นักท่องโลก internet ในเบื้องแรกหากเคาะไป ที่ http:// www.lampang.com อาจจะเข้าใจว่าเป็น
web site ประชาสัมพันธ์แหล่งท่องเที่ยว-ชอปปิ้งในจังหวัดลำปาง ของประเทศไทย
แต่เอาเข้าจริงแล้ว สิ่งที่บรรจุอยู่ภายในกลับเป็นแค็ตตาล็อกสินค้าคอลเลกชั่นต่างๆ
ของบริษัทมีศิลป์เซรามิก จำกัด ผู้ผลิตเซรามิกประเภท
- เครื่องใช้บนโต๊ะอาหารเขียนลายใต้เคลือบ
- กระถางขนาด 6 นิ้วถึง 17 นิ้ว
- อ่างบัวขนาดเล็กถึงใหญ่
- ของประดับตกแต่งบ้านอื่นๆ และสินค้าตามสั่ง ที่อยู่ภายใต้การดำเนินงานของ
2 พี่น้องตระกูล "กำธร วรรินทร์" คือ อธิภูมิ กำธรวรรินทร์ นิติศาสตรบัณฑิต
จากรั้วจุฬาลงกรณ ์มหาวิทยาลัย ปี 2535 วัย 32 ปี และ พูนลาภ กำธร วรรินทร์
หนุ่มนักเรียนนอก ที่พกดีกรีปริญญาโทด้านไฟแนนซ์ จากสหรัฐอเมริกา และรัฐศาสตรบัณฑิต
จากธรรมศาสตร์ วัย 27ปี
2ปีของการจัดทำเว็บไซต์ขึ้นมา เพื่อเพิ่มช่องทางการจำหน่ายสินค้าเซรามิกของ
มีศิลป์ฯ ได้ผลในระดับหนึ่ง โดยเฉพาะในแง่ของประชาสัมพันธ์ตัวผลิตภัณฑ์ และติดต่อประสานงานกับลูกค้าในต่างประเทศ
แต่เขายังไม่ได้ทำถึงขั้นการขายสินค้าผ่าน internet หรือ E-commerce เต็มตัว
ที่ผ่านมาตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 42 จนถึงปัจจุบัน มีผู้เข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ดังกล่าวแล้วราว
2,400 กว่าคน ในจำนวนนี้เป็นลูกค้า ที่ติดต่อเข้ามา เพื่อขอข้อมูลผลิตภัณฑ์เพิ่มเติมราว
40-50 คน แต่ยังไม่ถึงขั้นการสั่งออร์เดอร์เข้ามา
อธิภูมิก็ยังเชื่อว่า เป็นจุดเริ่มต้นที่ดี สำหรับการเดินเข้าสู่เป้าหมาย
E- commerce เต็มตัวของมีศิลป์เซรามิก จาก จังหวัดลำปาง
โดยในเร็ววันนี้เขาเตรียม ที่จะจดทะเบียนก่อตั้งบริษัท lampang.com จำกัด
ขึ้นมา เพื่อทำ E-commerce โดยเฉพาะภายในเว็บไซต์แห่งนี้นอกจากจะมีผลิตภัณฑ์เซรามิกของมีศิลป์ฯ
แล้ว ยังจะมีเซรามิกของโรงงานต่างๆ ในจังหวัดลำปาง โดยอาจจะดึงเอาเว็บไซต์
ที่สมาคม เครื่องปั้นดินเผาลำปางจะจัดทำขึ้นมาบรรจุไว้ภายในด้วย ตลอดจนข้อมูลแหล่งท่องเที่ยวของ
ลำปาง-สินค้าของ ที่ระลึกต่างๆ-บริการจอง ที่พัก-ตั๋วโดยสาร ฯลฯ
ซึ่งขณะนี้กำลังอยู่ระหว่างการศึกษาระบบการจัดส่ง และให้บริการที่เป็นเรื่องละเอียดอ่อน
อาจจะต้องใช้เวลาพอสมควร รวมทั้งการจัด เตรียมคนที่จะเข้ามาดูแลในส่วนต่างๆ
โดยขณะนี้เขายังไม่ตัดสินใจว่าจะเริ่มต้นเมื่อไร แต่อธิภูมิหรือ ที่เรียกกันในหมู่
เพื่อนฝูงว่า "หิน" ยืนยันว่า เขาไม่ทิ้งเป้าหมายนี้แน่นอน เพราะเชื่อว่า
E-commerce ในอนาคตจะมีอิทธิพลต่อการค้าทั้งใน และต่างประเทศมาก
แน่นอนเมื่อถึงเวลานั้น เซรามิก ที่ผลิตออกจากโรงงานของบริษัทมีศิลป์ เซรามิก
จำกัด ย่อมมีลิขสิทธิ์ทรัพย์สินทางปัญญา ที่มีลักษณะง่ายๆ เป็นลายมือเขียนคำว่า
"CL@Y & CR@FT" ที่เขากำลังยื่นขอจดทะเบียนอยู่ เพียงแต่จะไม่มีเงื่อนไขว่า
ผู้สั่งซื้อในต่างประเทศจะต้องตีตราโลโกของเขาทุกชิ้น เมื่อสั่งซื้อสินค้าจากมีศิลป์ฯ
ยังคงเปิดช่องให้ผู้สั่งซื้อนำผลิตภัณฑ์จากโรงงานของเขาตีตรายี่ห้อของผู้สั่งซื้อเองไปก่อน
จนกว่าจะมั่นใจว่า "มีศิลป์เซรามิก" จาก Thailand ในตลาดต่างประเทศ สามารถทำราคาได้ตามคุณภาพ
พร้อมทั้งมีเครือข่ายผู้แทนจำหน่ายทั้งในยุโรป-อเมริกา-เอเชีย ในปริมาณ ที่มากพอก่อน
โดยอาจจะเริ่มต้นด้วยการขอใช้คำว่า "by CL@Y & CR@FT" ใต้ยี่ห้อของลูกค้าไปก่อน
ส่วนสินค้า ที่จำหน่ายในประเทศเขาจะใช้โลโก ที่คิดขึ้นมาทุกชิ้น
บริษัทมีศิลป์เซรามิก จำกัด ก่อตั้งขึ้นเมื่อ 9 ปีเศษๆ ที่ผ่านมา ด้วยทุนจดทะเบียน
1 ล้านบาท ยังไม่เคยเพิ่มทุนจดทะเบียน เป็นการก่อตั้งขึ้นภายใต้การร่วมทุนระหว่าง
ชาวจีนแซ่ก๊วย จากมณฑลกวางตุ้ง สาธารณรัฐประชาชนจีน เครือญาติเดียวกันกับตระกูล
" กำธรวรรินทร์"-อนุวัฒน์ กำธรวรรินทร์ ชาวไทยเชื้อสายจีนแคะ ที่มาลงหลักปักฐาน
ที่สุไหงโกลกมานาน
การเริ่มต้นมาจากการนำญาติชาวจีนแซ่ก๊วยคนดังกล่าว ที่เดินทางมาเยี่ยมเยือนเดินทางไปเที่ยว
ที่จังหวัดลำปาง ที่ได้ชื่อว่าเป็นแหล่งผลิตเซรามิก ที่มีชื่อที่สุดแห่งหนึ่งของไทย
เนื่องจากอนุวัฒน์เห็นว่าญาติจากจีนแผ่นดินใหญ่คนนี้มีอาชีพเกี่ยวพันกับเครื่องปั้นดินเผามาตลอด
อันถือเป็นจุดเริ่มต้นของการชักชวนกันก่อตั้งโรงงานผลิตเซรามิก- บริษัทมีศิลป์เซรามิก
จำกัด ขึ้น ที่จังหวัดลำปาง โดย อนุวัฒน์ กำธรวรรินทร์ จะเป็นผู้ออกเงินลงทุนทั้งหมด
ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการจัดซื้อ ที่ดินลงทุนก่อสร้างโรงงาน ขณะที่ญาติชาวจีนคนดังกล่าว
จะใช้ความรู้ความชำนาญ ที่มีอยู่ในตัวมาร่วมลงทุน หรือมีหุ้นลมในกิจการที่ก่อตั้งขึ้น
การถือหุ้นระหว่าง อนุวัฒน์-ญาติแซ่ก๊วย อยู่ในสัดส่วน 70/30
อาศัยฝีมือด้านการปั้นของญาติแซ่ก๊วยจากจีนแผ่นดินใหญ่ ที่สามารถปั้นแม่พิมพ์เซรามิกตามคำบอกเล่าของลูกค้าได้ภายในระยะเวลาไม่ถึงชั่วโมง
เป็นหัวใจสำคัญด้านการผลิต-เครือข่ายการค้าชายแดน และ เพื่อนฝูงชาวมาเลย์
ที่ติดต่อค้าขายกับอนุวัฒน์ ในช่วง ที่ทำกิจการค้าชายแดน ที่สุไหงโกลกมานานหลายสิบปี
เป็นช่องทางด้านการตลาด
ทำให้ 3 ปีแรกของการก่อตั้งโรงงานมีศิลป์เซรามิก ไม่มีปัญหาทั้งด้านเทคนิคการผลิต-ช่องทางการจำหน่ายสินค้า
เพราะอย่างน้อยก็มีออร์เดอร์จาก "โก๊ะเทียนสู" จากบริษัทพอร์ซเลนอินน์ จำกัด
ที่เป็นผู้ค้าเซรามิกรายใหญ่ มีเครือข่ายอยู่ทั่วทุกรัฐในมาเลเซีย ซึ่งเป็น
เพื่อนของ อนุวัฒน์ป้อนเข้ามาอย่างต่อเนื่อง ในปริมาณเดือนละราว 2 ตู้คอนเทนเนอร์
ขนาด 40 ฟุต
โดยตัวของโก๊ะเทียนสูนั้น ก่อน ที่จะหันมาสั่งออร์เดอร์จากมีศิลป์ฯ เขาก็สั่งซื้อเซรามิกจากโรงงานอื่นๆ
ในลำปางไปจำหน่ายในมาเลเซียอยู่แล้ว จนกระทั่งมาพบว่า อนุวัฒน์ ที่รู้จักกันมานานได้มาลงทุนก่อตั้งโรงงาน
ที่ลำปาง กอปรกับลวดลาย-รูปแบบดีไซน์เซรามิก ที่มีศิลป์ฯ ผลิตขึ้นออกมาจากช่างฝีมือเยี่ยมชาวจีน
ทำให้เขาหันมาสั่งออร์เดอร์จากมีศิลป์ฯ แทนโรงงานอื่นๆ
เรียกว่า เวลา ที่มีศิลป์ฯ ส่งสินค้าให้ใกล้จะครบตามออร์เดอร์ แค่แจ้งไปยังโก๊ะเทียนสู
ก็จะมีออร์เดอร์ใหม่เพิ่มเติมเข้ามาทันที และเป็นไปในลักษณะนี้ตลอดระยะเวลา
8 ปีเต็มๆ ตั้งแต่ก่อตั้งโรงงานขึ้นมา
ในปีที่ 4 ของการก่อตั้งโรงงาน ปัญหาเริ่มเกิดขึ้น เมื่อญาติชาวจีน ที่ร่วมหัวจมท้ายกับโรงงานแห่งนี้มาตั้งแต่ต้น
ถูกผู้ประกอบการโรงงานเซรามิกในลำปางแห่งหนึ่งดึงตัวไปด้วยข้อเสนอ ที่จะออกเงินลงทุนให้เขาก่อตั้งโรงงาน
เป็นของตนเอง 100% แลกกับเงื่อนไขการจัดทำแม่พิมพ์เซรามิกให้เช่นเดียวกับ
ที่เคยทำให้มีศิลป์ฯ
แต่เงื่อนไข-โรงงานแห่งใหม่ของเขาก็อยู่ได้เพียงปีเดียวเท่านั้น เมื่อถูกทุนท้องถิ่น
ที่ดึงตัวเขาไปบีบให้ออกเมื่อเห็นว่าได้แม่พิมพ์ตาม ที่ต้องการแล้ว ในที่สุดช่างปั้นฝีมือเยี่ยม
ที่ร่วมสร้างมีศิลป์เซรามิกมาตั้งแต่ต้นก็ต้องเดินทางกลับมณฑลกวางตุ้งไป
อย่างไรก็ดี ผลงาน ที่เขาทิ้งไว้ให้กับมีศิลป์เซรามิก คือ แม่พิมพ์กระถาง
อ่างบัว และผลิตภัณฑ์เซรามิกรูปแบบต่างๆ จำนวนราว 30-40 รูปแบบ ก็ช่วยให้มีศิลป์ฯ
ใช้เป็นผลิตภัณฑ์ หากินมาได้จนถึงทุกวันนี้
และเมื่ออนุวัฒน์ กำธรวรรินทร์ ต้องสูญเสียมือทำงานไป อธิภูมิ ที่เพิ่งจะจบการศึกษาจากจุฬาฯ
ก็ต้องเดินทางมาช่วยผู้เป็นพ่อทันที ในช่วงแรกๆ ที่ "หิน" เข้ามา สิ่งที่เขาต้องทำเป็นเบื้องแรกก็คือ
สรรหาบุคลากรด้านการผลิต-ดีไซน์ มาทดแทนญาติชาวจีนแซ่ก๊วย ที่ออกไป โดยใช้วิธีพัฒนาคนงานในโรงงานขึ้นมาทดแทน
ว่าจ้างอาจารย์ ที่เชี่ยวชาญด้านศิลป-ออกแบบ เซรามิก-เคลือบ-เพนต์ จากวิทยาลัยอาชีวศึกษาลำปาง
เข้ามาช่วยสอนเทคนิคด้านต่างๆ ให้กับคนงาน
ซึ่งแม้ว่าจะไม่เทียบเท่ากับฝีมือของช่างชาวจีน ที่ออกไป แต่อาศัย ที่มีแม่พิมพ์อยู่ในมือ
ทำให้กิจการของมีศิลป์เซรามิก ไม่สะดุดลงเท่าใดนัก จากนั้น อธิภูมิเริ่มนำสินค้าของเขากระจายออกขายตามแหล่งจำหน่ายเซรามิกต่างๆ
ในประเทศ อาทิ ตลาดจตุจักร เป็นต้น พร้อมๆ กับเริ่มออกงานแสดงสินค้าในต่างประเทศร่วมกับบรรดาโรงงานเซรามิกในจังหวัดลำปางอื่นๆ
ทำให้มี ลูกค้าจากโซนยุโรป อังกฤษ สวีเดน อิตาลี ฯลฯ เข้ามาอีกส่วนหนึ่งนอกเหนือไปจากคู่ค้าชาวมาเลย์
ที่ยังคงเหนียวแน่น
พร้อมกับพยายาม ที่จะปรับเปลี่ยนเตาเผา ที่มีอยู่แล้วทั้ง 4 เตาอัน เป็นเตาแก๊ส
เป็นเตาไฟเบอร์ไฟฟ้า เพื่อลดต้นทุน ค่าใช้จ่ายด้านการผลิตลงให้ต่ำที่สุด
ซึ่งการใช้เตาไฟเบอร์นี้สามารถลดค่าใช้จ่ายด้านเชื้อเพลิงลงกว่า 30% ทีเดียว
ราวปี 41 ที่ผ่านมา อันเป็นปีที่ 8 ของอายุโรงงานมีศิลป์ เซรามิก เมื่อคราว
ที่เขานำสินค้าเข้าร่วมแสดงในงานแสดงสินค้า ที่กรุงเทพฯ ตัวแทนของห้างสรรพสินค้าคาร์ฟูร์
ที่ไปร่วมดูสินค้า ที่ออกบูธในงานดังกล่าว ก็ยื่นข้อเสนอมาให้เขาอย่างไม่มีปี่มีขลุ่ยว่าต้องการสินค้าในกลุ่มเซรามิก
ขึ้นไปวางขายในห้างคาร์ฟูร์ทุกสาขาทั่วประเทศ โดยให้เขารับผิดชอบด้านการขนส่งถึง
หน้าสโตร์ พร้อมกับติดบาร์โค้ดในสินค้าทุกชิ้น
ทำให้ตลอดปี 42 ที่ผ่านมา อธิภูมิสามารถเพิ่มช่องทางการจำหน่ายในประเทศของมีศิลป์ฯ
ได้อย่างเป็นกอบเป็นกำพอสมควร ส่วนการขนส่งก็ใช้วิธีว่าจ้างบริษัทขนส่งในกรุงเทพฯ
เป็นผู้รับผิดชอบในการจัดส่งถึงแต่ละสโตร์แทน ที่จะลงทุนทำเองทั้งหมด
ไม่เพียงเท่านั้น ปลายปี 2542 ที่ผ่านมาอธิภูมิได้ติดต่อไปยังห้างสรรพสินค้าโลตัส
เพื่อนำผลิตภัณฑ์เซรามิกของเขาวางจำหน่ายในแต่ละสาขาเช่นเดียวกับ ที่ทำให้กับคาร์ฟูร์
ซึ่งผลงาน ที่เขาทำไว้กับคาร์ฟูร์ ทำให้การเปิดช่องทางการขายในลักษณะเดียวกันแต่ต่างค่ายไม่ใช่เรื่องยากนัก
โดยในกรณีของโลตัสนี้ เขาไม่จำเป็นต้องรับผิดชอบด้านการขนส่งถึงหน้าสโตร์เพียงแต่นำส่งสินค้าให้ศูนย์กระจายสินค้าของโลตัส
ที่กรุงเทพฯ เท่านั้น
ช่องทางการจำหน่ายใหม่ทั้ง 2 เครือข่ายนี้ ทำให้ยอดขายในประเทศ ของมีศิลป์ฯ
เพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่า 3 ตู้คอนเทนเนอร์ขนาด 40 ฟุต (ตู้ลำ 16,000-18,000
ชิ้น) ต่อเวลา 2 เดือน คิดเป็นมูลค่าไม่น้อยกว่า 2-3 ล้าน บาท โดยในการขายปลีกผ่านคาร์ฟูร์-โลตัส
อันเป็นตลาดในประเทศนั้น เขาจำเป็นต้องทำสต็อกสินค้าล่วงหน้าไม่น้อยกว่า
3 เดือน ตามยอดขาย ที่เคยมีเข้ามา (ส่วนหนึ่งเป็นการเตรียมความพร้อม เพื่อขายปลีกผ่าน
internet ในอนาคตด้วย)
ซึ่งสามารถทดแทนออร์เดอร์จากมาเลเซีย ของลูกค้าเก่าแก่ ที่ขอยุติการสั่งซื้อมาได้ราว
1 ปี เพราะปัญหาคุณภาพสินค้า หลังจาก ที่อธิภูมิทดลองลดอุณหภูมิการเผาลงเหลือ
1,230 ํc จ ากเดิม ที่เคยใช้ ที่ 1,250 ํc เพื่อเพิ่มความเข้มของสี ที่เพนต์ลวดลายลงไป
ทำให้ตัวเซรามิก ที่ออกมามีความเปราะเพิ่มขึ้น
อย่างไรก็ตาม จากการประสานงานกับโก๊ะเทียนสู ครั้งล่าสุด ได้ตกลงกันว่า
หลังจาก ที่เขาปรับสูตรผสมของดินขาวใหม่เพิ่มความแข็งแกร่งให้กับตัวผลิตภัณฑ์ให้เหมือนเดิม
ในขณะที่มีความเข้มของสีเพิ่มขึ้นตามอุณหภูมิ ที่ ลดลงแล้ว โก๊ะเทียนสูก็จะเริ่มสั่งออร์เดอร์ใหม่อีกครั้ง
แต่ในระหว่างนี้เขาจะหันไปสั่งออร์เดอร์จาก จีน-เวียดนาม ที่มีราคาต่ำกว่าเซรามิกไทย
หลายเท่าตัว ไปก่อน
นอกจากนี้ราวเดือนกุมภาพันธ์ 2542 ที่ผ่านมานี้เอง "พูนลาภ กำธรวรรินทร์"
หนุ่มนักเรียนนอก ผู้เป็นน้องชายของอธิภูมิ ก็เข้ามาช่วยงานในโรงงาน โดยนอกจากจะอาศัยความรู้ด้านไฟแนนซ์
ที่เรียนมาจัดระบบบัญชีการเงินของบริษัทใหม่ให้ได้มาตรฐานแล้ว
พูนลาภยังมีส่วนสำคัญสำหรับการทำตลาดต่างประเทศให้กับ มีศิลป์เซรามิก อาศัยข้อได้เปรียบด้านภาษาเป็นสำคัญ
จนถึงทุกวันนี้ มีศิลป์เซรามิกมียอดขายราว 10 กว่าล้านบาท/ปี ไม่รวมออร์เดอร์จากมาเลย์
ที่เคยมีเข้ามาปีละ 6-6.5 ล้านบาท และ เพิ่งจะหายไปเมื่อปีที่ผ่านมานี้เอง
เป็นมูลค่า ที่ได้จากการส่งออกราว 60% ขายในประเทศ 40%
โดยมีอนุวัฒน์ กำธรวรรินทร์ ที่ชอบการเลี้ยงกล้วยไม้เป็นชีวิตจิตใจ ทำหน้าที่เลี้ยงกล้วยไม้กับเซ็นเช็คให้