ธุรกิจปรับโครงสร้างหนี้ บริษัทท้องถิ่นหลบไปก่อน


นิตยสารผู้จัดการ( พฤษภาคม 2543)



กลับสู่หน้าหลัก

ด้วยความ ที่มีศักยภาพในการดำเนินงานอันมีเครือข่ายทั่วโลก ประกอบกับประสบการณ์ในการดำเนินธุรกิจในประเทศไทยกว่า 40 ปี ทำให้ไพร้ซวอเตอร์เฮาส์คูเปอร์ส หรือ PwC สามารถครองตำแหน่งผู้นำด้านธุรกิจ ที่ป รึกษาทางการเงินของไทยในอันดับต้นๆ มาตลอด ปัจจุบันบริษัท ที่ดำเนินธุรกิจที่ปรึกษาด้านการปรับโครงสร้างหนี้ และฟื้นฟูกิจการในไทยนับว่ามีทั้ง ที่เป็นบริษัทยักษ์ใหญ่ระดับโลกอย่าง PwC และ บริษัทในระดับท้องถิ่นเป็นจำนวนมาก

แต่หลายฝ่ายก็มักมีคำถามว่าแล้วทำไมลูกค้าถึงชอบเลือก ที่จะใช้บริการของบริษัทข้ามชาติ เรื่องนี้มานิตย์ กิจเจริญศักดิ์กุล ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายบริการที่ปรึกษาทางการเงินของ PwC ให้ความเห็นว่าการปรับโครงสร้างหนี้ นับเป็นเรื่องใหม่สำหรับคนไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อครั้งเกิดวิกฤติการณ์ ทางการเงินอย่างรุนแรงเมื่อ 2-3 ปีที่ผ่านมา

การเลือกใช้บริการที่ปรึกษาจากบริษัทข้ามชาติอย่าง PwC ซึ่งผ่านประสบการณ์ด้านการปรับโครงสร้างหนี้มาแล้วจากทั่วโลกจึงนับเป็นปัจจัยหนึ่ง ที่ลูกค้าจะให้ความสำคัญในการเลือกใช้บริการ

นอกจากนี้การตัดสินใจขึ้นอยู่กับความต้องการของลูกค้ารวมถึงความรุนแรง และความซับซ้อนของปัญหา ที่เกิดขึ้น ซึ่งอาจจำเป็นต้องอาศัยความชำนาญหรือประสบการณ์เฉพาะด้านในการแก้ไขปัญหา ในกรณีดังกล่าวก็ย่อมมีความจำเป็นที่บริษัทที่ปรึกษาจะต้องมีศักยภาพในการระดมทีมงานผู้เชี่ยวชาญ จากเครือข่ายทั่วโลกมาผสมผสานกับทีมงานในไทยให้ได้อย่างรวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ

อรสิริ จรูญวิตต์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการ ฝ่ายบริการที่ปรึกษาทางการเงิน PwC กล่าวเสริมว่า ปัจจัยความสำเร็จอีกประการหนึ่งของการปรับโครงสร้างหนี้ก็คือ ความสามารถของบริษัทที่ปรึกษาในการจัดหาพันธมิตรร่วมทุน หรือช่วยในการระดมทุนในตลาดทุนต่างๆ เพื่อช่วยให้ธุรกิจสามารถก้าวพ้นวิกฤติ และสามารถแข่งขัน ในตลาดโลกยุคไร้พรมแดนได้

"ดังนั้น บริษัทที่ปรึกษา ที่มีเครือข่ายทั่วโลกจึงเป็นอีกปัจจัยหนึ่ง ที่ลูกค้า หลายรายให้ความสำคัญ"

นอกจากนี้หากมองในแง่ของเจ้าหนี้ "เราต่างก็เพิ่งมาเรียนรู้ และมีประสบการณ์ในการปรับโครงสร้างหนี้ในระยะเวลา ที่เท่าเทียมกัน" เธอบอก อีกทั้งอัตราส่วนของหนี้ต่างประเทศก็มีสูง ทำให้ต้องมีการเจรจาปรับโครงสร้างหนี้ กับสถาบันการเงินต่างประเทศจำนวนมากราย ซึ่งจำเป็นที่บริษัทที่ปรึกษา ทางการเงินจะต้องมีประสบการณ์เพียงพอ และมีชื่อเสียงอันเป็นที่ยอมรับใน ระดับสากลด้วย

ที่ผ่านมา PwC เป็นที่ปรึกษา ให้กับบริษัทต่างๆ รวมถึงเจ้าหนี้ และ นักลงทุนในการปรับโครงสร้างหนี้รายใหญ่ในหลายภาคอุตสาหกรรม นับเป็นมูลค่าหนี้รวมกว่า 3.5 แสนล้านบาท ซึ่งหลายรายเป็นการปรับโครงสร้างหนี้ ที่มีความสลับซับซ้อน และได้รับความสนใจจากสาธารณชน

ปัจจุบัน PwC มีบุคลากรประจำในประเทศไทยกว่า 1,200 คน ซึ่งส่วนใหญ่พนักงานเป็นคนไทย ดังนั้น ถึงแม้ว่าจะเป็นบริษัทข้ามชาติแต่การปฏิบัติงานเป็นของคนไทย

"ในตลอดระยะเวลา 2-3 ปีที่ผ่านมา ที่ปรึกษาของเราได้รับการถ่ายทอดความรู้ และประสบการณ์ด้านการปรับโครงสร้างหนี้จากบุคลากรผู้เชี่ยวชาญชาวต่างชาติมาอย่างต่อเนื่อง และสามารถก้าวขึ้นมาเป็นผู้จัดการในกรณีการปรับโครงสร้างหนี้รายใหญ่เป็นจำนวนมากขึ้น" มานิตย์บอก


ความจริงแล้วบริษัทข้ามชาติเหล่านี้ก็ไม่สามารถนำวิธีการของตะวันตกมาใช้ได้เป็นผลสำเร็จในทุกกรณีไป โดยเฉพาะวิธีการเจรจาหาข้อตกลงในแบบตะวันตก ที่มักจะขาด ซึ่งความยืดหยุ่น และการประนีประนอม "บ่อยครั้ง ที่จะนำไปสู่คดีฟ้องร้อง ที่ยืดเยื้อ และเสียค่าใช้จ่ายสูง" เขาบอก

ดังนั้น สิ่งที่บริษัทข้ามชาติจะต้องคิดอยู่เสมอ คือ การผสมผสานข้อดีของทั้งสองวัฒนธรรมเข้าด้วยกันอย่างสมดุล "นั่นหมายถึงการที่เราจะต้องปรับความรู้ และเทคโนโลย" ที่ได้รับการถ่ายทอดจากโลกตะวันตกให้เข้ากับสิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรมไทย อันจะเป็นหนทางสู่การแก้ไขปัญหาให้สำเร็จ และเป็นที่พึงพอใจของทุกฝ่าย"

จากจุดนี้จึงเป็นข้อได้เปรียบของบริษัทข้ามชาติ ซึ่งถนัดด้านผลิตภัณฑ์การเงินที่ให้บริการครอบคลุมมากกว่า และถือเป็นจุดอ่อนของบริษัทที่ปรึกษาท้องถิ่น ที่มีขนาดเล็ก ที่อาจจะยังไม่มีความแข็งแกร่งเพียงพอในเรื่องของเครือข่าย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณี ที่ลูกค้าต้องการนักลงทุนหรือพันธมิตรร่วมทุน ซึ่งบริษัทข้ามชาติ ที่มีเครือข่ายการดำเนินธุรกิจอยู่ทั่วโลกสามารถอำนวยความสะดวกในเรื่องการติดต่อสื่อสารได้อย่างรวดเร็ว

อย่างไรก็ตาม ธุรกิจการปรับโครงสร้างหนี้ยังคงเปิดกว้างสำหรับบริษัทที่ปรึกษาท้องถิ่น โดยเฉพาะในกลุ่มตลาดธุรกิจระดับกลาง และเล็ก (SMEs) ที่มีระดับความรุนแรง และความซับซ้อนของปัญหาไม่มากนัก เช่น มี มูลหนี้ต่ำ และจำนวนเจ้าหนี้น้อยราย เพียง 1-4 ราย อีกทั้งค่าใช้จ่ายในการจ้างบริษัทข้ามชาติก็อาจสูงเกินความจำเป็นอีกด้วย

ที่สำคัญถ้ากล่าวถึงแง่ดีในระยะยาวสำหรับบริษัทระดับท้องถิ่น ที่ให้บริการด้านการปรับโครงสร้างหนี้ และฟื้นฟูกิจการ ผลประโยชน์ ที่จะได้จากการแข่งขันกับบริษัทข้ามชาติคือ การที่จะต้องกระตุ้นตัวเอง เพื่อการเรียนรู้ และพัฒนาตนเองให้เท่าเทียมระดับสากล โดยเฉพาะทางด้านบุคลากร ที่จะต้องมีความรู้ความเข้าใจในธุรกิจดังกล่าวรวมถึงความชำนาญเฉพาะด้านต่างๆ ซึ่งผลพวง ที่ตามมาคือ ศักยภาพในการขยายฐานลูกค้าในอนาคต

แม้ว่าปัจจุบันธุรกิจที่ปรึกษาทางการเงินกำลังแข่งขันกันอย่างรุนแรง แต่ตลาดยังเปิดกว้างสำหรับบริษัทท้องถิ่นเสมอ โดยเฉพาะการแข่งขันในตลาดเกิดใหม่ ทั้งบริษัทข้ามชาติ และบริษัทท้องถิ่นต่างกระตุ้น ซึ่งกัน และกัน และหากต้องการทำให้ได้ดีกว่าคนอื่นก็คงต้องไล่ตามให้ทันกับแนวโน้ม และความต้องการของตลาด

เมื่อตลาดเปิดโอกาสให้บริษัทท้องถิ่นเช่นนี้แล้วก็ขึ้นอยู่กับตนเองแล้วว่าจะมีความกระตือรือร้นมากน้อยเพียงใด



กลับสู่หน้าหลัก

Creative Commons License
ผลงานนี้ ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย



(cc) 2008 ASTVmanager Co., Ltd. Some Rights Reserved.