|
"เบญจรงคกุล" ถอยเพื่อรุก
ผู้จัดการรายสัปดาห์(27 ตุลาคม 2548)
กลับสู่หน้าหลัก
ปิดฉากตำนานยุคแรกของตระกูลเบญจรงคกุลในธุรกิจโทรคมนาคมของประเทศไทย ด้วยการถอดหุ้นและสายบริหารออกทั้งหมด แต่ทว่าบทบาทใหม่ของตระกูลกลับเริ่มต้นขึ้นอีกครั้งหลังจากนี้ไป ซึ่งถูกมองว่า เป็นบทบาทที่ "พี่ใหญ่" บุญชัย เบญจรงคกุลตั้งปฎิภาณที่ลงแรงไปแล้วเมื่อ 8 ปีก่อน
เทเลนอร์ได้ถูกเชื้อเชิญจากตระกูลเบญจรงคกุลเพื่อเข้ามาเป็นพันธมิตรทางธุรกิจร่วมดำเนินธุรกิจโทรคมนาคมในประเทศไทย ภายหลังที่ยูคอมต้องสมรสุมทางด้านเศรษฐกิจ ตั้งแต่ปี 2541
ธุรกิจที่เทเลนอร์เข้ามามีบทบาทอย่างมาก็คือ บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) นับตั้งแต่การปลดผู้บริหารระดับสูง "ภูษณ ปรีย์มาโนช " โดยบุญชัย เบญจรงคกุลโดยเข้าบริหารแทน หลังจากนั้นก็มาถึงการตั้งกรรมการผู้จัดการร่วมหรือโคซีอีโอระหว่างวิชัย เบญจรงคกุลกับซิกเว่ เบรกเก้ด้วยการรีแบรนด์ดิ้งธุรกิจโทรศัพท์เคลื่อนที่ภายใต้แบรนด์ "แทค" ในเวลานั้นมาเป็น "ดีแทค" แทน
หลังจากนั้นกิจการโทรศัพท์เคลื่อนที่ของยูคอมก็ดีวันดีคืนขึ้น ซึ่งเทเลนอร์มีแนวคิดลึกๆ ในการที่จะเข้ามามีบทบาทกว่าที่เป็นอยู่ จึงได้มีการกว้านซื้อหุ้นเพิ่มทุนของดีแทคที่มีอายุ 2 ปีเอาไว้ในมือเมื่อเกือบ 2 ปีที่ผ่านมา เพราะเทเลนอร์รู้ถึงศักยภาพของตระกูลเบญจรงคกุลดีเมื่อหุ้นเพิ่มทุนดังกล่าวถึงกำหนดระยะเวลาไถ่ถอน จึงเป็นที่มาของการประกาศขายหุ้นครั้งประวัติศาสตร์ของยูคอมกรุ๊ปโดยตระกูลเบญจรงคกุล ซึ่งเป็นผู้ก่อตั้งบริษัท
จากถ้อยแถลงของบุญชัย เบญจรงคกุล ประธานกรรมการบริหาร บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) เมื่อ 20 ตุลาคม 2548 ถึงการขายหุ้นของตระกูลเบญจรงคกุล ผู้ก่อตั้งยูคอมขึ้นมาตั้งแต่ปี ---- โดยที่ทางตระกูลเบญจรงคกุลได้ตกลงขายหุ้นที่ถืออยู่ในบริษัท ยูไนเต็ด คอมมูนิเกชั่น อินดัสตรี จำกํด (มหาชน) หรือยูคอมที่ถือโดยบุญชัย เบญจรงคกุล จำนวน 53,750,000 หุ้นคิดเป็น 12.37% วิชัย เบญจรงคกุลจำนวน 64,541,167 หุ้น คิดเป็น 14.85% และวรรณา จิรกิติ จำนวน 55,040,583 หุ้นคิดเป็น12.66% รวมเป็นจำนวน 173,331,750 หุ้นหรือ 39.98% ของทุนจดทะเบียนในราคาหุ้นละ 53 บาท เป็นจำนวนทั้งสิ้น 9,186.58 ล้านบาทให้กับบริษัทไทย เทลโค โฮลดิ้งส์ จำกัดหรือทีทีเอช
"ผมได้ยื่นจดหมายลาออกจากตำแหน่งกรรมการบริษัท ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ในยูคอมต่อศรีภูมิ ศุขเนตร ประธานกรรมการบริหารเป็นที่เรียบร้อย รวมถึงการขายหุ้นในส่วนของตระกูลเบญจรงคกุลให้กับบริษัท ไทยเทลโค โฮลดิ้งส์ จำกัดทั้งหมด เหลือแต่เพียงตำแหน่งแต่ดำแหน่งประธานกรรมการบริหาร บริษัท .โทเทิ่ล แอ็คเซส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) เท่านั้น" บุญชัย เบญจรงคกุลเริ่มต้นการแถลงบทสุดท้ายของตระกูลเบญจรงคกุลในยูคอมที่มีมานานนับแต่ตั้งบริษัทเป็นต้นมา
สำหรับบริษัท ไทย เทลโค โฮลดิ้งส์ จำกัดที่เข้ามาถือหุ้นยูคอมแทนตระกูลเบญจรงคกุลมีทุนจดทะเบียน 40 ล้านหุ้น (400 ล้านบาท) เป็นบริษัทที่จัดขึ้นตั้งใหม่ โดยมีโครงสร้างผู้ถือหุ้นประกอบด้วยบริษัท เทเลนอร์ เอเชีย พีทีอี แอลทีดี จำกัด บริษัทสาขาของบริษัท เทเลนอร์ เอเอส ประเทศนอร์เวย์ถือหุ้น 19,600,000 หุ้น คิดเป็น 49% บริษัท โบเลโร จำกัด ถือหุ้น 10,480,000 หุ้น บุญชัย เบญจรงคกุลถือหุ้น 3,960,000 หุ้น บริษัท ฟินันซ่า จำกัด (มหาชน) ถือหุ้น 3,959,993 หุ้น บริษัท แซนดาลวูด โฮลดิ้งส์ จำกัดถือหุ้น 800,000 หุ้น บริษัท เพทรูส จำกัดถือหุ้น 600,000 หุ้น บริษัท อมาโรนี่ จำกัดถือหุ้น 600,000 หุ้นและอื่น ๆ 7 หุ้น มีกรรมการบริษัทและกรรมการผู้มีอำนาจลงนามประกอบด้วยศรีภูมิ ศุขเนตร, คนุท บอร์เก็น, กุนนาร์ เบอร์เทลเส็นม, คริสเตียน สตอร์มและสมยศ สุธีรพรชัย ส่งผลให้กลุ่มเทเลนอร์ถือหุ้นโดยตรงในบริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) 30% ในบริษัท ยูไนเต็ด คอมมูนิเกชั่น อินดัสตรี จำกํด (มหาชน) 24%
ถึงแม้ตระกูลเบญจรงคกุลจะไม่มีบทบาททั้งในแง่ผู้ถือหุ้นและบทบาทในสายบริหารแล้ว แต่สายสัมพันธ์ระหว่างตระกูลเบญจรงคกุลกับเทเลนอร์ก็ยังไม่ขาดหายเลยที่เดียว
"เทเลนอร์ยังมีความมั่นใจในตลาดไทยว่า ยังมีโอกาสเติบโตอีกมาก เราต้องการโฟกัสธุรกิจมือถือและรู้ว่าต้องทำงานโดยเป็นหุ้นส่วนกับคนไทย และอยากย้ำว่า เราไม่ได้แยกทางแต่ปรับกลุยท์ในการเป็นพันธมิตรกันใหม่ ซิกเว่ เบรกเก้ กรรมการผู้จัดการร่วม ของดีแทคกล่าวถึงความสัมพันธ์กับเทเลเนอร์กับตระกูลเบญจรงคกุลที่จะยังคงมีเยื่อใยต่อกัน
เมื่อมองลงในกลุ่มทุนที่เข้ามาถือหุ้นแทนแล้วจะพบว่า ตระกูลเบญจรงคกุลไม่ได้หนีหายไปไหน เพียงแต่เปลี่ยนบทบาทในสนามโทรคมนาคมโดยตรงมาเป็นการถือหุ้นโดยอ้อมแทน ซึ่งส่งสัญญาณว่า ตระกูลเบญจรงคกุลไม่ได้ถอดใจหรือทอดทิ้งธุรกิจโทรคมนาคมซึ่งเป็นหม้อข้าวสำหรับของตระกูล
"คุณดูบุญชัยผิดไปแล้ว ดูผมสั้นไปหน่อย ผมไม่เคยถอดใจ ผมมีปธิธานแน่วแน่ แต่ไม่เคยออกมาพูดกับใคร ผมเชื่อว่าเราสามารถทำให้โทรคมนาคมเป็นส่วนหนึ่งที่จะพัฒนาคนอีก 70% ของประเทศไทย ผมคิดว่า สิ่งที่เราทำสามารถช่วยสังคมและประเทศชาติได้โดยไม่เล่นการเมือง เป็นมิติใหม่มากกว่า เป็นมิติใหม่มากกว่า เป็นมิติใหม่ของคนที่เป็นนักธุรกิจและไม่ต้องเล่นการเมือง ไม่ต้องมีสายใยการเมือง" บุญชัยกล่าวอย่างมีอามรณ์เมื่อถูกถามจากสื่อมวลชนว่า ถอดใจจากธุรกิจโทรคมนาคมแล้วหรือตระกูลเบญจรงคกุลยังได้จัดตั้งบริษัทใหม่ภายใต้ชื่อ บริษัท เบญจจินดา จำกัดโดยมีทุนจดทะเบียน 28 ล้านบาทเพื่อดำเนินการซื้อธุรกิจและสินทรัพย์ทางด้านไอทีทั้งหมดของยูคอมมาบริหารเอง โดยเลือกบริษัทที่ไม่ติดสัญญาหรือเงื่อนไข
"ขณะนี้ได้มีการหารือในเรื่องดังกล่าวกับประธานกรรมการของบริษัทแล้ว"
บริษัท เบญจจินดา โฮลดิ้ง จำกัดได้ยื่นคำเสนอซื้อทรัพย์สินที่มีตัวตนและไม่มีตัวตนที่เป็นกรรมสิทธิ์ สิทธิการเช่า หรือ ที่อยู่ภายใต้อำนาจควบคุมของบริษัท ในราคา 1,112,000,000 บาท คำนวณตามมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ และบริษัท ไพรเวท พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด ได้สนอซื้อทรัพย์สินของบริษัท ซึ่งประกอบด้วย สิทธิ กรรมสิทธิ์ และผลประโยชน์ใน ที่ดิน อาคาร สัญญาเช่า อสังหาริมทรัพย์ สินค้าคงเหลือ เครื่องใช้และอุปกรณ์ และสิทธิตามสัญญาที่ได้มีการตกลงกันในราคา 413,000,000 บาท คำนวณตามมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ ของบริษัทยูคอม
เมื่อมองถึงโครงสร้างผู้ถือหุ้นของทั้ง 2 บริษัทจะพบว่า บริษัท เบญจจินดา โฮลดิ้ง จำกัดมีทุนจดทะเบียน 28 ล้านบาท มีกรรมการผู้มีอำนาจลงนามประกอบด้วยบุญชัย เบญจรงคกุล วิชัย เบญจรงคกุลและวรรณา จิรกิติ ส่วนโครงสร้างผู้ถือหุ้นประกอบด้วยบุญชัย เบญจรงคกุลถือหุ้น 97,999 หุ้น วรรณา จิรกิติถือหุ้น 97,999 หุ้น วิชัย เบญจรงคกุลถือหุ้น 69,999 หุ้น ศุภรัตน์ เบญจรงคกุลถือหุ้น 14,000 หุ้นและวรรณา เบญรงคกุล, ประกอบ จิรกิติและจุฑามาศ เบญจรงกุลถือหุ้นคนละ 1 หุ้น
ส่วนบริษัทไพรเวท พร็อพเพอร์ตี้นั้นมีทุนจดทะเบียน 256 ล้านบาท มีกรรมการผู้มีอำนาจลงนามได้แก่บุญชัย เบญจรงคกุล วิชัย เบญจรงคกุลและวรรณา จิรกิติ กรรมการผู้มีอำนาจลงนามผูกพันบริษัท คือ กรรมการสองคนลงลายมือชื่อร่วมกัน โครงสร้างผู้ถือหุ้นประกอบด้วยบุญชัย เบญจรงคกุล วรรณา จิรกิติและวิชัย เบญจรงคกุลถือหุ้นคนละ 853,332 หุ้น และศุภรัตน์ เบญจรงคกุล วรรณา เบญจรงคกุล ประกอบ จิรกิติและจุฑามาศ เบญจรงคกุลถือหุ้นคนละ 1 หุ้น
จากการยื่นข้อเสนอเพื่อซื้อสินทรัพย์บางส่วนจากยูคอมของ 2 บริษัทที่มีโครงสร้างหลักเป็นคนของตระกูลเบญจรงคกุลทั้งหมดน่าจะบ่งบอกได้ถึงตระกูลเบญจรงคกุลคงไม่หนีไปจากธุรกิจโทรคมนาคมเท่าไรนัก เพียงแต่เปลี่ยนไปเป็นธุรกิจเทคโนโลยีสารสนเทศเท่านั้นเอง
กลับสู่หน้าหลัก
ผลงานนี้ ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย
(cc) 2008 ASTVmanager Co., Ltd. Some Rights Reserved.
|