านแผนปรับโครงสร้างหนี้ในนาทีสุดท้ายตาม ที่ศาลอนุญาต โดยอ้างว่าแผนการดังกล่าว แตกต่างจากข้อตกลงเดิมอย่างชัดเจน

ฝ่ายเจ้าหนี้ได้ร้องต่อศาลในวันศุกร์ (11 กุมภาพันธ์) ให้แต่งตั้งบริษัท เอฟเฟคทีฟ แพลนเนอร์ ซึ่งเป็นกิจการในเครือของเฟอร์เรียร์ ฮอดจ์สัน ให้เป็นผู้บริหารแผนปรับโครงสร้างหนี้รายใหม่ ทีพีไอได้ยื่นคัดค้านโดยกล่าวว่า เจ้าหนี้ มีเจตนาไม่สุจริต

ในการพิจารณาไต่สวนเมื่อวันจันทร์ ศาลล้มละลายกลางสั่งพักการพิจารณาคดี 30 นาที เพื่อให้ทั้งสองฝ่ายได้ตกลงกันในเรื่องการคัดเลือกผู้จัดทำแผน แต่ทนายข อง ทีพีไอกล่าวว่าไม่ได้รับคำสั่งให้ถอนคำร้องค้านศาลจึงพิจารณาว่า "ไม่พบว่ามีเจตนาไม่สุจริตใดๆ เพราะเจ้าหนี้มีสิทธิในการได้รับการชำระหนี้คืน"

"เจ้าหนี้ถือว่านี่เป็นสัญญาณชี้ชัดว่าศาลกำลังพิจารณาคำร้องของเราอย่างเป็นธรรม " ทนายกล่าว "เราดีใจ ที่เห็นการดำเนินการดังกล่าว" แต่ไม่สามารถติดต่อผู้บริหารของทีพีไอ เพื่อขอความเห็นในเรื่องนี้

ขณะนี้ศาลล้มละลายได้เริ่มพิจารณาไต่สวนคำร้องของเจ้าหนี้ในเรื่องการปรับโครงสร้างองค์กร โดยทางเจ้าหนี้จะต้องพิสูจน์ให้ได้ว่าบริษัททีพีไอ อยู่ในสภาพล้มละลาย และมีเหตุผลที่เชื่อได้ว่าทีพีไอสามารถพลิกฟื้นกิจการได้

แต่ประชัยก็ตอบโต้ข้อกล่าวหา ที่ว่าบริษัทของเขาล้มละลาย โดยยืนยันว่าบริษัทมีสินทรัพย์สูงกว่าหนี้สินศาลจึงให้ทีพีไอยื่นหลักฐานภายในวันจันทร์ และให้เวลาถึงวันพุธในการยื่นค้านการที่เจ้าหนี้จะแต่งตั้งเอฟเฟคทีฟ แพลนเนอร์ เป็นผู้ดำเนินแผนการฟื้นฟู

16 กุมภาพันธ์

ศาลล้มละลายกลางรับคำร้องของทีพีไอให้เลื่อนการพิจารณาคำร้องของเจ้าหนี้ ที่ขอเข้าควบคุมกิจการ

ศาลล้มละลายให้เวลาทนายของทีพีไอสองสัปดาห์ โดยยอมเลื่อนกำหนดการพิจารณาคำร้องของฝ่ายเจ้าหนี้ ที่ขอเข้าควบคุมการบริหารกิจการทีพีไอ ตามแผนการปรับโครงสร้างองค์กร เพื่อดำเนินการกับมูลหนี้สูงราว 3.5 พันล้านดอลลาร์ นักลงทุน และนักวิเคราะห์การเงินจำนวนมากต่างจับตาอย่างใกล้ชิดว่าจะเป็นมาตรการที่มีความคืบหน้า ในเรื่องการลดปัญหาหนี้เสียของธนาคาร และเป็นการทดสอบฝีมือของกฎหมาย และศาลล้มละลาย ที่เพิ่งตั้งใหม่ด้วย

ศาลกำหนดนัดพิจารณาคดีครั้งต่อไปในวันที่ 1 มีนาคม และจะพิจารณาให้เสร็จภายในสามวัน

รัฐบาลไทยได้ปรับปรุงกฎหมายล้มละลายเมื่อปีที่แล้ว อันเป็นส่วนหนึ่งของการปฏิรูปทางการเงินของประเทศ โดยให้มีการไต่สวนพิจารณาอย่างต่อเนื่องในคราวเดียว เพื่อเลี่ยงความล่าช้า และการหน่วงเหนี่ยวต่างๆ ที่เคยฉุดรั้งประสิทธิภาพของระบบศาลในอดีต

แต่ศาลก็ได้อนุญาตให้มีการเลื่อนพิจารณาออกไป แม้ว่าจะให้เวลาน้อยกว่า ที่ทนายของทีพีไอร้องขอก็ตาม "มันจะเป็นผลทางลบ (ต่อภาคการเงิน) เพราะจะเป็นตัวอย่างของความล่าช้าอีกอย่างหนึ่ง" นักวิเคราะห์รายหนึ่งให้ความเห็น

ทนายความของฝ่ายเจ้าหนี้ได้ยื่นหลักฐานต่อศาลในวันอังคาร ซึ่งเป็นวันที่สองของการไต่สวน และศาลได้รับฟังหลักฐาน และสืบพยานของทีพีไอ

ในช่วงเช้า ศาลล้มละลายไม่รับคำร้องของทนายฝ่ายลูกหนี้ ที่ขอเวลาเพิ่มในการพิจารณาเอกสารของฝ่ายเจ้าหนี้ในวันวาน แต่ตอนบ่ายทนายฝ่ายทีพี ไอก็ได้ยื่นร้องขอให้ศาลเลื่อนการพิจารณาไปสามอาทิตย์ เพื่อเตรียมการในเรื่องคดี

อย่างไรก็ตาม ผู้พิพากษาไม่ได้พิจารณาคำร้องของฝ่ายทีพีไอในเรื่อง การขอเพิ่มทุน โดยศาลจะพิจารณาหลังจากพิจารณาคำร้องของฝ่ายเจ้าหนี้

29 กุมภาพันธ ์ การนัดพิจารณาคดีการต่อสู้ เพื่อเข้าควบคุมกิจการทีพีไอของศาลล้มละลาย ซึ่งเพิ่งตั้งใหม่เมื่อเดือนมิถุนายนปีที่แล้วมีกำหนดในวันพุธหน้า และจะเป็นกรณีทดสอบ ที่สำคัญถึงระบบการศาลของประเทศด้วย

เมื่อวันจันทร์ (28 กุมภาพันธ์) ศาลล้มละลายกลางได้เรียกประชุมฝ่าย ทีพีไอ และฝ่ายเจ้าหนี้โดยพยายามให้สองฝ่ายยุติข้อขัดแย้ง แต่โอกาสประนีประนอมมีน้อยเต็มที เพราะในช่วงเวลากว่าสองปีของการเจรจาอย่างเหน็ดเหนื่อย ทีพีไอดูเหมือนจะตกลงกับเจ้าหนี้ได้หลายต่อหลายครั้ง แต่ทุกครั้งที พีไอก็จะหน่วงเหนี่ยวเรื่อง และกล่าวหาว่า เจ้าหนี้มีเจตนาไม่สุจริต

เมื่อการเจรจาล้มเหลวในเดือนกุมภาพันธ์ ฝ่ายเจ้าหนี้ จึงฟ้องร้อง เพื่อขอเข้าควบคุมกิจการทีพีไอตามกฎหมายล้มละลายปี 1999 เพื่อเร่งกระบวนการทางศาล และอุดช่องทางหน่วงเหนี่ยวของฝ่ายลูกหนี้ กรณีดังกล่าวจึงเป็นที่จับตาเพราะเป็นการทดสอบศาลล้มละลายกลาง

ในเดือนกุมภาพันธ์ ดัชนีหุ้นไทยลดลง 18% ชี้ให้เห็นเด่นชัดว่าอาจมีสิ่งที่ต้องสูญเสีย แต่ก็มีผู้ไม่เห็นด้วยบางรายชี้แจงว่า การลดลงของดัชนีเป็นผลจากการถอนตัวไปของนักลงทุนต่างชาติ ที่ดึงเงิน 10.8 พันล้านบาทออกจากตลาดหุ้นไทยในช่วง 7 สัปดาห์แรกของปีนี้ โดยมุ่งไปยังตลาดที่ใหญ่กว่าหรือมีศักยภาพในการฟื้นตัวมากกว่า เช่น เกาหลีใต้ และมาเลเซีย "มันเหมือนกับ น้ำแข็ง ที่พังลงมา" นักวิเคราะห์ ที่ไม่เปิดเผยชื่อรายหนึ่งบอก "นักลงทุนรู้สึกว่าพอทีนอกจากกรณีทีพีไอจะสะสางได้"

ประเด็นหนึ่ง ที่สร้างความกังวลใจให้กับนักลงทุนในไทยอย่างมากก็คือ การดำเนินการอย่างเชื่องช้าในเรื่องการสะสางปัญหาหนี้เสียภาคธนาคาร โดยมีระดับลดลงมา อยู่ ที่ 38.5% เมื่อปลายปีที่แล้วจากระดับกว่า 47% เมื่อหนึ่งปีก่อนหน้า หากแก้ไขปัญหาของทีพีไอได้เพียงกรณีเดียวก็จะลดจำนวนหนี้เสียลงอย่างมากจนลงมาอยู่ในระดับที่ดีขึ้นได้ แต่ความล้มเหลวในการเจรจาของทีพีไอจะนำไปสู่ความยากลำบากในการจัดการหนี้เสียกรณีอื่นๆ และยังทำลายความคาดหวัง ที่จะเห็นความก้าวหน้าของการดำเนินการแก้ปัญหาด้วย

ขณะเดียวกัน กองทุนการเงินระหว่างประเทศ ก็เริ่มตั้งข้อสงสัยว่าการฟื้นฟูเศรษฐกิจของไทยอาจมีอุปสรรคในเรื่องเงินทุน หากภาคธนาคารไม่สามารถสะสางงบดุลของกิจการได้เร็วขึ้น และเริ่มปล่อยสินเชื่อให้มากขึ้น

ปัญหาเหล่านี้เป็นตัวอย่างชี้ให้เห็นถึงความยุ่งยากมากขึ้น ในแง่การผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ในระบอบประชาธิปไตยของไทย นักกลยุทธ์ของโบรกเกอร์ต่างประเทศรายหนึ่งบอก "ในแง่ภาวะผู้นำทางการเมืองการให้คำมั่นว่าจะปฏิรูป และความสามารถ ที่จะปฏิบัติตามนั้น ได้ เกาหลีได้คะแนน 9 จาก 10 แต่ไทยมีคะแนนเพียง 1 จาก 10" นอกจากนั้น การแปรรูปรัฐวิสาหกิจ ที่ไม่คืบหน้าของไทย ก็เป็นอีกตัวอย่างหนึ่ง ที่ชี้ให้เห็นเรื่องนี้

การแก้ไขกฎหมายในเรื่องการเพิกถอนสิทธิการไถ่ถอนจำนอง และกฎหมายล้มละลายเมื่อปี 1999 ทำให้รัฐบาลตกเป็นเป้าหมายวิพากษ์วิจารณ์จากวุฒิสมาชิกอย่างหนัก โดยบรรดาวุฒิสมาชิกสวนใหญ่โจมตีในประเด็นเชิงชาตินิยม และกล่าวหาว่ารัฐบาลไทยทำให้สินทรัพย์ของประเทศไม่มีเสถียรภาพ และมีราคาถูกจนตกเป็นเป้าหมายของต่างชาติ ที่จ้องฮุบซื้อกิจการ ผู้ที่วิพากษ์ วิจารณ์เหล่านี้มาจากบรรดาลูกหนี้รายใหญ่รวมทั้งประชัยด้วย

ในท้ายที่สุด เมื่อมีการแก้กฎหมายธนาคาร และทนายความก็ร้องเรียนว่ากฎหมาย ที่แก้ไขแล้วยังมีจุดอ่อน ที่จะติดตามลูกหนี้ ที่ดื้อดึงไม่ชำระหนี้ "นักกฎหมายโดยทั่วไปมีความเห็นกันว่ากฎหมายการเพิกถอนสิทธิการไถ่ถอน จำนองค่อนข้างไร้ผล" เดวิด เคนเนดี แห่งดีลอยต์ ทูช โทมัตสึในกรุงเทพฯ กล่าว "หากลูกหนี้ต้องการสร้างความยุ่งยากก็ทำได้ โดยการหน่วงเหนี่ยวการดำเนินการ และรูดม่านปิดฉากกระบวนการทั้งหมดได้"

ข้อสงสัยดังกล่าวยังส่งผลต่อมุมมอง ที่มีต่อศาลล้มละลายกลาง ซึ่งเพิ่งตั้งเมื่อเดือนมิถุนายนปีที่แล้ว โดยได้จัดบุคลากรผู้เชี่ยวชาญ เพื่อเร่งดำเนินการพิจารณาคดีได้อย่างรวดเร็ว ศาลล้มละลายกลางได้รับคำร้องคดีล้มละลายถึงกว่า 400 คดี ทำให้บริษัท 200 แห่งเข้าอยู่ในระหว่างการพิทักษ์ทรัพย์ และยังต้องพิจารณาการปรับโครงสร้างองค์กรบริษัทอีก 24 แห่ง ซึ่งรวมแล้วมีมูลหนี้ถึงกว่า 300,000 ล้านบาท วิศิษฐ์ วิศิษฐ์สรอรรถ ผู้พิพากษา และ ผู้อำนวยการสำนักปรับโครงสร้างหนี้ภาคธุรกิจ กระทรวงยุติธรรม กล่าว

คดีล้มละลาย ที่พิจารณาตามกฎหมายใหม่ โดยศาลล้มละลาย ที่มีผู้พิพากษา 16 คน จะใช้เวลาโดยเฉลี่ยราวสามเดือน ซึ่งเร็วกว่าเดิมมาก ยิ่งกว่านั้น ศาลล้มละลายก็ได้ตัดสินให้บริษัทอัลฟาเทค อิเล็กทรอนิก เข้าอยู่ภายใต้การพิทักษ์ทรัพย์ด้วย ซึ่งแสดงให้เห็นว่าศาลล้มละลายดำเนินการกับ "บริษัท ที่ใหญ่โตได้พอสมควร และเป็นการตัดสินใจอย่างเป็นอิสระจากหลักฐาน ที่ได้รับ" วิศิษฐ์กล่าว อัลฟาเทคเป็นกิจการของชาญ อัศวโชค ซึ่งเป็นผู้มีบทบาทโดดเด่นในสังคม และเป็นวุฒิสมาชิก

กรณีทีพีไอจะเป็นการทดสอบของศาลล้มละลาย ไม่เพียงแต่ในเรื่องของ ขนาดของกิจการเท่านั้น แต่ยังเป็นกรณีหนึ่ง ที่เจ้าหนี้ได้รับการต่อต้านขัดขืน จากลูกหนี้ ซึ่งในการพิจารณคดี ที่ผ่านๆ มา ไม่มีการต่อสู้กันเท่านี้ ก่อนหน้านี้มีกรณี ที่ฝ่ายเจ้าหนี้ยื่นคำร้องให้ศาลสั่งล้มละลาย แต่ลูกหนี้ก็กลับเป็นฝ่ายชนะเมื่อศาลยอมรับคำร้องของฝ่ายลูกหนี้ ที่อ้างว่า บริษัทมีสินทรัพย์เกินกว่าหนี้สิน ซึ่งเป็นประเด็นเดียวกับ ที่จะต้องพิจารณาในกรณีของทีพีไอ

ประชัย ซึ่งเป็นนักเจรจาต่อรอง ที่เชี่ยวชาญกล่าวว่า "ไม่มีทาง" ที่เจ้าหนี้จะประสบความสำเร็จในการร้องเรียนต่อศาล เขากล่าวว่ามูลค่าของสินทรัพย์ ของทีพีไอนั้น เกินกว่าหนี้สินอยู่มาก แต่มีแง่มุมหนึ่ง ที่สร้างความสงสัยใหักับ ทั้งฝ่ายเจ้าหนี้ และลูกหนี้ทั่วๆ ไปก็คือ วิธีการในการประเมินของศาลต่อการพิจารณาความสามารถในการชำระหนี้ ของทีพีไอ

ทีพีไอประเมินมูลค่าสินทรัพย์ของบริษัทจากงบดุลโดยยึดฐานค่าใช้จ่าย สำหรับการซื้อสินทรัพย์ใหม่ทดแทนสินทรัพย์ ที่เสื่อมสภาพหรือถูกทำลาย (replacement cost) ผู้เชี่ยวชาญด้านบัญชีรายหนึ่งกล่าวว่า แม้ในภาวะอัตราแลกเปลี่ยนปัจจุบัน ซึ่งต่ำกว่าอัตรา ที่ทีพีไอใช้ในงบดุลของบริษัทมาก ทีพีไอก็ ยังสามารถชำระหนี้ได้ แต่เจ้าหนี้ตอบโต้กลับว่าศาลควรจะประเมินบริษัท โดยอิงปริมาณเงินสดหมุนเวียนในช่วงหลายปีที่ผ่านมา และมูลค่าของสินทรัพย์ ที่มีสิทธิใช้จ่ายได้ ซึ่งฝ่ายเจ้าหนี้ของทีพีไอบอกว่าหากพิจารณาจากเกณฑ์ดังกล่าวแล้ว ก็พิสูจน์ได้ว่าบริษัทอยู่ในสภาพล้มละลาย

"มีอะไรอีกมาก ที่ขึ้นอยู่กับเรื่องนี้" นักวิเคราะห์รายหนึ่งบอก "ผลกระทบแบบโดมิโนอาจตามมา" การพิจารณาคดี ที่เข้าข้างทีพีไอ "แสดงให้เห็น ว่าเจ้าหนี้ไม่มีกำลังต่อรอง ซึ่งอาจจะชะลอกระบวนการปรับโครงสร้างทั้งระบบได้" ในทางกลับกัน หากการพิจารณา ที่มีผลลบต่อทีพีไอ ก็อาจจะทำให้การตัด สินใจของเจ้าหนี้เข้มแข็งขึ้น และกระตุ้นความไม่พอใจให้กับลูกหนี้รายอื่นๆ

3 มีนาคม

ศาลล้มละลายกลางจะตัดสินในวันที่ 15 มีนาคม ว่าทีพีไอมีสภาพล้มละลายหรือไม่ หลังจากสืบพยานเป็นเวลาสองวัน พรชัย อัศววัฒนาพร ผู้พิพากษาคดี กล่าวว่า อีกสองสัปดาห์ศาลจะตัดสินว่ามูลหนี้ 3.4 พันล้านดอลลาร์ ของทีพีไอนั้น สูงกว่ามูลค่าสินทรัพย์ของบริษัทหรือไม่

หากพบว่าทีพีไอมีหนี้สินมากกว่าสินทรัพย์ บริษัทก็จะอยู่ในสภาพล้มละลาย และจะต้องเปลี่ยนมือผู้บริหารเป็นชุดใหม่ตาม ที่ฝ่ายเจ้าหนี้แต่งตั้ง

การสืบพยานฝ่ายทีพีไอในสัปดาห์นี้สรุปว่าเจ้าหนี้ไม่เคยมีเจตนาที่จะช่วยทีพีไอปรับโครงสร้างหนี้ แต่ต้องการครอบครองหุ้นบริษัท 75% เพื่อแลกกับหนี้

พยานฝ่ายลูกหนี้โต้แย้งว่าบริษัทมีสินทรัพย์สูงกว่าหนี้สิน

ตัวแทนฝ่ายเจ้าหนี้กล่าวว่าทีพีไอมีหนี้สินเกินกว่าสินทรัพย์ และจะต้องมีการปรับโครงสร้างกิจการ

นักลงทุนต่างประเทศได้ให้ความสนใจกรณีของทีพีไอในฐานะ ที่เป็นกรณีทดสอบการปรับโครงสร้างหนี้ของไทย

นักวิเคราะห์บางรายกล่าวว่า หากเจ้าหนี้แพ้คดี และผู้บริหารของทีพีไอ ชุดปัจจุบันยังคงบริหารงานต่อไปดังเดิม ก็จะเป็นการขัดขวางการฟื้นฟูภาวะ หนี้สินภาคธุรกิจ และชะลอการฟื้นฟูธุรกิจภาคการธนาคารไปด้วย

ธนาคารกรุงเทพเป็นเจ้าหนี้ในประเทศรายใหญ่ที่สุด ของทีพีไอ โดยปล่อยสินเชื่อให้กับทีพีไอทั้งสิ้น 25,000 ล้านบาท

9 มีนาคม

ทีพีไอกล่าวหาว่าเจ้าหนี้พยายามทำลายบริษัท และกำหนดเงื่อนไขการปรับโครงสร้างการเงิน ที่เป็นการทำลาย ประเทศไทย เป็นความพยายามครั้ง สุดท้าย ที่จะสกัดกั้นไม่ให้เจ้าหนี้เข้าควบคุมการบริหารบริษัท

ทีพีไอกล่าวในแถลงการณ์ ที่ ตลาดหลักทรัพย์ว่า เจ้าหนี้มีความสนใจ ที่จะฮุบสินทรัพย์กิจการที่เป็นปิโตรเคมี คอมเพล็กซ์แบบครบวงจร ที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มากกว่า ที่จะฟื้นฟูสถานภาพทางการเงินของบริษัท แถลงการณ์ดังกล่าวมีขึ้นในวันที่ทนายความของทั้งสองฝ่ายจะต้องขึ้นศาลล้มละลาย เพื่อสรุปหลักฐานตามคำร้อง ที่ฝ่ายเจ้าหนี้ขอเข้าควบคุมกิจการของบริษัทลูกหนี้ ทั้งนี้ศาลมีกำหนดพิจารณาว่าทีพีไอล้มละลายหรือไม่ ใน วันที่ 15 มีนาคม

ฝ่ายเจ้าหนี้ยื่นคำร้องต่อศาลเมื่อเดือนกุมภาพันธ์หลังจากที่การเจรจาปรับโครงสร้างหนี้ ซึ่งยืดเยื้อมากว่าสองปีล้มเหลวลง ทั้งรัฐบาล สถาบันการเงิน และทนายความต่างเฝ้าจับตากรณีนี้โดยถือว่าเป็นกรณีทดสอบกฎหมายล้มละลาย ที่เพิ่งแก้ไข และความสามารถของเจ้าหนี้ในการจัดการกับลูกหนี้ นักวิเคราะห์กล่าวว่าการตัดสิน ที่เข้าข้างฝ่ายเจ้าหนี้จะช่วยฟื้นความมั่นใจของนักลงทุนกลับมา แต่หากไม่เข้าข้างเจ้าหนี้ ก็จะบั่นทอนความมั่นใจของนักลง

ทุน ทีพีไอกล่าวว่า จะโต้คำร้องของฝ่ายเจ้าหนี้ในประเด็น ที่ว่าสินทรัพย์ ของบริษัทนั้น มีมูลค่า "มากกว่า" หนี้สิน และดังนั้น "บริษัทจึงไม่ได้ล้มละลาย" ฝ่ายเจ้าหนี้กล่าวว่าทีพีไอล้มละลายเพราะบริษัทไม่สามารถ ที่จะชำระหนี้ ได้

ทีพีไอยังกล่าวหาเจ้าหนี้ว่ามีเจตนาไม่สุจริต ที่จะกดดันให้บริษัทยอมรับแผนการปรับโครงสร้างหนี้ ซึ่งไม่มีทางทำได้ในทางปฏิบัติ จึงเป็นการเปิดช่องทางให้เจ้าหนี้เข้าควบคุมหุ้นส่วนใหญ่ของบริษัทได้ "เหตุการณ์นี้ชี้ให้เห็นว่า เจ้าหนี้ไม่ได้มีความตั้งใจจริงในการฟื้นฟูกิจการ แต่จงใจ ที่จะเข้าควบคุมบริษัท" ทีพีไอกล่าว

ทีพีไอกล่าวอีกว่าเจ้าหนี้กลุ่ม ที่มีความสนใจในธุรกิจปิโตรเคมีต้องการซื้อสินทรัพย์ของบริษัทในราคาที่ต่ำกว่าราคาตลาดมาก เจ้าหนี้เองก็พยายาม ที่จะตัดการให้เงินทุนดำเนินการแก่ทีพีไอ ซึ่งแสดงให้เห็นว่าเจ้าหนี้กลุ่มนี้ "จะทำลายบริษัท"

นอกจากนั้น ยังมีรายละเอียดอีกว่า หากเจ้าหนี้เข้าควบคุมการบริหาร ทีพีไอได้ จะมีการปลดพนักงานส่วนใหญ่ของทีพีไอ ซึ่งปัจจุบันมีอยู่ราว 20,000 คนออก การแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจของไทยจึงไม่ควรขึ้นอยู่กับ "การยอมให้สถาบันต่างชาติเข้าควบคุมบริษัทไทย"

ฝ่ายเจ้าหนี้กล่าวว่าพวกเขาตั้งใจ ที่จะฟื้นฟูกิจการทีพีไอบนหลักการของแผนที่เจรจากับทีพีไอมาเป็นเวลากว่าสองปี และได้ลงนามในแผนการไปเมื่อกลางเดือนมกราคม ที่ผ่านมา ฝ่ายเจ้าหนี้กล่าวปฏิเสธข้อกล่าวหา ที่ว่าเจ้าหนี้ จะขายสินทรัพย์หลักของทีพีไอ "เราไม่มีเจตนา ที่จะขายสินทรัพย์ ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินการของทีพีไอ นอกจากส่วน ที่เป็นสินทรัพย์ ที่ไม่เกี่ยวกับธุรกิจ หลักจริงๆ" แอนโทนี นอร์แมน กรรมการผู้จัดการของเฟอเรียร์ ฮอดจ์สัน และบริษัทในเครือ ที่ได้รับการเสนอชื่อจาก เจ้าหนี้ให้เข้าบริหารกิจการทีพี ไอ

16 มีนาคม

ศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งให้บริษัทไทยปิโตรเคมีกัล อินดัสตรี (ทีพี ไอ) ตกอยู่ในสภาพมีหนี้สินล้นพ้นตัว นับเป็นการตัดสินครั้งสำคัญ ที่ทำให้ นักวิเคราะห์มีกำลังใจมากขึ้น แต่กลับไม่ได้สร้างความประทับใจให้กับตลาดหุ้นไทย

คำสั่งของศาลได้ยุติการเจรจาอย่างยืดเยื้อนานกว่าสองปีระหว่างทีพีไอ กับเจ้าหนี้ในเรื่องการปรับโครงสร้างหนี้ราว 3.5 พันล้านดอลลาร์ และยังเป็นการกำหนดเงื่อนไขทางกฎหมาย ซึ่งบังคับให้ฝ่ายบริหารของบริษัทต้องดำเนินการฟื้นฟูกิจการ ฝ่ายเจ้าหนี้ของทีพีไอต่างขานรับคำสั่งของศาล โดยเห็นว่าเป็นความคืบหน้าครั้งใหญ่ ในการกดดันให้ฝ่ายลูกหนี้ ที่ดื้อรั้นยอมนั่งโต๊ะเจรจา

"ครั้งนี้นับเป็นการทดสอบอย่างหนักสำหรับกฎหมายล้มละลาย และศาลล้มละลาย แล้วพวกเขาก็สอบผ่าน" โทมาร์ เวอร์วอห์ร ประธานกรรมการของสมาคมธนาคารต่างประเทศในประเทศไทยให้ความเห็น

อย่างไรก็ตาม ศาลล้มละลายไม่ได้ยอมตามคำร้องขอของเจ้าหนี้ ที่ขอให้มีการเข้าควบคุมกิจการลูกหนี้ทันที และแต่งตั้งผู้จัดทำแผนฟื้นฟู ศาลได้มอบหมายให้เรื่องนี้เป็นการตัดสินใจของ ที่ประชุมเจ้าหนี้ ซึ่งจะให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จัดประชุม และกำหนดวันประชุมต่อไป ในระหว่างนี้ ผู้บริหารปัจจุบันของทีพีไอจะยังคงบริหารธุรกิจต่อไป

ตลาดการเงินไทยหวั่นเกรงว่าคำตัดสินของศาล ที่ช่วยทีพีไอให้พ้นจากมือของฝ่ายเจ้าหนี้ จะทำให้นักลงทุนต่างชาติรามือจากตลาดไทย และตอบรับคำสั่งล้มละลายของศาลว่าเป็นการบรรเทาปัญหา ซึ่ง "จะเป็นการดึงให้ไทยถอยหลังกลับในการต่อสู้ช่วงชิงการลงทุนจากต่างประเทศ" ซรียัน พีเทอร์ส์ นักวิเคราะห์กลยุทธ์แห่งเอสจี เอเชีย เครดิต ซีเคียวริตี้ส์ กล่าว

ยิ่งกว่านั้น นักการธนาคารของไทยเองก็ยังแคลงใจอยู่ว่า คำสั่งของศาล จะช่วยแก้ไขปัญหาหนี้เสียในงบดุลของธนาคาร หรือจะช่วยสร้างความมั่นใจ ให้กับนักลงทุนต่างประเทศเกี่ยวกับประเทศไทยได้มากน้อยเท่าไร จุลกร สิงหโกวินท์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ของเอบีเอ็น แอมโร เอเชีย ให้ความเห็น

นักลงทุนในประเทศดูเหมือนจะผิดหวังกับการที่ศาลไม่ได้สั่งให้แต่งตั้งผู้ฟื้นฟูกิจการทีพีไอ ทั้งนี้ดัชนีตลาดหุ้นไทยในวันพุธปรับลดลงจากปิดตลาด เมื่อวันอังคาร 3.5% หรือ 14 จุด โดยอยู่ ที่ 386.20

"นักลงทุนคาดหวังว่าจะมีอะไรมากกว่านี้" เคนเนธ อึ๊ง หัวหน้าฝ่ายวิจัย ของไอเอ็นจี แบริ่ง ซีเคียวริตี้ส์ (ประเทศไทย) บอก

คำสั่งศาล ที่ให้ทีพีไออยู่ในสภาพล้มละลายนับเป็นการตัดสิน ที่รุนแรง สำหรับประชัย เลี่ยวไพรัตน์ ซึ่งดิ้นรนอย่างหนัก เพื่อคัดค้านการจัดทำแผนฟื้นฟู ประชัยหวาดเกรงว่าเขาจะต้องสูญเสียกิจการที่สร้างขึ้นมากับมือ และหวัง ที่จะให้เป็นปิโตรเคมิคัล คอมเพล็กซ์แบบครบวงจร ที่ใหญ่ที่สุดในเอเชีย ตะวันออกเฉียงใต้ ทั้งนี้ ตามเงื่อนไขในการฟื้นฟูกิจการ ประชัยจะต้องลดสัดส่วนการถือครองหุ้นกิจการทีพีไอลง ซึ่งอาจทำให้เขาต้องสูญเสียอำนาจในการบริหารกิจการไป แต่ในข้อตกลงก็ยอมให้ประชัย ซื้อหุ้นกิจการคืนได้ในอนาคต

ผู้บริหารของทีพีไอได้เข้าประชุมทันทีหลังจาก ที่ ฟังคำตัดสินของศาล โดยไม่ได้แสดงความคิดเห็นใดๆ "เราเคารพคำตัดสินของศาล" วชิรพันธุ์ พรหมประเสริฐ ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายการเงินของทีพีไอกล่าว

อย่างไรก็ตาม เจ้าหนี้ต่างก็ดีใจกับคำตัดสินของศาลแม้ว่าจะยังไม่มีคำสั่งว่าใครจะเป็นผู้ฟื้นฟูกิจการทีพีไอ ก็ตาม "เรายินดีกับการตัดสินของศาล" เวย์น พอร์ริตต์ vice president ของธนาคารแห่งอเมริกา ซึ่งเป็นหนึ่งในเจ้าหนี้ 147 ราย บอก

"เราคาดอยู่แล้วว่า (คำตัดสินเรื่องผู้ทำแผนฟื้นฟูกิจการ) จะต้องเลื่อนออกไป" สตีเฟน มิลเลอร์ หุ้นส่วนของสำนักทนายความจอห์นสัน สโตกส์ แอนด์ มาสเตอร์ ซึ่งเป็นผู้แทนเจรจาให้กับฝ่ายเจ้าหนี้ กล่าว

ทั้งนี้ คณะกรรมการฝ่ายเจ้าหนี้เผยในแถลงการณ์เรียกร้องให้จัดประชุมภายในสี่สัปดาห์ และจะขจัดความเป็นไปได้ ที่จะต้องดำเนินการต่อสู้ทางกฎหมายกับประชัยในอนาคต

คณะกรรมการฝ่ายเจ้าหนี้ได้เสนอให้บริษัท เอฟ เฟคทีฟ แพลนเนอร์ เป็นผู้จัดทำแผนฟื้นฟู เอฟเฟคทีฟ แพลนเนอร์ เป็นกิจการในเครือของเฟอร์เรียร์ ฮอดจ์สัน ซึ่งเป็นที่ปรึกษาให้กับธนาคารกรุงเทพ เจ้าหนี้รายใหญ่ของที พีไอ

ฝ่า ยเจ้าหนี้คาดว่าทีพีไอคงเสนอชื่อประชัยเป็นผู้จัดทำแผนฟื้นฟู แต่ฝ่ายเจ้าหนี้ยัง "มีความมั่นใจอยู่ลึกๆ" ว่า ที่ประชุมจะยึดมั่นตามข้อเสนอเดิม

ทั้งนี้ เอฟเฟคทีฟ แพลนเนอร์ จะต้องได้รับเสียงสนับสนุนจาก ฝ่ายเจ้าหนี้ ซึ่งมีมูลหนี้ถึงสองในสามในที่ประชุม "ผมหวังว่าเราจะได้รับการสนับสนุน" โทนี นอร์แมน กรรมการผู้จัดการของเฟอร์เรียร์ ฮอดจ์สัน ประจำประเทศไทย และกรรมการผู้จัดการของเอฟเฟคทีฟ แพลน เนอร์ กล่าว

แต่เดิม กฎหมายล้มละลายของไทยเอื้อให้ลูกหนี้หลบหลีกเจ้าหนี้โดยการแสดงหลักฐานว่าสินทรัพย์ของบริษัทตาม ที่ปรากฏในบัญชีบริษัทมีมากกว่าหนี้สิน อย่างไรก็ตาม คำตัดสินของศาลล้มละลายในวันพุธ ได้ตัดสินให้ที พีไออยู่ในสภาพมีหนี้สินล้นพ้นตัวโดยถือตามเกณฑ์ต่างๆ กล่าวคือ บริษัท ประกาศพักชำระหนี้ และได้ดำเนินการขอประนอมกับเจ้าหนี้ ศาลได้ปรับลดงบดุลของ ทีพีไอตามเกณฑ์การประเมินสินทรัพย์ และพิจารณาว่าบริษัทไม่สามารถโต้แย้งการประเมินสินทรัพย์บริษัท ซึ่งฝ่ายเจ้าหนี้ประเมินจากเงินสดหมุนเวียน และความสามารถในการชำระหนี้ได้



กลับสู่หน้าหลัก

Creative Commons License
ผลงานนี้ ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย



(cc) 2008 ASTVmanager Co., Ltd. Some Rights Reserved.