อาคารเนชั่น ริมถนนบางนาในยามนี้ คลาคล่ำไปด้วยทีมงาน ที่มาจากสื่อเก่า และ
สื่อใหม่อย่างอินเตอร์เน็ต ซึ่งในจำนวนนี้บางส่วนเองก็กำลังเรียนรู้ การก้าวล่วงจากสื่อเก่าไปสู่การเป็นสื่ออินเตอร์เน็ต
"ถ้าคุยเรื่องอินเตอร์เน็ต ต้องไปถามคุณธนาชัย
เขาคุยเรื่องนี้กับคุณได้ เป็นวัน ๆ " สุทธิชัย หยุ่น บอกกับ
"ผู้จัดการ" ในบ่ายวันหนึ่งหลังการแถลงข่าว
ถึงบทบาทของเนชั่น ที่มีต่อไอทีวี
ภารกิจในยา มนี้ของธนาชัย ธีรพัฒนวงศ์ ประธานกรรมการ กลุ่ม เดอะเนชั่น ในฐานะของหัวเรือใหญ่ขององค์กรแล้ว
ยังรวมเอาธุรกิจอินเตอร์เน็ต เข้าไปด้วย
ถึงแม้ว่า จะผ่านความยากลำบากในวิกฤติการณ์ของเนชั่นมาแล้วถึง 2 ครั้ง ในช่วงเริ่มต้นเนชั่น
และล่าสุดวิกฤติเศรษฐกิจในปี 2540 แต่อินเตอร์เน็ ตกลับเป็นเรื่อง ที่ท้าทายที่สุดสำหรับเขา
อันที่จริงแล้ว เนชั่นเริ่มมองการมาของอินเตอร์เน็ต เมื่อหลายปีมาแล้ว และจุดเริ่มต้นของการเรียนรู้เรื่องราวเหล่านี้
ก็มาจากการที่เนชั่นกรุ๊ป ได้พัน ธมิตรสำนักข่าวสัญชาติอเมริกันอย่างดาวโจนส์เป็นผู้ถือหุ้น
และได้ลงทุนร่วมกับสำนักพิมพ์ โยมิโอริชิมบุนประเทศญี่ปุ่น
จะด ้วยความตั้งใจหรือไม่ก็ตาม การได้พันธมิตรสำนักข่าวดาวโจนส์ และ โยมิโอริชิมบุน
ทำให้เนชั่นมีโอกาสได้ติดตามข่าวสาร และความเคลื่อนไหวของอินเตอร์เน็ตอย่างใกล้ชิด
และต่อเนื่อง
"จากการร่วมมือกับพันธมิตรทางด้านสิ่งพิมพ์ ระดับโลก
2 ฉบับ ข้อได้ เปรียบ คือ เรื่องเทคโนโลยี ที่เราได้รับรู้จากเขาเป็นประจำ
มีความร่วมมือกัน ทั้งไปดูงานส่งนักข่าวไปฝึกงาน"
สำนักข่าวอเมริกันอย่างดาวโจนส์ และสำนักพิมพ์ขนาดใหญ่ของญี่ปุ่นอ ย่างโยมิโอริชิมบุน
ก็มีการเคลื่อนไหวลงทุนในเรื่องการออนไลน์มาตั้งแต่ หลายสิบปีมาแล้ว และการลงทุนนี้ก็ทำมาอย่างต่อเนื่อง
จนกระทั่งมาถึงในยุค ของอินเตอร์เน็ต
การตัดสินใจกระโดดเข้าสู่ธุรกิจออนไลน์ของเนชั่นกรุ๊ป เมื่อ 6-7 ปีที่ แล้ว
ก็มาจากสาเหตุเหล่านี้
"เมื่อ 6 ปีก่อน เราคิดว่าเนชั่นทำได้แล้ว แต่เราไม่ได้ทำผ่านอินเตอร์เน็ต
คือ เอาข้อมูลข่าวสารใส่ไปในคอมพิวเตอร์ให้คนบอกรับสมาชิก ออนไลน์ผ่านโมเด็มไป
แต่ขนาดเรารอมาแล้วหลายปี พอทำแล้วกลับเจ็บตัว สมาชิกน้อย"
ถึงแม้ว่าเนชั่นจะไม่ประสบความสำเร็จในธุรกิจออนไลน์ ด้วยปัจจัย หลาย ๆ
ด้าน ความไม่พร้อมของ ผู้ใช้จำนวนผู้ใช้พีซี ที่จำกัดอยู่มาก ผลที่ได้รับคือ
รายได้ไม่คุ้มกับค่าใช้จ่ายในการลงทุน ที่เสียไป
แต่ในอีกด้านหนึ่ง กลับเป็นว่าจากการลงทุนในครั้งนั้น เป็นรากฐาน ที่ สำคัญของการก้าวเข้าสู่ธุรก
ิจอินเตอร์เน็ตของเนชั่นกรุ๊ปในเวลาต่อมา และสิ่ง เหล่านี้เองก็ทำให้เนชั่นเป็นกลุ่มสิ่งพิมพ์
ที่มีความพร้อมมากที่สุด
นั่นเพราะการเข้าสู่ธุรกิจขายข้อมูลออนไลน์ในครั้งนั้น เนชั่นได้มีการ แปลงข้อมูลข่าวสาร
ที่มาจากสิ่งพิมพ์ทั้งหลายในเครือ ให้อยู่ในรูปของดิจิตอล ไป แล้ว 6-7 ปีเต็ม
เท่ากับว่าวันใด ที่เนชั่นเข้าสู่อินเตอร์เน็ตเนชั่นจะไม่ต้องไปลงทุนใหม่
ซึ่งอาจต้องใช้ทั้งเงิน และเวลามหาศาล
"ถึงแม้ลงทุนไม่คุ้มเราก็ไม่เลิก หลังจากการปิดข่าวของหนังสือพิมพ์แต่ละวัน
ก่อนจะส่งไปโรงพิมพ์ เพื่อจัดหน้า ข่าวสารเหล่านี้จะถูกส่งไป ที่ ออนไลน์
ดังนั้น ข้อมูลจะถูกดิจิตไทซ์อยู่แล้ว จะเอาไปทำอย่างอื่นก็สะดวกมันสำเร็จรูปอยู่แล้ว"
ธนาชัยเล่า
และนี่เอง ที่ทำให้การเข้าสู่อินเตอร์เน็ตของเนชั่น จึงมีเนื้อหา และความพร้อมมากที่สุด
หลังการล้มเหลวจากธุรกิจออนไลน์ ที่จะว่าไปแล้วก็ไม่ใช่เนชั่นค่ายเดียว
ที่ทำธุรกิจออนไลน์ ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มผู้จัดการ วัฏจักร คู่แข่ง ทั้งหมดนี้ต่างก็แปลงข้อมูลของตัวเอง
เพื่อเตรียมความพร้อมต่อการมาของสื่อ อิเล็กทรอนิกส์
แต่จากวิกฤติเศรษฐกิจในปี 2540 เนชั่นผ่านวิกฤติมาได้ด้วยสภาพ ที่แข็งแรงที่สุด
เมื่อเทียบกับสิ่งพิมพ์ด้วยกัน ได้กลายเป็นปัจจัยสำคัญ ที่เอื้อ ประโยชน์ของก้าวต่อจากนี้
สาเหตุที่เนชั่นยังไม่ยอมถอดใจจากเนชั่นออนไลน์เสียทีเดียวจะว่าไป แล้วส่วนหนึ่งก็เพราะการตื่นตัวของบรรดาสิ่งพิมพ์ยักษ์ใหญ่ของโลก
ที่เกิดขึ้น ที่กำลังหวั่นวิตกว่าจะถูกอินเตอร์เน็ตกลืนกินตลาด
ประกอบกับการเบนเข็มสู่ตลาดอินเตอร์เน็ตของดิเอเชียนวอลล์สตรีท เจอร์นัลประสบความสำเร็จด้วยดี
จากการเก็บค่าสมาชิกรายเดือนที่สมาชิก ยอม จ่าย เพื่อแลกกับการดูข้อมูลผ่านอินเตอร์เน็ต
"ทุกปี ผมไปญี่ปุ่น ติดตามอินเตอร์เน็ตว่าไปถึงไหน
ตามโยมิโอริชิมบุนไปใหม่ ๆ ก็ไม่ตื่นเต้นอะไร เขาบอกคนใช้น้อย ที่ไหนได้เผลอแป๊บเดียว
จาก ที่ บอกมีไม่ถึง 1 ล้าน เวลานี้เข้าไป 10 กว่า ล้านแล้ว เร็วมากภายใน
2-3 ปีนี่เอง"
รวมทั้งแรงผลักดันจากภายในของเนชั่นเอง จากทีมงาน การตื่นตัวของ อินเตอร์เน็ต
"ทางเนชั่นเอง ก็มีคนเล่นอินเตอร์เน็ต เล่นอีเมล
เล่นแชท ติดตามข่าว เขามาถามผมว่า เมื่อไหร่จะเริ่มสักที เพราะ ถ้ากัปตันไม่เริ่มก็เริ่มไม่ได้
ผม ก็รับฟัง และบอกขอดูไปก่อน ถ้าคิดว่าควรจะเริ่ม เมื่อไหร่ ผมจะบอก ผมถูก
จี้พอสมควรแต่ไม่ใช่ว่า เราไม่เห็นความสำคัญ แต่ ต้องศึกษาให้ดีว่า เมืองไทยพร้อมหรือยัง"
ธนาชัยยอมรับว่าบทเรียนจากเนชั่นออนไลน์ในอดีต เนชั่นเจ็บตัวไปไม่น้อย ประกอบกับความ
ที่ยังไม่มั่นใจตลาด ทำให้เขาไม่กล้าสุ่มเสี่ยงกระโดดลงทุนไปแบบเต็มตัว แต่เลือก
ที่จะทำอย่างค่อยเป็นค่อยไป และเป็นเรื่อง ที่เนชั่นต้องระมัดระวังอย่างมาก
เนชั่นจึงเริ่มชิมลางธุรกิจอินเตอร์ เน็ตเมื่อ 2-3 ปีที่แล้ว ด้วยการเอาข่าว
จากสิ่งพิมพ์ จากเนชั่น กรุงเทพธุรกิจ แมกกาซีน เนชั่นจูเนียร์ วิทยุ เนชั่น
การถ่ายทอดสดของวิทยุใส่เข้าไปในอิน เตอร์เน็ต ซึ่งสิ่งเหล่านี้ใช้ เงินลงทุนไม่มาก
เพราะอาศัยฐานจากเนชั่นออนไลน์ไว้แล้ว
การทำอินเตอร์เน็ตของเนชั่น เป็นในลักษณะต่างคนต่างทำหนังสือ พิมพ์เดอะเนชั่นก็มีเว็บไซต์ของตัวเอง
เช่นเดียวกับกรุงเทพธุรกิจ ที่มีเ ว็บไซต์แยก ต่างหากใช้ชื่อ bangkokbiznews.
com ยังไม่มีการจัดระบบ หรือทิศทางธุรกิจอย่างเป็นชิ้นเป็นอัน ยังอยู่ในขั้นของการศึกษาธุรกิจ
จนกระทั่งกระแสของอินเตอร์เน็ตในเมืองไทยถูกปลุกเร้าอย่างหนั กเมื่อปีที่แล้ว
อันเนื่องมาจากการเข้ามาลงทุนของบริษัท MIH ที่ซื้อ sanook.com เว็บไซต์ใหม่เกิดขึ้นตลอดเวลา
ชินคอร์ป กระโดดลงสู่สนามนี้ ด้วยการเป็น venture capital ที่กว้านซื้อเว็บไซต์มาไว้ในมือม
ากมาย
ตัวเลขโฆษณาบนสื่อเก่า ทั้งสิ่งพิมพ์ วิทยุ ทีวี ล้วนแต่มาจากธุรกิจอิน
เตอร์เน็ต ที่เป็นเหตุการณ์ ที่เกิดในสหรัฐ อเมริกา และกำลังแผ่ขยายมาใน
เมืองไทย เป็นปรากฏการณ์ ที่เนชั่นจับตามองมาตลอด
กระแสการเปลี่ยนแปลงของอินเตอร์เน็ต ที่เพิ่มอย่างรวดเร็วนี้เอง กลาย เป็นจุดสำคัญ
ที่ทำให้เนชั่นเริ่มมองอิน เตอร์เน็ตอย่างเป็นจริงเป็นจัง
"ตัวเลขผู้ใช้อินเตอร์เน็ตเพิ่มขึ้นเร็วมาก สิ่งพิมพ์ท
ั่วโลกกลัวในเรื่องการถูกคุกคามของอินเตอร์เน็ต เราเองก็เริ่ม ถูกถามจากใน
และต่างประเทศ และ มันทำให้เราเกิดความตื่นตัวในเรื่องนี้มากขึ้น และมาตื่นตัวมากจริงเมื่อปีที่
แล้ว เพราะทุก ๆ คนที่ทำอินเตอร์เน ็ต ไม่ว่าจะ เป็นเอ็มไอเอช เข้ามาคุยกับ
เรา ไอเอสพี หลายเจ้าก็มาคุยกับเรา ขอให้เป็นพาร์ต เนอร์ จะขอซื้อข้อมูลก็ดีทุกรูปแบบ
เรา พยายามดูเยอะๆ และวิเคราะห์ เขาต้อง การ content ข้อมูลข่าวสาร"
ก ารทำธุรกิจอินเตอร์เน็ต ไม่ใช่อยู่ ที่แค่การมีเว็บไซต์ การเป็นไอเอสพี
เพื่อ access หรือมีท่อ ที่จะเชื่อมต่อเข้า อินเตอร์เน็ตเท่านั้น เพราะสิ่งเหล่านี้
เป็นพื้นฐาน ที่ทุกคนสามารถมีได้ไม่แตกต่าง แต่สิ่งส ำคัญ ที่จะขาดไม่ได้ก็คือ
ข้อมูล
ข้อมูลเหล่านี้จะต้องเป็นข้อมูลที่มีการเคลื่อนไหว และเปลี่ยนแปลง ตลอด
เวลา เพื่อดึงดูดให้คนเข้ามา ที่เว็บไซต์อย่างต่อเนื่อง หรือ ที่เรียกว่า
stickyness
ฐานข ้อมูลของเนชั่น ที่ถูกแปลงในรูปของดิจิตอลทุกวันมาเป็นเวลา 6- 7 ปีมาแล้วนั้น
เป็นข้อมูลข่าวสาร ที่ครอบคลุมตั้งแต่เศรษฐกิจ การเมือง กีฬา การลงทุน เรื่องการศึกษาสำหรับเด็ก
ที่มาจากเนชั่นจูเนียร์ และ ที่ส ำคัญ ข้อมูลที่เนชั่น มีอยู่ก็เป็นทั้งภาษาไทย
และภาษาอังกฤษ
เอ็มไอเอช ชินคอร์ป และไอเอสพีทุกราย ต่างก็รู้ดีว่าข้อมูลเหล่านี้ไม่ได้
สร้างขึ้นได้ในวันเดียว แต่ต้องมีการสะสม และจัดทำให้อยู่ในรูปข องดิจิตอล
ซึ่ง เป็นเรื่อง ที่บรรดาธุรกิจอินเตอร์เน็ตไม่มี แต่เนชั่นมี
"นี่คือ ข้อสรุป ที่ว่าใคร ๆ ถึงมาหาเรา เพราะเขาต้องการข้อมูล
และข้อมูล นั้น เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา และเราป้อนได้ทุกชั่วโมง อัพเดทตลอด
เพราะ ไม่ว่า จะทำเว็บไซต์ประเภทไหนก็ตาม ถ้าไม่มีข้อมูลข่าวสารให้คนอ่าน
ไม่ไดนามิก มันนิ่งก็ไปไม่รอด"
เนชั่นเองก็รู้ดีว่าฐานข้อมูลในมือคือ สินทรัพย์ ที่มีค่าที่สุดสำหรับเนชั่น
กรุ๊ป ที่จะใช้เป็นรากฐานสำคัญ ของการเข้าสู่ธุรกิจนี้ได้โดยง่าย ไม่เช่นนั้น
แล้ว ไม่ว่าจะเป็นเอ็มเว็บ ชินคอร์ป หรือใครต่อใคร คงไม่วิ่งเข้ามา ที่เนชั่น
และนี่เอง ทำให้เนชั่นกล้าจะเดิมพันครั้งใหม่กับอินเตอร์เน็ต แต่ปัญหา
คือ เนชั่นจะใช้ content ให้มีราคาค่างวดที่สุดได้อย่างไร
นอกจากนี้ เนชั่น อยู่ในสภาพ ที่แข็งแรงที่สุดเมื่อเทีย บกับสิ่งพิมพ์ด้วย
กันถึงแม้เนชั่นเองต้องได้รับผลกระทบจากวิกฤติเศร ษฐกิจเช่นเดียวกับสิ่ง
พิมพ์อื่นๆ ยอดโฆษณา ที่ตกลง แต่การที่เนชั่นสามารถเพิ่มทุนจดทะเบียน จาก
400 ล้านบาท มาเป็น 1,600 ล้านบาท ได้กลายเป็นรากฐานที่ดีในการ ลงทุนในธุรกิจอินเตอร์เน็ต
ถึงแม้ว่าสัดส ่วนการถือครองหุ้นของผู้ถือหุ้นเดิม จะลดลงจาก 40% เหลือ
29% ก็ตาม แต่ก็เป็นผลดี ที่ทำให้ภาพของเนชั่น ทำให้สภาพทางการ เงินของเนชั่น
มีความแข็งแรงขึ้น เป็นประโยชน์โดยตรงต่อการขยายเข้าสู่ ธุรกิจอินเตอร ์เน็ต
ซึ่งเนชั่นคาดว่าจะใช้เงินลงทุนถึง 200 ล้านบาทสำหรับการลงทุนในครั้งนี้
เนชั่นเริ่มด้วยการจัดหมวดหมู่เว็บไซต์ ที่กระจัดกระจายกันทำ มารวม กัน
เปิดเป็นเว็บไซต์ใหม่ ใช้ชื่อ nationgroup.com ใช้ชื่อเป็น portal web ที่
รวบ รวมเว็บไซต์ข่าวทั้งหมดของเนชั่น
แต่นั่นเป็นเพียงแค่ยุคแรกของการก้าวเข้าสู่อินเตอร์เน็ตเท่านั้น นั่นก็คือ
การนำเอาข้อมูลใส่ในอินเตอร์เน็ต และเปิดให้คนดูฟรี แ ลกกับฐานข้อมูล ประวัติ
ของลูกค้า เบอร์อีเมลแอดเดรส เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ต่อในเรื่องของ การโฆษณา
การหารายได้จากแบนเนอร์โฆษณาบนหน้าเว็บไซต์
และสิ่งที่เนชั่นใฝ่ฝันอยู่ตลอดเวลา ก็คือ การทำเหมือนกับท ี่ดิเอเชียน
วอลล์สตรีทเจอร์นัลทำสำเร็จมาแล้ว ที่เรียกว่าเป็นยุคที่สอง นั่นก็คือ การมี
รายได้ จากการขายข้อมูลทางอินเตอร์เน็ต การเก็บเงินค่าสมาชิก กับผู้ที่ ต้องการข้อมูลที่ลึกลงไปกว่า
ที่เคยให้ดูฟรี หรือ interactive edition เพื่อเอื้อ อำนวยความสะดวกให้กับคนอ่านในการเรียกดูข้อมูลได้โดยง่าย
ถึงแม้ว่า เนชั่นจะมีความพร้อมในการแปลงฐานข้อมูล ให้อยู่ในรูปของดิ จิตอล
ที่ทำมาแล้ว 6-7 ปี และมาจัดท ำเป็นเว็บไซต์ เปิดให้ดูข้อมูลฟรี มี ทั้ง
ที่เป็นภาษาไทย อังกฤษ แต่การจะทำเหมือนอย่างดิเอเชียนวอลล์สตรีท เจอร์นัลทำ
ธนาชัยบอกว่า เนชั่นจะต้องใช้เงินลงทุนไม่ต่ำกว่า 10 ล้านบาท ในการพัฒนาซอฟต์แวร์ขึ้นมาใหม่
เพื่อให้ผู้อ่านได้รับความสะดวกจากการ เรียกดูข้อมูล หรือ ที่เรียกว่า interactive
edition
นั่นไม่ใช่ประเด็นสำคัญเท่ากับเนชั่นเองก็ไม่รู้ว่า จะมีลูกค้าสักกี่คนที่
ยอม เสียเงินซื้อข้อมูลจากอ ินเตอร์เน็ต ที่ข้อมูลเหล่านี้ยังเป็นของฟรี
โดย เฉพาะอย่างยิ่งในเมืองไทย ที่มีผู้ใช้อินเตอร์เน็ตไม่กี่แสนราย
การขายข้อมูลผ่านอินเตอร์เน็ตจึงไม่ใช่เรื่อง ที่เนชั่นจะต้องรีบร้อน เท่า
กับ การจะแปรข้ อมูล content ที่อยู่ในมือ ให้มีค่ามีราคาที่สุดได้อย่างไร
คือ ประเด็น สำคัญที่สุดในสายตาของเนชั่น
"เรามานั่งดูว่า อินเตอร์เน็ตจะมีรายได้มาจากตรงไหน
จะต้องมีอี-คอม เมิร์ซ แต่บ้านเราก็ยังไม่มีควา มพร้อมหลายอย่าง ความกลัวในเรื่องความ
ปลอดภัยในเรื่องการจ่ายเงิน กฎหมายก็ยังไม่ออกมา รัฐบาลก็ช้า ยิ่งเทคโนโลยีทางด้านนี้ก็ยิ่งช้าจำนวนผู้เล่นอินเตอร์เน็ตบ้านเราก็ยิ่งน้อยมากเมื่อ
เทียบกับประเทศอื่น ๆ"
ถึงแม้เนชั่นจะมีความพร้อมในเรื่องของฐานข้อมูล ทีมนักข่าว ที่พร้อมจะมาสร้าง
content แต่เป็นแค่ส่วนเดียว เท่านั้น เพราะสิ่งที่เนชั่นมองเวลานั้น คือ
ตลาดของ อี-คอมเมิร์ซ ทีมงานจึงเป็นเรื่องสำคัญ ธุรกิจของอิน เตอร์เน็ตเป็นภาพของคนรุ่นใหม่ไฟแรง
เหมือนอย่างที่องค์กรอินเตอร์เน็ตกำลัง ทำอยู่ในเวลานี้
การตัดสินใจเลือกทีมงานของ มิสเตอร์โฮม ที่มีเสริมสิน สมะลาภา ก็มาจากสาเหตุเหล่า
นี้ ซึ่งเป็นทีมงานคนรุ่นหนุ่ม และมีประสบการณ์ในธุรกิจ อินเตอร์เน็ตมาก่อน
จึงมีความหมายต่อการวางทิศทางธุรกิจอินเตอร์เน็ตอย่างมาก
เสริมสินเป็นลูกชายคนสุดท้องของ ประเสริฐ สมะลาภา ปลัดกรุงเทพมหานคร เรียนจบมาจากคณะสถาปัตยกรรม
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดบริษัทสถาปนิกเป็นของตัวเอง จนกระทั่ง ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ตกต่ำ
เสริมสินบิน ไปเรียนต่อด้านบริหาร ที่ Boston University และปริญญาโท ทางด
้านการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ ที่สถาบันเทคโน โลยีแห่งแมสซาชูเซตส์ MIT เมืองเคมบริดจ์
สหรัฐอเมริกา
หลังจากเรียนจบกลับมาเป็นอาจารย์พิเศษ ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และโรงเรียนนายร้อยตำรวจ
และเคยเป็น 1 ในที่ปรึกษาเรื่องการพัฒนาเมือง ให้กับรัฐบาลพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ
จากนั้น จึงมาทำธุรกิจขายบ้าน และอสังหาริมทรัพย์ทางอินเตอร์เน็ต ใน ชื่อ
มิสเตอร์โฮม ซึ่งเป็นการประยุกต์นำไอทีมาใช้กับธุรกิจอสังหา ริมทรัพย์ ด้วยสื่ออินเตอร์เน็ต
และโทรศัพท์ ให้บริการฝากขาย ที่อยู่อาศัยผ่านโทรศัพท์ และอินเตอร์เน็ต
ช่วง ที่ทำมิสเตอร์โฮมนี้เอง เสริมสินได้มาติดต่อขอให้เนชั่นสนับสนุนในเรื่องของสื่อในการโปรโ
มตมิสเตอร์โฮม ซึ่งต่อมาได้กลายเป็นส่วนหนึ่งในทีมงาน หลักของการเข้าสู่ธุรกิจอินเตอร์เน็ตของเนชั่น
ธนาชัยเองมองว่า concept ของ มิสเตอร์โฮมทำอยู่นั้น สามารถนำมา ประยุกต์ใช้กับการขายโฆษณาของเนชั่นได้
โดยเฉพาะในส่วนของ classified advertising คือ โฆษณาขายบ้าน ขายรถ รับสมัครงาน
"ต่างประเทศเขาเข้ามากันเต็มไปหมด มาเปิดหางานออนไลน์
เราคิดว่า เราอยู่เฉย ๆ ไม่ได้แล้ว เราเองก็ไม่ได้ประมาท เตรียมพร้อมตลอด
ถ้าเราเอา เรื่อง classified มาใส่อินเตอร์เน็ต ทำเป็นซื้อขายรถ และให้บริการครบวงจร
เปิดกว้างให้เลือกใช้สินเชื่อของสถาบันการเงินหลายๆ แห่งเป็นเรื่อง ที่ทำได้"
ธนาชัยเล่า
ประสบก ารณ์ในการทำมิสเตอร์ โฮม ทำให้เสริมสินมองเห็นทั้งข้อดี และข้อด้อยของอินเตอร์เน็ต
ผลปรากฏว่า คนที่มาขอใช้บริการมิสเตอร์โฮมยังคง เรียกใช้ข้อมูลด้วยการโทรศัพท์มากกว่าการใช้ผ่านอินเตอร์เน็ต
ทำให้เขารู้ว่า ตลาด ในประเทศยังไม่พร้อมสำหรับการทำอี-คอมเมิร์ซ ถ้าจะทำจะต้องเป็น
ตลาดต่างประเทศ
เสริมสินก็เหมือนกับผู้บริหารบริษัทอินเตอร์เน็ตอื่น ๆ มักจะหาความรู้ จากตำรา
และเป็นรากฐานอย่างหนึ่งในการสร้างโมเดลทางธุรกิจ ที่มาจาก สูตรสำเร็จของธุรกิจอินเตอร์เน็ตในต่างประเทศ
ซึ่งเขากล่าวถึงอย่างภูมิใจกับ หนังสือ ที่เขียนเกี่ยวกับอินเตอร์เน็ต 200
เล่มแรก ผ่านตาเขามาแล้วทั้งสิ้น
"คนไทยมีผู้ใช้อินเตอร์เน็ต 6 แสนราย 65% เป็นเด็กนักเรียน
เท่ากับว่า มีเพียง 90,000 รายเท่านั้น ที่เป็นกำลังซื้อ เทียบไม่ได้กับ
300 ล้านรายทั่ว โลก ซึ่ง คุ้นเคยกับการซื้อของบนอินเตอร์เน็ตอยู่แล้ว มันเป็นคนละเรื่องเลย"
เสริมสินเปิดเผยแนวคิด
ธนาชัยเองก็เห็นด้วยกับแนวคิดนี้ เป็นช่วงเวลา ที่อินเตอร์เน็ตของเมือง
ไทยได้ผ่านจุดของการเริ่มต้น ผ่านจากยุคของการสร้างเว็บไซต์ จากมือสมัคร
เล่นกลายมาเป็นมืออาชีพ เรื่องของธุรกิจกลายเป็นเรื่องของการลงทุนโดย บริษัทขนาดใหญ่จากต่างประเทศ
ปรากฏการณ์ ที่เกิดขึ้นกับอินเตอร์เน็ตในสหรัฐอเมริกา และแผ่กระจายไปยังยุโรป
และมาถึงภูมิภาคเอเชีย ทำให้หลายคนเชื่อว่าความสำเร็จข อง อเมริกา ออนไลน์
อเมซอน.คอม บริษัทไชน่า.คอม บริษัทแปซิฟิก เซ็นจูรี ไซ เบอร์เวิร์ค ของริชาร์ด
ลี ที่โตขึ้นเพียงแค่ช่วงข้ามปี ก็น่าจะเกิดขึ้นได้ในเมืองไทย
นอกจากนี้ การมาของบริษัทข้ามชาติ ที ่เข้ามาลงทุนในเมืองไทย ทำให้เกิดการตื่นตัวของอินเตอร์เน็ตในเมืองไทย
และทุกคนอยากมีส่วนร่วมใน เครือข่ายนี้ทั้งสิ้น
ส่วนหนึ่งเป็นเพราะอินเตอร์เน็ตในไทยเป็นธุรกิจใหม่ ไม่มีสูตรสำเร็จ ที่
ตายตัว ไม่มีใครรู้ดีกว่ากัน ไม่มีใครมีประสบการณ์เหนือกว่ากัน เทคโนโลยีก็
สามารถซื้อหากันได้ทั่วไป ขึ้นอยู่กับว่าใครจะหามูลค่าเพิ่มให้กับตัวเองให้
มากที่สุด มีเครือข่ายธุรกิจกว้างไกลที่สุด
ทุกคนในอิน เตอร์เน็ต ล้วนแต่วิ่งหาสูตรสำเร็จของตัวเอง ต้องการหามูลค่าเพิ่มให้กับตัวเองให้มากที่สุด
ทำตัวเองให้ดูดีที่สุด มีทุกอย่างเท่า ที่อิน เตอร์เน็ตควรจะมี จ้างคนมีความรู้
จากนั้น ก็หาพันธมิตรข้ามชาติมาลงขัน เพื่อสร้างเครือข่ายธุรกิจข้ามชาติ
ที่ไม่ได้มีลูกค้าแค่ตลาดเมืองไทย ยิ่งมีพันธมิตร มากเท่าไหร่ยิ่งเป็นเรื่องดี
เพราะหมายถึงมูลค่าเพิ่มให้กับตัวเองจากนั้น ก็ จ้าง ที่ปรึกษาการเงิน มาทำระบบบัญชี
ที่ม ีประสบการณ์ แต่งตัวเข้าตลาดหลักทรัพย์
เนชั่นเองก็เชื่อเช่นนั้น เชื่อด้วยว่าการมีทั้ง content มีสื่อในมือ เนชั่นจึง
ไม่คิด ที่จะทำตัวเป็นเพียง content provider ที่หารายได้จากการป้อนข้อมูล
ให้ กับบริษัทอินเตอร์เน็ตอื่น ๆ เท่านั้น เป้าหมายของเนชั่นแค่หนังสือพิมพ์
ออนไลน์ เก็บค่าสมาชิกจากผู้ใช้ แต่เนชั่นมองถึงการมีรายได้จากธุรกิจอิน
เตอร์เน็ต ไม่ต่าง ไปจาก ที่ชินคอร์ป เอ็มเว็บ ล็อกซอินโฟ หรือ สามารถกรุ๊ป
มอง
"เราคิดว่า ถ้าจะทำเว็บไซต์ขนาดใหญ่ ทางเดียว
ที่จะรอดได้ ต้องจับ ตลาด ต่างประเทศเป็นหลักเหมือนกับมี ที่ดินหันออกทะเล
แล้วไปสร้างคอนโด หันเข้าหาฝั่ง เราเลยว่า ต้องเป็นตลาดโลกเท่านั้น "
เสริมสินบอกถึงแนวคิด ของเขา
และธนาชัยก็เชื่อเช่นนั้น
ธนาชัยเชื่อว่า สิ่งที่เนชั่นมีอยู่ ไม่ว่าจะเป็น content และยังมีสื่อในมือ
ทั้งสิ่งพิมพ์ วิทยุ โทรทัศน์ และจากพันธมิตรสิ่งพิมพ์ ข้ามชาติอย่างดาวโจนส์
และ โยมิโอริชิมบุน จะเป็นสินทรัพย์มีค่ามีราคาพอ ที่มาเป็นจิ๊กซอว์" ในธุรกิจ
อินเตอร์ เน็ตให้สมบูรณ์ได้โดยไม่ต้องใช้เงินมากมาย
การที่เป้าหมายของเนชั่นไม่ใช่ตลาดเมืองไทย ซึ่งยังมีผู้ใช้อินเตอร์เน็ตไม่
กี่แสนราย แต่เป็นตลาดโลก ที่มีผู้ใช้นับร้อยล้านราย ความเสี่ยงในเรื่องของ
ความพร้อมของลูกค้าจึงไม่เป็นประเด็นสำคัญ เท่ากับการที่เนชั่นจำเป็นจะ ต้องมีภาพของธุรกิจขนาดใหญ่
ที่เอาจริงเอาจัง มีบริการอินเตอร์เน็ต ที่ครบ วงจรแบบเบ็ดเสร็จ เป็นเจ้าของเว็บไซต์
มีดาต้าเซ็นเตอร์ เพื่อให้บริการเช่า host มีระบบ logistic เพื่อจะเอื้อประโยชน์ต่อการทำ
e-commerce อย่าง ครบวงจร
เนชั่น ดิจิตอล มีเดีย ที่เนชั่นถือหุ้น 100% ก็ถูกจัดตั้งขึ้นมา เพื่อทำ
ธุรกิจอินเตอร์เน็ต จุดหมายปลายทางของบริษัทนี้ก็ไม่แตกต่างไปจาก เอ็มเว็บ
ล็อกซอินโฟ สามารถกรุ๊ป นั่นก็คือ การระดมทุนในตลาดหลัก ทรัพย์ใน ต่างประเทศ
จิ๊กซอว์แรกของเนชั่น ดิจิตอล มีเดีย คือ บริษัทไทย พอร์ทัล ที่ถือหุ้น
โดยเนชั่น ดิจิตอล มีเดีย 51% ที่เหลือ 49% ถือโดยเสริมสิน พนม ฉัตรา นนท์
อดีตผู้บริหารของพรีม่าโกลด์ แล ะ พันธมิตร ธุรกิจหลักของ บริษัทนี้ คือ
การบริหาร portal web
"ถ้าเราจะทำแล้ว ต้องทำให้ใหญ่จึงจะคุ้ม ทำเล็กไม่คุ้มเหมือนกับเราปั้น
นักร้อง ถ้าได้โอกาสไปร้องทั่วโลกย่อมคุ้มกว่า เราเลยกล้าลงทุน"
เสริมสิน กล่าว
เว็บไซต์ thailand.com จึงเกิดขึ้นมาภายใต้รากฐานแนวคิดเหล่านี้ กลุ่ม เป้าหมายของเว็บไซต์นี้
จึงไม่ใช่ตลาดเมืองไทย แต่เป็นตลาดโลก ให้เป็น ศูนย์ กลางของผู้ส่งออกในการติดต่อ
กับผู้ซื้อ ที่เป็นองค์กรธุรกิจด้วยกัน หรือ ที่เรียกว่า บิสซิเนส ทู บิสซิเนส
เป็นแหล่งรวมข้อมูล ในเรื่องท่องเที่ยว เป็น ศูนย์กลางให้ชาวต่างชาติทั่วโลกมาติดต่อ
การท่องเที่ยว จองโรงแรม จองตั๋ว เครื่องบิน แพ็กเกจทัวร์ ที่จะเป็นอี-คอมเมิร์ซแบบครบวงจร
และเป็นห้าง สรรพสินค้าให้คนทั่วโลกมาสั่งซื้อสินค้าจากเมืองไทย ในลักษณะของบีทูซี
"หลังจากเราคิดจะทำอี-คอมเมิร์ซ แต่เป็นกับตลาดต่างประเทศ
เราก็มาศึกษาข้อมูลที่อเมริกา เขาทำอะไรบ้าง บีทูบีทำอะไร บีทูซีเป็นยังไง
บีทูซี อันดับ 1 ก็คือ การท่องเที่ยว เมืองไทยจะขายอะ ไร คำตอบก็คือ การส่งออก
เพราะบ้านเรามีผู้ส่งออกเป็นหมื่น ๆ ราย ส่งออก จำนวนมหาศ าล ตัว ที่ สองก็คือ
การท่องเที่ยว"
ด้วยการมองตลาดเมืองนอก ที่ไม่ใช่จำกัดอยู่แค่ตลาดเมืองไทย เนชั่น จึงมองโอกาสของ
thailand.com ไม่ต่างไปจาก
chaina.com "chaina.com เข้าได้เพราะคนจีนมีเยอะ แต่ของเราเอาภาษาอังกฤษเข้า
ไป และเป้าหมายถัดไป ก็คือ ทำภาษาจีน ญี่ปุ่น เพราะคนจีน และญี่ปุ่น เป็น
2 ชาติ ที่มาท่องเที่ยวในเมืองไทยมาก" ธนาชัยเล่า
นั่นหมายความว่า การที่ chaina. com เข้ าตลาดหุ้น nasdaq ได้ thailand.cOm
ก็ควรจะมีโอกาสเช่นเดียวกับ chaina.com
การยอมทุ่มทุนไปขอซื้อชื่อโดเมนเนม thailand.com ที่ถูกตั้งราคาเอาไว้ 5
ล้านเหรียญสหรัฐ และต้องใช้เวลาถึง 3 เดือนเต็มในการเจรจา ซึ่งธนาชัย ก็เชื่อเหมือนอย่างที่เสริมสินเองเชื่อว่า
เป็นการลงทุน ที่คุ้มค่า เมื่อเทียบกับ การที่ต้องเสียค่าโฆษณาในการโปรโมตเว็บไซต์นี้ให้รู้จักไปทั่วโลก
ซึ่งเป็น เรื่องจำเป็นสำหรับ portal we b แล้ว ก็ เพื่อเป้าหมายเหล่านี้
ถึงแม้ว่า เนชั่นจะไม่ได้เสียเงินจ้าง ที่ปรึกษาแพง ๆ โมเดลธุรกิจของไทย
พอร์ทัล จึงถูกสร้างมาจากการเห็นพ้องร่วมกันระหว่างธนาชัย และเสริมสิน แต่ทั้งสองก็พยายาม
ที่จะห าสูตรสำเร็จของธุรกิจ ให้อยู่บนรากฐานธุรกิจอิน เตอร์เน็ตในสหรัฐอเมริกา
ที่เคยประสบความสำเร็จมาแล้ว
การจัดโครงสร้างองค์กร ถูกวางให้สอดคล้องกับมุมมองของ venture capital ที่ใช้ในการประเมินสถานภาพ
ของธุรกิจอินเตอร์เน็ต ที่เสริมสินบอก ว่า จะมีวิธีการมองถึงความเสี่ยงของธุรกิจ
4 ด้าน
1. technology risk ความเสี่ยงในเรื่องของเทคโนโลยีเป็นสิ่งที่จำเป็น ของธุรกิจอินเตอร์เน็ต
และนี่เองเป็นที่มาของการร่วมมือกับไอบีเอ็ม ประเทศ ไทย มาเป็นพันธมิตร ที่จะมารับผิดชอบในการวางระบบ
e-business คิดเป็น มูลค่า 96 ล้านบาท
ไอบีเอ็มนั้น พยายามสร้างชื่อกัธ e-business ซึ่งถือเป็นหัวหอกหลัก ของ
ธุรกิจไอบีเอ็มเวลานี้ ในทุกๆ ประเทศ ซึ่งไอบีเอ็ม เข้าร่วมโครงการนี้กับ
เนชั่น ในฐานะของพันธมิตร ที่เรื่องเงินมาทีหลัง เพราะเนชั่นไม่ต้องจ่ายเงิน
เป็นก้อนให้ไอบีเอ็ม แต่จ่ายเป็นรายเดือน
สิ่งที่ไอบี เอ็มคาดหวังจากงานนี้@ม่ใช่เรื่องรายได้ แต่ไอบีเอ็มหวังไว้ว่า
หากงานนี้สำเร็จ ไอบีเอ็มจะอาศัยชื่อของ thailand.com เป็นใบเบิกทางใน ธุรกิจ
e-business ของไอบีเอ็มในไทย และรวมไปถึงในย่านนี้
นั ่นก็คือ ที่มาของการมีข้อความว่า power by IBM ประกอบคู่ไปกับ thailand.com
หาก thailand.com สำเร็จ เท่ากับว่าไอบีเอ็มสำเร็จไปด้วย
ไอบีเอ็มจะรับผิดชอบการติดตั้งระบบคอมพิวเตอร์ทั้งหมด ที่ thailand. com
จะต้องมี เพื่อให้บริการลูกค้า ทั้งฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ แอพพลิเคชั่น ที่
จะต้องรองรับกับบริการ ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของข้อมูล การค้นหา และเรียก
ดูข้อมูลที่จะเป็นภาพ และเสียง โดยระบบนั้น จะต้องรอง รับกับจำนวนผู้ใช้
จำนวน 2 แสน รายต่อวัน รวมถึงการจองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ รวมถึงการ ชำระเงินออนไลน์
2. financial risk ความเสี่ยงในเรื่องของเงิน เสริมสินบอกว่า ในจุดนี้จะ
อาศัยฐานจากเนชั่นในกา รสนับสนุนในเรื่องของการลงทุน และในอนาคตจะ ต้องมีพันธมิตรอื่นๆ
ไม่ว่าจะเป็น venture capital หรือกองทุนการเงินอื่นๆ เข้ามาถือหุ้น
3. people risk ความเสี่ยงในเรื่องของทีมงาน ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญม าก สำหรับธุรกิจอินเตอร์เน็ต
ที่จะให้ความสำคัญกับคนมากกว่าระบบ และด้วย การวางภาพธุรกิจ ที่จะต้องพร้อมสำหรับการแข่งขันในระดับตลาดโลก
และ การเข้าตลาดหุ้นในต่างประเทศ
และนี่เอง ที่ทำให้ทีมงานของเน ชั่น มีความแตกต่างไปจากบริษัทดอท คอม อื่นของไทย
ทีมงาน ที่ถูกดึงเข้ามาร่วมในไทยพอร์ทัล จึงไม่ใช่เด็กจบใหม่ ที่มีไฟ มี
ความ คิดสร้างสรรค์ เหมือนกับองค่กรอินเตอร์เน็ตอื่น ๆ ที่มีสูตรสำเร็จใน
การสร้างบริษัทดอทคอม ด้วยทีมงาน ที่เป็นเด็กหนุ่มสาวหน้าใส ที่เพิ่งก้าว
พ้นรั้วมหา วิทยาลัยมาหมาด ๆ ให้มาสร้างข้อมูล หรือโครงสร้างของเว็บไซต์
ที่จะตอบสนองกลุ่มคนใช้อินเตอร์เน็ตในไทย ที่เป็นเด็กวัยรุ่น นักเรียนมาก
กว่า 70% ของพลเมืองอินเตอร์เน็ตทั้งหมดในไทย
แต่ทีมงาน ที่นี่ ล้วนแต่เป็นผู้บริหาร ที่เคยผ่านประสบการณ์ในบริษัทชั้นดี
พกดีกรีการเรียนจากมหาวิทยาลัยชื่อดังจากต่างประเทศเกือบทั้งสิ้น
"ผู้บริหารของบริษัทซิสโก้ ซิสเต็ม ก็จบมาจากมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด
นิโคลัส นิโคปอนเต้ ก็จบจาก MIT ฝรั่งเขาไม่รู้จักอะไรเราเลย เขารู้จักแค่
resume ของคุณเท่านั้น "
การแก้ปัญหาในเรื่องความเสี่ยงของการที่ทีมงานจะถูกดึงตัวของเนชั่น ก็ เหมือนกับองค์กรอินเตอร์เน็ตอื่น
ๆ ของเมืองไทย ที่กำลังพยายามทำให้เหมือน กับบริษัทในซิลิคอน วัลเล่ย์ นั่นก็คือ
การให้สิทธิการถื อหุ้นในราคาพาร์ (stock option) เป็นวิธี ที่องค์กรอินเตอร์เน็ตนิยมกันมากในเวลานี้
4. market risk การทำเว็บไซต์สำหรับลูกค้า ที่เป็นตลาดโลก และมุ่งไป ในเรื่องของการท่องเที่ยว
และส่งออก เป็นสิ่งที่เ นชั่นเชื่อว่าจะแก้ปัญหาใน เรื่องของความเสี่ยงของการตลาดได้ดีที่สุด
เสริมสินบอกว่า การจัดองค์กรให้ภาพของ thailand.com ดูดีที่สุด สอด คล้องกับสิ่งที่
venture capital หรือสถาบันการเงิน ประเมินอง ค์กรอิน เตอร์เน็ต มากที่สุด
ก็ เพื่อเป้าหมายของการเข้าระดมทุนในตลาดหุ้นต่างประเทศ ที่ไม่ใช่แค่ ตลาดหุ้น
nasdaq เท่านั้น แต่อาจจะเป็นตลาดแนสแดคในญี่ปุ่น หรือ jasdaq (japan nasdaq)
หรือ ตลาดหุ้นฮ่องกง
แต่สิ่งเหล่านี้ เพียงแค่ 10% ของ การเริ่มต้นธุรกิจเท่านั้น ความยากลำบาก
ของ thailand.com ในสายตาของเสริมสิน ไม่ได้อยู่ ที่การวาง concept แต่อยู่
ที่การจะติดตั้งระบบ implement เหล่านี้ให้ได้ ตามแนวทาง ที่วางไว้
"ธุรกิจอินเตอร์เน็ต ไอเดียแค่ 10% เท่านั้น ที่เหลือเป็นเรื่องของการ
implement ให้เหมือนกับไอเดีย เป็นเรื่อง ที่ยากที่สุด เหมือนกับการสร้างตึก
ที่ต้องมีการแก้ไขกันตลอดเวลา "
ในขณะที่ทีมงานของไทยพอร์ทัล กำลังเตรียมพร้อมสำหรับการเปิดตัว ในเดือนมิถุนายนนี้
ที่จะต้องพร้อมสำหรับบริการท่องเที่ยว ที่จะต้องเป็น อี- คอมเมิร์ซสมบูรณ์แบบ
มีทั้งบริการจอง และ ชำระเงินตั๋วเครื่องบิน จองทัวร์ เปิดเป็นเคาน์เตอร์
ที่สนามบินดอนเมือง เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับผู้ที่จองผ่านเว็บไซต์ thailand.com
ที่จะเป็นจุดขาย ที่สร้างความแตกต่างกับเว็บ ไซต์ท่องเที่ยวอื่นๆ
"เราจะสร้างจุด เด่นในเรื่องของความเป็นท้องถิ่น
การเป็นผู้ที่อยู่ในพื้นที่ มาใช้ในการสร้างจุดแข็งให้กับเว็บไซต์ ถ้าเป็นเว็บไซต์ท่องเที่ยวอื่นๆ
แล้วเขา อาจจะมีเฉพาะรายชื่อของโรงแรมระดับ 5 ดาว แต่สำหรับของเราแล้ว จ
ะมี จนถึง 3 ดาว 2 ดาว ร้านอาหารก็ไม่จำเป็นต้อง เป็นภัตตาคารแบบหรูๆ แต่
เป็นร้านอาหาร ที่คนไทยนิยมไปกิน" เสริมสินอธิบาย
เปิดให้ธุรกิจส่งออกมาเช่าเนื้อ ที่ในเว็บไซต์ รวมถึงข่าวสาร และข้อมูล
ต่างๆ รวมแล้ว 20,000 หน้า
เนชั่นกรุ๊ป ก็เหมือนกับองค์กรอินเตอร์เน็ตของเมืองไทยอื่นๆ ที่ไม่อาจ จะเลือกโฟกัสลงตรงส่วนใดของธุรกิจอินเตอร์เน็ตได้โดยตรง
เนื่องจากตลาด เมืองไทยยังเติบโตไม่เพียงพอ แต่จำเป็นจะต้องสร้างองค์กรให้มีมูลค่าเพิ่มมีบริการครบวงจร
อีกทั้งประโยชน์ในเรื่องของ อี-คอมเมิร์ซ ที่จำเป็นต้องมีระบบอื่น ๆ มา
สนับสนุน ตั้งแต่ ดาต้าเซ็นเตอร์ จนกระทั่งระบบการส่งสินค้า (logistic) ซ
ึ่ง เป็นเรื่อง ที่สำคัญสำหรับการทำ e-commerce
ถึงแม้ thailand.com จะโฟกัสไป ที่ตลาดต่างประเทศ แต่ความเสี่ยงของ ธุรกิจ
portal site ก็มีไม่น้อย thailand. com อาจสร้างชื่อเสียง ทำให้เป็นที่รู้
จั ก แต่รายได้หรือเม็ดเงิน ที่จะได้จากธุรกิจมีความไม่แน่นอนเท่ากับการที่ให้
บริการ hosting หรือมีธุรกิจ logistic
"เปรียบเหมือนกับการขุดทอง เราต้องมีเว็บไซต์
อย่างอะเมซอน ยาฮู นั่นก็คือ การที่เรามี thailand.com เอาไว้ขุดทอง แต่อะไร
ที่รวยตลอด คือ การขายจอบ ขายเสียม ให้คนไปขุดทอง ผมมองว่า เมื่อเรามีไทยแลนด์.คอม
ไว้ขุดทองแล้ว เราต้องมีบริการอย่างอื่น อย่างดาต้าเซ็นเตอร์ ลอจิสติก มีไอ
เอสพี ไ ว้เป็นจอบ เป็นเสียบ ให้คนอื่นในการขุดทอง" เสริมสินเปรียบเทียบ
และนี่เอง คือ ที่มาของการทำดาต้าเซ็นเตอร์ และลอจิสติก ที่นอกจาก จะเป็นการสร้าง
Infrastructure สำหรับ การทำธุรกิจ อี-คอมเมิร์ซ มีควา ม สมบูรณ์ครบวงจร
ไม่ต้องพึ่งพาระบบของคนอื่น แต่ยังรวมไปถึงความเสี่ยง ในเรื่องของรายได้
ซึ่งรายได้จากดาต้าเซ็นเตอร์ และลอจิสติก จะเป็นพื้นฐาน ของการทำรายได้ให้กับธุรกิจ
ไม่ใช่ portal web ที่อาจจะเป็นการสร้างชื่อ ให้ติดหูติดตามากกว่าจะเป็นตัวทำรายได้
การได้ สิงคโปร์ เทคโนโลยีส์ เทเลมีเดีย มีเดีย (เอสทีที) มาร่วมถือหุ้น
ก็มาจากสาเหตุเหล่านี้
เอสทีที มาร่วมถือหุ้นกับเนชั่น ดิจิตอล มีเดีย ในสัดส่วน 60 : 40 จัดตั้งเป็นบริษัท
เอสทีที-เนชั่นดอทคอม จำกัด เพื่อเปิดเป็นบริการ ดาต้า เซ็นเตอร์ หรือบริการ
web hosting คือ แหล่งรวม ที่ตั้งของเว็บไซต์ เปรียบ เสมือนกับเป็นนิคมอุตสาหกรรม
ให้กับองค์กรธุรกิจ ที่ต้องการมีเว็บไซต์ ให้ มาเช่าอยู่ร่วมในดาต้าเซ็นเตอร์แห่งนี้
จะรองรับได้ตั้งแต่เว็บไซต์ขนาดเล็กมี ข้อมูลไม่กี่หน้า จนกระทั่งเว็บไซต์ขนาดใหญ่
ที่มีข้อมูลมากมาย
ภายในดาต้าเซ็ นเตอร์ ที่บริษัทเอสทีที เนชั่นดอทคอมเป็นผู้ลงทุนนั้น จะมีระบบคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่
ที่จะทำหน้าที่ในการบริหารเว็บไซต์เหล่านี้ ให้ทำงานอย่างต่อเนื่อง มีระบบรักษาความปลอดภัยสำหรับป้องกันข้อมูล
บร ิการที่บริษัทแห่งนี้จะให้กับลูกค้าจะมีตั้งแต่การให้คำปรึกษา บริการในการจัดทำโปรแกรมบนเว็บไซต์
การทำธุรกิจ portal web และธุรกิจ ออนไลน์ รวมถึงการบริการเครือข่ายส่วนตัว
สิงคโปร์ เทคโนโลยีส์ เท เลมีเดีย ตั้งขึ้นมาตั้งแต่ปี 2537 ทำธุรกิจด้าน
สื่อสาร และมัลติมีเดียหลายประเภท ตั้งแต่ บริการวิทยุติดตามตัว อิน เตอร์เน็ต
บริการสื่อสารข้อมูลเคลื่อนที่ บริการดาวเทียมโทรทัศน์เคเบิล มีศูนย์วิจัยเ
ทคโน โลยีสารสนเทศ และโทรคมนาคม
ในเดือนพฤศจิกายน 2542 เอสทีที ก่อตั้งบริษัทให้บริการ อี-คอม เมิร์ซ และอินเตอร์เน็ต
ใช้ชื่อว่า เอสทีที ดอทคอม เพื่อให้บริการ จัดทำ โปรแกรมบนเว็บไซต์ บริการธุรกิจเ
ว็บท่า และธุรกิจออนไลน์ บริการเว็บเซ็นเตอร์ (Web Centre) และการสร้างเครือข่ายส่วนตัวบนไอที
(IP based Virtual Private Network หรือ VPN)
นอกจากนี้ เอสทีทียังเป็นหุ้นส่วนในบริษัทสตาร์ฮัท บริษัทให้บริการ โทรศัพท์ติดตั้ง
และเคลื่อนที่ และมีธุรกิจในจีน เป็นผู้วางเครือข่าย จีเอสเอ็ม ครอบคลุมเมืองหลักๆ
ในเสฉวน มีผู้ใช้บริการ 52,000 คน และมีเครือข่ายบริการ วิทยุติดตามตัว ที่ร่วมทุนกับ
ไชน่า ยูนิคอม มีผู้ใช้บริการ 2 ล้านคน
สิ่งที่เนชั่น ดิจิตอล มีเดีย จะได้รับจากการร่วมทุนกับเอสทีที นอกเหนือ
จากในเรื่องโนว์ฮาว ความรู้ในเรื่องของเทคโนโลยีในเรื่องของ ดาต้าเซ็นเตอร์
ที่เอสทีที ดอท คอม ให้บริการอยู่แล้วในหลายประเทศ ก็คือ ภาพความยิ่ง ใหญ่
ที่เป็นเรื่องจำเป็นสำหรับธุรกิจอินเตอร์เน็ต ที่ไม่อาจมองแค่ตลาดใน ไทยเท่านั้น
แต่ ต้องเป็นส่วนหนึ่งของเครือข่ายในภูมิภาค หรือในย่านเอเชีย
เนชั่นเองต้องการมีส่วนร่วมในเครือข่ายเอเชีย ซึ่งดาต้าเซ็นเตอร์ ในไทย
จะเป็นประเทศ ที่ 5 หรือเป็นขาหนึ่งของการสร้างเครือข่าย Virtual Private
Network หรือ VPN ที่เอสทีทีต้องการจะสร้างให้ครอบคลุม 10 ประเทศเอ เชียแปซิฟิก
อาทิ สิงคโปร์ ไทย มาเลเซีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ ฮ่องกง เป็นต้น ซึ่งการเชื่อมโยงนี้จะเสร็จสมบูรณ์ในปีหน้า
ประโยชน์ ที่ได้จากการสร้างเครือข่ายขึ้นในภูมิภาคเอเชีย ก็ เพื่อไ ม่ต้อง
พึ่งพา การเช่าใช้เครือข่ายอเมริกา เพราะทุกวันนี้ แม้จะเรียกดูข้อมูล แต่จะมี
การเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างกันภายในกลุ่มประเทศในย่านเอเชียได้สะดวกขึ้น และจะทำให้ประหยัดในเรื่องของการใช้เครือข่ายใ
นการไม่ต้องเชื่อมโยงไปยัง สหรัฐอเมริกา ก่อน ถึงแม้จะเป็นข้อมูลจากเว็บไซต์ภายในประเทศ
หรือจากประเทศในแถบเอเชียด้วยกัน
หากเปรียบแล้วก็เหมือนกับการที่ชินนี่ของกลุ่มชินวัตร ได้พยายามในการสร้างเครือข่ายขึ้นภายในประเทศ
เพื่อใช้เรียกดูข้อมูลจากเว็บไซต์ของไทย โดยไม่ต้องเชื่อมโยงไปสหรัฐอเมริกาก่อน
แต่จุดมุ่งหมายของสิงคโปร์ เทคโนโลยีส์ เทเลมีเดีย นั้น จะเป็นการเชื่อมโยงกับกลุ่มประเทศในแถบเอเชียด้วย
กัน
นอกเหนือจากเอสทีทีแล้ว บรรดายักษ์ใหญ่หลายแห่งเองก็ต้องสร้าง เครือข่ายเชื่อมโยงเครือข่ายในเอเชียแปซิฟิก
เช่น กรณีของ ไลคอส เอเซีย ที่ กำลังมาลงทุนในเอดีเวนเจอร์ ก็มีเป้าหมายเดียว
กันนี้ นั่นก็คือ การสร้าง เครือข่ายเชื่อมโยงขึ้นในเอเชียแปซิฟิก ซึ่งมีวัฒนธรรมเฉพาะตัว
การใช้งานอิน เตอร์เน็ต ที่แตกต่างไปจากสหรัฐอเมริกา
และนี่เอง ที่เอสทีทีเนชั่นดอท คอม จำเป็นจะต้องมีธุรกิจเป็นผู้ให้บริการ
อินเตอร์เน็ต หรือ Internet service provider และในการเป็นไอเอสพี ไม่ ได้เป็นเพราะต้องการหารายได้จากธุรกิจบริการอินเตอร์เน็ต
(Internet access) ที่จะได้จากจำนวนผู้ใช้อินเตอร์ เน็ต ซึ่ งเป็นแค่ส่วนเดียวเท่านั้น
แต่เป้าหมายของการเป็น ไอเอสพี เพื่อ ที่จะต้องการมี "ถนน" หรือ "ท่อ ขนาดใหญ่"
ที่จะใช้ในการเชื่อมต่อเข้าสู่เครือข่ายเอเชีย หรือ VPN ของ สิงคโปร์ เทคโนโลยีส์
เทเลมีเดีย อีกครั้งหนึ่ง
" เพื่อจะเชื่อมเข้าสู่เครือข่ายต่างประเทศ เราจะต้องมีแบนด์วิช
จะต้องมี ท่อขนาดใหญ่ คนไม่เป็นไอเอสพี จะขอไม่ได้ ฉะนั้น เราจำเป็นต้องมีไอเอสพี
เพื่อจะไปขอท่อขนาดใหญ่กับกสท. เพื่อไ ปเชื่อมต่อกับต่างประเทศ"
เนชั่นก็เหมือนกับองค์กรอินเตอร์ เน็ตอื่น ๆ ที่เลือกเข้าไปซื้อหุ้นในไอเอส
พี ที่มีอยู่แล้ว แทน ที่จะไปตั้งบริษัทใหม่ เพราะความสะดวกในเรื่องของการ
ไม่ต้องเริ่มต้นธุรกิจใหม่หมด แต่จะได้ฐาน ลูกค้ามาระดับหนึ่ง
ถึงแม้ว่า ที่ผ่านมาบริษัทในเครือ ของอินเตอร์ฟาร์อีสต์ วิศวกรรม จะไม่
ได้มีกิจกรรมการตลาดมากมาย ไม่ได้ติดอันดับไอเอสพี ที่มียอดสมาชิก อันดับต้นๆ
ทำตลาดอย่างเงีย บๆ แต่สิ่งที่อยู่เบื้องหลังของไอเอสพีรายนี้คือ เป้า หมาย
สำคัญ
การเป็นบริษัทในเครือของสหพัฒน์ ซึ่งมีเครือข่ายธุรกิจขนาดใหญ่ใน อุตสาหกรรมอาหาร
และเสื้อผ้า ย่อมเป็น ประโยชน์ในการสร้างฐานลูกค้า สำคัญ ที่จะมาใช้บริการของดาต้าเซ็นเตอร์ได้เป็นอย่างดี
ระบบลอจิสติก หรือระบบการส่งสินค้าให้ถึงมือลูกค้า ที่สั่งซื้อสินค้าจะเป็นจิ๊กซอว์ตัวถัดไป
ที่จะมารองรับในเรื่องของ อี-คอมเมิร์ซมีความสมบูรณ ์ ยิ่งขึ้น และเป็นสิ่งที่ผู้ประกอบการอินเตอร์เน็ตในเมืองไทยทุกราย
พยายามจะสร้างสูตรสำเร็จเหล่านี้ขึ้น
ปัญหาสำคัญของอี-คอมเมิร์ซ ไม่ใช่เรื่องของการเปิดเว็บไซต์ หรือ เทคโนโลยี
ที่จะมาบริหาร เว็บไซต์ หรือการชำระเงินออนไลน์ แต่อยู่ ที่ว่าจะส่งสินค้า
ไปถึงมือผู้สั่งซื้อสินค้าได้อย่างไร คือ ประเด็น ที่ผู้ประกอบการอินเตอร์เน็ต
การมีระบบจัดจำหน่ายหนังสือพิมพ์ มีมอเตอร์ไซค์ในการส่งหนังสือ พิมพ์ ทั้งในเครืออยู่ทั่วกรุงเทพฯ
มีเครือข่ายร้านหนังสือซีเอ็ดบุ้คเซ็นเตอร์ ที่ เนชั่นถือหุ้นอยู่ 20% ซึ่งมีร้านค้าในกรุงเทพฯ
50 แห่ง และเครือข่ายพัน ธมิตร ของซีเอ็ดอีก 500 กว่าแห่งทั่วประเทศ
ทั้ งหมดนี้ คือ สิ่งที่ธนาชัยเชื่อว่า จะช่วยให้เนชั่นสร้างระบบลอจิสติกขึ้น
มาได้ไม่ยากนัก ซึ่งระบบลอจิสติกนี้ จะเป็นส่วน ที่จะมารองรับกับการเปิด
shopping mall ออนไลน์ ไว้สำหรับการ เป็นศูนย์รวมแหล่งผลิตภ ัณฑ์ของ เมืองไทยให้กับชาวต่างชาติ
ที่มาเที่ยวเมืองไทย และเมื่อบินกลับไปประเทศ ของตัวแล้ว ต้องสั่งซื้อสินค้าพื้นเมืองของไทย
แต่ระบบจัดจำหน่ายเหล่านี้ ก็ยังมีข้อจำกัดอยู่มากยังไม่สามารถตอบ สนอ งความต้องการเหล่านี้ได้ครบถ้วน
ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการที่ไม่สามารถ ส่งสินค้าขนาดใหญ่ เพราะระบบจัดส่งหนังสือพิมพ์ของเนชั่นนั้น
จะส่งแค่สิน ค้าชิ้นเล็กๆ เท่านั้น
นอกจากนี้ลูกค้า ที่สั่งซื้อสินค้า ไม่ได้อยู่ในไทย แต่เป็นชาวต่างชาติ
ที่อยู่ในต่างประเทศ สิ่งเหล่านี้คือ โจทย์ ที่เนชั่นจำเป็นต้องตีให้แตก
ในการสร้าง ระบบ logistic ขึ้นมา เพื่อรองรับกับลูกค้าเหล่านี้ได้อย่างไร
สิ่งที่เนชั่นจะต้อง ทำคือ การหาพันธมิตร ที่จะมาสร้างระบบ logistic ที่
สมบูรณ์แบบขึ้นในไทย และต่างประเทศ เพื่อจะมารองรับกับภาพธุรกิจ อี- คอมเมิร์ซ
ที่สมบูรณ์แบบ และครบวงจร
ด้วยภาพธุรกิจ ที่วางไว้ทั้งหมดนี้ จึงนับได้ว่ าเป็นการลงทุนขนาดใหญ่ ที่
ท้าทายที่สุดอีกครั้งหนึ่งของเนชั่น ถึงแม้ว่าจะเป็นการลงทุน ที่ธนาชัยบอกว่า
ด้วย content และสื่อในมือ ทำให้เนชั่น ประหยัดเงินลงทุน และเวลาไปได้ ครึ่งทางแล้วก็ตาม
การล งทุนครั้งนี้ เนชั่นไม่ได้คาดหวังแต่เพียงรายได้จากธุรกิจเท่านั้น
เงิน รายได้ ที่คาดว่าจะได้ในปีนี้ 300 ล้านบาท และปีหน้า 400-500 ล้านบาท
ที่จะมาจากธุรกิจนี้ จึงไม่ใช่เป้าหมาย ที่แท้จริง หรือเป็นแค่ส่ว นเดียวของเป้าหมายหลัก
เนชั่นก็เหมือนผู้ประกอบธุรกิจอื่น ๆ การที่เนชั่นจำเป็นต้องสร้างอาณาจักรธุรกิจให้ครบถ้วน
และครบวงจร สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับองค์กรธุรกิจ ก็ เพื่อการเข้า ระดมทุนในตลาดหลักท
รัพย์ในต่างประเทศ เป็นจุดหมายปลายทาง
สำหรับเนชั่นแล้ว ธนาชัยบอกว่าอาจเป็นไปได้ทั้งตลาดหุ้นแนสแดค หรือ อาจเป็นตลาดหลักทรัพย์ในญี่ปุ่น
หรือ jasdaq หรือฮ่องกง ขึ้นอยู่กับ ว่าจะเข้าตลาดไหนได้ก่อนกัน
และด้วยโมเดลธุรกิจ ที่วางไว้เหล่านี้ ธนาชัยเชื่อว่าทำให้เนชั่น ดิจิตอล
มีเดีย มีโอกาสเข้าไประดมทุนในตลาดหลักทรัพย์ได้ไม่ยากนัก
แต่สิ่งที่เนชั่น หรือใครก็ตามต้องตระหนักให้ดี ก็คือ การนำบริษัทเข้า ตลาด
หุ้นต่างชาติ ไม่เหมือนกับการแต่งตัวเข้าตลาดหุ้นของเมืองไทยในอดีต ซึ่งเป็นสิ่งที่บริษัทดอทคอมทั้งหลาย
คงต้องได้รับบทเรียนอีกมาก
ถึงแม้ว่าองค์กรอินเตอร์เน็ตทั้งหลายจะพยายามมองโลกในแง่ดี แต่สิ่งที่ เขาต้องเผชิญคือ
ความยากลำบากของสังคมไทย คือ การไม่มีจุดขาย ที่แน่ชัด เหมือนอย่างเมืองจีน
หรือฮ่องกง หรือ สิงคโปร์ ที่มีอินเตอร์เน็ตใช้กันเกือบ ทั้งประเทศ ที่นอกจากจะพยายามสร้
างตัวเองให้เป็นศูนย์กลางทางการเงิน แล้ว ยังพยายามสร้างตัวเองให้เป็นเครือข่ายอินเตอร์เน็ตในภูมิภาคเอเชีย
สิ่งที่เนชั่นจะต้องเผชิญ ไม่ใช่เรื่องของเทคโนโลยี หรือการหาเงินทุน หรือ
ระบบ ที่จะมารองร ับอี-คอมเมิร์ซครบวงจร เพื่อรองรับกับผู้ส่งออกทั้ง รายเล็ก
และขนาดใหญ่ แต่เนชั่นจะทำอย่างไร ให้กับผู้ส่งออกของไทย ปรับ จากระบบ ที่ใช้งาน
อยู่เดิม ที่ใช้งานมาใช้เทคโนโลยีของ web base ไม่ว่าจะเป็นการส่งข้อมูลการหัก
บัญชีกับธนาคาร หรือหันมาใช้อี-คอมเมิร์ซ
วัชระพงษ์ ยะไวท์ ที่ปรึกษาด้านการตลาดระหว่างประเทศ ที่มี ประสบการณ์ ถึง
4 ปีเต็ม กล่าวในคอลัมน์ของเขาว่า เวลานี้ผู้ส่งออกของไทยยัง ห่างไกล เรื่อง
อี-คอมเมิร์ซ ผู้ส่งออกของไทยยังไม่เคยมีแค็ตตาล็อกสิน ค้าของตนเอง และมีเพียง
20% เท่านั้น ที่ต่ออินเตอร์เน็ต และมีอีเมลของตน เองไว้ใช้งาน ไม่ต้องกล่าวถึงเรื่อง
การค้าขายบนอินเตอร์เน็ต ที่มี ไม่ถึง 10%
หมายความว่า จำนวนผู้ส่งออก ที่อยู่ในมือของกรมส่งเสริมการส่งออก ประมาณ
7,000 ราย ติดตั้งอินเตอร์เน็ต 20% หรือ 1,400 รายเท่านั้น และในจำนวนนี้มี
10% ที่ค้าขายบนเว็บ นั่นคือ มีแค่ 140 รายเท่านั้น
เป็นจำนวนผู้ใช้น้อยมาก เมื่อเทียบกับการโปรโมต หรือความตื่นตัวใน เรื่อง
ของอี-คอมเมิร์ซ ที่องค์กรอินเตอร์เน็ตพยายามสร้างกันอยู่ในเวลานี้ เป็นเรื่อง
ที่ thailand.com ต้องเผชิญกับสิ่ง เหล่านี้
ถึงแม้ว่าทุกบริษัทอินเตอร์เน็ตของเมืองไทย กำลังพยายามวางโมเดล ธุรกิจของตัวเองไว้อย่างสวยงาม
แต่หนทางก็ไม่ได้โรยไว้ด้วยกลีบกุหลาบ