ความหลากหลายทางเชื้อชาติของนิวยอร์กเป็นสิ่งที่ต้องกล่าวถึง เพราะสิ่งนี้
หล่อหลอมเมืองนิวยอร์ก และเป็นแนวสร้างชาติสหรัฐอเมริกา "เจ้าโลก" ที่คัดง้างยังไงก็ไม่ลงจากบัลลังก์
วู้ดดี กัทธรี่ (1912-196 7) นักดนตรี และนักร้องโฟล์กระดับตำนาน ของอเมริกา
ซึ่งมาถึงนิวยอร์กครั้งแรกเมื่อปี 1940 เคยเขียนไว้ว่า "I never did know
that the human race was this big before. I never did really know that
the fight had been going on so long and so bad"
RACE แข่งขัน แหละอีกนัยคือ เชื้อชาติ ความหลากหลายทางเชื้อชาติ ก่อให้เกิดการเปรียบเทียบทำให้เลือกสิ่งที่ดีกว่า และแข่งขันกันสร้างสิ่งที่ดีมากขึ้น
ทำให้เกิดการไม่ลงรอยกันง่ายๆ และทำให้เกิดการปรองดองยากยิ่ง ข้อนี้ก่อกำเนิดลักษณะนิสัย
"ไม่ยอมคนง่ายๆ" ของชาวอเมริกัน
นิวยอร์กซิตี้ อดีตจนถึงปัจจุบัน อยู่ในแผ่นดินสหรัฐอเมริกา และเป็นจุดเริ่มต้นของอเมริกา
แต่ไม่เคยเป็นเมืองของคนอเมริกันเพราะเป็นเมืองของทุกคน จากทุก ที่ในโลกใบนี้
ที่นี่เป็นเมือง ที่มีคนอพยพมาทำงานโดยไม่ได้รับอนุญาตตามกฎหมายอยู่มากที่สุด
และมีคำพูดเปรียบเทียบว่า "คนที่นี่ไม่เหมือน ที่ไหนในอเมริกา แต่คนที่นี่แหละ
ที่เป็น "อเมริกัน"ที่สุด"
อาคารสำนักงานใหญ่สหประชาชาติเหมือนเป็นสัญลักษณ์ความหลากหลายทางเชื้อชาติของ ที่นี่
แต่ตั้งขึ้นทีหลัง ความเป็น "สหประชาชาติ" ในตัวเอง ของเมืองอันสามารถเสพวัฒนธรรมจากทั่วโลกได้ในนครเดียว
พูดให้เอิกเกริกได้ว่าใน 1 ช่วงอาคารหรือ 1 บล็อกของบางย่าน มีคนถึง 50 เชื้อชาติ
อยู่ด้วยกัน และอาจมีคนค้านว่า "ผิด ต้องบอกว่า 100 เชื้อชาติ"
เมืองใหญ่ของอเมริกาบางเมืองอย่างลอสแองเจลิส มีชนชาติเชื้อสายต่างๆ อยู่มาก
แต่ก็ไม่ละเอียดถี่ยิบครบถ้วนชาติเล็กชาติน้อยอย่างนิวยอร์ก ที่น่าเชื่อว่าเป็นเมืองเดียวของโลก ซึ่งมีพลเมืองหลากเชื้อชาติอยู่รวมกันมากที่สุด และมากันครบจากทุกประเทศ และชนเผ่าทั่วโลก
ที่นี่มี ไชน่าทาวน์, เกาหลีทาวน์, ลิตเทิล อิตาลี, ลิตเทิล อินเดีย, ลิตเทิล
ยูเครน และย่านอื่นๆ อีก มากมาย ที่คนจากชาติเดียวกันชอบอยู่รวมกัน อย่างพวกละตินอเมริกาพูดภาษาสเปนนิชจากเม็กซิโก
โดมินิกัน และเอกวาดอร์ ที่อพยพมาใหม่ จะอยู่กัน ที่ย่านรูสท์เวลท์ ในเขตควีนส์
กลุ่มละตินนี้มีเต็มเมือง เหมือนคนลาวอพยพมาทำมาหากินในเมืองไทยกันมาก และคนนิวยอร์ก ที่พูดสเปนนิชได้ก็จะได้เปรียบในการทำงานสาขาต่างๆ
คร่าวๆ แล้วคนจีนค้าขายสารพัด ของถูกอยู่ในไชน่าทาวน์ ถ้วยชาม หม้อไห ของกิน
ของใช้ และทำร้านอาหาร แตกลูกแ ตกหลานแทรกซึมไปจน ถึงละแวกข้างๆ อย่างเขตลิตเทิล
อิตาลี ซึ่งทำร้านอาหาร และขายขนมหวาน อยู่มาเก่าแก่ แต่ตอนนี้เขตลิตเทิล
อิตาลี หดลงเรื่อยๆ จนเหลือแค่ถนนสองสายสั้นๆ ขนาด ที่ร้านคนจีนจากด้านใต้เริ่มเข้ามาจับจองคูหามากขึ้น
คนเกาหลีครองตลาดร้านของชำ และผักทั่วเมือง ร้าน Korean deli store ตามหัวมุม ที่ขายอาหารเกาหลีแบบสลัดบาร์เป็นที่นิยม และพึ่งท้องของฝรั่ง
ส่วนคนอินเดียครองแผงหนังสือพิมพ์ และขับแท็กซี่ เท่า ที่นั่งแท็กซี่มานั้น
8 ใน 10 จากประสบการณ์ เป็นแขกจากอินเดีย รายล่าสุดมาจาก ปัญจาบ ชวนให้คุยกันเล่นว่า
ตอนนี้สงครามภายในปัญจาบยาวนาน 10 ปีได้สงบลงแล้ว
ส่วนคนไทยนั้น รุ่นแรกๆ มาเป็นหมอ และพยาบาล แต่ตอนนี้ส่วนใหญ่ทำร้านอาหารเฉพาะเขตกลางเมืองคือ
แมนฮัตตัน "ดินแดน 10,000 ร้านอาหาร" มีร้านอาหารไทยอยู่ราว 100 ร้าน สัดส่วน ที่เป็นรองแค่ร้านพิซซ่า
และร้านอาหารจีน แต่ประเมินจากสายตาแล้วน่าจะมากกว่าร้านญี่ปุ่นอยู่นิดหน่อย
และมากกว่าร้านแมคโดนัลด์ หรือร้านกาแฟสตาร์บัคส์อยู่มากโข (ฮา!)
คนไทยในนิวยอร์กมีตัวเลขเท่าไรไม่แน่ชัด บางคนว่าตัวเลขทางการคือ 50,000
หัว กระจายอยู่ทั้งใน 5 เขตของนิวยอร์ก คือ แมนฮัตตัน, ควีนส์, บรองซ์, บรู๊คลีน
และสเตเล่น ไอส์แลนด์ กับบริเวณชานเมืองรอบด้านคือ รัฐนิวเจอร์ซี่ด้านตะวันตก
เขตลองไอส์แลนด์ด้านตะวันออก และพื้นที่ตอนเหนือ ของเมืองนิวยอร์ก ที่เรียกว่า
New York upstate เขตชานเมืองนั้น เป็นที่อยู่แบบ บ้านเป็นหลังๆ ซึ่งหมายถึงว่าเป็นแหล่งของคนมีกะตังค์หรืออย่างน้อยก็เก็บตังค์ได้มากกว่าพวก ที่อยู่ในเมือง ซึ่งต้องจ่ายค่าเช่า
"รูหนู" แพงๆ
นอกจากนี้ยังมีนักเรียนไทย ที่มาเรียนหนังสือ และเรียนจบแล้วแต่ยังติดทำมาหากิน ที่นี่รวมถึงโรบินฮู้ดรุ่นเก่า
และรุ่นใหม่ ที่ยังหลงมากะปริบกะปรอย ตัวเลขจริงๆ โดยคร่าวๆ นั้น 100,000
หัวเห็นจะได้ แต่คนไทย ที่นี่มีน้อยกว่า ในลอสแองเจลิส ซึ่งประมาณว่ามีอยู่ราว
250,000 หัวเป็นอย่างต่ำ และ ที่โน่นเพิ่งจะมีการประกาศสถาปนา Thai Town
จากทางการเมื่อต้นปีนี้เอง
หากเทียบกัน ที่ขนาดของเมืองนิวยอร์ก ซึ่งเล็กกว่าแอลเอนั้น ทั้งแออัด และมีเชื้อชาติหลากหลายกว่าเมืองไหนๆ
ดังตัวอย่างทางอ้อมจากนิตยสารรายสัปดาห์ Time Out New York (TONY) บ่งบอกถึงความหลากหลายนี้ได้ชัดเจนในเรื่องเกี่ยวกับอาหาร
จากปกฉบับ 2-9 มีนาคม 2000
Ethnic food A to Z เป็นการรวบรวมอาหาร "ต่างด้าว" ยอดนิยมในนครนิวยอร์ก
ที่มาของอาหาร "ต่างด้าว" นานานี้ มาจากชาติต่างๆ ที่อพยพมาทำมาหากิน คำว่า
Ethnic นี้ ขยายความว่า เป็นชนชาติใดๆ ก็ตาม ที่ไม่ใช่ "ชาติฝรั่ง" ที่มีบทบาทครองโลกมานมนาน
คือ ไม่ใช่ อเมริกัน อังกฤษ แคนาดา ฝรั่งเศส แต่ถ้าเป็นฝรั่งชาติเล็กๆ อย่างอิตาลีก็ยัง
เป็น Ethnic
TONY เป็นนิตยสารเกี่ยวกับโปรแกรมบันเทิงด้านต่างๆ ที่เกิดขึ้นใน นครนิวยอร์ก
1 รอบสัปดาห์ มีความหนาทั้งสิ้น 172 หน้า 4 สีกระดาษอาร์ตทั้งเล่ม list ที่นำมาลงมีรายการพิพิธภัณฑ์
ศิลปะ หนังสือ และกวี คาบาเรต์ คลับ ตลก เต้น ภาพยนตร์ (วิจารณ์ และโปรแกรม)
เกย์ และ เลสเบียน เด็ก ดนตรี (วิจารณ์ และโปรแกรม) ดนตรี (คลาสสิก และโอเปร่า)
กีฬา ละครเวที (วิจารณ์) ละคร (broadway/ฟอร์มใหญ่) ละคร (off broadway/ฟอร์มขน
าดกลาง) ละคร (off-off broadway/ฟอร์มเล็ก) ท่องเที่ยว นอกจากนั้น ยังมีส่วน
time in รายการบันเทิงในโทรทัศน์ วิทยุ วิดีโอ เทคโนโลยี และบทความเป็นสกู๊ปรายสัปดาห์
Ethnic food อาหารต่างด้าวยอดนิยมของคนนิวยอร์ก เริ่ม ที่ A- AREPA โรตีข้าวโพดจากโคลัมเบีย และเวเนซุเอลา
ราคาชิ้นละ 2 ดอลลาร์ B- BALUT ไข่เป็ดต้ม ที่มีตัวอ่อนข้างในจากฟิลิปปินส์
ฟังแล้วน่าขย้อน ราคา 1.50 ดอลลาร์ C-CHOlENT ถั่ว เนื้อ อย่างเข้มข้น เป็นอาหารยิว ที่เข้ามาติดอันดับ
Ethnic ได้อย่างไรก็ไม่ทราบ เพราะยิวเป็นประชากรหลักของนิวยอร์ก ราคา 7.25
ดอลลาร์
D-DOSA แป้งทอดกรอบเหมือน ขนมเบื้องบ้านเรา แต่มีขนาดใหญ่กว่า กิน กับเครื่องจิ้ม
มาจากอินเดียใต้ ราคา 6.95-7.95 ดอลลาร์ E- EDAMAME ถั่วเหลืองต้มเกลือจากญี่ปุ่น
ราคาปอนด์ ละ 1.99 ดอลลาร์ มีขาย ที่ซูเปอร์มาร์เก็ตญี่ปุ่นชื่อ Sunrise market
อักษรต่อไปคือ F-FRI TTO- MISTO อาหารอิตาลี เป็นอาหารทะเล ทอดกรอบ ราคา
12 ดอลลาร์ G-GOU-LASH อ่านว่ากูไลอัส อาหารฮังการีเป็นเส้นหมี่สุกจัดใส่เนื้อ และเห็ดราคา
14.95 ดอลลาร์ จัดเป็นเมนูยอดนิยม H-HOR- CHATA เป็นเครื่องดื่มแห้วผสมนมเสิร์ฟเย็น
จากเม็กซิโก ราคาแก้วละ 1 ดอลลาร์ I-INJER มาจากเอธิโอเปียเป็นขนมปังจากธัญพืช
ใช้รับประทานกับสตูว์ผัก และเนื้อ
ร้านอาหารเอธิโอเปียนี้เป็นที่พิศวงของผู้เขียน ซึ่งเมื่อก่อนเคยรับรู้แบบ
บัวใต้น้ำ แค่ว่าเอธิโอเปียเป็นประเทศยากจน และขาดแคลนอาหารอย่างยิ่งมานมนาน
J-JERK แสลง ที่แปลว่า คนประหลาด โง่ นิสัยไม่ดี พาล ไร้มารยาท และยังเป็นชื่อเครื่องปรุงรส
เผ็ดจากจาไมก้า ที่ใช้ปรุงกับเนื้อหรือปลา หมู ราดซอส JERK ราคาจานละ 5.95-7.95
ดอลลาร์
K-KIBBE NAYEH เป็นอาหารเลบานอน เนื้อแกะราดด้วยเนื้อวัวสับ และถั่ว ราคาจานละ
14.95 ดอลลาร์ L-LOUKOUMADES ของหวานจา กกรีซคล้ายกับแพนเค้กราดน้ำผึ้ง M-MO-
FONGO เนื้ออะไรก็ได้ปั้นเป็น ก้อน แล้ว ราดน้ำเกรวี่ มาจากโดมินิกัน ราคา
3.95 ดอลลาร์ N-NOUC- NAM ไม่ใช่อาหารแต่เป็นน้ำปลาจากเวียดนาม เขาแนะนำให้ซื้ออันที่ผสมกับ
น้ำตาล พริกมะ นาว และน้ำส้มใช้เป็นซอส
แต่ ที่จริงแล้ว น้ำปลายอดนิยมที่สุดของทั่วโลกคือ FISH SAUCE ของไทยเรา
และเป็นยี่ห้อทิพรส ซึ่งมีขายบางแห่งในซูเปอร์มาร์เก็ตทั่วไปทั้ง ที่กรุงลอนดอน
และนิวยอร์ก และน้ำปลานี่แหละ ที่เป็นเคล็ดลับพิเศษของอาหารไทย
O-OKONOMIYOKI เป็นไข่ทอด ญี่ปุ่น มีหลายรูปแบบ เช่น แบบ เกาหลีทานกับกิมจิ
หรือ แบบฮิโรชิมาใช้สองแผ่นประกบใส่ไส้ กระหล่ำปลี ถั่ว งอก บะหมี่ และหมูทั้งสองอย่างราคา
7 ดอลลาร์ โอโกะโนมิโยกิเป็นอาหารรถเข็นยอดนิยมของญี่ปุ่น ซึ่งคนรุ่นราวคราวเดียวกับผู้เขียน และรุ่นน้องๆ
อาจนึกภาพออก ทั้ง ที่ไม่เคยรับประทานก็ได้ เพราะมีให้เห็นตามหน้าการ์ตูน
ญี่ปุ่นบ่อยๆ
จึงเป็นจริงว่า เว้นแต่การ์ตูนปล่อยแสงยิงกัน และกำลังภายในแล้ว การ์ตูนญี่ปุ่น
สะท้อนภาพสังคม และวัฒนธรรมญี่ปุ่นได้ชัดเจนมากกว่าละครที วีไทย ที่แทบไม่สะท้อนภาพสังคมจริงของไทย....
กลับมา ที่ตัวอักษรกันต่อ P-PLOV มาจากอูบากิซสถาน จานผสม ระหว่างผัก เนื้อ
เครื่องเทศ แบบฉ่ำน้ำมัน อาหารจานนี้เป็นอาหารหลักของชาว เมืองทัสค์เคนท์
อย่างเดียวกับ ที่คนอเมริกันรับประทานขนมปังทรงโดนัท หรือ bagel และ chesse
เป็นอาหารเช้า ราคาจานละ 3.50 ดอลลาร์
Q-QUENELLE จานอาหารทะเล จากเมืองลีออง อิตาลี คล้ายๆ ลูกชิ้นปลา ราคาจานละ
11 ดอลลาร์
R-RIJSTTAFEL จานจากบาหลี จานผสมระหว่างผัก และเนื้อหลายรูปแบบรับประทานกับข้าว
มีประวัติว่าอาหารจานนี้กำเนิดในศตวรรษ ที่ 17 ตอน ที่ดัตช์ออกล่าอาณานิคม
และคนงานดัตช์อยากกินอะไร ที่หนักท้องกว่า ที่ชาวพื้นเมืองรับประทานกัน ชื่อนี้จึงเป็นชื่อภาษาดัตช์แปลว่า
"โต๊ะข้าว" มีกับข้าว 10 กว่าอย่างให้เลือกเสิร์ฟหัวละ 20 ดอลลาร์
S-SCRAPPLE จานนี้ Time Out บรรยายให้เราอมยิ้มว่า "มี ที่อเมริกาเท่านั้น ที่สามารถก่อกำเนิดแนวทางสุดยอดอย่างเอาหมูมาผสมกับขนมปังได้"
เพราะขนมปังไส้เนื้อของฝรั่งนั้น ใช้แต่เนื้อวัว และนักเขียนคนนี้เชื่อว่ายังไม่เคยกินขนมปังหน้าหมูทอดของไทย
หรือ ขนมปังอบไส้หมูหยองของจีนในไชน่า ทาวน์ ที่นี่เองสำหรับจานนี้เป็นการต้ม
หมูกับแป้งสาลี และข้าวโพด เติม เกลือ และรอจนแห้ง ใส่เบ้าแล้วแช่เย็น และเป็นสูตรพิเศษของคนขายเนื้อแผงลอย
ที่สืบทอดกันมาในครอบครัวกว่า 100 ปี แต่คนเขียนไม่ได้บ่งบอกว่าเป็น Ethnic
มาจากชาติไหน
T-TASSOT เป็นอาหารจานแพะ จากไฮติสผสมน้ำมะนาว และ กระเทียม ฟังแล้วนึกถึงหมูมะนาวของไทย
แต่ของเขาเอาเนื้อไปทอดจนสีเข้ม รับ ประทานกับข้าว และถั่ว ราคา 7 ดอลลาร์
U-SZKA เป็นอาหารจากโปแลนด์ ซึ่งเป็นอีกชาติ ที่มาปักหลัก ในนิวยอร์กกันมาก
จานนี้ใส่แป้งแบบใส คล้ายกับแป้งขนมจีบ เติมอบเชย ราคา 2 ดอลลาร์
V-VEGEMITE ผักป่นละเอียดใช้ทาแซนด์วิชตำรับจากออสเตรเลีย ตำรับอังกฤษเรียกว่า
MARMITE จานนี้เป็นอาหารฝร ั่ง จึงไม่น่าจัดเป็น etnic food ตัว V ควรเป็น
VEGGIE PAD THAI หรือ VEGGIE DUMPLING (ขนมจีบเห็ด) มากกว่า อันนี้ขายเป็นเหยือก
3.95 ดอลลาร์
W-WATERZOOI มาจากเบลเยียม ประเทศ ที่รับอิทธิพลจากรอบด้าน คือ ฝรั่งเศส
เยอรมนี และสแกนดิ เนเวีย จานนี้เป็นสตูว์น้ำขาว ใส่ครีม ผัก และอาหารทะเล
ราคา 17.50 ดอลลาร์
X-XIAO LONG BAO มาจากเซี่ยงไฮ้ จานหมูสับ และไข่ปูปั้นเป็นทรง กลมอย่างแบน
ที่ชวนให้นึก ถึง "ปูจ๋า" ของบ้านเรา ราคา 5.95 ดอลลาร์
Y-YASSA GUINAAR มาจากเซเนกัล ประเทศในแอฟริกา ที่มีนักร้อง เวิลด์มิวสิกชื่อดังออกสู่ตลาดโลกในช่วง
สี่ห้าปีหลัง จานนี้เป็นไก่ราดมะนาว หอม และเครื่องเทศ ชวนคิดถึง "ไก่ต้มส้ม"
ของปักษ์ใต้ ราคา 8.50 ดอลลาร์ สุดท้ายคือ
Z-ZARAUELA ESPANOLA จากสเปน จากนี้เป็นอาหาร ทะเลกับไข่ต้มแข็ง ราดด้วยไวน์แดง และ
มะเขือเทศ ราคาจานละ 13.95 ดอลลาร์
ทั้งหมดเ ป็นการระดมสมองของทีมนักเขียนนักกินจาก Time Out New York ซึ่งน่าจะยากตรงคิดชื่ออาหารให้ตรงกับตัวอักษรเท่านั้น
แต่การบรรยายรายละเอียดอาหารแต่ละอย่างเชื่อว่าง่ายดายสำหรับฝรั่งเมืองนิวยอร์ก ซึ่งชวนให้คนเมืองอื่นพิศวงคนที่นี่ว่า
"กินกันได้ทุกอย่าง" เสียดายแต่ว่า Ethnic food ที่คัดมานี้ ขาด P-PAD THAI
ราคา จานละ 5-8 ดอลลาร์ ไปอย่าง สมควรประท้วง เพราะฝรั่งในเมืองใหญ่ทุกแห่ง
รู้จักผัดไทยกันทั่ว ทั้ง ที่คนเดียวกันนั้น บางทียังด้อยความรู้เกี่ยวกับโลกนอกแผ่นดินอเมริกา
ขนาดนึกว่า Thailand คือ Taiwan และเป็นส่วนหนึ่งของประเทศจีน !
ผู้เขียนเจอถามอย่างนี้มาแล้วอย่างน้อย 3 คน