ฟังดนตรีแห่งกรุงเวียนนา ตอนที่ 1

โดย อเนกระรัว
นิตยสารผู้จัดการ( พฤษภาคม 2543)



กลับสู่หน้าหลัก

ถ้ามีใครสักคนร้องทำนองเพลงเพลงหนึ่งผ่านหน้ากระดาษว่า ปั้ม ปั้ม ปั้ม ป่าม ท่านจะบอกได้ไหมว่าเป็นเพลงอะไร มีหลายท่านจะบอกรู้สึกคุ้นๆ ซึ่ง ถ้าได้ยินเสียงดนตรีจริงๆ จะบอกใช่เลย แต่ไม่รู้ชื่อเพลงอะไ ร มีบางท่านตอบว่า อะไรสักอย่างที่มีเลข 5 และมีคนเสริมต่อ ของเบโธเฟ่น เมื่อไปถามผู้รู้จะ ได้รับคำตอบว่า คือ ทำนองหลักของท่อนแรกของซิมโฟนีหมายเลข 5 ใน บันไดเสียง ซี ไมเนอร์ โอปุส ที่ 67 ประพันธ์โดย ลุดวิก ฟาน เบโธเฟ่น ผู้รู้ ตอบอย่างช้าๆ แต่ ฉาดฉาน ลงท้ายด้วยสีหน้า ฮึ่ม จำไว้ แล้วอย่ามาถามอีก คงไม่ปฏิเสธคุณงามความดีของเพลงเพลงนี้ ที่อยู่คู่สังคมโลกมาเกือบ 200 ปี (ประพันธ์ เสร็จปี ค.ศ.1805) ทั้งการแสดงคอนเสิร์ตโดย กี่วง ดนตรี กี่รอบ แผ่นเสียง ซีดี ถูกนำมาเรียบเรียงใหม่ นำไปเป็นเพลงประกอบภาพ ยนตร์ ละครทีวีไปจนถึงมุขตลกในโฆษณาทีวี ( ซึ่งไม่ต้องเสียค่าลิขสิทธิ์) ผลงานอันเป็นอมตะชิ้นนี้ เกิดขึ้นมาได้ก็จากอัจฉริยภาพของคีตกวีนาม เบโธเฟ่น แต่ก็ใช่มีแต่เพียงผลงานเพลงชิ้นนี้ชิ้นเดียวหรือคีตกวีท่านนี้ท่านเดียว ผลงาน เพลงอันทรงคุณค่า และเป็นสมบัติทางปัญญาของมนุษยชาติ ที่สืบทอดกันมายังมีอีกมากมาย เพียงแต่ว่าเราท่านจะมีเวลาใส่ใจไปสัมผัสบ้างหรือไม่

ข้อเขียนชุดนี้ของผมจะขอเสนอเรื่องราวเกี่ยวกับเพลงคลาสสิก โดยจะ เน้น ที่ดนตรีแห่งกรุงเวียนนาในยุคคลาสสิก และโรแมนติก ด้วยเหตุ ที่ผมมี ความเห็นว่าผลงานเพลงคลาสสิกแนวนี้เข้าถึงผู้คนทั่วไปได้ง่ายที่สุด เหมาะ สำหรับ ท่าน ที่ยังไม่ หรือกำลังคิดจะก้าวเข้าสู่โลกแห่งดนตรีคลาสสิก

ดนตรีคลาสสิกในความหมายเป็นทางการ และเป็นสากลคือ "ดนตรีในหมู่ผู้สร้างสรรค์อย่างจริงจัง ที่ได้รับการพัฒนาในทวีปยุโรปประมาณ 1,000 กว่าปีมาแล้วจนต่อมาก็แพร่กระจายไปในหลายประเทศทั่วโลก" คำจำกัด ความนี้อาจจะดูแปลกๆ แต่ผมก็ได้เทียบมาหลายตำราแล้วก็ไม่ได้ผิดเพี้ยนไ ปมาก ข้อใหญ่ใจความอยู่ ที่ "การสร้างสรรค์อย่างจริงจัง" และการพัฒนาในแถบทวีป ยุโรป จุดเริ่มต้นของดนตรี คลาสสิกอยู่ในโบสถ์คริสต์ในยุคกลาง (Medieval หรือ Middle Ages) มีการสวดกึ่งร้องหรือร้องกึ่งสวดเ ป็นหมู่คณะ และมีการ ประสานเสียงกัน ที่เรียกว่า Chant ประจวบกับความพยายามสร้างระบบตัว โน้ต เพื่อการบันทึก ทำให้ดนตรีในโบสถ์มีการพัฒนาขึ้นมาเป็นตัวเป็นตน และความ ที่มนุษย์ (กลุ่มหนึ่ง) มีความทะเยอทะยานแ ละมีไฟอยู่ในตัวบวกกับ ความศรัทธา (ต่อความเชื่อทางศาสนา) อย่างแรงกล้า และความชอบคิดคน สร้างสรรค์ทำให้เกิดผลงานเพลง ที่สลับซับซ้อน ขึ้น ก็เหมือนกับศิลปะหรือ วิทยาการที่มีพัฒนา การในยุโรปยุคนี้ ยังคงว นเวียนอยู่กับวงการศาสนา การพัฒนาเข้าสู่ยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาการหรือยุค Renaissance หรืออยู่ในราวปี ค.ศ. 1430 ถึง 1600 ซึ่งจุดศูนย์กลางการพัฒนาอยู่ ที่ประเทศอิตาลี ขณะนั้น ดนตรีขับร้องในโบสถ์มีความซับซ้อนมากขึ้นมีการสร้างแนวทำนองหลาย แนว และร้องสอดประสานพร้อมๆ กัน ที่เรียกว่า Cantus firmus หรือ Counterpoint การใช้ระบบตัวโน้ต และสร้างทฤษฎีดนตรีขึ้นอย่าเอาจริงเอาจัง เป็นระบบทำให้การพัฒนาดนตรีเป็นศาสตร์ของศิลป์อย่างเต็มตัว

จุดสำคัญนอกเหนือจากการมีพระผู้เป็นเจ้าเป็นจุดศูนย์กลางแห่งศรัทธา และเป็นแรงบันดาลใจ ที่ยิ่งใหญ่ในการสรรค์สร้างงาน (ไม่แต่เฉพาะดนตรีงานประติมากรรมหรือสถาปัตยกรรมก็ด้วย) ภูมิศาสตร์ และสังคมของยุโรป ที่มีอาณาเขตติดต่อกันหลายๆ ประเทศ และระยะทางไม่ไกลกันมาก มีการติดต่อค้าขาย แลกเปลี่ยน ศิลปะวิทยาการกัน ช่วยให้การพัฒนาดนตรีก้าวหน้า อย่างรวดเร็ว ดนตรีในโบสถ์ถึงจุดสูงสุด (เมื่อมองในเชิงวิชาการด้านดนตรี) ในยุคต่อมาคือ ยุคบาโร้ค (Baroque) อยู่ในช่วงศตวรรษ ที่ 16 ไปจนถึงราวปี ค.ศ.1750 ดนตรียุคนี้แม้เนื้อหาจะยังคงไม่หลุดจากความเชื่อเรื่องศาสนาแต่งานดนตรีมีความหลากหลายมาก มีดนตรี ที่ประพันธ์ เพื่อบรรเลงด้วยเครื่องดนตรีล้วนๆ เป็นจำนวนมาก ขณะที่เครื่องดนตรีก็มีการพัฒนาจนถึงมีคุณภาพสูงโดยเฉพาะเครื่องสาย และเครื่องลม ทำให้ผลงานเพลง ที่บรรเลงด้วย วงดนตรีขนาดใหญ่ หรือวงออร์เคสตร้า ได้รับความนิยม แต่เนื่องจากดนตรีบาโร้ค พัฒนามาจากดนตรีในโบสถ์ ซึ่งใช้แนวทำนองหลายๆ ทำนองพร้อมๆ กัน ซึ่ง เมื่อผลงานมีความซับซ้อนขึ้น ผู้ฟังจะรับยากขึ้น เพราะฟังยาก ต้อง แยกประสาท เพื่อแยกแยะ เสียง ซึ่งถ้าฟังอย่างผิวเผินจะดูชุลมุนวุ่นวายมาก แต่ถ้าแยกแยะออกให้ดีจะพบความสวยงามของการสอดร้อยทำนองเพลงให้สอดรับกัน และกันอย่างลึกซึ้งภายใต้กฎเกณฑ์ ที่ชัดเจน

ยุคนี้ ผู้ที่สร้างผลงานสุดยอดก็เห็นจะเป็น โยฮัน เซบาสเตียน บ้าค (Johann Sebastian Bach) ผลงานของคีตกวีชาวเยอรมันผู้นี้หลายเพลง กลายเป็นเพลงอมตะ และได้รับความนิยมจนถึงทุกวันนี้ แต่ผลงานเหล่านี้มักจะเป็นงาน ที่ฟังง่าย เช่น เพลง Air on the G-String, Jesu, Joy of Man"s desiring หรือ Ave Maria เป็นต้น แต่ถ้าจะชมผลงานหัวกะทิจะต้องรวมสมาธิไม่น้อย คีตกวี ที่มีชื่อเสียงเด่นชัดในยุคเดียวกัน นอกจากบ้าค ก็มี ยอร์จ เฟ รดเดอริค แฮนเดิล (George Frederic Handel) ชาวเยอรมัน และ แอนโทนีโอ วีวาลดี (Antonio Vivaldi) ชาวเวนิส จะเห็นว่าความเจริญด้านดนตรี ได้แผ่เข้าสู่ประเทศเยอรมนี และกำลังจะเลยไปสู่ประเทศออสเตรีย ถึงตรงนี้ก็หมด ที่พอดี คราวหน้าผมจะเล่าต่อถึงดนตรีแห่งกรุงเวียนนา และรับรองว่าถึงกรุงเวียนนาแน่ๆ ครับ



กลับสู่หน้าหลัก

Creative Commons License
ผลงานนี้ ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย



(cc) 2008 ASTVmanager Co., Ltd. Some Rights Reserved.