Social Phobia

โดย ธีรภาพ วัฒนวิจารณ์
นิตยสารผู้จัดการ( พฤษภาคม 2543)



กลับสู่หน้าหลัก

หากคุณผู้อ่านยังจำได้ ครั้ง ที่แล้ว ผมเคยกล่าวถึงเรื่องของรักร่วมเพศ ซึ่งใน ปัจจุบันนี้อย่างน้อยที่สุดสมาคมจิตแพทย์อเมริกันยอมรับว่า ไม่ใช่ความ ผิดปกติอีกต่อไป และตอนนี้ก็มีข่าวเพิ่มเติมมาว่ า ทางอเมริกาถึงขั้น เสนอความเห็นไปยังสมาคมจิตแพทย์นานาชาติให้ตัดคำคำนี้ออกจากตำราเรียน แพทย์ทั้งหลาย และยอมรับว่าเป็นเพียงเรื่องของรสนิยมทางเพศ ที่แตกต่าง กันไปในแต่ละบุคคล เท่า ที่ผมทราบตอนนี้คือ ทางสมาคมจิตแพทย์นานา ชาติ มีการถกเถียงเรื่องนี้กันอย่างมาก และแนวโน้มออกมาในทิศทางว่าไม่เห็นด้วยกับทางอเมริกา ก็คงจะเป็นเรื่อง ที่ต้องติดตามกันต่อไป

มาคราวนี้มีอีกข่าวหนึ่ง ซึ่งน่าสนใจ และไม่ใช่ข่าวใหม่ แต่อาจจะฟังดูเป็น เรื่องค่อนข้างแปลกสำหรับคนต่างวัฒนธรรมต่างภาษากับฝรั่ง นั่นคือ เรื่อง ของการกลัวการเข้าสังคม หรือ ที่ฝรั่งเรียกกันว่า social phobia

ในแง่ของการเข้าสังคมนั้น ที่ผ่านม าเราอาจจะเคยสังเกตกันว่า คน บาง คนเป็นนักพูด ที่เก่ง พูดคล่องเข้าสังคมหรือพบปะกับคนทั่วไปได้ไม่ขัดเขินจน ถึงขั้นสามารถใช้การพูดไปประกอบอาชีพได้ อย่างที่พบเห็นกันอยู่ใน ปัจจุบัน ไปจนถึงอีกขั้วหนึ ่งคือ คนบางคนที่เราเรียกกันว่าขี้อาย ที่เวลาอยู่ใน วงสนทนะดูขัดเขิน ไม่กล้าพูดคุย หรือหน้าแดง เวลาพูดก็ทำตัวม้วนไปม้วน มา หากยอมพูดก็พูดตะกุกตะกัก หรือหากความอายนั้น รุนแรงมากก็อาจถึง ขั้นไม่กล้าเข้ าสังคม

ลักษณะดังกล่าว ที่คนบางคนมีปัญหาเวลา ที่ต้องแสดงตนในที่ชุมชน คน หมู่มากนั้น เราอาจจะมองว่าเป็นเรื่อง ไม่ได้ใหญ่โตอะไรมากมาย เป็นปัญหา การขาดทักษะในการเข้าสังคม แต่สำหรับฝรั่งแล้วเรื่องนี้เ ป็นเรื่องใหญ่มาก ครับ นั่นคือ ปัญหานี้ฝรั่งมองว่าเป็นความป่วยอย่างหนึ่ง

ในอเมริกามีการศึกษาถึงปัญหาดังกล่าว และพบว่าประมาณ 13% ของคนอเมริกันเป็นทุกข์ และเดือดร้อนกับปัญหากลัวการเข้าสังคม โดย ป ัญหานี้มักจะเกิดในช่วงวัยรุ่น และหากไม่ได้รับการรักษาหรือแก้ไข ปัญหานี้ก็จะ ยังคงดำเนินต่อไป และรบกวนการดำเนินชีวิต ของบุคคลนั้น

หากคิดเหมือนกับเรื่องของรักร่วมเพศ เราก็อาจบอกว่า คนที่ฝรั่งมองว่า เป็นโรคกลัวการเข้าสังคม (social phobia) นั้น แท้จริงอาจจะเป็นเพียงคนขี้ อาย หรือไม่ชอบเข้าสังคม เป็นคนสมถะ เป็นบุคลิกภาพของคนคนนั้น แต่ ฝรั่งไม่มองอยภางนั้น ปัญหาเรื่ฬงนี้เขากำหนดให้ใช้ความวิตกกั งวลเป็นปัญหา สำคัญ คือ คนที่มีความกังวลอย่างมากในเรื่องตั้งแต่ ไม่กล้าใช้โทรศัพท์ หรือ ห้องน้ำสาธารณะ กลัวการซื้อของในที่ ที่มีคนมากๆ หรือ กังวลอย่างมากกับ การเข้าแถว ว่าตัวเองจะทำอะไรแปลกๆ ให้คนที่ ยืนต่อคิวอยู่ข้างหลัฃเห็น หรือ บางคนมือสั่นจนเขียนหนังสือไม่ได้เวลาอยู่ต่อหน้าคนอื่น เช่น เซ็นชื่อ รับเงิน ที่ธนาคารไม่ได้ เพราะมือสั่นอย่างมาก

บางครั้งคนที่เกิดปัญหานี้ อาจถึงขั้นไม่กล้าสบสายต ากับคนอื่น หรือพูด คุยกับเพศตรงข้าม หรือไม่กล้าเดินเข้าไปในห้องหรือ ที่ประชุม ที่มีคนอยู่ ด้วย ความกลัวว่าตัวเองจะเป็นเป้าสายตา

การศึกษาดังกล่าวยังระบุต่อมาด้วยว่าปัญหา ที่เกิดขึ้นจากการเป็นโรคนี้ อาจจะเป็นเรื่องเล็กๆ ตั้งแต่วัยรุ่นไม่กล้าออกเดท เวลาเสนองานในชั้นเรียนก็ ดูไม่สมาร์ท ไม่สามารถเข้ากลุ่มกับ เพื่อนฝูง ทั้งหมดนี้ด้วยความกลัว และ กังวลว่าจะทำอะไรผิดพลาดน่าอับอายไปจนถึงเรื่องใหญ่ๆ เช ่น ประสิทธิ ภาพใน การทำงานร่วมกับคนอื่นไม่ดี รวมถึงการใช้เหล้า หรือสารเสพย์ติด เพื่อลด ความวิตกกังวล ความกลัวในการเข้าสังคม หรือแสดงตนในที่ ที่มีคนหมู่มาก

คงจะเห็นได้ว่าสำหรับฝรั่งแล้วเรื่องนี้ถื อเป็นเรื่องใหญ่โต และสำคัญ มาก สำคัญขนาด ที่มีงานวิจัยหลายๆ การศึกษา แสดงให้เห็นว่าปัญหาการ กลัวการเข้าสังคมดูจะไม่ใช่เป็นเรื่องของความขี้อาย หรือการขาดทักษะทาง สังคมจนทำให้บุคคลนั้น เกิดความกลัวเพ ียงอย่างเดียว แต่เป็นเรื่องความผิด ปกติในระดับชีวภาพ มีงานวิจัยบางชิ้นระบุถึงเรื่องของพันธุกรรม นั่นคือ คนที่มีปัญหาเช่นนี้ มักจะพบว่า คนในครอบครัวตัวเองก็เกิดปัญหานี้เช่นกัน เพียงแต่ความหนักเบา หรือรูปธรรมของปัญหาอาจแตกต่างกันไปบ้าง

นักวิจัยบางคนเชื่อว่า ปัญหานี้มีสาเหตุมาจากสมองส่วน ที่เรียกกันว่า amygdala ซึ่งเป็นสมองส่วน ที่ทำหน้าที่ ควบคุม และตอบสนองต่อความรู้สึก กลัวในคนเรา

ขณะที่นักวิจัยบางคนยังคงเชื่อว่า ปัญหานี้มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรม การเรียนรู้ในอดีตที่ไม่ดี พูดง่ายๆคือ เคยมีประสบการณ์หรือไปทำเรื่องขาย หน้าต่อหน้าชาวบ้านทำให้เกิดความกลัว ความกังวลว่าเหตุการณ์คล ้ายๆ เดิม จะเกิดขึ้นอีก และจะโดนหัวเราะเยาะ จึงทำให้บุคคลนั้น สูญเสียความมั่นใจ

หากเราเชื่อในสมมติฐานประการ หลัง เราจะพบว่าวิธีการทั้งหลาย ที่ เน้นในเรื่องของการสร้างประสบการณ์การเรียนรู้ใหม่ ที่ ดี หรือการฝึกทักษะ ทางสังคม จะช่วยลดความกังวลให้น้อยลง และสร้างความมั่นใจให้มากขึ้น ในทางปฏิบัติแล้วเรามักจะพบว่าวิธีการดังกล่าว จะได้ผลในคนกลุ่มหนึ่ง ที่ อาการกลัว หรือความกังวลนั้น ไม่ได้รุนแรงมาก นัก

แต่ในคนกลุ่ม ที่อาการเหล่านี้ เป็นมาก การแนะนำให้เข้ากลุ่ม หรือเข้า คอร์สฝึกอบรมการพูด ก็ดูจะไม่ต่างจาก สถานการณ์ ที่ตัวเขาเองพยายาม หลบเลี่ยงอยู่เดิม ผลจึงมักจะออกมาในลักษณะ ที่คนกลุ่มนี้ไม่ ยอมเข้ากลุ่ม

หากเชื่อในสมมติฐานเรื่องของการเปลี่ยนแปลงในสมองบางอย่าง ทำให้ เกิดความกลัวนี้ขึ้น เราก็จะพบว่า ยาบาง ตัวน่จะมี ที่ใช้ในการรักษาหรือ บำบัดให้อาการเหล่านี้ดีขึ้น

ในอดีตมีการใช้ ยากลุ่ม ที่เรียกกันว่า เบต้าบล็อกเกอร์ช่วยลดอาการทาง กาย คือ มือสั่น ใจสั่น หรืออาการหน้าแดง เวลา ที่ตื่นเต้น พบว่าได้ผลดีพอ ควร โดยเฉพาะอย่างยิ่งในรายที่มีอาการตื่นเต้น และอาการทางกายเป็น อาการเด่น แ ต่ยากลุ่มนี้ไม่ได้ลดอาการกลัว ดังนั้น ในรายที่อาการกลัวรุนแรงจึงไม่ ค่อยจะได้ผล

ในปีที่ผ่านมาทางองค์การอาหาร และยาของอเมริกา (FDA) ได้ให้คำรับ รองในยาตัวหนึ่งว่า สามารถใช้ในการ รักษาผู้ที่มีปัญหา กลัวการเข้าสังคม นับได้ว่าเป็นยาตัวแรก และตัวเดียวในขณะ นี้ ที่ FDA ยอมให้ระบุในการ โฆษณา ได้ว่าใช้รักษาโรคนี้ ยาตัวนี้มีชื่อว่า Paroxetine ซึ่งจัดเป็นยาใน กลุ่มยา ที่ใช้ รักษาผู้ป่วยโรคซึมเศร้า กลุ่ม ที่เรียกกัน ว่า SSRI (selective serotonin re-uptake inhibitor) ยาในกลุ่มนี้มีหลาย ตัว เช่น ยา Citalopram, Fluvoxa mine, Sertraline, และ Fluoxe- tine ซึ่งหากผู้อ่าน ที่สนใจ ข่าวในอเมริกาก็คง จะคุ้นเคยกับยาตัวนี้ในชื่อการค้า Prozac ซึ่งว่ากันว่าเกือบ จะเป็นยา ที่คนอเมริกันรู้จักกันดีเป็นรองจาก Tylenol หรือ ที่บ้านเราเรียกกัน ว่า พารา หรือ พาราเซตตามอล <"r>

อาจจะมีคนตั้งคำถามว่าเรื่องนี้สำค ัญอย่างไร ในความเห็นของผมแล้ว เรื่องนี้สำคัญในสามประเด็น คือ

ปัญหากลัวการเข้าสังคมอาจจะไม่ใช่ปัญหาเล็กๆ อย่างที่เราเข้าใจกันมา ในอดีต ตัวเลข 13% ในอเมริกาบอกกับเราว่าขนาดของปัญหาในบ้านเรา ก็ น่าจะ ใกล้เคียงกัน แต่ความ ที่เรามักจะเชื่อกัน ว่า คนเอเชีย โดยเฉพาะอย่าง ยิ่งคนไทย ค่อนข้างขี้อาย ทำให้เราไม่คิดว่าเรื่องนี้เป็นปัญหา ซึ่งเรามักจะ มองว่าไม่ได้เป็นเรื่องจำเป็นมากนัก ที่จะต้องแก้ไข

ประการที่สอง การที่มียารักษาอาการนี้ อาจจะทำให้เราต้องตั้งคำถาม กับปัญหาพฤติกรรมหลายๆ อย่างที่เราเคยมองกันว่าเป็นปัญหาในเชิงจิตใจ หรือการเรียนรู้ ที่ผิดในอดีต ว่าแท้จริงแล้วปัญหาหลายอย่างในชีวิต คนเราอาจ ถูกกำหนดจากสมอง ไม่ใช่จิตใจ ซึ่งในอีกด้านหนึ่งก็อาจจะเป็นการลดความ สำคัญของกระบวนการทางด้านจิตใจหรือการเรียนรู้ลง เหลือเพียงว่าทุก อย่าง ของความคิดคนเราถูกกำหนดจากสารเคมีในสมอง ทำให้เราให้ น้ำหนักของ การแก้ปัญหาสุขภาพจิตด้วยยามากกว่าการบำบัดด้วยความสัมพันธ์ระหว่าง ผู้รักษา และผู้ป่วยเหมือนเช่นกรณี ที่ผมคิดว่ากำลังเกิดขึ้นกับการรักษาผู้ป่วย โรคซึมเศร้า

ประการสุดท้าย การให้ความหมายข องการเจ็บป่วยทางจิตเวชนั้น มี ความเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงของค่านิยม และความเชื่อทางสังคม เหมือน ดังเช่นการเปลี่ยนการให้ความหมายของ รักร่วมเพศว่าไม่ใช่การเจ็บป่วยอีก ต่อไป ในขณะที่การกลัวการเข้า สังคม ที่จากเดิม เป็นเรื่องของบุคลิก แต่ ปัจจุบันกลาย เป็นความป่วย ที่ควรได้รับการบำบัด



กลับสู่หน้าหลัก

Creative Commons License
ผลงานนี้ ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย



(cc) 2008 ASTVmanager Co., Ltd. Some Rights Reserved.