THLนำทุ่งคำจดทะเบียนที่ลอนดอน เปิดทางให้ผู้ถือหุ้นลงทุนผ่านทางAIM


ผู้จัดการรายวัน(15 พฤศจิกายน 2548)



กลับสู่หน้าหลัก

บอร์ด THL เล็งนำ ทุ่งคำ เข้าเป็นจดทะเบียนใน AIM ใน ตลาดหุ้นลอนดอน หลังมองเห็นความ ไม่แน่นอนในสถานภาพของ THL ใน ไทย และเพื่อเปิดทางให้ผู้ถือหุ้นมีโอกาสซื้อหลักทรัพย์ของบริษัทได้ โดยผ่านทาง AIM

นายโรนัลด์ อึ้ง วาย ชอย กรรมการผู้จัดการ บริษัท ทุ่งคาฮาเบอร์ จำกัด (มหาชน) แจ้งมติที่ประชุมคณะ กรรมการ ครั้งที่ 6/2548 เมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน 2548 นั้น ของบริษัท โดยที่ประชุมอนุมัติงบการเงินไตรมาสที่ 3 สิ้นสุด 30 กันยายน 2548 ซึ่งงบการเงินดังกล่าวได้รับการสอบทานจากคณะกรรมการตรวจสอบแล้ว

นอกจากนี้ คณะกรรมการฯ เห็นชอบในหลักการตามข้อเสนอของฝ่ายบริหารเพื่อลดความไม่แน่นอนใน สถานการณŒของหลักทรัพย์ THL ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย บริษัทฯ จึงหาทางเลือกอื่นให้แก่ผู้ถือหุ้นโดยให้ผู้ถือหุ้นมีโอกาสซื้อขายหลักทรัพย์ THL ใน Alternative Investment Market หรือ AIM ในตลาดหลักทรัพย์ลอนดอน

โดยข้อแนะนำเบื้องต้นในการซื้อขายหลักทรัพย์ในตลาด AIM ที่จะต้องได้รับการพิจารณาจากคณะกรรมการบริษัท เพื่อนำเสนอต่อที่ประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นคือ ค่าใช้จ่ายและค่าธรรมเนียม กฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ และข้อคิดเห็นของตัวแทนที่ปรึกษาทางการเงิน (Nomad) เอกสารในการลงทะเบียน และเอกสาร อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง และตารางขั้นตอนการดำเนินการจดทะเบียน

อย่างไรก็ตาม ที่ประชุมบอร์ด ได้รับรองคือรายงานของฝ่ายบริหารที่แนะนำให้มีการซื้อขายหลักทรัพย์ THL ใน AIM ไม่น่าจะมีขั้นตอนยุ่งยากเนื่องจากบริษัทฯ ดำเนินงานมา 99 ปีโดยกรรมการที่ปรึกษาและทีมผู้บริหารที่มีประสบการณ์ ขณะที่โครงการเหมืองแร่ทองคำมีความคืบหน้าอย่างมาก และผู้ถือหุ้น 4,000 ท่าน ซึ่งมีสถาบันจากต่างประเทศ กองทุน และบริษัทต่างๆ และไม่มีการออกหุ้นเพื่อระดมเงินทุน และไม่ต้องมีการประกันซื้อหุ้นที่เหลือ หรือทำ หนังสือชี้ชวน เพียงแต่ลงทะเบียนเท่านั้น

การดำเนินการข้างต้นต้องประกอบด้วยนายหน้า (Sponsoring Broker)ที่ปรึกษากฎหมายและ Nomad ขณะที่ความคืบหน้าของโครงการเหมืองแร่ทองคำ อยู่ในระหว่างการนำอุปกรณ์การผลิตเข้าสู่โรงงาน คาดว่าจะดำเนินการได้ไตรมาส แรกปี 49 รวมถึง Second Ball Mill สำหรับการทำเหมืองแร่ในขั้นที่ 2 ซึ่งเกี่ยวเนื่องจากขั้นตอนการผลิตจากขั้นแรก โดยค่าใช้จ่ายที่กล่าวมานี้อยู่ในงบประมาณที่กำหนดไว้ ส่วนความ เป็นไปได้ในการทำเหมืองแร่ดีบุกนอกชายฝั่ง ซึ่งประมาณว่ามีแร่ดีบุกกว่า 50,000 ตัน (ที่ความลึก 30-70 เมตร)ในบริเวณชายฝั่งทะเลตะกั่วป่าทางตอนใต้ของประเทศไทย

โดยบริษัท ทรัพยากรสมุทร จำกัด (SML) ได้ยื่นผังการทำเหมืองแร่แล้ว บริษัทฯ ถือหุ้นในบริษัท ทรัพยากรสมุทร จำกัดเป็นร้อยละ 83.60 รวมทั้งบริษัทฯ ยังคงดำเนินการเจรจาเพื่อขอลดอัตราการจัดเก็บค่าภาคหลวงแร่ดีบุก ปัจจุบันการจัด เก็บอยู่ที่อัตราร้อยละ 20 (ขึ้นอยู่กับราคาแร่ดีบุก) โดยในประเทศอินโดนีเซียและออสเตรเลียจัดเก็บค่าภาคหลวงแร่ดีบุก เพียงร้อยละ 3 และ 2.5 ตามลำดับ ในระหว่างการเจรจาเพื่อหา ข้อสรุปนี้ ทางบริษัท ทรัพยากรสมุทรจำกัดจะดำเนินการจดทะเบียนใน AIM (Alternative Investment Market) หรือ AIM ในตลาดหลักทรัพย์ลอนดอน

ทั้งนี้ บริษัทฯ มีแผนที่จะนำบริษัท ทุ่งคำ จำกัด (TKL) เข้าเป็นบริษัทฯจดทะเบียนใน AIM ด้วย โดยบริษัทฯ ถือหุ้นในบริษัท ทุ่งคำ จำกัดเป็นร้อยละ 98


กลับสู่หน้าหลัก

Creative Commons License
ผลงานนี้ ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย



(cc) 2008 ASTVmanager Co., Ltd. Some Rights Reserved.