เปิดโมเดลธุรกิจ"เวโลช็อป ปิ้ง" เว็บ "อี-คอมเมิร์ซ"
สื่อกลาง การเสนอขายผ่านอินเทอร์เน็ตที่ประสบความสำเร็จอยู่รอดได้หลังยุคฟองสบู่ของธุรกิจดอทคอม
จนสามารถดันปลาทู-ปลาร้า ขายไปแล้วทั่วโลก
ในยุคนี้ หากใครคิดจะริเริ่มทำธุรกิจอะไรสักอย่าง แน่นอนจะต้องมีเงินทุนสำรองนับล้าน
ยากที่คนที่มีรายได้น้อย จะพลิกผันตัวเองจับธุรกิจแล้วกลายเป็นเศรษฐีในชั่วข้ามคืน
ซ้ำแต่ละขั้นตอนในการเปิดร้านหรือเปิดบริษัทขึ้นมาทำการค้าขายนั้น ก็มีแต่ความยุ่งยากและซับซ้อนจนปวดหัว
แต่ก็ใช่ ว่าคนทุนน้อยจะหมดทางไปเสียทีเดียว เมื่อมีการเปิดเส้นทางการค้ารูปแบบใหม่ผ่านทางอินเทอร์เน็ต
ที่เรียกนี้ธุรกิจว่า "อี-คอมเมิร์ซ" (e-commerce) ซึ่งที่ผ่านมาธุรกิจประเภทนี้อาจจะเคยเฟื่องฟู
และเป็นข่าวล่อตาล่อใจ บรรดาเสี่ยใหม่ใจเร็วในช่วงระยะแรกๆ ที่เทคโนโลยีนี้เข้ามาใหม่
แต่แล้วก็ต้องเลิกราไปตามสภาพ เพราะไม่มียอดการสั่งซื้อเข้ามา
ทั้งนี้ จากการสำรวจเว็บ "อี-คอมเมิร์ซ"ทั่วไปในสหรัฐอเมริกา
พบว่าสินค้าที่มีการซื้อขายสูง สุดผ่านอินเทอร์เน็ตนั้น ได้แก่สิน ค้าประเภท"ข้อมูล"
หรือ "โปรแกรม ต่างๆ" เนื่องจากมีความสะดวกใน การส่งมอบ รองลงมาเป็น
"เว็บหนัง สือ"เช่น"อเมซอนดอทคอม" (www. amazon.com)
อย่างไรก็ตาม เว็บไซต์ที่เปรียบเสมือนตัวกลาง ที่เชื่อมต่อระหว่างโลกของไซเบอร์กับโลกการค้า
อย่าง "เวโลช็อปปิ้ง ดอท คอม" ก็มีคำตอบที่พิสูจน์ให้เห็นว่า "อี-คอมเมิร์ซ
ยังไม่ตาย" แต่คงที่อยู่บนพื้นฐานของความจริงที่ว่า ผู้ที่ยืนอยู่บนธุรกิจนี้ได้
ต้องเป็นคนที่มุ่งมั่นทำธุรกิจนี้อย่างแท้จริง ไม่ใช่ทำเพราะหมดหนทางในการหางานทำ
หรือเป็นพวกที่คิดว่ามีอะไรให้ทำก็ทำไปก่อน ซึ่งคนพวกนี้ พอหางานได้ก็จะเลิกสนใจไปเลย
ความสำเร็จของธุรกิจดอทคอม ของ "เวโลช็อปปิ้ง" นั้นพิสูจน์ได้
จากเว็บที่โด่งดัง อย่าง "ปลาทูออนไลน์ดอทคอม" (www. platuonline.
com) และ "ปลาทูมหาชัยดอทคอม" (www. platumahachai.com) ของนายสมศักดิ์
สถิรางกูร พ่อค้าผู้คลุกคลีอยู่กับปลาทูมากว่า 20 ปี ย่านรามอินทรา ที่หันมาจับธุรกิจออนไลน์
ที่ไม่มีใครเชื่อว่าจะสร้างรายได้หลายแสนบาทต่อเดือน นอกจากนี้ยังมีบางเว็บใน
"เวโลช็อปปิ้ง" ที่ทำรายได้สูงมากกว่า "ปลาทูออนไลน์"
แบบขาด ลอย เพียงแค่ภายในหนึ่งอาทิตย์เดียว จนแทบไม่อยากเชื่อด้วยสายตา
สำหรับสถิติที่รวบรวมจากเว็บไซต์ www. VeloShopping.com ตั้งแต่ กรกฎาคม
2543 - กรกฎาคม 2545 พบว่า 10 อันดับสินค้าขายดีที่ผู้ประกอบการไทยขายให้ผู้บริโภคโดยตรงซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในต่างประเทศ
เครื่องประดับ (อัญมณีเทียม)45% ,หัตถกรรมไทย ผ้าไหมไทย 30%, โมเดล 10%,
ดอกไม้ 5%, ซีดีเพลง 3%, ของเด็กเล่น 3%,ของสะสม 2%, เครื่องเงิน 1%, อาหาร
0.5% และอื่นๆ 0.5% โดยรายได้รวมที่มีการซื้อขายผ่านบัตรเครดิตของเวโลช็อปปิ้งระยะเวลา
2 ปี มากว่า 50 ล้านบาท ยังไม่รวมการจ่ายเงินผ่านทางช่องทางอื่นอีก เช่น
บัญชีของผู้ประกอบการเอง และการเรียกเก็บเงินปลาย ทาง ซึ่งเฉลี่ยปัจจุบันขายได้ประมาณเดือนละ
4 ล้านบาท
จุดเริ่มต้นของเวโลฯ
"เวโลช็อปปิ้ง"เริ่มก่อตั้งโดย "นายอาณัติ ลีมัคเดช"
ประธานที่ปรึกษาบริษัท เวโลคอล (ประเทศไทย) ที่ก้าวเข้าไปเป็นที่ปรึกษาของโครงการนำร่องพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ของประเทศไทย
ร่วมกับกระทรวงพาณิชย์ ตั้งแต่ปี 2540 ทำเว็บที่เรียกว่า "ไทยอี-คอมเมิร์ซดอทเนต"
ทำเพื่อที่จะวิเคราะห์ศึกษาสภาพแวดล้อม และปัญหาในการทำ อี-คอมเมิร์ซ ภายในประ
เทศไทย ซึ่งอุปสรรคที่สำคัญของประเทศไทยในการพัฒนาพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ที่พบก็คือ
การที่ไทยไม่มีช่องทางให้กับผู้ประกอบการที่เป็นบุคคลธรรมดาที่จะเข้าสู่ระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ได้
และสภาพแวดล้อมในปี 2540 ยังไม่เอื้อต่อการทำการค้า อาทิ ค่าธรรมเนียมธนาคาร
และค่าขนส่งมีราคาสูงเกินกำลังทำให้คนไทยไม่กล้าที่จะทำ อี-คอมเมิร์ซ ถึงทำไปก็สู้ต่างชาติไม่ได้
ปัญหาประการต่อมาของเว็บ "ไทยอีคอมเมิร์ซดอทเนต" ก็คือ ข้อมูลไม่ค่อยต่อเนื่อง
เหตุเนื่องมาจาก เจ้าหน้าที่ในการทำงานมีจำนวนน้อย แต่ข้อมูลมีมากเกิน ทำให้เจ้าหน้าที่กรอกข้อมูลที่บริษัทส่งไปล่าช้า
เวลาลูกค้าสั่งของแล้วจึง เกิดปัญหาตามมาก็คือ ไม่มีสินค้า หรือสินค้าเปลี่ยนรูปแบบไป
จึงเกิดความเสียหายทางด้านการค้า
ทั้งนี้ ช่องทางปัญหาหนักอกที่สำคัญอีกประการ ก็คือ ระบบการรับชำระเงินด้วยบัตรเครดิต
ซึ่งบุคคลธรรมดาแทบจะไม่สามารถสมัครบัตรเครดิตจากธนาคารได้ เนื่องจากธนาคารก็มีกฎว่าอย่างน้อยจะต้องตั้งบริษัทมาแล้ว
1 ปี ดังนั้น "เวโลช็อปปิ้ง" จึงถือกำเนิดมา จากข้อจำกัดที่มีอยู่มาก
โดยเป็นผู้เปิดช่องทางหนึ่งให้กับผู้ประกอบการที่มีไฟหรือมีความสน ใจที่จะทำ
อี-คอมเมิร์ซ สามารถเข้ามาอยู่ในระบบต้นทุนที่ต่ำได้
นายสิทธิเดช ลีมัคเดช กรรมการผู้จัดการ แสดงความเห็นว่า ยังมีผู้ประกอบการบางรายที่ไม่ใช่นิติบุคคลที่มีทักษะและฝีมือดีๆ
อีกเยอะ แล้วเสียโอกาสไป ดังนั้น ทาง"เวโลช็อปปิ้ง" จึงมองเห็นปัญหา
และเริ่มที่จะหันมาทำจดทะเบียน เป็นบริษัทเอกชน แล้วรับหน้าเสื่อแทน "เวโลช็อปปิ้ง"
ก็ก่อตั้งขึ้นในปี 2543 โดยเปิดโอกาสให้เอสเอ็มอี ทุกรายที่ไม่จำเป็นต้องเป็นนิติ
บุคคลเข้ามาทำได้ สร้างเว็บเพจด้วยฝีมือต้นเอง
ทั้งนี้ รูปแบบที่สำคัญของเวโลช็อปปิ้ง คือ การย่นระยะทางในการทำข้อมูลที่เต็มไปด้วยเทคโนโลยี
ไม่ว่าจะเป็น HTML ,Java ฯลฯ ปรับเปลี่ยนการใช้งานมาเป็นรูปแบบที่ใช้ง่ายขึ้น
มีการวางกรอบให้กรอกข้อมูล ซึ่งผู้ประกอบการสามารถที่จะทำเองได้ทันที อยากเปลี่ยนแปลงสินค้า
ราคา โปรโมชั่น อย่างไรก็สามารถทำได้ เหมือนโปรแกรมสำเร็จรูป โดยคิดราคา
1,000 บาท ต่อเดือน แต่มีข้อแม้ในสัญญา คือ ต้องทำไม่น้อยกว่า 6 เดือน ถ้าจะจดทะเบียนเป็นชื่อของตัวเองคิด
500 บาทต่อปี โดยสามารถเลือกรูปแบบหน้าตาเว็บเพจที่มีให้เลือกถึง 12 แบบในราคาเท่าเดิม
ใส่ข้อมูลสินค้าแบบไม่จำกัดจำนวน มีระบบการคิดเงินให้เสร็จสมบูรณ์ แสดงทั้งค่าขนส่ง
ภาษี อัตราแลกเปลี่ยนเงิน ณ เวลานั้น เงินได้สุทธิที่ผู้ประกอบการได้รับ
และยังสามารถใช้คอมพิวเตอร์ เครื่องสแกน ของทางบริษัทที่จัดให้ที่ฟอร์จูนทาวน์ฟรี
"ไม่อยากให้คนไทยทั่วๆ ไปมองการที่มีการใช้เทคโนโลยี แล้วจะเป็นการเพิ่มต้นทุนให้สูงขึ้น
เพราะถ้าไปเปิดร้านเองอาจเสียเงินมากกว่านี้อีกหลายเท่าตัว เสียเงินเช่าออฟฟิศ
ค่าอุปกรณ์สำนักงานมากมาย สามเดือนเสีย 5-6 แสนบาท แต่การลงทุนกับเวโลคอล
6 เดือน เสียแค่ 6 พันบาท บางรายที่ไม่เข้าใจเสียเงินแค่เดือนละ 1 พันบาทก็ยังบ่น
ซึ่งหัวใจสำคัญอยู่ที่ การมองตลาดมากกว่า แต่ก็ขอบอกว่า ไม่ใช่ทุกคนที่จะสามารถประสบความสำเร็จกับการค้าในระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
คนที่ล้มเหลวกลับมีมากกว่าคนที่ประสบความสำเร็จ" นายสิทธิเดชกล่าว
นอกจากนี้ เวโลช็อปปิ้ง ยังให้ความเห็นว่า ยอดการขายนั้นไม่ได้ขึ้นอยู่กับความสวยงามของเว็บเพจ
แต่ขึ้นอยู่กับตัวสินค้า ราคา โปรโมชั่น การเลือกภาพสินค้าที่สวยและสื่อความหมายของสินค้าได้อย่างชัดเจน
มีการปรับปรุงอัพเดต อยู่ตลอดเวลา และสุดท้ายที่เป็นหัวใจของการตลาด ต้องมีการประชาสัมพันธ์เว็บไซต์
ทั้งออนไลน์และออฟไลน์ อาทิ การสร้างเครือข่ายพันธ-มิตรระหว่างเว็บ การอีเมลแจ้งถึงผู้ซื้อ
การแจ้งกระทู้ในกลุ่มเป้าหมาย การลงโฆษณาในสื่อต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น วิทยุ
หนังสือพิมพ์ โทรทัศน์ และทุกครั้งที่มีการประชาสัมพันธ์จะต้องมีการประ-
เมินผลด้วย โดยระบบสถิติ ว่าสื่ออันไหนตรงกลุ่มลูกค้ามากที่สุด
ระบบการรับชำระเงินผ่านบัตรเครดิตของทางเวโลช็อปปิ้ง ใช้ผ่านทางธนาคารเอเชีย
ถ้าเป็นบุคคลธรรมดา ทางเวโลช็อปปิ้ง จะใช้บัญชีของบริษัทรับชำระเงินให้ก่อน
โดยที่จะไม่เรียกเงินค้ำประกัน 5 หมื่นบาท โดยมีการเจรจาต่อรองให้คิดธรรมเนียมในอัตรา
3% โดยที่ทางบริษัทไม่เก็บค่าคอมมิชชั่นใดๆ ทั้งสิ้น แต่ต้องกันเงินลูกค้าไว้
2 เดือน ซึ่งเมื่อครบ 2 เดือน สามารถเบิกเงินไปใช้ได้ทันที และถ้าเป็นในกรณี
ที่เป็นนิติบุคคลก็สามารถเปิดบัญชีกับธนาคารเอเชียได้เลย โดยที่มีเงินค้ำประกัน
5 หมื่นบาท เสียค่าธรรมเนียม 3 % เหมือนกัน
ระบบป้องกันแฮกเกอร์
การชำระเงินค่าสินค้าผ่านอินเทอร์เน็ตมักมีปัญหาเรื่องความปลอดภัยของข้อมูล
ซึ่งเวโลช็อปปิ้ง ได้จัดระบบการป้องกันภัย โดยใช้ ระบบ SSL128 บิต SSL (Sucure
Socket Layer) คือ โปรโตคอล ที่ใช้บนเว็บสำหรับสร้างความปลอดภัยในการรับส่งข้อมูลระหว่างเว็บเบราว์-เซอร์
และเว็บเซิร์ฟเวอร์ โดยมีกลไก คือ การตรวจสอบซึ่งกันและกันระหว่างเว็บเบราว์เซอร์
และเว็บเซิร์ฟเวอร์ว่าผู้ใช้ทั้งสองฝ่ายเป็นผู้มีสิทธิ์จริง (Authorized
parties) แล้วจึงทำการเข้ารหัสข้อมูล (Data Encryption) ที่รับส่งระหว่างเบราว์เซอร์และเซิร์ฟเวอร์เพื่อทำให้ข้อมูลเป็นความลับไม่สามารถถูกลักลอบอ่านได้โดยง่ายจากผู้ที่ไม่มีสิทธิ์
ในกระบวนการนี้ใบรับรองดิจิตอลจะถูกใช้ในการตรวจสอบโดยข้อมูลที่ถูกส่งนั้นจะถูกเข้ารหัสอยู่ในชั้นเครือข่าย
(Network) ซึ่งอยู่ระหว่างชั้นโปรแกรมประยุกต์ (Application) กับชั้นทรานสปอร์ต
ในโปรโตคอล
ทั้งนี้ เวลาที่ลูกค้ารูดบัตรเครดิต จะมีตัวข้อมูลส่งผ่านมาให้ โดยจะมีตัวเคลือบไว้เวลาที่มี
การส่งข้อมูล โดยที่บรรดานักแฮกเกอร์ไม่สามารถ ที่จะเจาะผ่านข้อมูลในบัตรได้
ธนาคารจะมีการตรวจสอบว่าผู้ที่ถือบัตรมีเงินพอที่จะจ่ายหรือ ไม่ เมื่อทุกอย่างผ่าน
ธนาคารส่งรหัสอนุมัติบัตรเครดิต (approval code ) กลับมาที่ร้านค้า เพื่อให้ลูกค้าส่งสินค้าไปได้
ซึ่งระบบการตรวจสอบของธนาคารใช้เวลาไม่ถึง 1 นาที โดย "ตัวรหัสอนุมัติบัตรเครดิต"
กับหมายเลขบัตรนั้นจะไม่เหมือนกัน เวลาที่มีแฮกเกอร์เข้ามาเจาะรหัสบัตร ก็จะได้แต่ตัว"รหัสอนุมัติบัตรเครดิต"ไปแทน
ซึ่งไม่สามารถนำไปใช้อะไรบ้าง ซึ่งคาดว่าปีหน้าจะมีการปฏิวัติ
ระบบการป้องกัน
ในระบบของ "เวโลช็อปปิ้ง" ที่อยู่ของผู้ถือบัตรเครดิตกับที่อยู่ที่ส่งของต้องเป็นอันเดียวกัน
แต่ถ้าเป็นพวกดอกไม้ที่มีที่อยู่ส่งของคนละที่ ร้านค้าต้องรับความเสี่ยงเอง
และมีกรณีทุจริตที่น่าสงสัย คือ การที่มียอดสั่งของเข้ามาจำนวนมาก สามารถเช็กว่าทำการเจาะระบบหรือไม่
ซึ่งจะใช้ความถี่ในการสั่งซื้อเข้ามาทุกนาที มันผิดปกติวิสัยของผู้ซื้อ ถ้าพ่อค้ามีการไหวตัวทันสามารถโทร.มาสั่งให้ตรวจสอบได้
ระบบการขนส่งจะมี 2 ระบบ คือ กสท. และ แคงการู
สินค้าในเว็บ
สินค้าในเว็บ "เวโลช็อปปิ้ง" แบ่งเป็นหลาย หมวด เช่น หัตถกรรม
เครื่องไฟฟ้า เครื่องคอม-พิวเตอร์ ตกแต่งบ้าน ดอกไม้ ของขวัญ กีฬา บันเทิง
อุปกรณ์ต่างๆ อาหาร เครื่องประดับ สุขภาพความงาม ศิลปะ ของเล่นสะสม ซึ่งบางเว็บใน
"เวโลช็อปปิ้ง" ก็ไม่ได้มีไว้เพื่อการซื้อขาย แต่ทำเป็นเว็บมุ่งเน้นเพื่อที่จะโชว์แค็ตตาล็อกเท่านั้น
เช่น โอเชี่ยนทอย ตลอดจนมีสินค้าบางอย่างที่ไม่คิดว่าจะขายได้แต่ก็ขายได้
เช่น ว็อกเกิลลูกเสือ ชุดให้นมลูก บริการรับวัดตัวทุกสถานที่ ฯลฯ ส่วนเรื่องเนื้อหา
ข้อมูล บรรยายสินค้าภาษาอังกฤษ ก็ให้ผู้ประกอบการบางรายในเว็บที่มีความรู้ด้านภาษา
มาช่วยแปลให้ แต่ราคาจะต่ำกว่าปกติมาก
"การแข่งขันกันระหว่างเว็บไซต์ภายในประ ทศนั้น ทาง"เวโลช็อปปิ้ง"
ไม่คิดที่จะแข่งขันกับใคร ตลอด 3 ปีที่ผ่านมา "เวโลช็อปปิ้ง" ไม่มีการ
เปลี่ยนแปลงรูปแบบเลย เพราะมีความเชื่อว่า ธุรกิจอีคอมเมิร์ซ หลักการจะเป็นไปตามที่คำนวณ
และคาดการณ์ไว้ เนื่องจากดูจากยอดขายของผ่านทางอินเทอร์เน็ต นั้นมีการเปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้น
เมื่อก่อนมีเว็บเป็นร้อย แต่จะขายได้ประ มาณไม่เกิน 10 เว็บ แต่ปัจจุบันมีการกระจายขึ้น
30 กว่าเว็บที่ขายของได้ และหากมีการมีการขายของผิดกฎหมายก็จะมีการเรียกลูกค้ามาคุยและให้นำสินค้าตัวดังกล่าวออกจากแค็ตตาล็อก"
นายสิทธิเดชกล่าว
"ด้านกฎหมาย ที่จะออกมานั้น ๆ ไม่อยาก ให้ต้องมานั่งรอ เพราะถ้าจะมีการโกงกัน
ยังไงมันก็จะหาวิธีการโกงจนได้ กฎหมายไม่ใช่เครื่อง ที่จะการันตีความบริสุทธิ์ยุติธรรมทางการค้าได้
ถามว่าคนที่ออกมาโวยวายว่า ต้องรอกฎหมายออกมาก่อนจึงจะทำ" นายสิทธิเดชกล่าว
สำหรับภาพรวม อี-คอมเมิร์ซ ในประเทศไทย นายสิทธิเดชกล่าวว่า คงต้องปรับกลยุทธ์มุ่งสู่ตลาดต่างประเทศมากขึ้น
เนื่องจากตลาดภายในประเทศค่อนข้างจะแคบและอยู่ในวงจำกัด คนไทยยังมีการใช้อินเทอร์เน็ตค่อนข้างต่ำ
และมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องของ "อี-คอมเมิร์ซ" น้อยมาก ซึ่งผู้ที่ใช้คอมพิวเตอร์ส่วนใหญ่มีแต่วัยรุ่น
และไม่ค่อยมีกำลังทรัพย์ในการซื้อ ที่สำคัญวัยรุ่นมุ่งสนใจแต่สินค้าด้านบันเทิง
ทั้งนี้ ถ้าลองพิจารณาจากจำนวนรายได้เกินครึ่งของร้านค้า อี-คอมเมิร์ซในไทยนั้น
มาจากต่างประเทศ ซึ่งเป็นผลมาจากการที่ต่างประเทศมียอด ผู้ใช้บัตรเครดิตจำนวนมาก
มีกระบวนการเรียนรู้ในเทคโนโลยีสูงกว่า มีความรับผิดชอบ และ มีความกล้าที่จะซื้อมากกว่าคนไทยที่มักเป็น
โรควิตกจริต ขี้ระแวงเกินเหตุในการจับจ่ายใช้ สอย
ธุรกิจประหยัดทรัพย์ลงทุนอย่าง "อี-คอม-เมิร์ซ" นั้นอาจไม่ใช่เครื่องการันตีความสำเร็จทางการค้า
คนไทยชอบมีนิสัยคลั่งตามกระแส เห็นใครขายดีก็ทำตาม โดยลืมย้อนถึงความสามารถ
ความชำนาญที่ตนเองมีอยู่ เป็นเพราะคนไทยส่วนใหญ่มักมองปัญหาเฉพาะหน้าค่อน
ข้างแคบ ซึ่งในอนาคต "อี-คอมเมิร์ซ" จะเป็นสิ่งที่จำเป็นในธุรกิจทุกรูปแบบ
โดยอาจจะไม่ มีร้านค้าที่เกลื่อนกลาดตามท้องถนน เหลือเพียงแค่สิ่งที่มนุษย์เรียกกันว่า
"บ้าน" ที่ใช้อยู่อาศัย