กรุงไทยคลอดกองทุนพันธบัตร1ปี ระบุไตรมาส4ผลตอบแทนยังพุ่งต่อ


ผู้จัดการรายวัน(2 พฤศจิกายน 2548)



กลับสู่หน้าหลัก

บลจ.กรุงไทยคลอด กองทุนรวมกรุงไทยบริหาร เงิน 7 มูลค่าโครงการ 2,000 ล้านบาท ลงทุนตราสารหนี้ภาครัฐอายุ 1 ปี พร้อมเปิดขายหน่ายลงทุน 1-14 พฤศจิกายนนี้

นายศรีภพ สารสาส กรรมการผู้จัดการและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน กรุงไทย จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า บริษัทเตรียมเปิดจำหน่ายกองทุนรวมกรุงไทยบริหาร เงิน7 (The Krung Thai Cash Management : KTCM7 ) อายุโครงการ 1 ปี มูลค่าโครงการ 2,000 ล้านบาท ในวันที่ 1-14 พฤศจิกายน 2548 นี้ โดยกองทุนดังกล่าวเป็นกองทุนที่ลงทุนในตราสารหนี้ ซึ่งเน้นลงทุนในตั๋วเงินคลัง และพันธบัตรรัฐบาล และพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย โดยผู้ลงทุนจะได้รับเงินต้นพร้อมผลตอบแทนเมื่อครบอายุโครงการ นอกจากนี้ ยังได้สิทธพิเศษสามารถนำกองทุนเป็นหลักทรัพย์ค้ำประกันกับธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ได้ประมาณ 90% ของจำนวนเงินที่ลงทุนและสามารถ โอนเปลี่ยนมือให้บุคคลอื่นได้

นายศรีภพกล่าวต่อว่าภาวะตลาดตราสารหนี้ที่มีอายุไม่เกิน 1 ปี มีการปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่าง ต่อเนื่อง ซึ่งนับว่าเป็นการปรับตัวที่สอดคล้องกับอัตราดอกเบี้ยธนาคาร และอัตราเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จึงนับว่าเป็นกองทุนที่เหมาะสมสำหรับนักลงทุนที่ไม่ต้องการความเสี่ยง และได้รับผลตอบแทนที่แน่นอน

ทั้งนี้ ในช่วงไตรมาส 3 ที่ผ่าน มา บลจ.กรุงไทยได้เสนอขายกอง ทุนใหม่ถึง 6 กองทุน โดยเป็นกอง ทุนที่เน้นลงทุนในตราสารหนี้ระยะสั้น เช่น ตั๋วเงินคลัง พันธบัตรรัฐบาล พันธบัตรธนาคารแห่งประ-เทศไทย และพันธบัตรรัฐวิสาหกิจที่มีกระทรวงการคลังค้ำประกัน ซึ่งเหมาะสำหรับผู้ลงทุนที่ไม่ต้องการความเสี่ยงสูงและหาโอกาสได้รับผล ตอบแทนสูงกว่าเงินฝากธนาคาร โดยที่ผู้ลงทุนจะได้รับเงินต้นและผลตอบแทนคืนเมื่อครบกำหนดอายุโครงการ

อย่างไรก็ตาม ในช่วงไตรมาส 4 ของปีนี้ บลจ.กรุงไทยยังมีกอง ทุนในลักษณะดังกล่าวออกมาอย่าง ต่อเนื่อง เพื่อให้ผู้ลงทุนได้ทยอยจัดสรรเงินลงทุน นอกจากนี้ ยังมีกองทุนเปิดกรุงไทยวางแผนภาษีเพื่อการเลี้ยงชีพ 3 ที่เน้นลงทุนในตั๋วเงินคลังและมีความเสี่ยงในการลงทุนต่ำมาก รวมทั้งยังได้รับสิทธิในการลดหย่อนภาษีด้วย

สำหรับแนวโน้มตลาดตราสารหนี้ในช่วงไตรมาส 4 ของปีนี้ คาดว่าอัตราผลตอบแทนของตรา สารหนี้ภาครัฐน่าจะยังคงมีแนวโน้มปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องตามทิศทางของการดำเนินนโยบาย การเงิน โดยเฉพาะการที่ธนาคารแห่งประเทศไทยต้องการให้อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงเป็นบวกภายในกลางปี 2549 ซึ่งหมายถึงดอกเบี้ยอาร์/พี 14 วัน น่าจะปรับเพิ่มได้อีก 0.50%-0.75% ในช่วงไตรมาส 4 และต่อเนื่องไปถึงครึ่งแรกของปีหน้า

นอกเหนือจากนั้น เชื่อว่ายังคงเป็นปัจจัยเดิมที่จะมีอิทธิพลต่อตลาดตราสารหนี้ ซึ่งได้แก่ ราคาน้ำมัน อัตราเงินเฟ้อ การปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยของธนาคารพาณิชย์และการเพิ่มอุปทานของตราสารหนี้ในตลาดจากการออกจำหน่ายพันธบัตรกองทุนน้ำมัน และโครงการก่อสร้างศูนย์ราชการถนนแจ้งวัฒนะ


กลับสู่หน้าหลัก

Creative Commons License
ผลงานนี้ ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย



(cc) 2008 ASTVmanager Co., Ltd. Some Rights Reserved.