จีนมองจีน : ข้าวหอมจีนท้าทายไทย


ผู้จัดการรายสัปดาห์(8 เมษายน 2548)



กลับสู่หน้าหลัก

เมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2005 ข้าพเจ้าได้มีโอกาสได้ไปเยี่ยมชมสถาบันวิจัยข้าวแห่งชาติจีน

ดร.เฉิง ซื่อ หัว ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยได้ให้การต้อนรับคณะอย่างอบอุ่นและได้แนะนำความเป็นมาและความสำเร็จของหน่วยงานวิจัยข้าวแห่งชาติจีน มีประเด็นที่น่าสนใจอยู่หลายประเด็น

สถาบันวิจัยข้าวแห่งชาติจีนตั้งอยู่ที่มณฑลเจ้อเจียง ห่างจากตัวเมืองหางโจว 34 กิโลเมตรก่อตั้งเมื่อปี 1981 โดยการสนับสนุนจากรัฐบาลจีน สถาบันฯมีหน้าที่หลักคือ สร้างหลักประการความมั่นคงของพืชธัญหาร ยกระดับโภชนาการให้ดีขึ้น รักษาสิ่งแวดล้อมและแก้ไขปัญหายากจีนของจีน

สถาบันฯนี้จะเน้นวิจัยขึ้นพื้นฐานและประยุกต์ใช้ ที่ผ่านมาได้รับการสนับสนุนจากองค์กรนานาชาติเป็นอย่างดี เช่นได้รับการสนับสนุนจาก ธนาคารโลก UBDP, FAO, the Rockefeller Foundation and IRRI เป็นต้น สถาบันวิจัยเป็นองค์กรที่ไม่หวังผลกำไร มีนโยบายเปิด ยินดีต้อนรับทั้งภาครัฐและภาคเอกชนมีส่วนร่วมในการพัฒนาสถาบันวิจัยฯและพัฒนาข้าวของจีน

ยี่สิบกว่าปีที่ผ่านมา สถาบันวิจัยประสบความสำเร็จอย่างยิ่งในการพัฒนาพันธุ์ข้าวของจีน ตั้งแต่ก่อตั้งสถาบันวิจัยขึ้นมาได้พัฒนา 50 พันธุ์ซึ่งมีผลผลิตสูงและต้านทานโรคได้และมีการเผยแพร่ยังทั่วประเทศจีนแล้ว เซี่ยโยว 9308 มีผลผลิตสูง 12.2 ตัน/ เฮกตาร์ หรือ 1952 กิโลกรัม / ไร่ จงเจี้ยน 2 มีข้าวเม็ดยาว มีคุณภาพที่ดีมาก และมีการเผยแพร่แล้ว ยิ่งได้ประสบความสำเร็จพัฒนาข้าวจีนให้มีกลิ่นหอม พันธุ์เชาไท่ (ล้ำหน้าไทย) มีกลิ่นหอม รสชาติดีกว่าข้าวหอมของไทยด้วย ยังพัฒนาปลูกข้าวเลี้ยงเป็ดด้วย เพิ่มรายได้แก่ชาวนาด้วย

นอกจากนี้ข้าวอินทรีก็มีการวิจัยและมีการปลูกที่จีนด้วย และข้าวเพื่อสุขภาพ เช่นข้าวเพื่อลดความดันโลหิต และรักษาโรคเบาหวานราคาแพงมาก กิโลกรัมอยู่ที่ 20 หยวน ถือว่าแพงมาก

สำหรับกลุ่มเป้าหมายเฉพาะเรื่องการทำวิจัยตัดต่อพันธุกรรม มีการทำวิจัยอยู่ในห้องทดลอง แต่รัฐบาลจีนมีนโนบายห้ามไม่ให้ปลูกและเผยแพร่อย่างเด็ดขาด

หลังจากฟังบรรยายสรุปเสร็จได้ไปชมที่ทำการ ห้องทดลองและห้องเก็บตัวอย่างพันธุ์ข้าว ซึ่งทางการจีนได้จัดแผนกอย่างครบถ้วยและละเอียดมาก พยายามรวบรวมกำลังคน กำลังทรัพย์

ทรัพยากรไว้ที่เดียวกันเพื่อร่วมกันคิดร่วมกันพัฒนา

ทางสถาบันวิจัยข้าวแห่งชาติจีนเคยส่งคนมาเรียนที่เมืองไทยเป็นเวลา 1 ปี และทางสถาบันยินดีที่จะมีการแลกเปลี่ยนทางวิชาการ นักวิจัยกับไทย และยินดีรับนักวิจัยจากประเทศไทยไปร่วมทำวิจัยหรือไปศึกษาดูงานที่สถาบันวิจัยข้าวแห่งชาติจีน

เป็นที่ทราบกันและเป็นที่ภาคภูมิใจว่าข้าวหอมมะลิของไทยมีคุณภาพดีและขายไปยังทั่วโลกแล้ว สำหรับข้าวหอมของไทยขายไปยังตลาดจีนในราวๆปี 1995 โดยผ่านด่านแถวกวางโจว เซินเจิ้นไปยังเมืองอื่น

สำหรับแถวเซี่ยงไฮ้ หางโจวข้าวหอมของไทยยังจำกัดเฉพาะร้านอาหารใหญ่ๆและโรงแรม ชาวบ้านโดยทั่วไปยังไม่ค่อยนิยมบริโภคนัก เพราะราคาแพง ราคาข้าวขาวของจีนชั่งละ 1.4-1.8 หยวน แต่ในขณะเดียวกันข้าวหอมของไทยอยู่ที่ 5 หยวนต่อชั่ง

ราคาข้าวหอมของไทยแพงกว่า 3-4 เท่าของราคาข้าวจีน ตอนนี้คุณภาพข้าวของจีนดีขึ้น เป็นการท้าทายต่อข้าวหอมไทยอย่างมาก ข้าวหอมไทยจะอยู่ได้หรือไม่ขึ้นอยู่กับปัจจัยคุณภาพ ราคา และความนิยมของแต่ละท้องถิ่นที่สำคัญต้องมีการทำประชาสัมพันธ์ให้คนจีนได้รู้จักข้าวไทยให้ดีขึ้น


กลับสู่หน้าหลัก

Creative Commons License
ผลงานนี้ ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย



(cc) 2008 ASTVmanager Co., Ltd. Some Rights Reserved.