ทำไมต้องมี Venture capital


นิตยสารผู้จัดการ( พฤษภาคม 2543)



กลับสู่หน้าหลัก

บรรดาบริษัทอินเทอร์เน็ตยักษ์ใหญ่ yahoo.com แอปเปิ้ลคอมพิวเตอร์ amazon.com ก็ล้วน แต่ได้รับการสนับสนุนจาก venture capital มาแล้วทั้งสิ้น ธรรมชาติของธุรกิจของ venture capital คือ ผู้ลงทุน ที่ ยอมรับความเสี่ยงมากกว่าปกติ เมื่อเทียบกับ แหล่งเงินทุน ที่เป็นสถาบันการเงินทั่วไป ที่จะยอมให้เงินกู้ได้ ก็ต่อเมื่อธุรกิจเหล่านั้น มีหลักทรัพย์มาค้ำประกัน มี ที่ดิน เงินค้ำประกัน ซึ่งเป็นสิ่งที่ธุรกิจบนอินเทอร์เน็ตไม่มี แต่เวนเจอร์ แคปปิตอล คือ ผู้ที่จะมาอุดช่องว่างเหล่านี้

venture capital ไม่สนใจเรื่องของหลักทรัพย์ค้ำประกัน หรือ อสังหาริม ทรัพย์ สิ่งเดียว ที่ venture capital คือ โอกาสทางธุรกิจ และไอเดียใหม่ๆ ที่ จะทำให้ธุรกิจเหล่านั้น เป็นจริงขึ้นมาได้

แน่นอนว่า ความเสี่ยงของ venture capital ย่อมสูงตามไปด้วย แต่เมื่อความเสี่ยงสูง ผลตอบแทนย่อมเพิ่มขึ้นตามไปด้วย ผลตอบแทน ที่บรรดา venture capital ต้องการก็คือ รายได้จากการนำหุ้นไป ขายในตลาดหุ้น รวมถึงการขายหุ้น ให้กับผู้ลงทุนอื่นๆ อีกทอดหนึ่ง ระยะเวลาการลงทุนของ venture capital โดยจะเฉลี่ยอยู่ ที่ 3 ปี จากนั้น จะเป็นช่วง exit คือ การออกจากการลงทุน

กรณีของซอฟต์แบงก์ คือ ตัวอย่างของ venture capital ที่ประสบความ สำเร็จที่ดี จากการมองเห็นโอกาสจากการเข้าไปลงทุนในบริษัทดอทคอมล่วงหน้า มีบริษัทดอท คอม ที่กลายเป็นยักษ์ใหญ่ทุกวันนี้ ที่ซอฟต์แบงก์เข้าไปลงทุนตั้งแต่เริ่มแรก อาทิ yahoo.com ปรากฏว่าทุกวันนี้ soft bank กลายเป็น venture capital ที่ร่ำรวยมหาศาลจากมูลค่าหุ้นของบริษัทดอทคอม ที่ เข้าไปจดทะเบียนในตลาดแนสแดค

สิ่งที่ venture capitalต้อง การจากบรรดาบริษัทดอทคอมไม่ใช่ผล กำไรจากการทำธุรกิจในปัจจุบัน เพราะ venture capital เองก็รู้ดีว่าบริษัทเหล่านี้ไม่มีกำไร แต่เป็นเรื่องของโอกาสทางธุรกิจในอนาคต นั่นก็หมายความว่า บริษัทดอทคอมเหล่านี้จะดูดีมากๆ ในเรื่องของการแสวงหาโอกาสทางธุรกิจ การลงทุน ที่ต้องทำอย่างต่อเนื่อง มีพันธมิตรมากหน้าหลายตา ที่จะมาช่วยสร้างโอกาสใหม่ๆ ให้กับธุรกิจ

หลา ยครั้ง ที่ venture capital ไม่ได้เพียงให้เงินทุนเท่านั้น แต่ยังเข้าไปช่วยเหลือธุรกิจในด้านต่างๆ ที่ธุรกิจ เหล่านั้น ขาด โดยมักจะช่วยเหลือใน เรื่องการหาโอกาสใหม่ๆ ให้ เช่น หาทีมงานบริหาร หาพาร์ตเนอร์ หาตลาด ใหม่ๆ เลือกเทคโนโลยี เพราะถึงแม้จะต้องการ ไอเดียแปลกใหม่เพียงใดก็ตาม แต่ธุรกิจเหล่านั้น ก็ต้องมีความเป็นไปได้ด้วย

venture capital มักจะมีเครือข่ายการลงทุนอยู่ทั่วไปในหลายประเทศ และ หลายธุรกิจ ที่จะเอื้อประโยชน์ให้กับธุรกิจ ที่ไปลงทุน

แต่ไม่ได้หมายความว่า venture capital จะประสบความสำเร็จทุกครั้ง ที่ ลงทุน venture capital หลายรายบอกว่า การลงทุนผิดพลาดน้อยที่สุด 2- 3 จาก 10 ราย ก็ถือว่าเยี่ยมแล้ว

สิ่งที่ venture capital ต้องการมากๆ ก็คือ แนวคิด ที่จะสามารถเป็นจริงได้ทางธุรกิจ ส่วนธุรกิจเหล่านั้น จะตอบสนองกลุ่มลูกค้าขนาดไหนจะ เป็นเฉพาะกลุ่ม หรือเฉพาะตลาดในประเทศ หรือ จะต้องครอบคลุมกลุ่มลูกค้าต่างประเทศ ได้ด้วย ก็ขึ้นอยู่กับความต้องการของ venture capital แต่ละรายว่ามีเป้าหมายการลงทุนอย่างไร

หากเป็น venture capital จาก ต่างประเทศแล้ว มักจะมองการลงทุน ขนาดใหญ่ ที่จะต้องตอบสนองตลาดต่างประเทศได้ด้วย เพราะขนาดของกองทุน ที่มีขนาดใหญ่ ในขณะที่ธุรกิจดอทคอมในเมืองไทยยังอยู่แค่ช่วงเริ่มต้น จากกลุ่มคนเพียงคนหรือสองคน ดังนั้น จึงอาจต้องรอเวลาอีกระยะหนึ่ง ให้ธุรกิจเหล่านี้เติบโตขึ้นอีกสักพัก ขยายธุรกิจของตัวเองออกไป

กรณีของล็อกซอินโฟเป็นอีกตัวอย่างหนึ่ง การได้กองทุนจากนิวยอร์ก เข้ามาลงทุนเมื่อ 7-8 เดือนที่แล้ว ได้กลายเป็นจุดเปลี่ยน ที่ทำให้กับไอเอสพี รายนี้ ทำให้มุมมองของธุรกิจเปลี่ยนแปลงไป ไม่ใช่แค่การมีลูกค้าให้กับ ธุรกิจไอเอสพีเท่านั้น หาบริการดีๆ สร้าง community ให้มีคนมาเล่นเว็บ มากเท่านั้น

แต่มันเปิดโลกอีกด้านหนึ่ง ที่เป็นเรื่องของการต่อรองในเรื่องของราคาหุ้น การแลกเปลี่ยนหุ้น การขายหุ้น ให้กับนักลงทุนใหม่ เพื่อระดมทุนใช้ในการต่อยอดธุรกิจ ที่จะนำไปสู่การเสาะแสวงหาโอกาสของการระดมทุนในตลาด หุ้นต่างประเทศ กรณีกา รจัดทัพองค์กรของล็อกซอินโฟ ที่มีบริษัท point asia เกิดขึ้น เป็นบริษัทแม่ ที่ลงทุนในธุรกิจดอทคอม ที่หลากหลาย

รวมถึงการลงทุนของล็อกซ อินโฟในประเทศอินโดนีเซีย ก็เป็นผลพวง ที่ได้มาจากการได้ ventur e capital จากนิวยอร์กมาลงทุน และมองเห็นโอกาสของล็อกซอินโฟ ที่จะทำตัวเป็นผู้ส่งออกบริการของตัวเองไปยังประเทศ ที่ กำลังพัฒนาในแถบเอเชีย เพื่อสร้างโอกาสทางธุรกิจ สร้างตลาดใหม่ๆ ที่ไม่ใช่แค่ในประเทศ แต่เป็นตลาดในภูมิภาค เหมือนอย่างที่สิงคโปร์ และฮ่องกง ที่พยายามสร้างตัวเองให้เป็นผู้นำในธุรกิจดอทคอมในภูมิภาค เพียงแต่ขนาด และความพร้อมในเรื่องของเทคโน โลยี และเงินทุน ที่ต่างกันไป

รูปแบบการลง ทุนของ venture capital จึงมีหลายลักษณะ บางรายอาจลงทุนในธุรกิจเริ่มต้นจริงๆ ซึ่งกลุ่มลงทุนในช่วงนี้เรียกว่าเป็น Angel ซึ่งมักจะเป็นพ่อแม่ หรือญาติพี่น้อง หรืออาจจะ เป็นกลุ่มบุคคล อย่างกรณีการลงทุนของ เอดี เวนเจอร์ ของกลุ่มชินคอร์ป ก็จัดอยู่ ในกลุ่มนี้ ที่จะเลือกลงทุน ในเว็บไซต์ของ เด็กนักเรียน นักศึกษา หรือลงทุนร่วมกับบริษัทขนาดเล็ก

เอดี เวนเจอร์เองก็ประเมินแล้ว ว่า หากสำเร็จเพียงแค่ 1-2 ราย จาก ที่ลงทุนไปก็ถือว่า คุ้มแล้วในแง่ของการลงทุน ซึ่งเอดีเวนเจอร์เอง ก็ต้องมีการปรับเปลี่ยนยุทธศาสตร์การลงทุนตลอดเวลา เรียกว่า ทำกันแบบวันต่อ วัน เริ่มมาหยุดนิ่งบ้างแล้วในเวลานี้ แต่ก็อา จเปลี่ยนแปลงได้อีก เพราะโดย ธรรมชาติของธุรกิจนี้ ต้องพร้อมเสมอสำหรับการเปลี่ยนแปลง ที่จะเกิดขึ้นได้ทุกเมื่อ ไม่มีสูตรสำเร็จไหน ที่ตายตัว

จะว่าไปแล้ว เมืองไทยเองก็ตื่นตัวในเรื่องของ venture capital นอกเหนือจากธนสถาปนา ที่เกิดจากการลงขันของแบงก์ทั้งหลาย ที่เปิดขึ้นมาลงทุน ในธุรกิจต่างๆ ที่เหนือจากธุรกิจแบงก์แล้ว เวลานี้ก็มีบริษัทวีเน็ท แคปปิตอล จำกัด ที่มีณรงค์ อิงค์ธเนศ เจ้าของบริษัทเดอะแ วลลูซิสเต็มส์ เป็นเจ้าของทุนรายใหญ่

แต่การลงทุนของ venture capital เหล่านี้ทำกันอย่างเงียบๆ ไม่มีข่าวหวือหวาเหมือนกับกลุ่มทุนสื่อสาร ที่ตั้งบริษัทขึ้นมาทำหน้าที่ลงทุนในธุรกิจอินเทอร์เน็ต ทำตัวเป็น venture capital ตามล่าหาไอเดียใหม่ๆ เพื่อให้ตัวเองเรียนรู้เข้าสู่ธุรกิจอินเทอร์เน็ต ที่มักจะเป็นกลุ่มคนรุ่นใหม่ เป็นนักศึกษา หรือนักเรียน ที่มีไอเดียดีๆ แต่ขาดเงินทุน

เป้าหมายการลงทุนของบรรดากลุ่มทุนสื่อสารเหล่านี้ ส่วนใหญ่จะต้อง การเอื้อประโยชน์ให้กับธุรกิจสื่อสารเดิม สร้างมูลค่าเพิ่มให้ธุรกิจดูดี เพราะทุกวันนี้หากองค์กรธุรกิจไหนไม่มีส่วนร่วมในอินเทอร์เน็ต ที่เป็นธุรกิจ ดาวรุ่ง แล้ว ก็จะถือว่าเป็นองค์กรตกยุค ก้าวไม่ทันกับการเปลี่ยนแปลงของกระแสธุรกิจ นั่นหมายความว่า จะไม่ได้รับความสนใจ จากนักลงทุน หรือ จาก บริษัทข้ามชาติ

ธุรกิจเหล่านี้ จึงจำเป็นต้องเสาะแสวงหาโอกาส ซึ่งเวลานี้ไทยเองก็อยู่ใน ช่วงเริ่มต้น ยังไม่มีใครขึ้นเป็นอันดับ 1 หรือ 2 ที่สำคัญธุรกิจนี้ไม่ต้องใช้เป็นทุนมากมายเหมือนกับการลงทุนในธุรกิจสื่อสาร ที่ต้องใช้เงินทุนจำนวนมาก ในการสร้างเครือ ข่ายบริการ และหลังจากฟองสบู่แตกสื่อสารก็ไม่ใช่ธุรกิจ ดาวรุ่ง

แต่สิ่งที่ทุกคนไม่มีคือ ไอเดีย ใหม่ๆ ในธุรกิจอินเทอร์เน็ต ซึ่งเป็นโลกใหม่ ที่ธุรกิจสื่อสารไม่มี

จะเห็นได้ว่า ธุรกิจสื่อสารขอ งไทย เป็นอีกพาร์ทหนึ่ง ที่กำลังทำตัวเอง เป็น venture capital นอกเหนือจากกลุ่มเอดีเวนเจอร์ของค่ายชินคอร์ปอเรชั่นแล้ว ล่าสุดก็คือ กลุ่มจัสมินอินเตอร์ เนชั่นแนล ที่เปิดตัวโครงการจัสมิน ไซเบอร์เวิร์ ค เพื่อให้เงินทุน และ Infra- structure ให้แก่ บริษัทขนาดเล็ก หรือ นักศึกษา ที่มีไอเดียใหม่ๆ แต่ขาดเงินทุน ซึ่งจะเป็นทั้งเปิดรับข้อเสนอ และจัดเป็นการประมูลหาไอเดียใหม่ๆ งานนี้จัสมินตระเตรียมเงินทุน ขั้นแรก ประมาณ 50-250 ล้านบาท สัดส่วนการถือหุ้น ที่ จัสมินจะเข้าไปลงทุน จะอยู่ ที่ 20-80% ขึ้นอยู่กับประเภทของธุรกิจ

"เราต้องการให้บริษัท ที่เราเข้าไปลงทุนถือหุ้นด้วย และยังคงบริหารธุรกิจ ต่อไป เหมือนเดิม จุดประสงค์ของเราคือ ต้องการสนับสนุนโครงการใหม่ๆ ไม่ใช่แค่เว็บ ไซต์ แต่อยากให้ซับซ้อนมากกว่านี้" พิชญ์ โพธารามิก Project Director โครงการจัสมิน ไซเบอร์เวิร์ค ลูกชาย คนเดียวของอดิศัย โพธารามิก ที่ย้ายมาดูแลธุรกิจอินเทอร์เน็ต

นอกเหนือจากเงินทุนแล้ว จัสมินยังนำเอาเนื้อ ที่ 3,000 ตารางเมตร ของอาคารจัสมินมาจัดวางโครงสร้างพื้นฐาน ประกอบไปด้วย อุปกรณ์ สำนักงาน เดินสายด้วยเครือ ข่ ายระบบแลน และมีเครือข่ายความ เร็วสูงในการ ต่อเชื่อมเข้ากับอินเทอร์เน็ต เพื่อเปิดให้ธุรกิจขนาดเล็ก และ นักศึกษามาใช้ พื้นที่ได้ฟรีในช่วงแรก ต่อเมื่อธุรกิจเติบโตไปได้ จะเก็บเงินค่าเช่า ทั้งนี้ จัส มิ นจะช่วยเหลือในเรื่องของการโปรโมชั่น จัดทำระบบบัญชี ให้คำแนะนำใน เรื่องของวิจัย และพัฒนา

จะว่าไปแล้ว แนวคิดของจัสมิน ไม่ได้แตกต่างไปจากเอดีเวนเจอร์ หรือ สามารถ ที่ต้องการอาศัยไอเดียเหล่านี้มาสร้ างธุรกิจหรือบริการ สร้างประชา คมขึ้นในเว็บไซต์ เพื่อเป็นรากฐานในธุรกิจดอทคอม มีธุรกิจครอบคลุมใน ทุกๆ ส่วน

และนี่ก็คือ สิ่งหนึ่งของ venture capital ที่เกิดขึ้นในไทย เป็นธุรกิจ ที่เติบโตมาควบคู่กับการมาของอินเทอร์เน็ต



กลับสู่หน้าหลัก

Creative Commons License
ผลงานนี้ ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย



(cc) 2008 ASTVmanager Co., Ltd. Some Rights Reserved.