ตั้งแต่ปี 1998 จนถึงตอนนี้ ผมต้องหยุดการทำตลาดต่างประเทศ งดออกงานแสดง สินค้าเหมือนอย่างที่เคยมาก่อนหน้านี้เป็นการชั่วคราว
เพราะออร์เดอร์ ที่มีอยู่ตอนนี้ก็ทำกันจนไม่ไหวแล้ว"
พินิจ ศิริวัฒนกุล เป็นคนกรุงเทพฯ ศิษย์เก่าด้านบริหารธุรกิจจากรั้วรามคำแหง
เจ้าของโรงงานเอสพี เซรามิก ที่ตั้งอยู่บนเนื้อ ที่ราว 4 ไร่ย่าน ถนนลำปาง-แม่ทะ
ตำบลชมพู อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง บอกเล่าถึงความเป็นไปของกิจการผลิตเซรามิกส่งออก
ที่เขาปลุกปั้นมากับมือตั้งแต่ปี 2529 เป็นต้นมา เคียงข้างสมศักดิ์ ทาแกง
ผู้จัดการโรงงาน/ดีไซเนอร์คู่ใจ ที่ไม่มีวุฒิการศึกษาใดๆ ทั้งสิ้น
โรงงานเอสพี เซรามิก ทุกวันนี้มีกำลังผลิตราว 100,000 ชิ้น/เดือน ราคาเฉลี่ยตั้งแต่
10-150 บาท/ชิ้น จากเตาไฟเบอร์ 3 เตา ในขนาด 1 คิว, 2.5 คิว และ 1.5 คิว
อย่างละ 1 เตา มีตลาดหลักอยู่ ที่อังกฤษ ฝรั่งเศส ฮอลแลนด์ เบลเยียม และอเมริกา
อันเป็นผู้สั่งซื้อเก่าแก่ ที่ติดต่อกันเรื่อยมา หลังจาก ที่เขานำผลิตภัณฑ์ร่วมออกงานแฟร์
ที่ศูนย์ฯ สิริกิติ์ เมื่อปี 2536 ที่ผ่านมา
ผลิตภัณฑ์หลักคือ เซรามิกรูปสัตว์ต่างๆ ทุกชนิด อันเป็นรูปแบบ ที่เขาใช้เป็นธงนำมาตั้งแต่วันแรกที่ลาออกจากการเป็นเจ้าหน้าที่ฝ่ายสำรวจแหล่งแร่ของบริษัทเหมืองแร่สหการ
จำกัด เมื่อปี 2528-29 ด้วยความเชื่อมั่นว่า จะไม่ถูกก๊อบปี้จาก 5 โรงงานเซรามิกดั้งเดิมของลำปาง
ที่อดีตเน้นผลิตถ้วย จาน ชาม ลูกกรง และเน้น ที่ Blue & White เป็นหลัก
เอสพี เซรามิกของพินิจในขณะนี้นอกจากจะงดทำตลาดต่างประเทศเพิ่มเติม เพราะกำลังการผลิต
ที่มีอยู่รองรับไม่ไหวแล้ว เขาเริ่ม ที่จะจัดโครงสร้างภายในโรงงานของเขาใหม่ให้ได้มาตรฐานรองรับการขยายงาน
ที่อาจจะมีขึ้นในอนาคต ด้วยการพยายามวางโครงสร้างให้แต่ละฝ่ายโดยคร่าวๆ ก่อน
เช่น ด้านพัฒนาผลิตภัณฑ์ ที่มี สมศักดิ์ ทาแกง ที่ควบตำแหน่งผู้จัดการโรงงานติดต่อกันมาร่วม
7 ปีเป็นผู้ดูแลอยู่แล้ว รวมทั้งญาติห่างๆ ที่จบการศึกษามาจากสถาบันเทคโนโลยี
ภาคพายัพด้านออกแบบ-เซรามิก, จัดหาคนงาน ที่ทำงานในโรงงานมานานให้ขึ้นมาดูแลด้านเทคนิคการผลิตทั้งด้านการผสม
คิดค้นสูตรดิน/การเคลือบสี โดยเปิดทางให้พนักงาน ที่อยู่ในแต่ละฝ่ายคิดค้นกันขึ้นมาเอง
จากนั้น ก็เสนอมาให้เขาเป็นผู้ตัดสินใจขั้นสุดท้ายอีกครั้งหนึ่ง ส่วนงาน
ด้านบัญชี พินิจจะว่าจ้างให้สำนักงานตรวจสอบบัญชีจากภายนอกเป็นผู้ทำให้อีกต่อหนึ่ง
และหลังจาก ที่เขาสามารถวางตัวมือรองในด้านต่างๆ พร้อมแล้ว ก็จะยื่นขอจดทะเบียนจัดตั้งเป็นนิติบุคคลอย่างใด
อย่างหนึ่ง จากนั้น ก็จะเริ่มแก้ปัญหาความเป็น "แรงงานท้องถิ่น" ที่หมุนเวียนเข้าออกในอัตราถี่เกินควร
จนทำให้คุณภาพผลิตภัณฑ์ ที่ออกมาไม่สม่ำเสมอ หรือเกิดการสูญเสียมากเกินควร
อันถือเป็นปัญหาใหญ่ ที่ทำให้เขาตัดสินใจชะลอการรับออร์เดอร์ใหม่ในระยะ 2
ปีที่ผ่านมานี้ เพราะการทำอุตสาห-กรรมในท้องถิ่นภาคเหนือ ที่ต้องพึ่งพิงแรงงาน
ตามฤดูกาล ไม่สามารถพัฒนาให้เป็นอุตสาหกรรม ที่มีกรอบระเบียบปฏิบัติภายในเข้มงวดได้เต็ม
100% อย่างแท้จริง ถ้าวางกฎกันเข้มงวดเช่นนั้น แม้จะจ้างกันในอัตราสูงสุดอย่างที่เขาทำตอนนี้คือ
กว่า 300 บาท/คน/ วัน คน งานก็ไม่ทนอยู่ด้วยแน่นอน
เมื่อสิ่งเหล่านี้ลงตัว ก็จะเริ่มรุกทำตลาดอย่างจริงจังอีกครั้งหนึ่ง
การเริ่มต้นทำโรงงานเซรามิกของ พินิจ ศิริวัฒนกุล เมื่อปี 2529 ที่ผ่านมา
กล่าวได้ว่าเป็นบทเรียนของนักต่อสู้ที่ดีบทหนึ่งทีเดียว เป็นการตัดสินใจครั้งสำคัญยิ่งของเขาครั้งหนึ่ง
หลังจาก ที่บริษัทเหมืองแร่สหการ จำกัด ที่ส่งเขามาสำรวจแหล่งแร่ ที่จังหวัดลำปาง
อันเป็นต้นเหตุ ที่ทำให้เขาพบว่า ที่ลำปางมีแหล่งแร่ดินขาว ที่สามารถสร้างเป็นมูลค่าเพิ่ม
เช่นเดียวกับ ที่เขาพบเห็นในโชว์รูมเซรามิก ที่กองบริการอุตสาหกรรม ศูนย์อุตสาหกรรมกล้วยน้ำไทเมื่อคราว
ที่เขาต้องเทียวนำตัวอย่างดินจากลำปางไปเข้าห้องแล็บ ที่นั่น เพื่อตรวจสอบปริมาณแร่สำรองใต้ดิน
เพราะเมื่อบริษัทต้นสังกัดตัดสินใจถอนตัวออกจากพื้นที่ลำปาง เพราะไม่พบแหล่งแร่
ที่ต้องการ หรือพบในปริมาณ ที่ไม่เพียงพอในเชิงพาณิชย์ พินิจตัดสินใจลาออกจากบริษัท
เพื่อหันมาสร้างอาชีพใหม่กับดินขาว ที่เขาศึกษามาโดยตลอดในช่วง ที่เข้ามาทำงานในลำปาง
ด้วยเงินเดือนที่เก็บหอมรอมริบได้ราว 3-40,000 บาท ซื้อเตาไฟฟ้าใน ราคา
10,000 กว่าบาทจำนวน 1 เตา เช่าห้องแถว ที่เคยใช้เป็นที่อยู่สมัย ที่ทำงานสำรวจแร่
ขนาด 16 ตร.ม.ในอดีตมาใช้เป็นโรงงานว่าจ้างเด็กตกงาน ที่อยู่ในย่านใกล้เคียงกับ
ที่ตั้งโรงงานจำนวน 4 คน
เริ่มต้นลงมือผลิตเซรามิกตามรูปเหมือนสัตว์ประเภทต่างๆ ตาม ที่เขา เคยเห็นตั้งโชว์ในห้องโชว์ผลิตภัณฑ์ด้านอุตสาหกรรม
ที่ศู นย์อุตสาหกรรม กล้วยน้ำไทในช่วงก่อนหน้านี้ และใช้สูตรดิน ที่เขาเคยนำตัวอย่างดินขาวจากลำปางติดตัวไป
ที่ศูนย์อุตสาหกรรมฯ เพื่อขอให้เจ้าหน้าที่ ที่ดูแลด้านเซรามิก ช่วยวิเคราะห์ถึงแนวทาง
หรือสูตรผสมดินให้ทุกครั้ง เมื่อต้องเดินทางไปติด ต่อ มาเป็นสูตรผสมดินขาว
ในวันเริ่มต้น พินิจ และคนงานอีก 4 คน รวมทั้งเตาไฟฟ้าอีก 1 เตา สามารถผลิตเซรามิกตามรูปแบบ
ที่เขาคิดไว้ได้ราว 60 ชิ้น/วัน ทำได้ 1 เดือนเศษ ก็เริ่มนำเอาผลิตภัณฑ์
ที่ได้ออกวางขายในตลาดท้องถิ่นลำปาง
ด้วยความ ที่เป็นเซรามิกรูปเหมือนสัตว์ชนิดต่างๆ ที่ไม่เหมือนเซรามิกลำปางโดยทั่วไป
การนำออกจำหน่ายในตลาดท้องถิ่นก็ทำยอดขายได้ไม่เลวนัก หลังจากนั้น อีกไม่นาน
เขาก็สามารถจัดสรรเงิน ที่ได้มาซื้อเตาเผาใหม่เพิ่มอีก 1 เตา เป็นเตาแบบ
2 แผ่น ที่สามารถเผาผลิตภัณฑ์ได้มากกว่าเตาไฟฟ้า
และเมื่อสามารถผลิตเซรามิกได้ในปริมาณเพิ่มขึ้นไม่มีปัญหาเรื่องการจำหน่าย
เพราะยังถือว่าเป็นของแปลกใหม่ ในท้องถิ่น เนื้อ ที่โรงงานแค่ 16 ตร.ม. ย่อมไม่พอสำหรับพินิจอีกต่อไป
กอปรกับน้าชายของเขา ที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพฯ ได้ขึ้นมาซื้อ ที่ดินย่านบ้านไร่ป่าคา
อำเภอเมือง เนื้อ ที่ 6 ไร่ ใน ราคาราว 2 แสนบาท โดยที่ยังไม่ได้ทำประโยชน์ใดๆ
พินิจได้ขอเข้าไปทำประโยชน์ในที่ดินแปลงดังกล่าว ในลักษณะ ที่เฝ้า และพัฒนาให้โดยไม่ต้องเสียค่าเช่า
จากนั้น ก็ลงทุนโยกย้ายโรงงานไป ที่ใหม่ ราวปี 2531-32 สร้างโรงเรือนหลังคามุงจากผลิตเซรามิกออกจำหน่ายตามตลาดท้องถิ่น
เริ่มนำออกขายในต่างถิ่นโดยเฉพาะในตลาดเซรามิกกรุงเทพฯ ซึ่งในช่วงนั้น ยอดขายของเขาเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
จนจำเป็นต้องขยายโรงงานรองรับความต้องการทางการตลาดที่เพิ่มขึ้น
พร้อมกับส่งผลิตภัณฑ์เซรามิก ที่ออกจากโรงงานเอสพีเซรามิก เข้าประกวดในงานประกวดผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผา
ในงานนิทรรศการเซรามิกภาคเหนือเมื่อปี 2531 ของกรมส่งเสริมการส่งออก ซึ่งเซรามิกรูปสัตว์ต่างๆ
ของเขาได้รางวัลดีเด่นมาครอง
จากนั้น เขาตัดสินใจ ที่จะขยายโรงงานอีกครั้ง แต่ครั้งนี้ เป็นการขยายโรง
งานอย่างถาวรทั้งในแง่ของโครงสร้าง-เป้าหมายลงทุนซื้อ ที่ดินย่านถนนลำปาง-แม่ทะ
ก่อนถึงสถาบันราชภัฏลำปางเล็กน้อย โดยใช้เงิน ที่สะสมในช่วง ที่เริ่มทำเซรามิกมาได้
2-3 ปีก่อนหน้านี้ และเงินกู้จากสถาบันการเงินรวมแล้วราว 6 แสนบาท มาซื้อ
ที่ดิน ได้ 4 ไร่ พร้อมกับจัดสร้างโรงเรือนถาวร ใช้เป็นโรงงานเซรามิก
ระยะปี 2534-36 พินิจ เริ่มนำผลิตภัณฑ์ ที่เขาผลิตได้จากโรงงานเอสพี เซรามิก
เข้าร่วมงานแสดงสินค้าต่างๆ ในประเทศ เพื่อเปิด ตลาดให้กว้างขวางยิ่งขึ้น
ไม่เพียงเท่านั้น เขาเริ่มหาช่องทาง ที่จะทำตลาดในต่างประเทศด้วย โดยใช้ช่องทาง
และการสนับสนุนของกรมส่งเสริมการส่งออกในการร่วมออกงานแฟร์ตามประเทศต่างๆ
ตลอดระยะเวลา 3 ปีตั้งแต่ปี 2536-39 พินิจลงทุนนำสินค้าเข้าร่วมงานโชว์ในต่างประเทศทุกปี
จนได้รับความเชื่อถือจากกลุ่มผู้สั่งซื้อในต่างประเทศ ที่เดินทางมาร่วม และดูสินค้าในงาน
แน่นอน เซรามิก ที่เขานำออกโชว์ทุกครั้ง เป็นผลิตภัณฑ์ รูปสัตว์ ที่เขา
ใช้เป็นธงนำมาตั้งแต่เริ่มต้น
กระทั่งปี 2539 เริ่มมีออร์เดอร์จากผู้สั่งซื้อในต่างประเทศ อันเป็นคำสั่งซื้อเซรามิกตามดีไซน์
ที่เขาผลิตอยู่หลังจากนั้น ปริมาณออร์เดอร์ ที่มีเข้า มา ก็เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
บรรดาผู้สั่งซื้อ ที่เริ่มมีการติดต่อเข้ามาทยอยส่งแพลนออร์เดอร์ล่วงหน้าเข้ามาทุก
2-3 เดือน
จนเขาต้องขยายโรงงานภายในเนื้อ ที่ 4 ไร่เศษ ที่มีอยู่จนเต็มพื้นที่ จนแทบจะไม่สามารถขยายได้มากกว่า
ที่เป็นอยู่นี้อีกแล้ว คนงาน ที่มีอยู่ราว 75 คน ส่วนใหญ่ต้องทำงานล่วงเวลากันมาโดยตลอด
สัปดาห์หนึ่งทำงานไม่ต่ำกว่า 7 วันทีเดียว
ปัจจัย ที่พินิจเชื่อมั่นว่าทำให้เขาได้ออร์เดอร์จากผู้สั่งซื้อต่างประเทศอย่างต่อเนื่อง
นอกจากจะเป็นเรื่องของคุณภาพ รูปแบบสินค้า ที่แตกต่างไปจากโรงงานอื่นๆ ในลำปางแล้ว
อีกกรณีหนึ่งเป็นเพราะการโค้ดราคาเป็นเงินบาทของไทยมาตั้งแต่ต้น ทั้งก่อน-หลังลดค่าเงินบาท
เมื่อค่าเงินบาทลดต่ำลงตั้งแต่กลางปี 2539 ทำให้ราคาสินค้าของเขา เมื่อเทียบกับสินค้าจากแหล่งผลิตอื่นๆ
ตั้งแต่สาธารณรัฐประชาชนจีนขึ้นมากลายเป็นราคา ที่ผู้สั่งซื้อสามารถตัดสินใจสั่งซื้อได้ง่ายขึ้น
เมื่อเทียบกับมาตรฐานสินค้า
ตลอดระยะเวลา 2 ปีเศษ ที่ไทยมีปัญหาด้านเศรษฐกิจอย่างหนักโรงงานเอสพีเซรามิก
ไม่ได้รับผลกระทบแม้แต่น้อย ไม่มีการลดคนงาน ไม่ลดเงินเดือนใดๆ ทั้งสิ้น
ไม่เพียงเท่านั้น สถานะความเป็นลูกหนี้ของสถาบันการเงิน ที่เขาใช้เป็นแหล่งเงินทุนสนับสนุนการขยายโรงงานหลายครั้ง
ที่ผ่านมา ก็ยังไม่มีปัญหา จนถึงทุกวันนี้ แม้ว่าเอสพี เซรามิก ไม่ไ ด้จดทะเบียนในรูปนิติบุคคล
ยังคงเป็นกิจการที่มีเจ้าของคนเดียวอยู่ แต่การยื่นขอกู้เงินจากแบงก์ ยังคงได้ไฟ
เขียวกันตลอด
ก่อนสิ้นสุดการสนทนา พินิจยังคงกล่าวย้ำว่า ในระยะเวลาอันใกล้นี้ เขา คงไม่ขยับขยายโรงงานออกไปอีก
แม้ว่าผู้สั่งซื้อทั้งหน้าเก่า-ใหม่ จะมีออร์เดอร์เพิ่มเข้ามาจนเพียงพอ หรือจำเป็นต้องขยายกำลังการผลิตก็ตาม
เพื่อปรับเปลี่ยนโครงสร้างภายในองค์กรให้ลงตัวก่อน จากนั้น ค่อยว่ากันอีก
ครั้ง หนึ่ง
"ออร์เดอร์ ที่มีในมือตอนนี้มันทำกันไม่ทันอยู่แล้ว บางครั้งเรายังต้องใช้วิธีให้ผู้สั่งซื้อวางเงินมัดจำเป็นส่วนน้อย
เพื่อแลกกับการยืดระยะเวลาส่งมอบสินค้าออกไปให้นานที่สุด เท่า ที่จะทำได้
ทั้ง ที่ลูกค้าต้องการที่จะชำระให้ทั้งหมด 100% เพื่อให้เราส่งมอบสินค้าให้เขาได้ตรงตามกำหนดเวลา
ที่เขาต้องการ"