ในที่สุด สื่อมวลชนและแวดวงคนรอบตัวนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตร ก็ได้พบกับตัวจริงเสียงจริงของนักคิดนักเศรษฐ
ศาสตร์ที่นายกฯ เอ่ยชื่อถึงมาระยะหนึ่ง และคาดว่าในราวต้นปีหน้า แนวทางปฏิบัติ
จากการประยุกต์แนวคิดของเฮอร์นานโด เดอ โซโต้ ก็จะเห็นรูปธรรมที่ชัดเจนมากขึ้น
ชื่อของเดอ โซโต้คงจะเป็นที่รับรู้อย่างจำกัดเฉพาะแวดวงนักเศรษฐศาสตร ์
สนใจการแก้ปัญหาเศรษฐกิจของประเทศ เปรู แต่บังเอิญอดีตประธานาธิบดีบิล คลินตัน
แห่งสหรัฐฯ ได้เอ่ยชื่อนี้กับนายกฯ ทักษิณในคราวพบกันเมื่อปีที่แล้ว และก่อน
หน้านั้น กนต์ธีร์ ศุภมงคล ผู้แทนการค้าไทย ก็เคยซื้อหนังสือของเดอ โซโต้มาฝาก
นายกฯ แล้ว
นั่นเป็นสาเหตุให้นายกรัฐมนตรีเชื้อเชิญเดอ โซโต้มาเยือนไทยในฐานะแขกส่วนตัวเมื่อต้นเดือนพฤศจิกายน
เพื่อพูดคุยแนวคิดและแลกเปลี่ยนประสบการณ์ กับบรรดา "คนวงใน" ของนายกฯ
ซึ่งหนึ่ง ในนั้นคือ พันศักดิ์ วิญญรัตน์ ประธานที่ปรึกษาด้านนโยบายของนายกฯ
และเป็นผู้ดูแลการทำแนวคิดแปลงสินทรัพย์เป็นทุนที่มีรากมาจากแนวคิดของเดอ
โซโต้ นำไปประยุกต์ออกมาเป็นแนวทางในการปฏิบัติ
พันศักดิ์บอกว่าเขาจะจัดเวิร์คชอประหว่างหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องทั้งหลาย
โดยเฉพาะหน่วยงานที่ทำหน้าที่ออกเอกสารแสดงการมีสิทธิบนสินทรัพย์ ทั้งที่มีความชัดเจนและไม่มีความชัดเจน
ซึ่งก่อนหน้านี้ก็เคยมีการพูดคุยกันมาบ้างแล้ว ในการทำเวิร์คชอปครั้งนี้จะใช้เวลาสั้น
และจะมีแนวทางจากฝ่ายรัฐบาลเสนอให้พิจารณาเพื่อร่างแนวทางที่ชัดเจน หลังจากนั้นรัฐบาลต้องตัดสินใจว่าควรจะออกเป็นร่างพระราชบัญญัติ
เพื่อให้เกิดความชัดเจน และเป็นมาตรฐานต่อไปในอนาคตหรือไม่
เขามองว่าสิ่งที่จะทำได้ก่อนคือ การปรับกฎกระทรวง กฎกอง กฎเทศบาลต่างๆ
โดยความร่วมมือบางส่วนจากบางหน่วยงาน เช่น กระทรวงสาธารณสุข ในเรื่องของพื้นที่ทางเท้า
เป็นต้น ทำให้เกิดสิทธิชั่วคราว หรือ temporary right ซึ่งระบบธนาคารของรัฐและของเอกชนสามารถรับได้
"ประเด็นคือปรับกฎหมายลูกทั้งหลาย ไม่ต้องแตะกฎหมายแม่ เพื่อไปรับรองสิทธิชั่วคราว
แล้วค่อยให้เปลี่ยนสิทธิเหล่านี้ในขั้นต่อๆ ไป อย่างไรก็ดี สิทธิชั่วคราวที่เราจะแก้
กฎหมายลูกไปรับรองนี่คืออะไรบ้าง เรายังไม่ได้สรุปเรื่องนี้กับท่านนายก ต้องสรุปก่อนแล้วค่อยไปทำเวิร์คชอป
" พันศักดิ์ยอมรับว่าการดำเนินงานบางอย่างของไทย มีความก้าวหน้ากว่าหากมองจากมุมของเดอ
โซโต้ เช่น เรื่องเอกสารสิทธินั้น ไทยมีระบบนี้มานานแล้ว คือเอกสารแสดง สิทธิในที่ดินซึ่งมีอยู่หลายประเภทจำนวนมาก
(เช่น นส. ต่างๆ และยังมี สปก.อีก) มันมีกระบวนการอย่างนี้อยู่ และยังมีกองทุน
สปก. ให้คนมายืมเงินทุนอีก
ว่าไปแล้วแนวคิดของเดอ โซโต้กับนโยบายประชานิยมของรัฐบาลปัจจุบันก็สอดคล้องรองรับกันดี
เดอ โซโต้ได้กล่าวถึงโครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ของรัฐบาลว่า เป็นโครงการที่มอบความไว้วางใจในการบริหารลงสู่ประชาชนที่เป็นฐานรากของสังคม
สิ่งนี้เกิดขึ้นในยุโรปช่วงศตวรรษที่ 18 และ 19 ซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงจากชาติที่ปกครอง
โดยกลุ่มชนชั้นนำไปเป็นชาติที่มีฐานเศรษฐกิจจากชนส่วนใหญ่ในสังคม หรือที่เรียกว่าเศรษฐกิจรากหญ้า
อย่างไรก็ดี เดอ โซโต้ไม่ได้มีความรู้เรื่องประเทศไทยมากนัก และเขามาพำนักอยู่เพียง
3 วันก็จากไป สิ่งที่เหลือคือ การประยุกต์แนวคิดของเขา จัดมันให้เข้ากับนโยบายประชานิยมของรัฐบาล
และนำไปปฏิบัติได้จริงต่างหาก