จากสภาวะล่มสลายของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์จาก ผลกระทบทางเศรษฐกิจ ใครจะคิดบ้างว่าท่ามกลางวิกฤติการณ์
ยังมีกลุ่มธุรกิจที่กล้าคิด กล้าทำ สร้างนวัตกรรมใหม่ ในเส้นทางที่ตนเองถนัดและไปไกลกว่าที่คาด
สยามฟิวเจอร์กับอนาคต จากสภาวะล่มสลายของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์จาก ผลกระทบทางเศรษฐกิจ
ใครจะคิดบ้างว่าท่ามกลางวิกฤติการณ์ ยังมีกลุ่มธุรกิจที่กล้าคิด กล้าทำ สร้างนวัตกรรมใหม่
ในเส้นทางที่ตนเองถนัดและไปไกลกว่าที่คาด จากแนวนโยบายเด่นชัดผสมผสานกับความเชี่ยวชาญในธุรกิจและวิสัยทัศน์ที่ก้าวหน้า
ทำให้สยามฟิวเจอร์ดีเวลอปเมนท์ กลายเป็นต้นแบบของธุรกิจด้านการพัฒนา อสังหาริมทรัพย์เพื่อการค้าปลีกในประเทศ
ไทยจนกระทั่งยกระดับขึ้นในฐานะผู้นำและปัจจุบันดูเหมือนว่ายังไม่มีคู่แข่งที่แท้จริง
สยามฟิวเจอร์ฯ ก่อตั้งในปี 2537 เพื่อพัฒนาและบริหารศูนย์การค้าแบบเปิด
หรือศูนย์การค้าชุมชน (Neighborhood Shopping Center) ถือเป็นรูปแบบการดำเนินกิจการใหม่และยังไม่เป็นที่นิยม
เนื่องจากขณะนั้นซูเปอร์มาร์เก็ตส่วนใหญ่ตั้งอยู่บริเวณชั้นใต้ดินหรือชั้นแรกภายในห้างสรรพสินค้า
ลักษณะการดำเนินธุรกิจ คือการ นำตลาดสดหรือร้านโชวห่วยตามตึกแถวเดิมมาจัดระบบใหม่โดยมีมืออาชีพเข้ามาบริหารพื้นที่
หมายถึงซูเปอร์มาร์เก็ตเข้ามาแทนที่ตลาดสดซึ่งเป็นที่นิยมกันอย่างมากในอเมริกาและยุโรป
อย่างไรก็ตาม ด้วยความสามารถในการยึดทำเลที่มีศักยภาพต่อการเปิดศูนย์การค้าแบบเปิดของสยามฟิวเจอร์ฯ
ลูกค้าหรือผู้เช่าจึงมั่นใจต่อการดำเนินธุรกิจเป็นแรงผลักดันให้บริษัทเติบใหญ่อย่างต่อเนื่อง
"ทุกแห่งมีผู้เช่าเต็มเกือบ 100% และการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ รายได้ของประชากรเพิ่มขึ้นทำให้ธุรกิจค้าปลีก
เติบโตสูงขึ้น" นพพร วิฑูรชาติ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารสยามฟิวเจอร์ฯ กล่าว
นอกจากนี้ที่ผ่านมาซูเปอร์มาร์เก็ต มีแนวโน้มลดลงในการที่เข้าไปเปิดตามห้าง
สรรพสินค้า รวมทั้งธุรกิจค้าปลีกขนาดใหญ่ อาทิ เทสโก้ โลตัส, บิ๊กซี หรือคาร์ฟูร์
ที่ใน อนาคตไม่มีความประสงค์พัฒนาที่ดินด้วยตนเองจึงเป็นโอกาสของสยามฟิวเจอร์ฯ
เข้าไปเจรจาร่วมเป็นพันธมิตร
"พวกเขาจะกลายเป็นผู้เช่าภายในศูนย์การค้าของเรา" นพพรบอก
สาเหตุที่ทำให้เขาเกิดความมั่นใจ เนื่องจากการขยายตัวศูนย์การค้าแบบเปิดมีอย่างต่อเนื่องโดยจากสถิติของสภาศูนย์
การค้าระหว่างประเทศ (ICSC) พบว่าจาก ศูนย์การค้าทั้งหมด 45,721 แห่งในอเมริกา
95% เป็นศูนย์การค้าแบบเปิด
หากพิจารณาเฉพาะธุรกิจค้าปลีกคาดว่าไม่มีการหยุดขยายตัว จากการสำรวจของ
M+M Planet Retail พบว่าธุรกิจนี้ขยายสาขากันทั่วทุกมุมโลก โดยเฉพาะแถบประเทศกำลังพัฒนา
เช่น อเมริกาใต้ในปี 2545 มีร้านค้าปลีก 2,861 แห่ง เพิ่มขึ้น 237.38% จากปี
2540 ขณะที่ยุโรปกลางและตะวันออก ในปี 2545 มีร้านค้าปลีก 2,250 แห่ง เพิ่มขึ้น
185.89% จากปี 2540 เช่นเดียวกับเอเชียแปซิฟิกตัวเลขในปีนี้อยู่ที่ 28,663
แห่งเพิ่มขึ้น 51.30% ภายในระยะเวลา 5 ปี
ตัวเลขดังกล่าวเป็นสิ่งยืนยันอนาคต สดใสของสยามฟิวเจอร์ฯ ประกอบกับประมาณ
4 ปีที่ผ่านมากลุ่มคู่แข่งบางแห่งหยุดดำเนินงานศูนย์การค้าเปิด อาทิ กลุ่มสยามพรีเมียร์และกลุ่มเฟิสท์แปซิฟิค
"ก่อน วิกฤติเศรษฐกิจมีเจ้าของที่ดินมาเปิดโครงการเอง แต่ปัจจุบันแทบไม่มีใครลงทุน
เพิ่มเพราะไม่ใช่ตลาดของมือสมัครเล่น" นพพรเล่า
ด้วยความสำเร็จอันรวดเร็วผสมผสานกับการมองอนาคตอย่างมั่นใจ จากนี้ไปสยามฟิวเจอร์ฯ
จึงเป็นกลุ่มธุรกิจที่น่าจับตามองเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะหลังเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ใหม่
(MAI) เพื่อระดมทุนสำหรับโครงการใหม่ๆ ที่ต้องใช้เงินถึง 80 ล้านบาท