บัตรเครดิตหนุนยอดใช้จ่าย กสิกรฯคาดปี'46ศก.โต3%


ผู้จัดการรายวัน(11 ตุลาคม 2545)



กลับสู่หน้าหลัก

ศูนย์วิจัยกสิกรชี้จีดีพีปี 46 โต 3% หลังรวมปัจจัยความเสี่ยงที่อาจเกิดจากสงครามอิรัก-สหรัฐฯ ในระยะไม่เกิน 6 เดือน ระบุการใช้จ่ายในประเทศยังเป็นพลังขับเคลื่อนสำคัญคิดเป็น 55% ของจีดีพี โดยเฉพาะในระดับรากหญ้า และบัตรเครดิตที่เบ่งบานขยายตัวรวดเร็ว

นายเชาว์ เก่งชน รองกรรมการผู้จัดการ บริษัทศูนย์วิจัยกสิกร ไทย จำกัดเปิดเผยว่าศูนย์วิจัยกสิกรไทยได้ประมาณการตัวเลขเศรษฐกิจ (จีดีพี) ในปี 2546 จะขยายตัวประมาณ 3% จากในช่วงปี 2545 ซึ่งได้ประมาณการเศรษฐกิจจะขยายตัวประมาณ 3.8% ซึ่ง มีการปรับเพิ่มขึ้นจากที่ประมาณการเดิม 3.0-3.6% โดยมีการ ชะลอตัวมากกว่าปีนี้เล็กน้อย เนื่องจากยังมีปัจจัยเสี่ยงเรื่องของสงครามที่จะเกิดขึ้นระหว่างอิรักและสหรัฐอเมริกา ซึ่งอัตราการขยาย ตัวของเศรษฐกิจไทยที่ประมาณการไว้ 3% จะนับรวมปัจจัยของสงครามเกิดขึ้นด้วย แต่จะต้องอยู่ในระยะเวลาที่สั้นๆ ไม่เกิน 6 เดือน

สำหรับตัวเลขประมาณการอื่นนั้นมีแนวโน้ม ที่จะขยายตัวเพิ่ม ขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะการส่งออกและการนำเข้า จะมีการส่งออกขยายตัวอยู่ที่ระดับ 2 %และการนำเข้าก็จะขยายตัวระดับใกล้ เคียงกัน ดังนั้นเชื่อว่าประเทศไทยยังมีการเกินดุล การค้า และดุลบัญชีเดินสะพัด เนื่องจากมีการส่งออกที่เพิ่มขึ้นและธุรกิจการให้บริการ การท่องเที่ยวน่าจะได้รับความสนใจจากนักท่องเที่ยว จากนโยบาย ของรัฐบาลที่ตั้งกระทรวงการท่องเที่ยวใหม่

สาเหตุหลักที่ทำให้อัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยยังเติบโต เนื่องจากการใช้จ่ายภายในประเทศ โดยมีอัตราการเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดย สังเกตุได้จากการใช้จ่ายภายในประเทศมีประมาณ 55 %ของจีดีพี จากอัตราดอกเบี้ยที่ลดต่ำลง และมีแนวโน้มที่จะทรงตัวหรือลดลงได้อีกระดับหนึ่ง นอก จากนี้ยังเป็นนโยบายของรัฐบาลที่จะกระตุ้นการใช้จ่าย ภายในประเทศ โครงการเศรษฐกิจรากหญ้า อัตราการ ใช้จ่ายบัตรเครดิต โดยมีการขยายตัวเพิ่มขึ้น แบ่งเป็น บัตรเครดิตของสถาบันการเงินเพิ่มขึ้น 30% และบัตรเครดิตที่ไม่ใช่สถาบันการเงินเพิ่มขึ้นสูงถึง 200%

จากตัวเลขของการเพิ่มขึ้นบัตรเครดิตนั้น ทำให้หลายฝ่ายกำลังเป็นหว่งว่าบัตรเครดิตจะส่งผลให้เกิดปัญหาฟองสบู่แตก โดยศูนย์วิจัยกสิกรไทย ยังมองว่าไม่น่าที่จะเกิดขึ้นรวดเร็ว เนื่องจากพิจารณา ถึงตัวเลขการใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตทั้งระบบแล้วมีอยู่ประมาณ 4 หมื่นล้านบาทต่อเดือน ถือว่าน้อยมาก เมื่อเทียบกับการใช้จ่ายทั้งหมดภายในประเทศประมาณ 2.5 ล้านๆ บาทต่อเดือน

ส่วนตัวเลขของการนำเข้าที่จะมีผลต่อจีดีพีมีอยู่ประมาณ 20-30% ที่เหลือจะมาจากการลงทุนซึ่งมีแนวโน้มที่จะขยายตัวจากการลงทุนภาครัฐและเอกชน โดยเฉพาะภาคธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ สำหรับ ด้านสินเชื่อยังคงมีการขยายตัวแต่ไม่อยู่ในอัตราที่สูงมากนัก คงอยู่ในระดับที่ใกล้เคียงกับปี 2545 เนื่อง จากสถาบันการเงินยังมีปัญหาในเรื่องของหนี้ที่ไม่ก่อ ให้เกิดรายได้ที่ยังแก้ไขไม่จบสิ้นเชื่อว่าต้องใช้ระยะเวลาอีกหลายปีที่จะแก้ไขให้อยู่ในระดับที่ปกติได้ นอก จากนี้ในปีหน้าอาจจะเกิดภาวะสงครามทำให้นักลง ทุนไม่มีความมั่นใจต่อการลงทุน

ปัจจัยเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นกับภาวะเศรษฐกิจในปี 2546คือราคาน้ำมัน ซึ่งมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้น จากการคาดว่าเกิดสงครามระหว่างอิรักและสหรัฐอเมริกา ซึ่งได้มีการเปรียบเทียบไว้ในช่วงสงครามอ่าวเปอร์เชีย ราคาน้ำมันปกติอยู่ที่ระดับ 17 เหรียญต่อบาร์เรล เกิด ส่งครามราคาน้ำมันอยู่ที่ระดับ 26-27 เหรียญต่อบาร์ เรล ทำให้เกิดผลกระทบกับเศรษฐกิจทั่วโลก โดยสหรัฐอเมริกาอัตราการขยายตัวลดลงต่อเนื่อง ช่วงปี 1989 ขยายตัว 3.5% และปี 1990 ขยายตัวเหลือ 1.8% ปี 1991 เศรษฐกิจอเมริกาติดลบถึง 0.5%

ส่วนผลกระทบในประเทศญี่ปุ่นได้รับผลกระทบจากสงครามอย่างมาก โดยหลายฝ่ายมองว่าประเทศญี่ปุ่นจะเป็นมหาอำนาจทางเศรษฐกิจ พอหลังเกิดสงคราม เศรษฐกิจญี่ปุ่นอยู่ที่ระดับ 5.5% หลังจากนั้นก็ลดลงจนกระทั้งติดลบมากถึง 2.5% ประเทศไทยก็ได้รับผล กระทบโดยเศรษฐกิจของประเทศจากเดิมที่ขยายตัว 13% ลดลงเหลือ 11% และถือว่าเป็นจุดเริ่มต้นของฟองสบู่แตก จนเกิดวิกฤตเศรษฐกิจในประเทศไทย

ปัจจัยเสี่ยงเรื่องของการฟื้นตัวเศรษฐกิจโลก อัตราเงินเฟ้อ เสถียรภาพของเศรษฐกิจและค่าเงินในภูมิภาค โดยประเทศไทยยังมีหนี้สาธารณะจำนวน ที่สูงอยู่ ขณะนี้ประมาณ 2.9 ล้านล้านบาทคือเป็น 58% ของจีดีพี คาดว่าในปี 2549 จะเพิ่มขึ้นถึง 3.9 ล้านล้านบาท จากการรับภาระของกองทุนฟื้นฟู และปัจจัย เสี่ยงเรื่องเสถียรภาพทางด้านการเมืองไทย

จากราคาน้ำมันที่เพิ่มขึ้น 1 เหรียญต่อบาร์เรล ส่งผลกระทบกับดุลการค้าของประเทศลดลงถึง 300 ล้านเหรียญสหรัฐหรือประมาร 1 หมื่นกว่าล้านบาท กระทบต่ออัตราเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นประมาณ 0.2% และ ที่สำคัญกระทบต่อการขยายตัวทางด้านเศรษฐกิจของ ประเทศลดลงถึง 0.2-0.4%

ส่วนกลุ่มธุรกิจที่มีแนวโน้มสดใสในปี 2546 ใน หมวดอาหารยังคงเป็นมีแนวโน้มดีถึงแม้ว่าจะเกิดสงครามก็ตาม เพราะเป็นกลุ่มที่ประชาชนทั่วโลกต้องบริโภค เช่น ข้าว ยางพารา โดยกลุ่มดังกล่าวยังมีความเสี่ยงเรื่องของการแข่งขันที่มีผู้ผลิตมาก คุณภาพของสินค้า และปัญหาของสารตกค้างที่ยังเป็นปัญหาอยู่คือ กุ้งและไก่ ส่วนกลุ่มธุรกิจที่ยังมีปัญหาในทางลบคือ กลุ่มสิ่งทอ ที่มีปัญหาเรื่องค่า แรงที่สูง หมวดท่องเที่ยว ธุรกิจโรงแรมและร้านอาหาร ที่กังวลจะเกิดสงคราม แต่รัฐบาลได้ประกาศว่ามีมาตรการรองรับแล้ว



กลับสู่หน้าหลัก

Creative Commons License
ผลงานนี้ ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย



(cc) 2008 ASTVmanager Co., Ltd. Some Rights Reserved.