จากเด็กขายผ้า-ยังเติร์กดินเผา
ริมถนนสายเชียงใหม่-ลำปาง เขตบ้านไร่ข่วงเปา ตำบลปงแสนทอง อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง
เป็นที่ตั้งของ หจก. มีลาภเซรามิก โรงงานเซรามิก เพื่อการส่งออกชั้นแนวหน้าอีกแห่งหนึ่งของจังหวัดลำปาง
ที่มีผลิตภัณฑ์ ที่โดดเด่นอยู่ ที่ "มิเนียเจอร์"
ไม่ว่าจะเป็นชุดเบญจรงค์-mini porcelain tea set-hanging dolls-ชุดแจกันดอกไม้
และ handicraft porce lain-stoneware-terra cotta เป็นต้น ซึ่งผลิตภัณฑ์ส่วนใหญ่ล้วนย่อส่วนลงจากผลิตภัณฑ์ประเภทเทเบิลแวร์
และเน้นไป ที่ Hand made & paint แทนการใช้สติ๊กเกอร์เหมือนกับโรงงานเซรามิกในลำปางทำกันมาในอดีต
หลายครั้ง ที่รถทัวร์นำเที่ยวทั้ง ที่เป็นกลุ่มนักท่องเที่ยวต่างชาติ-คนไทยมักจะจอดแวะเข้าเยี่ยมชมผลิตภัณฑ์
พร้อมกับไกด์นำเที่ยว ที่เพียรติดต่อขอนำทัวร์ลง เพื่อให้ "มีลาภเซรามิก"
เป็นแหล่งชอปปิ้งกินค่าน้ำในแต่ละทริป
แต่ก็ได้รับการปฏิเสธจาก มีลาภ ตั้งสุวรรณ หนุ่มใหญ่ วัย 38 ปี เจ้าของผู้จัดการ
หจก.มีลาภเซรามิก ทุกครั้งด้วยเหตุผลที่ว่า การขายปลีกหน้าโชว์รูม ที่มียอดขายวันละ
2-3 พัน หรือ 3-4 พัน/วัน ไม่คุ้มกับการที่เขาจะ ต้องยุ่งยากกับการจัดพนักงานมาขายหน้าโชว์รูม
หรือแพ็กของครั้งละ 5-10 ชิ้นทุกวัน อันจะเป็นการกระทบกับกระบวนการผลิตตามออร์เดอร์
ที่ได้รับมาจากลูกค้าทั้งใน และต่างประเทศของเขา
มีลาภ ตั้งสุวรรณ อุปนายกสมาคมเครื่องปั้นดินเผาจังหวัดลำปาง ได้ชื่อว่าเป็นคนหนุ่มไฟแรง
ที่ปลุกปั้น หจก.มีลาภเซรามิก ขึ้นมาโดยใช้เวลาเพียงไม่กี่ปีก็สามารถผลักดันให้ผลิตภัณฑ์เซรามิก
ที่ออกจากโรงงานของเขาติดตลาดทั้งใน และต่างประเทศรวมทั้งสามารถยืนหยัดมาได้จนถึงทุกวันนี้
กลายเป็น 1 ในกลุ่มผู้ประกอบการอุตสาหกรรมเซรามิกชั้นนำของจังหวัดลำปาง
คนในแวดวงเซรามิกลำปางต่างยอมรับว่า มีลาภเป็นคนสู้ชีวิตคนหนึ่ง ทั้ง ที่ไม่มีพื้นฐานด้านเซรามิกแม้แต่นิดเดียว
วุฒิการศึกษาก็มีอยู่เพียงระดับมัธยม มีอาชีพดั้งเดิมเป็นเด็กขายผ้าแผงลอยในตลาดสบตุ๋ย
จังหวัดลำปาง
แต่เขากลับใช้เวลาเพียงไม่ถึง 5 ปีหลังการก่อตั้งโรงงานกับการออกงาน Exhibition
4 ครั้งคือ ที่ญี่ปุ่น 2 ครั้ง เยอรมนี 1 ครั้ง และอังกฤษ อีก 1 ครั้งก็สามารถทำยอดส่งออก
ที่คิดเป็นมูลค่าไม่น้อยกว่า 900,000 เหรียญสหรัฐต่อปี หรือราว 34.2 ล้านบาท/ปี
(อัต ราแลกเปลี่ยน 38 บาท/ เหรียญ สหรัฐ) คิดเป็นสัดส่วนราว 60% ของกำลังการผลิตทั้งหมด
ที่มีอยู่ราว 50,000 ชิ้น/เดือน
มีตัวแทนจำหน่ายทั้งในเยอรมนี และกลุ่มประเทศใน EU อีกหลายประเทศตลอดจนผู้สั่งซื้อขาประจำทั้ง
ที่ญี่ปุ่น ฮ่องกง แคนาดา และ สหรัฐ อเมริกา เป็นต้น
การตัดสินใจ ที่จะเปลี่ยนอาชีพจากเด็กขายผ้าแผงลอยมาทำโรงงานเซรามิกของมีลาภ
เริ่มขึ้นเมื่อ 10 กว่าปีก่อน เพราะเห็นว่าในกลุ่มนักอุตสาหกรรมเซรามิกลำปางรุ่นแรกๆ
ต่างมีสถานะร่ำรวยขึ้นอย่างรวดเร็วจากการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับดินขาวลำปาง
กอปรกับราวปี 2528- 29 ที่โรงเรียนลำปางกัลญาณี มีการเปิดคอร์สอบรมออกแบบผลิตภัณฑ์เซรามิก
ภายใต้การสนับสนุนด้านเงินทุนจากกรมการศึกษานอกโรงเรียนเป็น ระยะเวลา 3 เดือน
มีอาจารย์จากวิทยาลัยครูพระนคร ที่สอนด้านเซรามิกอยู่แล้วมาเป็นผู้สอน
เขาก็เป็น 1 ใน 30 กว่าคนที่เข้ารับการอบรมคราวนั้น จากนั้น ก็ลงทุนซื้อ
ที่ดินย่านถนนลำปาง-เชียงใหม่ เนื้อ ที่ทั้งหมดราว 10 ไร่เศษ ในราคา 2 ล้านบาทเมื่อ
10 กว่าปีก่อน (ปัจจุบันราคาตกไร่ละประมาณ 2 ล้านบาทเศษ) เริ่มจากโรงงานขนาดเล็ก-คนงานไม่กี่สิบคนกับเตาแก๊สเพียงเตาเดียวผลิตออมสิน-ของตั้งโต๊ะ
เป็นต้น
อย่างไรก็ดี ด้วยความ ที่ไม่เคยมีประสบการณ์ทั้งด้านการจัดการ- เทคนิคการผลิต
ปีแรก มีลาภยอมรับว่า ต้องเจอกับปัญหาค่อนข้างมากขั้นตอนการผลิตคุมไม่ได้กว่า
40-50% ของสินค้า ที่ผลิตออกมาใช้การไม่ได้จับทิศทางดีไซน์สินค้า หรือความนิยมผู้บริโภคไม่ถูก
เพราะออมสิน-ผลิตภัณฑ์ เซรามิกตั้งโต๊ะ ที่นอกจากจะเห็นกันดาษดื่นทั่วไปในช่วงนั้น
แล้ว ออมสินเซรามิก ก็ไม่มีข้อแตกต่างไปจากออมสินปูนพลาสเตอร์ ที่มีราคาต่ำกว่า
1 เท่าตัว นัก
แต่เขาก็ต้องทำด้วยการลองผิดลองถูกมาตลอด และจากการตระเวนออกร่วมงานแสดงสินค้าต่างๆ
แล้ว พบว่า มีเซร ามิกประเภทหนึ่ง ที่ไม่ค่อยมี ผู้ผลิตมากนัก แต่ลูกค้า
ที่ซื้อ "ต่อราคาไม่ลง" ก็คือ มิเนียเจอร์ ทำให้มีลาภเริ่ม ทดลองผลิตขึ้นในโรงงานของเขา
และเริ่มนำผลิตภัณฑ์ ที่พอใช้ได้ออกงานแฟร์ในประเทศ-ส่งขายตามตลาดจตุจักร
กรุงเทพฯ
และด้วยปัจจัย ที่อยู่ใกล้แหล่งวัตถุดิบคือ ดินขาว และค่าแรง ที่สมัยนั้น
ต่ำ เพียง 40 กว่าบาท/วัน/คน และไม่มี โรงงานเซรามิกในลำปางรายใดผลิตสินค้าประเภทนี้มาขายทำให้เขาสามารถกำหนดราคาสินค้า
ที่ผลิตออกมาได้ต่ำกว่าโรงงานเซรามิกทั้งขนาดใหญ่-กลางในกรุงเทพฯ-ปริมณฑลทำออกมาค่อนข้างมาก
อาทิ mini porcelain tea set ที่มีลาภเซรามิกทำออกมาจะขายในราคาเพียง 50-70
บาท/ชุด ขณะที่โรงงานในกรุงเทพฯ ขายในระดับ 100 บาท ขึ้นไป/ชุด เป็นต้น
กระทั่งปีที่ 2-3 ของการก่อตั้งโรงงานผลของการตระเวนออกงาน แสดงสินค้าในประเทศไม่ว่างานเล็ก
งานใหญ่ เริ่มปรากฏ สามารถจับทิศทางรสนิยมผู้บริโภคได้ โดยเฉพาะในกลุ่มของชำร่วย-มิเนียเจอร์เซรามิก
ทำให้มีออร์เดอร์จากโรงงานเซรามิกใหญ่ส่งเข้ามาให้
การฉีกรูปแบบผลิตภัณฑ์ของมีลาภ ที่แตกต่างไปจากเซรามิกของโรงงานอื่นๆ ในลำปางอย่างสิ้นเชิง
ทำใ ห้เขาสามารถหลีกเลี่ยงปัญหาการลอกเลียนแบบได้เกือบ 100% เพราะผู้ประกอบการส่วนใหญ่เห็นว่า
มิเนีย เจอร์เป็นงาน ที่ยาก ทำให้เซรามิกประเภทนี้ไม่ค่อยมีออกมาในตลาดราคาจำหน่าย
ในท้องตลาดจึงไม่ถูกกดมากนัก
ปีที่ 3-4 หลังการตั้งโรงงาน มีลาภก็สามารถขยายโรงงานได้ทันที เพิ่มทั้งเตาเผา-คนงาน
ปีที่ 5-6 เริ่มออกงานแฟร์ในต่างประเทศร่วมกันกรมส่งเสริมการส่งออก อันถือเป็นจุดเริ่มต้นของการเปิดตลาดต่างประเทศ
ซึ่งต่อมาเขาจะร่วมออกงานด้วยทุกปี
โดยใช้ผลิตภัณฑ์มิเนียเจอร์เซรามิก ที่เป็นจุดเด่นของตนเองเป็นธงนำ ที่มีการออกแบบผลิตภัณฑ์ให้หลากหลายมากยิ่งขึ้น
อาศัยการศึกษาจากนิตยสารต่างประเทศ แ ล้วนำมาดัดแปลงเอาเองเป็นหลัก
และร่วม 5 ปีของการทำตลาดต่างประเทศ มิเนียเจอร์เซรามิกของมีลาภ ก็สามารถเป็นธงนำสำหรับการเปิดตลาดส่งออกของ
หจก.มีลาภเซรามิก ได้ทั้งในตลาดอเมริกา กลุ่มประเทศ EU และญี่ปุ่น กลายเป็นผลิตภัณฑ์
หลัก ที่มีลาภผลิต ขึ้นในโรงงานของเขา ภายใต้สัดส่วน ที่มากกว่า 70-80%
อย่างไรก็ตาม การส่งออกเซรามิกของมีลาภทั้งหมด โดยเฉพาะในส่วนของมิเนียเจอร์เซรามิก
ที่เขาดัดแปลง-คิดค้นรูปแบบ-ดีไซน์ขึ้นมานั้น แม้ว่าจะไม่เป็นผลิตภัณฑ์ในกลุ่ม
Made to order จากผู้สั่งซื้อก็ตาม แต่จนถึงวันนี้ เขายังไม่หาญกล้าถึงขั้นตีตรา
"by meelarp ceramic ltd. part. thailand" ได้
ยังคงต้องยืมจมูกบรรดาผู้สั่งซื้อตามประเทศต่างๆ ที่มีออร์เดอร์เข้ามาหายใจอยู่
มีลาภให้เหตุผลว่า เขายังไม่อยากเสี่ยง เพราะถ้าหากเขาตัดสินใจทำแบรนด์ขึ้นมา
โอกาส ที่ผู้สั่งซื้อในต่างประเทศ จะนำเอาดีไซน์สินค้า ที่เขาเคยผลิตอยู่ส่งให้โรงงานเซรามิกในแหล่งผลิตอื่นๆ
ที่มีข้อได้เปรียบเรื่องต้นทุน ที่ต่ำกว่าหลายเท่าตัวอย่างสาธารณรัฐประชาชนจีน
เป็นผู้ผลิตให้แทนก็มีอยู่สูง
เพราะผลิตภัณฑ์เซรามิกในคอลเลกชั่นต่างๆ ที่เขาทำออกมา ไม่ได้จดทะเบียนเป็นทรัพย์สินทางปัญญาไว้เนื่องจากเห็นว่าดีไซน์-เทรนด์สีของเซรามิก
มีการเปลี่ยนแปลงทุกปี
หากต้องจดทะเบียนไว้ทุกประเภท ก็ทำกันไม่หวาดไม่ไหวแน่นอน เพราะแต่ละปีมีลาภเซรามิก
จะมีผลิตภัณฑ์ในรูปแบบใหม่ๆ นำเสนอต่อลูกค้าไม่น้อยกว่า 200-300 รูปแบบ หนำซ้ำการก๊อบปี้สามารถทำได้ง่ายหากจะทำกัน
เพียงแต่นำเอารูปแบบสินค้าไปเปลี่ยนสี เพิ่มขนาดเล็กน้อยหรือเปลี่ยนแปลงรูปแบบเพียงเล็กน้อย
ก็สามารถทำได้แล้ว
มีลาภยังเชื่อมั่นว่า การจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญา สำหรับเซรามิก คอลเลกชั่นต่างๆ
ที่เขาทำออกมา ไม่มีส่วนช่วยเหลือกิจการของเขามากนัก
ขณะเดียวกันทุกวันนี้ มีลาภยอมรับว่า มีออร์เดอร์ล้นมือ ทำกันแทบไม่ทันอยู่แล้ว
โดยเฉพาะช่วงตั้งแต่ปลาย ปี 2539 ที่ค่าเงินบาท ของไทยลดลง ยิ่งทำให้ลูกค้าในต่างประเทศรายใหม่
ที่ยังไม่เคยสั่งออร์เดอร์เข้ามาตัดสินใจติดต่อซื้อขายกับเรามากขึ้น
มิหนำซ้ำยังเริ่มมีลูกค้า ที่ต้องการให้โรงงานเขาผลิตเซรามิกขึ้นมาตามดีไซน์ของเขาเพิ่มขึ้นทุกระยะ
จนเขาต้องพยายามคัดเลือกเอาเฉพาะรูปแบบ ที่สามารถขายในประเทศได้ เนื่องจากตลอดระยะเวลา
10 กว่าปีที่ก่อตั้งโรงงานมาจนถึงทุกวันนี้ มีลาภยอมรับว่า ยังไม่สามารถควบคุมคุณภาพการผลิตได้
100% ทุกครั้งจะ มีผลิตภัณฑ์ตกเกรดไม่ต่ำกว่า 20% ขึ้นไป
ทำให้เขาจำเป็นต้องเลือกออร์เดอร์ลูกค้า เพื่อให้สินค้าตกเกรดเหล่านี้มีช่องทางการระบายเข้าสู่ตลาด
แทน ที่จะต้องทิ้งไปทั้งหมด ซึ่ง ที่ผ่านมาบรรดาสินค้าตกเกรดเหล่านี้มักจะถูกส่งไปขายตามตลาดจตุจักร
กรุงเทพฯ-ไนท์บาซาร์ จังหวัดเชียงใหม่ มาโดยตลอดรวมทั้งเซรามิกประเภทเทเบิลแวร์
ที่ อยู่ในไลน์การผลิตของโรงงานมีลาภฯ ราว 20-30% ด้วย
นอกจากประเด็นปัญหาคุณภาพสินค้า ที่มีลาภจำเป็นต้องหาตลาดในประเทศมารองรับสินค้าตกเกรดอยู่ทุกวันนี้
แทน ที่จะสามารถทุ่มกับการผลิตเซรามิก เพื่อการส่งออก 100% แล้ว อีกปัญหาหนึ่ง
ที่มีลาภ ยอมรับว่า ยังคงเป็นปัญหาสำหรับเขาทุกวันนี้ ก็คือ
การจัดการภายในองค์กร โดยเฉพาะในเรื่องของแรงงานตามฤดูกาลในท้องถิ่นของลำปาง
เขาบอกว่า ด้วยฐานด้านการศึกษา ที่ไม่สูงนักของเขาทำให้ไม่มีทักษะด้านการบริหารมากนัก
รูปแบบการจัดการที่เขาใช้ในโรงงานตลอด ก็เป็นลักษณะของเถ้าแก่ในอดีต
ขณะที่อุตสาหกรรมเซรามิกจำเป็นอย่างยิ่ง ที่จะต้องใช้แรงงานฝีมือต้องเลี้ยงคน
สั่งสมคนที่มีประสบการณ์ไว้ให้มากที่สุดเท่า ที่จะทำได้ เนื่องจากขั้นตอนการผลิตของมีลาภเซรามิก
ส่วนใหญ่ ล้วนใช้มือแทบทั้งสิ้น ดังนั้น การใช้กฎระเบียบ ที่เข้มงวด 100%
กับแรงงานในท้องถิ่นทำไม่ได้
ไม่เพียงเท่านั้น ค่าแรง ที่เขาจ่ายให้กับแรงงานนั้น แม้ว่า ระยะแรกของ
คนที่เข้าทำงานใหม่ หากไม่มีฝีมือด้า นเซรามิก อยู่เลย อาจจะไม่ได้รับตาม
กฎหมายแรงงาน แต่ภายในระยะเวลาเพียง 6-12 เดือน เราต้องปรับระดับ ค่าจ้างของเขาให้สูงกว่าค่าแรงขั้นต่ำแทบทุกคน
ทุกวันนี้แรงงาน ที่ทำงานในมี ลาภเซรามิก บางรายมีรายได้เ ดือนละ 2 หมื่นกว่าบาทก็มี
โดยเฉพาะงาน ด้านดีไซน์
"เราต้องรักษาคนงานให้อยู่กับเรานานที่สุด เพราะ นั่นหมายถึงสัดส่วน ผลิตภัณฑ์ตกเกรด
หรือความสูญเสีย ที่ เกิดขึ้นระหว่างการผลิต ที่มีอยู่ราว 20% ใ นขณะนี้
จะลดลงไปเรื่อยๆ เมื่อคนงานทุกคนมีฝีมือได้มาตรฐาน" มี ลาภกล่าวย้ำ
ซึ่งนั่นหมายถึงผลกำไร ที่จะเพิ่มขึ้นตามไปด้วยแน่นอน
และในเวลาอันใกล้นี้ หลังจาก ที่เขาสามารถจัดระบบควบคุมคนงาน เพื่อให้กระบวนการผลิตมีประสิทธิภาพเต็มที่
มีลาภตั้งใจว่า จะเริ่มศึกษาแนวทางการใช้ E-commerce เข้ามาช่วยสนับสนุนด้านการตลาด
แต่ไม่ได้หมายถึงขั้นการเปิดช่องทางการค้าปลีกเซรามิกผ่านอินเตอร์เน็ต เพราะมีลาภเห็นว่าไม่คุ้มสำหรับโรงงานเซรามิก
โดยขณะนี้กำลังหารือกับ เพื่อนฝูงในวงการ เพื่อเริ่มต้นทำโบรชัวร์ ออนไลน์
พร้อมกับเปิด E-mail address ขึ้นมาติดต่อประสานงานกับลูกค้าทั้งใน และต่างประเทศ
อันจะช่วยลดขั้นตอนการติดต่อประสานงาน/ค่าใช้จ่ายด้านการสื่อสารลงไปกว่า
ที่เป็นอยู่อีกทางหนึ่งด้วย