โลกออนไลน์ของแกรมมี่


นิตยสารผู้จัดการ( พฤษภาคม 2543)



กลับสู่หน้าหลัก

ผู้จัดการ : แกรมมี่ คิดยังอย่างไรกับอินเทอร์เน็ต
วิสิฐ : เราคงต้องทำอินเทอร์เน็ต เราเป็นองค์กรด้านข้อมูล (content company) เวลานี้เรามีลิขสิทธิ์เพลง 5,000 เพลง ที่อยู่ในห้องสมุด สิ่งที่เราต้องทำ คือ การนำเอาข้อมูล (content) เหล่านี้มา digitize คือ แปลงให้อยู่ในรูปของดิจิตอล ซึ่งเราคงแทบไม่ต้องลงทุนเลย เพราะเราร่วมมือกับเจ้าของเทคโนโลยีประเภทนี้ คือ เทคโนโลยีของ mp3 ซึ่งเป็นเทคนิคในการดาวน์โหลดเพลง แต่ ที่สำคัญกว่านั้น คือ ทำอย่างไร จึงจะดาวน์โหลด และเก็บสตางค์ได้
ผู้จัดการ : มีแนวทางอย่างไรบ้าง
วิสิฐ : มี 2 ส่วน ส่วนแรก คือ การใช้อินเทอร์เน็ตเป็นช่องทางจัดจำหน่าย ซึ่งก็มีอยู่ 2 วิธี วิธีแรกคือ การให้สั่งซื้อทางอินเทอร์เน็ต จากนั้น ก็ส่งของไปถึงมือลูกค้าทางไปรษณีย์ และ ให้มอเตอร์ไซค์ไปส่ง ส่วน ที่สอง คือ การดาวน์โหลดเพลง ก็เป็น content รูปแบบหนึ่ง ซึ่ง ถ้าเทียบระหว่างข่าวกับเพลงแล้ว เพลงเป็น content แบบ exclusive ฟังได้ หลายๆ ครั้ง ในขณะที่ข่าวอ่านหลายครั้งไม่ได้ อย่างเพลงเราทำ 2 ปีที่แล้ว ก็ยังฟังได้อีก ในขณะที่ข่าว เราคงไม่ไปอ่านข่าวย้อน แต่เรายังฟังเพล ง 30 ปีที่แล้ว นั่นคือ ความสวยงามของเพลง มันไม่มีการล้าสมัย มันป้อนได้หมด ทุกวัย ทุกเพศ สิ่งที่แกรมมี่มีก็คือ เรามี content คือ เรื่องของเพลง entertainment news เรามีดารา นักร้อง ที่จะสามารถทำ chatroom ที่สำคัญคือ ลูกค้าแกรมมี่ หรือ ผู้ที่ฟังเพลง แกรมมี่ กับฐานลูกค้าอินเทอร์เน็ต คือ ฐานลูกค้าเดียวกัน สิ่งเหล่านี้คือ ความพร้อม ที่ แกรมมี่จะไปสู่อินเทอร์เน็ต แต่ความพร้อมเหล่านี้ เ ราไม่ได้ทำคนเดียว ถ้าถามผม view point ในเรื่องธุรกิจอินเทอร์เน็ตมันน่าลงทุนหรือเปล่า ผมจะพูดจากสามัญสำนึกของผมเอง ผมจะไม่พูดในแง่ของแกรมมี่ว่า ถ้าเราลงทุนแล้ว ณ วันนี้ไม่มีตลาดหุ้น ไม่มีแนสแดค ไม่มีตลาดหุ้น ที่สิงคโปร์ หรือฮ่องกง ที่เปิดให้ธุรกิจ ที่ขาดทุนไปจดทะเบียนในตลาดได้ ถามว่า เรายังจะทำหรือเปล่า หรือว่า ทำแล้วมีแต่ต้นทุน คำตอบ ก็คือ คงไม่มีใครทำ

ผู้จัดการ : เป็นเป้าหมาย ของแกรมมี่เลยหรือไม่ ที่จะต้องนำธุรกิจอิน เทอร์เน็ตเข้าตลาดหุ้น
วิสิฐ : รายได้หรือกำไร ถ้าผมรู้ว่ามันอยู่ตรงไหน ผมว่า คงไม่มีคนทำมากเท่าไหร่หรอก แต่รู้ว่ามันมีความเป็นไปได้ เป็นธุรกิจ ที่ขึ้นอยู่ กับความเชื่อมั่นในอนาคต ราย ได้ ที่มาจากธุรกิจ อินเทอร์เน็ต เวลานี้มี 3 อย่าง คือ ค่าบริการอินเทอร์เน็ต เป็นธุรกิจ ที่จับต้องได้จริง คนต้องจ่ายเงิน เพื่อเข้าอินเทอร์เน็ตทุกเดือน ธุรกิจอย่างที่สอง คื อ เรื่องของโฆษณาบนแบนเนอร์ ตลาดยังไม่ใหญ่นัก ส่วน ที่สาม คือ อี-คอมเมิร์ซ อย่างของแกรมมี่ ถ้าเราทำเว็บไซต์ท่า (portal web) สำหรับขายหนังสือบนเว็บไซต์แกรมมี่ ผมก็กินเปอร์เซ็นต์จากการเอาของมาขายบนชอปปิ้งมอลล์ แทน ที่จะผ่านคนกลาง ฉะนั้น บทบาทของคนกลางต่อไปจะลดลง อินเทอร์เน็ต จะเป็นช่องทางอย่างหนึ่ง แต่อี-คอมเมิร์ซ เป็นเรื่องอนาคต ในเมืองไทยยังไม่รู้ว่า ตลาดจะใหญ่ ขนาดไหน ปัญหาของ อี-คอมเมิร์ซ ไม่ใช่การขายของได้ แต่อยู่ ที่ว่าจะส่งของยังไงให้ถึงมือผู้ซื้อ เป็นเรื่อง ที่ต้องคิด และทำอย่างจริงจัง การตั้งร้านค้าในอินเทอร์เน็ตเป็นเรื่องง่าย ใครๆ ก็ทำได้ แต่จะส่งของให้ถึงมือคนซื้อให้ต้นทุนถูกที่สุด มีประสิทธิภาพสูงสุด เป็นเรื่องยาก ณ วันนี้ ผมส่งซีดีไปอเมริกาต้องใช้เวลา 2-3 วัน ต้องเสียค่าส่ง 400-500 บาท อุปสรรคอีกเรื่องหนึ่งคือ โครงสร้างพื้นฐานของเรายังไม่ดี ถ้าเราใช้สายโทรศัพท์ในบ้านเรา เรา 1 เพลง จะต้องใช้เวลาดาวน์โหลด 30 นาที คือ เราไม่มีไฟเบอร์ออพติก จริงๆ จังๆ นี่คือ สิ่งที่ต้องตามมา และรัฐบาลต้องสนับสนุนให้เกิด ส่วนเรื่องของการชำระเงินเครดิตการ์ด ไม่ใช่ปัญหา สิ่งที่เราจะทำคือ ต้องมาคิดว่าจะใช้ประโยชน์ในเรื่องเหล่านี้ได้อย่างไร

ผู้จัดการ : สิ่งที่คุณสิฐพูดถึงเป็นขั้นตอนของการพัฒนา และเวลานี้แกรมมี่ได้ก้าวไปถึงจุดไหนแล้ว

วิสิฐ : เรากำลังมี portal web ของเราเอง ที่เป็น web ด้านบันเทิงนำ มันเป็นที่รวมของเว็บไซต์ย่อย มันเหมือนกับ sanook.com แต่เป็นเอ็นเตอร์เทนเมนต์นำ เรามองว่า มูลค่าของธุรกิจอินเทอร์เน็ต คือ การสร้างฐานข้อ มูล(database) เนื่องจากมันไม่มี bottom line ให้ดู ไม่มีประวัติศาสตร์ให้ดู รายได้ของธุรกิจ ก็มีน้อย สิ่งที่นักลงทุนจะพิจารณาก็คือ แนวโน้มของธุรกิจ ซึ่งจะดูจากจำนวนคนเข้า เว็บไซต์ และจำนวนของฐานข้อมูล นี่คือ สิ่งที่แสดงให้กับนักลงทุน และสร้าง ความสนใจให้กับนักลงทุน นอกจากนี้ก็ดูกัน ที่พันธมิตรเชิงยุทธศาสตร์ ซึ่งไม่ได้หมายถึงว่า ต้องลงทุนเพราะการหาพันธมิตรก็คือ การเอาเว็บแลกลิงค์กับคนอื่น หรือ การเซ็นสัญญา โปรแกรมมิ่ง อย่างผมจะขายซีดีออนไลน์ผ่านทางแกรมมี่ เช่น ผมก็อาจจะเอาโลโกของซีดี นาวมาแปะไว้ตรง web site ของแกรมมี่ จากนั้น ก็เชื่อมโยงไป ที่ซีดีนาว จะเกิดการแชร์ กำไรขึ้นมา

ผู้จัดการ : โมเดลธุรกิจ ที่แกรมมี่อยากจะทำ

วิสิฐ : portal web ทางด้านบันเทิงมีเยอะมาก อย่างเอโอแอล หรือ ยาฮู เป็นคอมมมูนิตี้ พอร์ทัล และเป็นทั้งเอ็นเตอร์เทนเมนต์ แต่เวลานี้ เรากำลังเข้าไป ที่กลุ่มเป้าหมาย ยังเจนเนอเรชั่น ที่ชอบเอ็นเตอร์เทนเมนต์เป็นหลัก

ผู้จัดการ : ต้องมีพันธมิตรด้านใดบ้าง

วิสิฐ : การมี content ยิ่งมาก มูลค่าของบริษัทต้องมาก เพราะนักลงทุนใน อินเทอร์เน็ต จะซับซ้อนกว่านักลงทุน ที่ลงทุนในโทรคมนาคม หรืออสังหาริมทรัพย์ เพราะตรงนั้น เห็นรายได้ชัดเจน รู้ว่าขายบ้านได้กี่หลังขายมือถือได้กี่เบอร์ แต่อินเทอร์เน็ต เป็น เรื่องของการคาดการณ์อนาคต

ผู้จัดการ : พันธมิตรเทคโนโลยี หรือ venture capital จำเป็นต้องมีหรือไม่

วิสิฐ : ถ้าถามว่าแกรมมี่ลงทุน 1 พันล้านบาท หรือ 2 พันล้านลงทุนอิน เทอร์เน็ตได้หรือไม่ ก็อาจจะลงได้ แต่เราไม่อยากลงทุนถึงขนาดนั้น แต่ถ้าเราได้ ไฟแนนเชียลพาร์ตเนอร์ ก็จะเป็นเรื่องที่ดีของการลงทุน ถามว่าจำเป็นหรือไม่ต้องมี venture capital ถ้ามันมีวิชั่นชัดเจนการมี venture capital คงไม่ใช่เป็นจุดสำคัญเท่าไหร่นัก แต่ถ้ามี มันก็ดีเหมือนกับเป็นการรับประกัน buble stamp เช่น ถ้าผมมีนักลงทุนอยู่ในอเมริกา ผมก็คงไม่รู้ว่า ธุรกิจเอ็นเตอร์เทนเมนต์ในเมืองไทยทำอะไร แต่ถ้ามี venture capital ที่กล้าเข้าไปลงทุนก็แสดงว่าเขาคงดูดีแล้วว่านี่คือ สิ่งที่ ventu re capital ต้องการผมจะเลือกพาร์ตเนอร์ ที่ไม่ได้ใส่เงินเฉยๆ แต่จะต้องสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับเราสามารถเชื่อมโยงธุรกิจกับต่างประเทศ หรือเทคโนโลยีอื่นๆ แต่ถ้าเป็น venture capital จะต้องเป็นรายใหญ่ ที่มีขนาดการลงทุน ที่ใหญ่โตพอ ที่จะเชื่อมธุรกิจได้ ในเอเชียดังๆ มีวอร์เดนท์ มีซอฟต์แบงก์ มีแปซิฟิก เซนจูรี มีซีเอ็มจีไอ อยู่ในอเมริกา ในฮ่องกง อินคิวเอเชีย เราเคยคุยบ้างกับบางราย ซึ่งแต่ละราย จะมีศักยภาพ ที่แตกต่างกันไป แต่ละรายจะมีการเชื่อมโยงไปสู่ตลาดใหม่ๆ ที่แตกต่างกันไป

ผู้จัดการ : แกรมมี่เราสรุปโครงสร้างธุรกิจในเรื่องเหล่านี้เอาไว้อย่างไร

วิสิฐ : การจะเป็น entertainment portal มันเป็นคำตอบ ที่ง่ายเกินไป แต่จุดเริ่มต้นของเราคือ การนำ content มาหารายได้ ด้วยวิธีใดวิธีหนึ่ง คือ จะขาย content เพื่อแลกกับหุ้น หรือจะขาย content อยู่ในดิจิตอล ดาวน์โหลดเทคโนโลยี หรือจะขาย cont ent ในรูปของการขายซีดีทางอินเทอร์เน็ต ผมมองว่า จะทำยังไง ที่เป็นบริษัทอินเทอร์เน็ต ที่คนอยากจะมาลงทุน โดยจะแยกส่วนจากแกรมมี่ไปเลย สิ่งที่ผมมองอินเทอร์เน็ตในเมืองไทย ขนาดของตลาดเป็นเรื่องสำคัญมาก ถ้าทราฟฟิกไม่โต ไม่มีคนมาดู ทำไปก็นอนอยู่กับอย่างนั้น ไม่เกิดมูลค่าเพิ่มขึ้นมา การเป็นผู้ประสบความสำเร็จในเมืองไทย ต้องเป็น เบอร์ 1 หรือเบอร์ 2 เพราะตลาดหุ้นแนสแดคไม่ได้เข้ากันง่ายๆ

ผู้จัดการ : คิดว่าแกรมมี่ควรจะเข้าไปอยู่ในส่วนไหน

วิสิฐ : นี่คือ สิ่งที่บอกเวลานี้ไม่ได้ มันมีโมเดลอยู่ เราไม่ปล่อยโอกาสให้คนอื่นทำแล้ว เราไม่ทำหรอก ผมคิดเสมอว่า content จริงๆ แล้ว มันไม่ใช่ cream ลูกค ้า คือ ครีม content ไม่ได้สำคัญเท่ากับการที่ต้องดึงดูดให้เขาอยู่ ที่เว็บไซต์ของเราตลอด เวลา (strickyness) ถ้า portal เข้าไปอยู่ในชีวิตประจำวันได้ นั่นคือ มูลค่า ที่แท้จริง คือ จุดที่เราพยายามไป

ผู้จัดการ : โมเดลไหน จะเกิดประโยชน์กับแกรมมี่มากที่สุด

วิสิฐ : ผมดูทั้งสองอย่าง ผมนั่งคุยกับเอ็มไอเอช สิ่งที่ผมคิดกับเขาคิดมันเหมือนกันหมดเลย สิ่งที่เขาคิดคือ ทำยังไงจะเป็นเบอร์ 1 และการเป็นเบอร์ 1 ต้องทิ้งห่างเบอร์ 2 ต้องมีอะไรบ้าง อย่างแรก คือ ต้องมีไอเอสพี ต้องมี portal ต้องมีอี-คอม เมิร์ซ ซึ่ง อี-คอมเมิร์ซ ไม่ใช่เรื่องยากแต่ ที่ยากคือ ทำยังไงมีบริการอย่างครบถ้วน มี บริการ ส่งของ มีระบบเก็บเงิน ซีพีทำเซเว่นอีเลฟเว่น 5 ปี ทำเป็นจุดส่งของสำหรับลูกค้า ที่สั่งซื้อของทาง อี-คอมเมิร์ซได้ แต่จอดรถไม่ได้ คือ ทุกอย่างเป็นปัญหาหมด ถ้าทั้งประเทศรวมกันได้ ส่งของ ที่ปั๊มน้ำมันร้านซีเลค ร้านสตาร์ ส่งได้หมดก็จะเป็นเรื่องที่ดี

ผู้จัดการ : ธุรกิจของแกรมมี่จะเป็นรูปเป็นร่างได้เมื่อไหร่

วิสิฐ : เวลานี้มี web site ของเรา คือ grammy.co.th สิ่งที่ผมจะ focus ก็คือ ตลาด ในภาคพื้นเอเชีย ข้อมูลของเราเป็น 2 ภาษา ทีมงานเวลานี้ก็มี 20 กว่าคน เรากำลังศึกษาอยู่ว่าจะเป็นรูปแบบไหน มีเรื่องของเทคโนโลยีในการดาวน์โหลดเพลง ที่สามารถเก็บเงินได้ ไม่ได้พูดถึงเทคนิคการดาวน์โหลด และเทคโนโลยีในการเก็บ และจัดการข้อมูลภาพธุรกิจอินเทอร์เน็ตจะสรุปได้เร็วๆ นี้ จะมีเรื่องของพันธมิตร เราจะเป็นพาร์ตเนอร์ต่างประเทศ และ content ท้องถิ่น ถ้ามีไอเอสพีด้วยก็ดี เพราะถ้ามีคนใช้อินเทอร์เน็ตน้อย เท่ากับว่าจะมีคนดูของเราน้อย ก็ต้องกลับไป ที่ยุทธศาสตร์ ทำยังไงจึงจะมีคนใช้อินเทอร์เน็ตเยอะขึ้น และคนใช้อินเทอร์เน็ตน่าจะมาดูของเรา

ผู้จัดการ : แกรมมี่คิด ที่จะทำตัวเป็น venture capital เพื่อหาโอกาสลงทุนในธุรกิจ อินเทอร์เน็ตเหมือนอย่างที่เอดีเวนเจอร์ หรืออย่างคนอื่นๆ หรือไม่

วิสิฐ : ขนาดของตลาดแตกต่างกัน เราคงไม่มีเวลาไปดูรายเล็กรายน้อยผมเคยคิด เหมือนกันว่า ทำไมคนไทยทำซอฟต์แวร์ไม่ดีเหมือนอินเดีย คงเป็นเพราะภาษา และเรื่องของจำนวนประชากร การฝึกอบรม ซึ่งต้องแก้ไขด้วยพื้นฐาน ผมไม่ได้บอกว่า แกรมมี่จะเป็น venture capital เรามอง strategic investment แต่ถ้าต้องมี venture capital ให้เงินทุนแก่พวกมีสติปัญญาทั้งหลาย เราก็คิดว่า เราจะทำ แต่คงไม่มีเงินไปลงทุนเยอะขนาดนั้น ในโมเดลธุรกิจของเราจะมีอยู่ 2 ขั้นตอน คือ ในตลาดท้องถิ่นจะเป็น เรื่องของการสร้าง portal ในอีกด้านหนึ่งจะเป็นตลาดภูมิภาคในอีกโมเดลหนึ่งคือ จะเป็น Investment company ในธุรกิจอินเทอร์เน็ต บิสซิเนสโมเดล จะมี 2 ส่วน ถ้าเป็นตลาดภายในประเทศ จะเป็นเรื่องของการสร้างพอร์ทัล ที่โฟกัสไป ที่ด้านบันเทิง ส่วน ที่สอง คือ การลงทุนในอินเทอร์เน็ตในเมืองไทย ทีคล้ายๆ กับ venture capital แต่ไม่ใช่จะอยู่ในรูปแบบ ที่เรียกว่า strategic invesment คือ คนอื่น ยังไม่มี เราไม่ได้มองเล็กแต่เรามอง ที่ ต้องซื้อได้ทั้งประเทศ และนี่ก็คือ ภาพสะท้อนการลงทุนของแกรมมี่ เอ็นเตอร์เทนเม้นท์ หนึ่ง ในค่ายเพลงยักษ์ใหญ่ ที่เป็นผู้ยึดกุม content เพลงจำนวนมากกับเส้นทาง ของธุรกิจอินเทอร์เน็ต ที่กำลังอยู่ระหว่างถักทอ ที่ในอีกไม่นานภาพสมบูรณ์ของธุรกิจจะปรากฏออกมา



กลับสู่หน้าหลัก

Creative Commons License
ผลงานนี้ ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย



(cc) 2008 ASTVmanager Co., Ltd. Some Rights Reserved.