ค้าปลีกเข้มแข็งร่อแร่ ปัญหารุมแนวทางเป๋


ผู้จัดการรายวัน(12 พฤศจิกายน 2545)



กลับสู่หน้าหลัก

ค้าปลีกไทยเข้มแข็งส่อเค้าร่อแร่ หลังนโยบายการผลักดันช่วยเหลือธุรกิจ ค้าปลีกไม่ชัดเจนแม้ตามหลักการจะเป็นโครงการที่ดี ด้านแบงก์กรุงไทยมึนถูกกล่าวอ้างไม่ช่วยเหลือค้าปลีกในโครงการ ระบุต้องพิจารณาต้นทุนจากการดึงลูกค้าปลีกเข้าสู่ระบบ ขณะที่อัตราดอกเบี้ยที่คิดกับลูกค้าแค่ 8.50% ต่อปี ต่ำกว่าสินเชื่อประเภทอื่น เช่น สินเชื่อ ห้องแถวของแบงก์ออมสินที่คิดดอกเบี้ย 1% ต่อเดือนหรือ12% ต่อปี ด้านผู้บริหารบสย. หนุนโครงการเออาร์ทีเต็มที่ ยันค้ำประกันสินเชื่อไม่เกิน 50% คิดค่าธรรมเนียมค้ำคงที่ 1.75% ปรับระบบบริหารความเสี่ยงเข้ากับโครงการเออาร์ที

โครงการช่วยเหลือผู้ค้าปลีก ตามแนวคิดเดิมของนายเนวิน ชิดชอบ อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ ที่พยายามผลักดันส่งเสริมและสร้างผู้ค้าปลีกไทยให้สามารถแข่งขันและสู้กับธุรกิจค้าปลีกข้ามชาติว่าก่อนที่จะมีการปรับเปลี่ยนผู้นำที่ดูแลด้านนี้ โครงการเออาร์ทีถือว่ามีการพัฒนาในการ ให้ความช่วยเหลืออย่างมาก แต่ภาย หลังการปรับเปลี่ยนคณะรัฐมนตรีครั้งใหม่ โดยนายวัฒนา เมืองสุข รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ เข้ามารับผิดชอบโครงการนี้ก็ส่อเค้า ย่ำแย่เสียแล้ว

อุปสรรคสำคัญก็คือการปรับ เปลี่ยนนโยบายใหม่ การเชื่อมระบบ ข้อมูลระหว่างบริษัทเออาร์ทีกับหน่วย งานของรัฐที่เกี่ยวข้องที่ยังเป็นปัญหาเพราะข้อมูลในแต่ละฝ่ายมีความแตกต่างกัน ประกอบกับแนว คิดในการทำโครงการเออาร์ที หรือ แม้แต่ผู้ปฏิบัติก็มองภาพไม่กว้าง ขาดความเข้าใจ ในธุรกิจ ยกตัวอย่างเช่นว่าผู้ค้าปลีกเข้าสู่ระบบนั้นย่อมมีต้นทุนการดำเนินงาน เช่น อัตราดอกเบี้ยจากการใช้สินเชื่อ มีต้นทุนบริการหักบัญชีตาม ระบบ แน่นอนเป็นการสร้างภาระทางภาษีให้กับผู้ประกอบการค้าปลีก หรือการผลักภาระไปยังซัพพลายเออร์ราคาสินค้าที่จะป้อนให้กับร้านค้าปลีกจะสูงขึ้น

ขณะนี้หลายฝ่ายจึงมองว่า สิ่งสำคัญหากรัฐบาลต้องการช่วยเหลือผู้ค้าปลีกจะต้องมีแนว ทางอื่นในการช่วยเหลือผู้ค้าปลีกจะต้องมีแนวทาง อื่นในการให้ความช่วยเหลือและช่วยลดภาระให้กับผู้ค้าปลีกที่จะเข้าร่วมโครงการดังกล่าว

แหล่งข่าวจากวงการค้าปลีก เปิดเผยว่า ใน หลักการโครงการเออาร์ทีตามทฤษฎีถือว่าเป็นประโยชน์ต่อผู้ค้าปลีกที่จะช่วยให้สามารถอยู่รอด และแข่งขันกับค้าปลีกต่างชาติในไทยได้ ซึ่งหลักการดีแล้วมาถูกทางในการรวมกลุ่มร้านค้าย่อยๆ เพื่อมีอำนาจในการต่อรองซื้อสินค้า

"แต่ปัญหาอยู่ที่วิธีปฏิบัติเพราะมีปัญหาเยอะมากไม่แน่ใจว่า โครงการดังกล่าวจะไปรอด หรือไม่ หากนโยบายของผู้ที่รับผิดชอบให้ความสำคัญน้อยลงกับธุรกิจค้าปลีกของคนไทยในขณะนี้ รวมถึงรายละเอียดของค่าใช้จ่ายทางภาษี ที่ขณะนี้ทางกรมสรรพกรยังไม่ได้ระบุถึงค่าใช้จ่าย ในส่วนนี้" แหล่งข่าวกล่าว

ความคืบหน้าล่าสุดของโครงการรวมค้าปลีกเข้มแข็งขณะนี้ มีรายงานว่า หน่วยงานที่เกี่ยว ข้องได้ข้อสรุปเกี่ยวกับหลักเกณฑ์การปล่อยสินเชื่อและเกณฑ์การค้ำประกันสินเชื่อจากบรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) โดยในส่วนการปล่อยสินเชื่อของธนาคารกรุงไทย จะให้วงเงินหมุนเวียนสูงสุด 5 แสนบาทต่อรายหรือพิจารณาตามปริมาณการซื้อขายสินค้า ขณะที่ปล่อยกู้เพื่อตกแต่งร้านไม่เกิน 1 ล้านบาท ต่อรายตามปริมาณยอดการขาย

ส่วนอัตราดอกเบี้ยที่มีการคิดกับลูกค้าค้าปลีกที่เข้าร่วมโครงการฯนั้น หากพิจารณาภาระของลูกค้าค้าปลีกเทียบกับลูกค้าประเภทอื่น ถือว่า อยู่ในอัตราที่เหมาะสม โดยได้ข้อสรุปจะคิดอัตรดอกเบี้ยเงินกู้ลูกค้าทั่วไปหรือ MRR บวก 2% หรือประมาณ 8.50% เพราะปัจจุบันMRR อยู่ที่ 6.50% (เฉพาะของธนาคารกรุงไทย) ขณะที่บสย. จะค้ำประกันไม่เกิน 50% แต่หากเปรียบเทียบกับอัตราดอกเบี้ยของสินเชื่อทั่วไปเช่น สินเชื่อห้อง แถวของธนาคารออมสินจะคิดอัตราดอกเบี้ย 1% ต่อเดือนหรือเฉลี่ย 12% ต่อปี หรือการเบิกเงินสด จากบัตรเครดิตบางแห่งคิดอัตราดอกเบี้ยที่สูงถึง 20% ก็มี

โดยธนาคารกรุงไทยหรือธนาคารอื่นที่เข้าร่วมโครงการฯ พยายามเดินหน้าอย่างเต็มที่และปรับเปลี่ยนเพื่อให้สอดคล้องกับการทำโครง การเออาร์ทีอย่างเต็มที่เพื่อช่วยเหลือผู้ค้าปลีก ซึ่ง ถามว่าข้างหน้าโครงการเออาร์ทีจะเป็นอย่างไรยังไม่รู้ทิศทาง ธนาคารต้องร่วมมืออย่างเต็มที่เพื่อ มิให้โดนตำหนิในฐานะธนาคารของรัฐต้องช่วยเหลืออยู่แล้วและต้องทำให้ดีที่สุดด้วย เพราะขณะนี้ธนาคารของรัฐมีสภาพ


คล่องล้นทำให้ต้อง เร่งขยายสินเชื่อ ค่าธรรมเนียมค้ำ 1.75%

นายทวีศักดิ์ ฟุ้งเกียรติเจริญ รองผู้จัดการ ทั่วไปด้านปฏิบัติการ บสย. กล่าวถึงโครงการเข้า ช่วยเหลือผู้ค้าปลีกในโครงการฯ ดังกล่าวว่าในส่วนของบสย.เข้ามาเสริมให้กับผู้ค้าปลีกที่ไม่มีหลักประกัน ซึ่งบสย.ได้เตรียมความพร้อมไว้ระดับหนึ่งแล้ว โดยได้มีการนำระบบบริหารความ เสี่ยงของบสย.ปรับให้เข้ากับผู้ประกอบการค้าปลีกในโครงการเออาร์ที

"สำหรับกรอบต่างๆ นั้น ทั้งบสย. บริษัทเออาร์ที ธนาคารกรุงไทย และบรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมขนาดย่อมจะต้องหารือถึงแนวทางการช่วยเหลือโครงการดังกล่าว ที่สำคัญบริษัทเออาร์ทีและธนาคารกรุงไทยต้องตกลงถึงรายละเอียดการปล่อยสินเชื่อให้กับผู้ค้าปลีกเท่าไหร่ อัตราดอกเบี้ยที่คิดกับร้านค้า โดยบสย.จะรับความเสี่ยงไม่เกิน 50% ของสินเชื่อรวมต่อรายโดย จะพิจารณาตามความเหมาะสม ทั้งนี้ผู้ค้าปลีกจะมีการใช้สินเชื่อที่แตกต่างกันไป เช่น ร้านค้าปลีกใหญ่จะใช้สินเชื่อเยอะ หรือ ร้านค้าประเภท 2 คูหาต้องใช้สินเชื่อค่อนข้างมากเป็นต้น" นายทวีศักดิ์กล่าว

สำหรับค่าธรรมเนียมในการทำสินเชื่อ นาย ทวีศักดิ์ อธิบายว่ามีลักษณะที่คล้ายกับโครงการ แผนยุทธศาสตร์ของธนาคารพาณิชย์ของรัฐที่ให้ ความช่วยเหลือวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (เอสเอ็มอี) เพราะผู้ประกอบการค้าปลีกใน โครงการเออาร์ทีคือลูกค้าเอสเอ็มอิเหมือนกันที่มีจำนวนมาก ทั้งนี้ในการให้ความช่วยในด้านสินเชื่อทางบริษัทเออาร์ทีจะคัดสมาชิกมาให้ โดย พิจารณาสินเชื่อจะดูจากประวัติการชำระหนี้ดีพอ หรือไม่การไม่เป็นหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) การเข้าหลักเกณฑ์ของบสย.เป็นต้น

"การช่วยเหลือสิ่งสำคัญต้องให้ค้าปลีกอยู่รอด เพราะขณะนี้มีดิสเคานต์สโตรเกิดขึ้นมากทำให้ค้าปลีกแข่งขันลำบาก สำหรับอัตราค่าธรรม เนียมในการค้ำเฉพาะของบสย.จะคงที่ 1.75% ไป ก่อน แต่หากในอนาคตบสย.อาจจะคิดค่าธรรม เนียมตามความเสี่ยงของลูกค้าซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการบริหารความเสี่ยง ส่วนการชดเชยในกรณี ที่เกิดความเสียหายนั้น บสย.จะคิดตามสัดส่วนของยอดที่ค้ำประกันจากยอดที่สูญเสีย" นายทวีศักดิ์ กล่าว

ทั้งนี้ในส่วนของโครงการยุทธศาสตร์ของธนาคารของรัฐทางบสย.วางแนวคิดค่าธรรมเนียม การค้ำประกันสินเชื่อที่แตกตามคณภาพของสินเชื่อ เช่นถ้าเป็นลูกค้าปกติจะคิดค่าธรรมเนียมการ ค้ำประกัน 1% แต่หากแปลเปลี่ยนเข้าสู่หนี้เสียคิด ค่าธรรมเนียมค้ำ 1.5% และสูงสุด 1.75% เป็นต้น

ก่อนหน้านี้ นายอนุชัย วีรพัฒนกุล กรรม การผู้จัดการ บริษัทเออาร์ที กล่าวไว้ว่าตั้งแต่ 1 พ.ย. 2545 ทางบริษัทฯให้สมาชิกที่มีอยู่กว่า 15,000 รายสั่งซื้อสินค้าผ่านระบบออนไลน์อย่าง เป็นทางการ ขณะที่การสั่งซื้อสินค้าสามารถดำเนิน การได้หลายวิธี เช่น ส่งคำสั่งซื้อไปยังเจ้าหน้าที่เออาร์ที สั่งซื้อจากร้านค้าของตัวเองผ่านระบบออนไลน์ และในการจัดส่งสินค้านั้น เออาร์ทีได้คัดเลือก 2 ผู้ส่งเอาไว้ คือ บริษัท ยูนิเวอร์แซล จำกัด และบริษัท วินสโตร์ จำกัด โดยคิดอัตราเหมาจ่ายหีบละ 10 บาท โดยตามแผนเดิมของนายเนวิน ชิดชอบ อดีตรับมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ดังเป้าภายใน 3 ปี จะสามารถขยายฐานสมาชิกในโครงการเออาร์ทีประมาณ 100,000 ราย

ยอดค้ำลูกหนี้บสย.พุ่งกระฉูด กว่า 3.3 พันล.รออนุมัติ 1 พันล.

นายทวีศักดิ์ กล่าวถึงความคืบหน้าการค้ำประกันสินเชื่อให้แก่ลูกค้าเอสเอ็มอีในปัจจุบันว่า ได้ดำเนินการอนุมัติไปแล้วกว่า 3,300 ล้านบาทหรือกว่า 900 ราย ซึ่งผลจากการเข้าไปค้ำประกัน ลูกค้าเอสเอ็มอียังส่งผลให้การขยายสินเชื่อของธนาคารพาณิชย์ขยายตัวเพิ่มขึ้น กล่าวคือ บสย. จะเข้าไปค้ำประกันเอสเอ็มอีเฉลี่ยสัดส่วน 15-20% และหากเปรียบเทียบเป็นสินเชื่อที่ธนาคารพาณิชย์ ปล่อยจากการที่บสย.เข้าไม่ค้ำประกันแล้วคิดเป็นยอดกว่า 20,000 ล้านบาท อย่างไรก็ตามยังมีลูกค้าเอสเอ็มอีที่อยู่ระหว่างการพิจารณาอนุมัติเกือบ 1,000 ล้านบาท

ในส่วนการควบคุมคุณภาพของลูกหนี้เอสเอ็มอีนั้น ทางดร.โอฬาร ไชยประวัติ ประธาน กรรมการบริหารบสย. ได้กำหนดแนวทางให้มีการ พิจารณาลูกค้าเอสเอ็มอีจากธนาคารพาณิชย์ว่าจะเริ่มเข้าข่ายเป็นหนี้เสียหรือไม่ เพื่อหามาตรการ ป้องกันล่วงหน้า โดยให้ธนาคารพาณิชย์รายงานสภาพของลูกหนี้เอสเอ็มอีให้บสย.เพื่อสะท้อนฐานะของลูกค้าอย่างแท้จริง

"สิ่งที่บสย. ทำก็เพื่อควบคุมลูกค้าที่มาไม่ให้ เป็นเอ็นพีแอล โดยมีการทำระบบริหารความเสี่ยง เพื่อไปจับดูว่าหากแยกเอ็นพีแอลตามรายธนาคาร นำข้อมูลเหล่านี้มากำหนดในการจัดสรรวงเงินการ ค้ำประกันตามความเหมาะสม ขณะเดียวกันการ ลงทุนทางด้านเทคโนโลยีที่ผ่านมาก็มีส่วนสำคัญในการบริหารความเสี่ยงให้กับบสย.ผลจาก ข้อมูลก็จะทำให้บสย.สามารถพิจารณาคุณภาพของลูกค้าจากธนาคารพาณิชย์ที่ส่งมาได้โดย ณ สิ้นเดือนกันยายน บสย. มีตัวเลขเอ็นพีแอลประมาณ 6,000 ล้านบาทหรือคิดเป็น 12.8% ของ ยอดที่อนุมัติไป ส่วนการตั้งสำรองนั้นต้องพิจารณาว่าถ้าหากมีการฟ้องร้องกันแล้วบสย. จะตั้งเต็ม 100%" นายทวีศักดิ์ กล่าว



กลับสู่หน้าหลัก

Creative Commons License
ผลงานนี้ ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย



(cc) 2008 ASTVmanager Co., Ltd. Some Rights Reserved.