ข้าวตังหมูหยอง "เตียหงี่เฮียง" ผ่านการพัฒนารสชาติมายาวนาน กำลังกลายเป็นขนมขบเคี้ยว
ที่ฮิตติดตลาดฮ่องกง ขณะนี้มีผู้จำหน่ายขนมขบเคี้ยวในฮ่องกงติดต่อนำเข้า 4
รายแล้ว
หากใครเห็นข้าวตังหมูหยอง ที่ชื่อ"เตียหงี่เฮียง" วางจำหน่ายในซูเปอร์มาร์เก็ตหรือร้านขายสินค้าประเภทอาหารแปรรูปบนเกาะฮ่องกง
บางท่านอาจจะเผลอซื้อติดกระเป๋ากลับมาฝากคนทางบ้าน ที่เมืองไทย ซึ่งข้าวตังหมูหยองดังกล่าวแท้
ที่จริงแล้ว มีต้นกำเนิดจากเมืองไทย โดยโรงงานตั้งอยู่ในจังหวัดนครราชสีมานี่เอง
ข้าวตังหมูหยองเป็นหนึ่งในรายการผลิตภัณฑ์อาหารแปรรูปของบริษัท เตียหงี่เฮียง
(เจ้าสัว) จำกัด ตั้งอยู่บนถนนท้าวสุระ ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา
มีธนภัทร โมรินทร์ เป็นกรรมการผู้จัดการ นับเป็นทายาทรุ่นที่ 2 ที่สืบต่อกิจการจากผู้เป็นบิดาคือ
เพิ่ม โมรินทร์ ชายไทยเชื้อสายจีน "แซ่เตีย"
นอกจากข้าวตังหมูหยองแล้ว โรงงานแห่งนี้ยังผลิตอาหารแปรรูปอื่นๆ ซึ่งเป็นสินค้าของฝากชื่อดังแห่งเมืองย่าโม
อีกร่วม 10 อย่าง เช่น หมูหยอง หมูแผ่น กุนเชียง หมูสวรรค์ เนื้อสวรรค์ แหนม
หมูยอ แหนมซี่โครงหมู ปัจจุบันนี้แต่ละวันต้องใช้วัตถุดิบ ซึ่งส่วนมากจะเป็นหมูชำแหละกว่า
3 ตัน คนงาน ที่ผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนเข้าออกแต่ละวันประมาณ 70 คน
ธนภัทรเล่าว่ากว่าจะมาถึงวันนี้ วันที่มีคนรู้จักสินค้าอาหารแปรรูปประเภทของฝากพื้นเมืองในนาม
เตีย-หงี่เฮียงอย่างแพร่หลาย เพิ่มผู้เป็นพ่อต้องใช้เวลานานกว่า 40 ปี ในการลองผิดลองถูก
ทั้งการผลิต และการขาย เพราะโดยพื้นฐานไม่เคยทำอาหารแปรรูปจากหมู เพื่อขายมาก่อน
ชายไทยเชื้อสายจีน ที่ชื่อ เพิ่ม แซ่เตีย ไม่ต่างไปจากคนไทยเชื้อสายจีนทั่วไป
ที่อพยพตามครอบครัวมาพึ่งแผ่นดินไทยหลบลี้ความแร้นแค้นของบ้านเกิดเมืองจีน
ทำงานทุกอย่างจนเก็บออมพอตั้งตัวได้ลงขันกับพรรคพวก ที่เป็นคนไทยเชื้อสายจีนด้วยกันเช่าห้องแถวของราชพัสดุขนาด
2 คูหาในย่านคลองเตย พระรามสี่ ทำเป็นร้านขายของโชวห่วย เริ่มแรกการค้าทำท่าจะไปได้ดี
แต่เมื่อทำไปสัก 4-5 ปี ร้านโชว ห่วยในย่านนั้น เกิดขึ้นจำนวนมาก ของเริ่มขายได้น้อย
ขณะเดียวกันหุ้นส่วนด้วยกันต่างทยอยขอถอนหุ้นคืน ทำให้เพิ่มต้องแบกรับภาระคนเดียว
ทุนรอน ที่พอเหลืออยู่ก็ร่อยหรอลงไปทุกที ต้องไปกู้หนี้หยิบยืมจากญาติพี่น้อง
และ เพื่อนฝูงมาเป็นทุนหมุนเวียนซื้อของเข้าร้าน อย่างไรก็ตามการค้าก็ไม่ดีขึ้น
ทั้งหนี้ทั้งดอกก็พอกพูนตามมากขึ้น
ในปี 2500 จึงตัดสินใจปิดร้าน ในตอนนั้น ธนภัทรเองมีอายุราว 10 ขวบ ยังพอจำความได้ว่าเป็นช่วงมรสุมชีวิตหนักสุดของครอบครัว
เพราะแม้จะปิดร้านไปแล้ว แต่ต้องหาเงินใช้หนี้ ซึ่งรวมกันแล้วสูงนับแสนบาท
เมื่อเทียบกับค่าเงินในยุคนั้น ถือว่าสูงมาก เพิ่มตัดสินใจนำเงิน ที่เล่นแชร์กับกลุ่มพ่อค้าในย่านเดียวกันใช้คืนเจ้าหนี้ไปบางส่วน
ติดค้างเฉพาะค่าสินค้าจำนวนหนึ่ง แต่ก็มากพอสมควร จนปัญญาจะหาเงินมาใช้ จึงคิดหลบหนี้มาพักอยู่กับญาติ
ที่จังหวัด นครราชสีมา ที่อำเภอประทาย โดยให้ภรรยา และลูกๆ อยู่กับญาติ ที่กรุงเทพฯ
ไปก่อน เพราะไม่รู้ชะตากรรมว่าจะมาทำงานอะไรเลี้ยงชีพ ที่โคราช ระหว่าง ที่พักกับญาติอยู่นั้น
เห็นว่า ที่นี่มีการเลี้ยงหมูกันมาก ราคาค่อนข้างถูกจึงติดต่อกับ เพื่อนสนิทเจ้าของร้านขายหมูหยอง
ที่คลองเตย เพื่อดึงมาร่วมหุ้นลงทุนทำหมูหยองขาย
ทำได้แค่ 6 เดือนขาดทุนไปเกือบ 2 หมื่นบาทเพราะหมูหยอง ที่ทำนั้น ไม่ได้ขายในโคราช
ส่งให้ เพื่อนมาตีราคาแล้วขาย ที่ร้านกรุงเทพฯ
เงินทุนสะสม ที่มีอยู่ก็หมดกระเป๋า เกิดความรู้สึกท้อแท้กับการค้าขาย จึงชั่งใจว่าจะไปเป็นลูกจ้างตามร้านดีกว่าเพราะไม่ต้องใช้เงินทุน
แต่เมื่อคิดอีกทีก็วิตกว่าเงินค่าจ้าง ที่จะได้คงไม่มากพอ ที่จะเลี้ยงลูกเมีย
จึงหันไปต้มน้ำหวานขายในตลาดเทศบาล ซึ่งทำได้เพียง 6 เดือนก็ต้องเลิกอีก
เพราะขายไม่ดี
เพิ่มหวนกลับมาเริ่มต้นทำหมูแผ่น หมูหยอง-กุนเชียง ไปขายในตลาด เทศบาลอีกครั้ง
โดยขอยืมเงินญาติมาเป็นทุน พร้อมกับตัดสินใจให้เมีย และลูกมาอยู่ด้วย เพื่อจะได้ช่วยกันทำงาน
และได้เช่าบ้านอยู่แถวตลาดนั่นเอง แม้ช่วงแรกจะขายได้ไม่ดีนัก เพราะคนยังไม่ค่อยรู้จัก
แต่เมื่อทำไปเรื่อยๆ ลูกค้าเริ่มติดใจในรสชาติ มีลูกค้าประจำเพิ่มขึ้น ปริมาณการผลิตก็เพิ่มขึ้น
มีทั้งขายปลีก และขายส่งทั้งในตัวจังหวัด และ ต่างอำเภอ เมื่อลูกค้าขายส่งเพิ่มขึ้น
คนในครอบครัวทำไม่ทัน ก็ได้จ้างชาวบ้านแถวนั้น มาช่วยจ้างเป็นรายวันพอทำได้
2-3 ปีเริ่มมีเงินเก็บ ลูกหนี้ ที่กรุงเทพฯ สืบรู้ก็มาตามหนี้คืน
ธนภัทรเล่าว่าการตัดสินใจหวนกลับมาแปรรูปหมูขายครั้งนี้เป็นการตัดสินใจถูกเพราะขายได้ค่อนข้างดี
โดยเฉพาะกลุ่มลูกค้าส่ง ที่รับไปขายต่อนั้น ช่วยให้เก็บสะสมกำไรได้ดี เงินหมุนเวียนเข้าร้านประมาณ
2 หมื่นบาท/วัน ถือว่าสูงพอสมควรในยุคนั้น ความหลากหลายของสินค้าก็เพิ่มขึ้นเป็น
4-5 อย่าง มีทั้งหมูสวรรค์ เนื้อสวรรค์ ไส้กรอกอีสาน ใช้หมูชำแหละสูงสุดถึง
500 กิโลกรัม/วัน ใช้ลูกจ้างช่วยงานประมาณ 20 คน โดยหันมาจ้างเป็นรายเดือน
เดือนละ 500 บาท/คน
หลังจากฐานะมั่นคงขึ้น กิจการทำอาหารแปรรูปขายเริ่มอยู่ตัว ลูกๆ เริ่ม
โต ที่จะช่วยงานได้เต็มที่ ในราวปี 2510 เพิ่มจึงได้หันไปเป็นพ่อค้าคนกลางรับซื้อสินค้าพืชไร่จากชาวบ้าน
ไม่ว่าจะเป็นข้าวเปลือก มันเส้น ข้าวโพด ปอ เพื่อ เก็งกำไรขายต่อ โดยเช่าโกดังเก็บสินค้า
เพื่อรอราคาตลาดขึ้น แบ่งผลตอบ แทนให้กับเจ้าของโกดัง 40% จากกำไร ที่ขายได้
ซึ่งการเป็นนายหน้าค้าพืชไร่นี้สร้างรายได้ให้กับเพิ่มอย่างเป็นกอบเป็นกำ
ผลต่างกำไรดีมาก เช่นซื้อข้าว เปลือกในฤดูเก็บเกี่ยวมาในกิโลกรัมละ 50 สตางค์
แต่พอถึงช่วง ที่ราคาขึ้น สามารถขายได้ในราคาสูงถึง 1 บาท
เพิ่มเก็งกำไรพืชไร่ควบคู่กับหมูแปรรูปเช่นนี้อยู่หลายปี เห็นว่าน่าจะขยับขยายกิจการ
โดยเฉพาะการขายหมูยอ หมูหยอง กุนเชียง ฯลฯ นั้น สามารถเพิ่มปริมาณการผลิตให้มากขึ้นได้มากกว่า
ที่ทำอยู่ เพราะตลาดกว้างขึ้นเรื่อยๆ ในปี 2516 จึงได้มาซื้อ ที่ดินบนถนนท้าวสุระ
แถวทุ่งสว่าง ใช้เงินทุนกว่า 1 ล้านบาทสร้างโรงงานใหม่ เป็นตึก 3 ชั้น 5
คูหา ด้านหน้าตกแต่งเป็นร้านขายปลีก พร้อมโกดังแพ็ก เพื่อขายส่ง
ธนภัทรกล่าวว่าหลังจากสร้างโรงงานตกแต่งร้านเสร็จก็ได้ปรับระบบการทำบัญชีใหม่
แต่เดิมคุณแม่เป็นคน ดูแล ได้จ้างเสมียนมาทำหน้าที่ดูแลงานด้านบัญชีแทน คนงานในส่วนการผลิตก็ทยอยเพิ่มขึ้น
และในปีเดียวกันนี้เอง ที่ธนภัทรได้ตัดสินใจแต่งงานกับวรปราณี หลังแต่งเสร็จก็ได้วรปราณีเข้ามาช่วยอีกแรง
โดยให้ดูแลขายปลีกหน้าร้าน และการติดต่อประสานงานขายส่ง
กระนั้น ก็ตามวรปราณีเห็นว่าน่าจะกระจายจุดวางสินค้าออกไปตามย่านชุมชน
โดยเฉพาะบริเวณด้านหน้าอนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี (ย่าโม) ซึ่งแต่ละวันจะมีนักท่องเที่ยว
นักทัศนาจรหมุนเวียนเข้ามาสักการะจำนวนมาก และส่วนใหญ่เป็นคนต่างถิ่นต่างจังหวัด
น่าจะช่วยให้สินค้าเป็นที่รู้จักแพร่หลายมากขึ้น ในที่สุดก็ได้ไปติดต่อร้านค้าในย่านนั้น
เพื่อขอฝากวางขายสินค้าเตียหงี่เฮียง ซึ่งมีเจ้าของร้าน 3-4 เจ้าสนใจรับฝากขาย
"กำลังผลิตของเราในช่วงนี้เพิ่มขึ้น ใช้หมูชำแหละประมาณ
1 ตัน/วัน ขยายการแปรรูปเกือบครบทุกอย่าง สถานะของร้านเป็นเพียงห้างหุ้นส่วนจำกัด
มีผมเป็นแกนหลักในการเข้ามาดูแลกิจการอย่างเต็มที่ เพราะพี่น้องคนอื่นๆ แยกย้ายไปมีครอบครัวหมด"
ธนภัทรกล่าว
ในปี 2520 ธนภัทรได้ตัดสินใจจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า เพราะผลิตภัณฑ์หลายตัวได้รับการยอมรับจากตลาดเป็นอย่างมาก
โดยเฉพาะหมูหยอง ซึ่งใช้ชื่อหมูหยองเจ้าสัวทุกคนที่เคยทานหากมีโอกาสต้องหาทานให้ได้เป็นครั้ง
ที่สอง แต่มีปัญหาเพราะโลโก ที่จะขึ้นทะเบียน เป็นรูปขวานคู่หงายไปเหมือนกับโลโกของสุราต่างประเทศยี่ห้อ
เฮนเนสซี่ จึงวิตกมากว่าจะทำอย่างไร ครั้นจะเปลี่ยนเป็นอย่างอื่นก็กลัวจะกระทบต่อตลาด
เพราะคนจำเตียหงี่-เฮียงขวานคู่หมดแล้ว จึงปรึกษา เพื่อนๆ ช่วยคิด ท้ายที่สุดจึงตกลงเอาตามคอนเซ็ปต์เดิม
เพียงแต่เปลี่ยนให้ขวานคู่ ที่ไขว้กันคว่ำลง มีดาวประดับ 3 จุดด้านบนมีข้อความภาษาไทยเขียนว่า
สามดาว ขวานคู่ ด้านใต้เขียนว่าเตียหงี่เฮียงเป็น ภาษาจีนกำกับไว้
จากพื้นฐานความรู้ในระบบ ที่ธนภัทรจบเพียงแค่ระดับมัธยมต้นในตัวจังหวัดนครราชสีมา
แต่ธนภัทรไม่ได้ปิดกั้นการเรียนรู้ของเขาไว้แค่นั้น ทุกครั้ง ที่หน่วยงานราชการหรือภาคเอกชนจัดหลักสูตรอบรมด้านต่างๆ
เขาจะพยายามหาเวลาเข้าร่วมอบรมในโครงการดังกล่าวอย่างสม่ำเสมอ ไม่ว่าจะเป็นด้านการจัดการ
การบริหารงาน หรือกระบวนการผลิตในโรงงาน เวทีอบรมเหล่านี้ช่วยเสริมสร้างให้เขามีวิสัยทัศน์ด้านธุรกิจ
และสังคมกว้างมากขึ้น ขณะเดียวกันก็จะหาโอกาสนำสินค้าเข้าไปร่วมงานออกบูทแสดงสินค้าในงานต่างๆ
อย่างต่อเนื่อง ซึ่งส่วนมากจะจัด ที่กรุงเทพฯ
ในบรรดาผลิตภัณฑ์อาหารแปรรูปจากหมู ไม่ว่าจะเป็นหมูหยอง กุน เชียง ไส้กรอก
ฯลฯ นั้น ในพื้นที่จังหวัดนครราชสีมาหรือจังหวัดใกล้เคียงไม่มีเพียงแต่โรงงานเตียหงี่เฮียงเท่านั้น
ที่ทำ ยังมีเจ้าอื่นๆ อีกหลายเจ้า ที่ผลิตในกลุ่มสินค้าเดียวกัน ธนภัทรมองว่าแม้จะมีความเหนือกว่ารายอื่นๆ
แต่หากไม่สร้างภาพพจน์ในผลิตภัณฑ์เตียหงี่เฮียงให้ชัดเจนอาจมีผลกระทบต่อตลาดได้ไม่มากก็น้อย
เขาจึงพยายาม ที่จะวางตำแหน่งคอนเซ็ปต์สินค้าให้แข็ง และมีภาพชัดเจน นับแต่ปี
2520 เป็นต้นมาจึงเริ่มอาศัยสื่อโฆษณาเข้าช่วย โดยเฉพาะสื่อวิทยุท้องถิ่น
เป็นสื่อกลางกับสาธารณชนทำการตอกย้ำภาพของผลิตภัณฑ์เตียหงี่เฮียงภายใต้สโลแกน
ที่ว่า "เตียหงี่เฮียง ยอดของฝากจากโคราช รับประทานก็ถูกปาก
เป็นของฝากก็ถูกใจ" ถือเป็นสินค้าท้องถิ่น ที่อาศัยสื่อโฆษณาช่วยในการทำตลาดก็ว่าได้
ยุคนั้น ในแวดวงสินค้าประเภท อาหาร การได้ใบประกาศรับรอง "เชลล์ชวนชิม
"ของ ม.ร.ว.ถนัดศรี สวัสดิวัตน์ นับเป็นใบเบิกทางในการขายสินค้าได้ดีอีกทางหนึ่ง
ธนภัทรได้ทำหนังสือไปถึง ม.ร.ว. ถนัดศรีในปี 2525 เช่นกันว่าหากมีโอกาสมาจังหวัดนครราชสีมาทางร้านขอ
เชิญแวะชิมผลิตภัณฑ์อาหารเตียหงี่เฮียง หลังจากส่งหนังสือไปแล้วเรื่องก็เงียบหายไป
หนังสืออาจตกหล่นระหว่าง ทางหรือไม่ถึงปลายทาง จึงไม่สนใจติดตามแต่อย่างใด
ถัดมาในปี 2526 สโมสรไลออนส์ นครราชสีมา ได้เชิญ ม.ร.ว.ถนัดศรีมาบรรยายพิเศษ
ที่โรงแรมศรีพัฒนา ธนภัทร ซึ่งเป็นหนึ่งในสมาชิกสโมสรมีโอกาสเข้าไปฟังการบรรยายครั้งนั้น
พร้อมทั้งเรียนเชิญหม่อมไปชิมอาหารในวันรุ่งขึ้น ผลปรากฏว่า 1 เดือนหลังจากนั้น
หม่อมได้เขียนแนะนำอาหารเตีย-หงี่เฮียงพร้อมรับประกันในความอร่อย และความสะอาดในคอลัมน์ถนัดสอในนิตยสารสตรีฉบับหนึ่ง
โดยให้การรับรองพร้อมกันถึง 4 ตัว คือ หมูหยอง หมูแผ่น กุนเชียง และหมูหยองเส้นทอง
ธนภัทรจึงทำหนังสือขอรับใบประกาศจากบริษัทเชลล์พร้อมจัดส่งเงินค่าทำป้ายอีก
800 บาท นับว่า เตียหงี่-เฮียงเป็นเจ้าแรกในจังหวัด ที่ได้ติดป้ายเชลล์ชวนชิม
ธนภัทรกล่าวว่าในช่วง ที่เศรษฐกิจของประเทศเริ่มมีปัญหาสภาพคล่องในปี 2539
นั้น เขาได้ตัดสินใจยื่นขอจดทะเบียนเป็นบริษัทเตียหงี่เฮียง (เจ้าสัว) จำกัด
ด้วยทุนจดทะเบียน 1 ล้านบาท ด้วยเหตุผลต้องการสร้างความเชื่อมั่นให้สถาบันการเงินมากขึ้น
เพราะเตียหงี่เฮียงได้ทำธุรกรรมกับธนาคารมาตั้งแต่ปี 2516 หากอยู่ในสถานะหจก.เช่นเดิมไม่แน่ใจว่าจะได้เครดิตจากแบงก์มากน้อยแค่ไหนในภาวะ
ที่การขอสินเชื่อยากมากขึ้น
อย่างไรก็ตามสำหรับธนภัทรแล้วไม่ค่อยรู้สึกว่าธุรกิจได้รับผลกระทบ จากปัญหาเศรษฐกิจเหมือนดังกิจการอื่นๆ
เพราะเคยขายได้อย่างไร ยอดขายก็ไม่ตกตามภาวะเศรษฐกิจ อาจเป็นเพราะสินค้าประเภทอาหารต่างจากสินค้าฟุ่มเฟือยอื่นๆ
ส่งออกฮ่องกง
ในราวกลางปี 2541 เป็นช่วง ที่เศรษฐกิจตกต่ำสุดขีด แต่สำหรับบริษัทเตียหงี่เฮียงแล้วกลับสวนกระแส
เพราะสินค้าได้มีโอกาสส่งออกไปวางจำหน่ายในตลาดต่างประเทศเป็นครั้งแรก เมื่อมีนักธุรกิจชาวฮ่องกงเจ้าของบริษัท
Cheung Hing Trading Co.Ltd. คือ อึ้ง เอก เสี่ยง ติดต่อขอสั่งซื้อข้าวตัง
หมูหยองจากเขาเข้าไปวางขายในฮ่องกง
โดยมีออร์เดอร์ให้ทางโรงงาน เตียหงี่เฮียงจัดส่งให้เดือนละ 3-4 ตู้คอนเทนเนอร์
แต่ละตู้คอนเทนเนอร์จุได้ 280 ลัง บรรจุข้าวตังหมูหยองได้ลัง ละ 60 ห่อ ตู้หนึ่งเมื่อคิดเป็นเงินแล้วราว
4 แสนบาท
ธนภัทรเล่าถึงมูลเหตุ ที่มาของการส่งออกดังกล่าวว่า ตัวอึ้ง เอก เสี่ยง
ได้มีโอกาสมาเที่ยวเมืองไทยเหมือนนักท่องเที่ยวทั่วไป ซึ่งจังหวัดนครราชสีมาก็เป็นหนึ่งในรายการทัวร์
ก่อนเดินทางกลับทางบริษัทนำเที่ยวได้พา คณะทัวร์แวะซื้อของฝากจากร้าน เตีย
หงี่เฮียง เมื่อนำกลับไปฝากญาติ ที่ฮ่อง-กง และตัวนายอึ้งเองได้รับประทาน
สะดุด ในรสชาติ และด้วยความ ที่เป็นนักธุรกิจอยู่แล้ว จึงมองเห็นช่องทาง
ที่จะนำไปทำตลาด มั่นใจว่าหากสั่งเข้าไปขายในฮ่องกงตลาดน่าจะไปได้ดี หลังจากนั้น
ไม่นานก็ได้โทรศัพท์ติดต่อกับธนภัทร และนัดเจรจากัน ในที่สุดจึงตกลง ที่จะให้โรงงานเตียหงี่เฮียงผลิตจัดส่งให้
นายอึ้งได้นำข้าวตังหมูหยองไปกระจายขายส่งให้กับร้านค้าต่างๆ บน เกาะฮ่องกงอีกทอดหนึ่ง
ซึ่งปรากฏว่าขายดิบขายดี
ธนภัทรกล่าวว่าข้าวตังหมูหยองเป็นขนมขบเคี้ยว ที่คนฮ่องกงชอบ เพราะรสชาติเข้มข้น
แต่ไม่เผ็ด ทั้งราคาก็ถือว่าถูกกว่าขนมขบเคี้ยว ที่มีวางในตลาดอีกด้วย ทางบริษัทฯ
ขายส่งไปในราคา 5 เหรียญฮ่องกงต่อถุง หรือคิดเป็นเงินบาทไทยประมาณ 25 บาท
แต่พอวางจำหน่ายในร้านขายปลีกแล้วราคาได้ปรับเป็น 15 เหรียญฮ่องกง หรือ 75
บาท ซึ่งถือว่าเป็นอัตรา ที่ไม่แพงนักสำหรับค่าครองชีพในฮ่องกง
ถัดจากนั้น ในราวปลายปี 2541 ทางบริษัท Cheung Hing Trading ก็เริ่มขยายการสั่งซื้อในผลิตภัณฑ์อาหาร
ตัวอื่นจากเตียหงี่เฮียงเพิ่มเข้าไป คือ หมูหยอง หมูแผ่น ขณะเดียวกันก็ได้มีนักธุรกิจรายอื่น
ซึ่งทำกิจการประเภทเดียวกับ Cheung Hing Trading ติดต่อเข้ามา เพื่อสั่งซื้อเข้าไปขายในฮ่องกงเช่นกัน
อีก 4 ราย เช่น บริษัทตงกังไถ่ บริษัท ยู่กี่ฟู้ด
จะว่าไปแล้วก็เหมือนกระแสธุรกิจทั่วไป ที่อะไรสามารถขายได้ มีตลาดรองรับนักธุรกิจรายใหม่ก็อยากทำบ้าง
เพราะไม่ต้องใช้ต้นทุนในการทำตลาดมากมาย ถือว่ามีนักธุรกิจรายเดิมบุกเบิกสร้างฐานการตลาดไปแล้ว
ซึ่งผลประโยชน์จะตกอยู่กับผู้ส่งออกจากประเทศไทยมากกว่า
ปัจจุบันนี้โดยเฉลี่ยแล้วทางโรงงานเตียหงี่เฮียงต้องผลิตข้าวตังหมูหยอง,
หมูหยอง และหมูแผ่น เพื่อส่งออกไปให้ลูกค้า ที่ฮ่องกงประมาณ 2 ตู้คอนเทนเนอร์ต่อเดือน
หรือมากกว่านั้น ตามแต่ลูกค้าจะสั่ง
ธนภัทรแสดงความเห็นต่อตลาดส่งออกผลิตภัณฑ์อาหารเมืองไทยไปยังต่างประเทศ
โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์อาหาร ที่ผลิตโดยเจ้าของกิจการภูธร ซึ่งไม่ได้ลงทุนเป็นระบบหรือกระบวนการเฉกเช่นอุตสาหกรรมอาหารรายใหญ่ระดับชาติว่าค่อนข้างยาก
เพราะต้องใช้เงินลงทุนค่อนข้างสูง คือ ต้องปรับกระบวนการผลิตใหม่ให้ได้มาตรฐานทั้งหมด
โดยเฉพาะมาตรฐานสุขอนามัย หากจะส่งออกก็คงเป็นประเทศ เพื่อนบ้านในแถบเอเชีย
ส่วนตลาดใหญ่อย่างญี่ปุ่นหรืออเมริกาเป็นเรื่องยาก เพราะหมูเมืองไทยในสายตาประเทศยักษ์ใหญ่เหล่านี้ยังไม่ปลอดโรค
โดยเฉพาะโรคเท้า-ปากเปื่อย
ในส่วนของเตียหงี่เฮียงเองก็จะขอพัฒนาผลิตภัณฑ์ไปเรื่อยๆ ทุกอย่างขึ้นกับความพร้อมในอนาคต
แต่ในเบื้องต้นนี้จะขอทำตามโครงการ 5 ส. คือ สะสาง สะอาด สะดวก สุขลักษณะ
และสร้างนิจลักษณะนิสัยให้ได้เสียก่อน ซึ่งก็ต้องใช้เวลานานพอสมควร เพราะต้องปรับพฤติกรรมคนในองค์กรใหม่
โดยเฉพาะในเรื่องของสุขลักษณะนั้น ต้องใช้เวลาในการปรับเปลี่ยนนาน