รัฐบาลดีเดย์ใช้กฎหมายบัตรเครดิตจันทร์ที่ 11 พ.ย. นี้ ตีกรอบผู้มีบัตรได้ต้องมีเงินเดือน
15,000 บาทต่อเดือน อัตราดอกเบี้ย 18% และบวกเพิ่มนัดชำระได้ไม่เกิน 2% หวั่นคนแห่กดเงินสดหลังค่าธรรมเนียมกดเงินเหลือ
3% ระบุกฎหมายครอบคลุมแบงก์-นอนแบงก์แต่ไม่ครอบคลุมบัตรเครดิตที่ออกแบบใช้จ่ายภายในเท่านั้น
วานนี้ (6 พ.ย.) ที่ทำเนียบรัฐบาล พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีเป็นประธานในการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติบัตรเครดิต
หลังจากในวันที่ 5 พ.ย. ที่ผ่านมา ได้มีการถอดถอนเรื่องดังกล่าวออกจากการประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.)
เนื่องจากมีรายละเอียดในบางข้อของกฎหมายที่ยังไม่ชัดเจนล่าสุดที่ประชุมได้สรุปแนวทางที่จะประกาศใน
พ.ร.บ. บัตรเครดิต
นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รัฐมนตรืว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวอย่างชัดเจนว่าที่ประชุมได้ข้อยุติเกี่ยวกับรายละเอียดของร่าง
พ.ร.บ. บัตรเครดิต โดยกฏเกณฑ์ใหม่จะประกาศในวันจันทร์ที่ 11พ.ย.นี้ ก่อนเสนอเข้าครม.เพื่อรับทราบโดยสาระสำคัญของร่างพ.ร.บ.บัตรเครดิต
จะกำหนดผู้มีบัตรเครดิตต้องมีรายได้ประจำไม่ต่ำกว่า 15,000 บาทต่อเดือน หรือหากไม่มีรายได้ประจำก็จะพิจารณายอดที่มีเงินฝากในธนาคารพาณิชย์
ซึ่งในส่วนนี้นายสมคิดไม่ได้ระบุว่าจะต้องมียอดเงินฝากเท่าไรถึงจะทำบัตรเครดิตได้
พร้อมฟังได้มีการกำหนดเพดาน อัตราดอกเบี้ยอย่างชัดเจนคือ ไม่เกิน 18% ของยอดคงค้าง
ส่วนค่าธรรมเนียมอื่นๆ ตรงนี้ต้องให้ธนาคารพาณิชย์แจ้งล่วงหน้าแกผู้บริโภคทราบ
และมีการปรับลดอัตราค่าธรรมเนียมการกดเงินสดจากตู้เอทีเอ็มจาก 5% คง เหลือไม่เกิน
3% ต่อครั้ง และผู้ประกอบการธุรกิจบัตรเครดิตต้องมีทุนจดทะเบียนไม่ต่ำกว่า
100 ล้านบาท
"รัฐบาลมองว่า ธุรกิจบัตรเครดิตต้องเติบโตควบคู่กับเศรษฐกิจ ถึงแม้ขณะนี้ยังไม่เกิดความเสียหายแต่รัฐบาลก็ไม่ประมาท
โดยต้องการให้ ธุรกิจบัตรเครดิตเติบโตอย่างมีคุณภาพ ทั้งนี้พ.ร.บ.บัตรเครดิตที่เตรียมประกาศใช้จะครอบคลุมทั้งธนาคารพาณิชย์และบริษัทที่ให้บริการทางด้านการเงินแต่ไม่ใช่เป็นสถาบันการเงิน
ทั้งนี้ในการประชุมสมาคมธนาคารไทยสนับสนุนแนวทางของรัฐบาล" นายสมคิดกล่าว
นายวราเทพ รัตนากร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวว่า กฎเกณฑ์บัตรเครดิตครั้งนี้จะไม่มีผลย้อนหลังไปกับลูกค้าที่ทำบัตรเครดิต
ไปแล้วถึงแม้รายได้ประจำต่ำกว่า 15,000 บาทต่อเดือน โดยในส่วนของบทลงโทษผู้ทุจริตในระยะแรก
จะใช้ในส่วนของกฎหมายอาญาไปก่อน อย่างไรก็ตาม การกำหนดกฎเกณฑ์ครั้งนี้รัฐบาลดูสังคมและดูผู้บริโภคเพื่อให้ทั้งหมดอยู่ในระบบเดียวกัน
ทั้งนี้ ในส่วนของการคิดดอกเบี้ยปรับจากลูกค้า ที่ผิดนัดชำระในเบื้องต้นจะมีการบวกเพิ่มจากเพดาน
ดอกเบี้ย 18% บวกอีก 2% ของยอดคงค้าง แต่ในรายละเอียดคงต้องรอธนาคารแห่งประเทศไทย
(ธปท.) เสนอรายละเอียดเกี่ยวกับตัวเลขอีกครั้งหนึ่ง
"แม้รัฐบาลจะมีการประกาศพ.ร.บ. บัตรเครดิต รออกมา แต่ทางรัฐบาลจะให้เวลาแก่ธนาคารพาณิชย์
หรือผู้ประกอบการที่เข้าข่ายดังกล่าวปรับตัวประมาณ 60-90 วัน แต่ตรงนี้คงต้องมาพิจารณาอีกครั้งหนึ่งก่อน
ส่วนการเพิ่มทุนจะต้องทำให้เสร็จภายใน 2 ปี ส่วนการกำหนดค่าธรรมเนียมนิยมกดเงินสดเพื่อให้เป็นอัตราเดียวกันจากเดิมที่อัตราดังกล่าวขึ้นอยู่กับธนาคารพาณิชยเป็นผู้กำหนด
อย่างไรก็ตามในส่วนเพดานดอกเบี้ย 18% นั้นทางธปท. สามารถจะปรับเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ยได้ขึ้นอยู่กับความเหมาะสม"
นายวราเทพกล่าว
ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวเพียงว่าในส่วนของลูกค้า
บัตรเครดิตนั้น จะต้องมีการปรึกษาหารือว่าจะดำเนิน การอย่างไร แต่สาระหลักของการออกพ.ร.บ.
บัตรเครดิตก็เพื่อสังคมและการฝึกนิสัยการใช้จ่ายของผู้บริโภค
พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี กล่าวถึงการใช้บัตรเคดิตของประชาชนว่า
นโยบายชัดเจนก็คือ ไม่ต้องการให้ประชาชนใช้จ่ายเกินตัวและเกิดปัญหาครอบครัวและสังคมตามมาภายหลัง
เพราะฉะนั้น การกำหนดรายได้ขั้นต่ำของผู้ที่ต้องขอ มีบัตรเคดิตไว้เดือนละ
1,500 บาท ยกเว้นกรณีผู้ที่อาจจะไม่มีรายได้ประจำ แต่มีเงินฝากในธนาคารเกิน
กว่าวงเงินที่ธนาคารจะอนุมัติให้ใช้บัตรเคดิตได้
ผู้สื่อข่าวถามว่า บริษัทเอกชนมักจะเอาเปรียบผู้ใช้บัตรเคดิต นายกฯ กล่าวว่า
เรากำหนดดอกเบี้ยว่า จะคิดค่าปรับครั้งละเท่าไร และดอกเบี้ยต้องคิดไม่เกิน
18 เปอร์เซ็นต์และค่าปรับครั้งหนึ่งไม่เกิน 200 บาท เพื่อไม่ให้มีการเอาเปรียบและใช้จ่ายเกินตัว
สำหรับคน ที่มีรายได้น้อยและต้องไปตายเอาดาบหน้า
กฎหมายฉบับนี้เกิดขึ้นจากแรงผักดันของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีที่สั่งการเมื่อช่วง
ต้นเดือนตุลาคมที่ผ่านโดยให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำ กฎหมายที่มีอยู่เดิมมาปรับปรุงและเพิ่มเติมใหม่ให้สามารถควบคุมดูแลธุรกิจบัตรเครดิตที่ช่วง
2 ปีที่ผ่าน มามีอัตราการขยายตัวสูงจนน่าตระหนกโดยเฉพาะบัตรเครดิตที่ออกโดยนิติบุคคลที่ไม่ใช่สถาบันการเงิน
ซึ่งหลายฝ่ายเกรงว่าจะมีปัญหาตามมาภายหลังอาจจะกระทบต่อระบบเศรษฐกิจโดยรวม
ขณะเดียว กันบัตรเครดิตมักถูกร้องเรียนความไม่ธรรมหายกรณี ตั้งแต่การคิดค่าธรรมเนียมค้างชำระ
ดอกเบี้ยค้างชำระที่คิดในอัตราที่สูงมาก