เอไอเอสทุ่มเม็ดเงินกว่า2,800 ล้านบาทรุกให้บริการอีกขั้น เปิดใช้บริการC-Care
ดีเดย์เปิดบริการ 7 ก.ย.นี้เพื่อสนองความต้องการลูกค้าที่ใช้บริการให้มีความเหมาะสมกับกลุ่มและบุคคล
และเลือก รับบริการที่หลากหลายตรงต่อความต้องการ
นางอาภัทรา ศฤงคารินกุล ผู้ช่วยกรรมการผู้อำนวยการ ส่วนงานสนับสนุนด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ
บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด หรือเอไอเอส เปิดเผยถึงความคืบหน้าของโครงการ
C-Care ซึ่งเป็น โครงการที่เอไอเอสจัดทำขึ้น โดยใช้เวลาพัฒนารวม 18 เดือน
มีมูลค่าลงการลงทุนกว่า 2,800 ล้านบาท ซึ่งประ กอบด้วย Software, Hardware,
Maintenance และ System Integration ทั้งนี้เพื่อพัฒนาระบบการให้บริการลูกค้าของเอไอเอส
เพื่อให้เข้าสู่ การทำงานแบบมาตรฐานสากล (World Class) ซึ่งมุ่งเน้นการปรับปรุงในด้านขบวนการ
,เทคโนโลยี และความรู้ความสามารถของบุคลากร ซึ่งโครงการแรกนี้จะเปิดให้บริการในวันที่
7 ก.ย.นี้ ส่วนระยะที่ 2 จะเป็นเดือนกุมภาพันธ์ปี 2546 และ กรกฎา-คม 2546
"ในวันที่ 7 ก.ย.นี้ทางบริษัทจะสามารถออกใบแจ้งหนี้ระหว่างรอบได้
รวมถึงการหักโปรโมตชั่นระหว่างวันได้ทันที ซึ่งถ้าองค์กรใดมีปัญหาในเรื่องการชำระเงิน
ก็สามารถผ่อนชำระ หรือกระจายการชำระหนี้ได้ ทำให้องค์ การเกิดความคล่องตัวและมีทางออกมากขึ้น
ซึ่งสามารถเลือกรอบการชำระเงินได้ ตรงตามความต้องการ"
สำหรับด้านขบวนการนั้น เอไอเอส ได้มีการปรับปรุงและน้ำหลักการ Best Practice
ด้านโทรคมนาคมทั่วโลกเข้ามาใช้ เพื่อให้ลูกค้าได้รับความสะดวกและบริการที่รวดเร็วยิ่งขึ้น
ซึ่งเอไอเอสนั้นสามารถวัดผลการทำงานได้ทุกจุด ซึ่งส่งผลให้ สามารถปรับปรุงพัฒนางานด้านขบวนการได้อย่างต่อเนื่อง
ส่วนด้านเทคโนโลยีนั้นมีการ นำแบบอย่างของบริการและโครงสร้าง พื้นฐานที่เป็นมาตรฐานเข้ามาใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพงานบริการด้าน
Billing, CRM, Dealer mangement และ Mediation Device Operation (ในชุมสายโทรศัทพ์เคลื่อนที่)
นอกจากนี้ มีการพัฒนาด้านบุคลากร เป็นการมุ่งเน้นพัฒนาบุคลา-กรให้มีความสามารถตามลักษณะงานอีกด้วย
สำหรับวัตถุประสงค์ของโครง การนี้ เพื่อเน้นให้ลูกค้าได้รับบริการที่เหมาะสมตามรูปแบบของแต่ละบุคคล
หรือแต่ละกลุ่มมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ลูกค้าได้มีโอกาสเลือกรับบริการหรือรายการส่งเสริมการขายที่หลากหลาย
และตรงต่อความต้องการมากขึ้น ซึ่งจะทำให้ลูกค้าได้รับบริการที่สะดวกและรวดเร็วเหนือกว่ามาตรฐานที่กำหนด
นางอาภัทรา กล่าวว่าระบบงาน Billingที่เอไอเอสนำมาใช้นั้นเป็นSoftwareชื่อ
Geneva จากประเทศอังกฤษ ที่มีความสามารถในการทำReal Time Call Pricing และ
Software ดังกล่าวยังมีความยืดหยุ่นในการสร้างรายการส่งเสริมการขายทำ ให้ลูกค้าได้รับ
Prometion Packageที่หลากหลายและเหมาะสมกับลักษณะการใช้งานมากที่สุด ซึ่งสามารถเพิ่มความสะดวกในการทำ
Next Generation Billing ด้าน Non Voice Application ได้อีกด้วย
ส่วนระบบงาน CRM (Custo-mer Relationship Management) , DRM (Dealer Relationship
Ma-nagement), Sales and Marketing ซึ่งเอไอเอสใช้ Software ชื่อ Siebel
จากประเทศสหรัฐฯ เพื่อให้สามารถเข้าใจและเข้าถึงความต้องการ ของลูกค้าได้ชัดเจนยิ่งขึ้น
โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเพิ่มความสามารถในการสร้างความสัพพันธ์ที่ดีกับลูกค้าและคู่ค้า
ระบบMD(Mediation Device) เอไอเอสใช้ Softwareชื่อ Comptel จากประเทศฟินแลนด์
ซึ่งจะเพิ่มความสะดวกในการเก็บข้อมูล CDR (Call Detail Record) จากชุมสายได้มากขึ้น
พร้อมสามารถเพิ่มประสิทธิภาพด้านการขยายการเก็บข้อมูลด้าน Data Servicesเข้าสู่ระบบอีกด้วย
นอกจากนี้ยังมีด้าน SI (System Integrator) ซึ่งเอไอเอสได้นำมาตรฐานด้าน
Telecom Best Practice จากบริษัท Accenture มาแนะ นำและปรับปรุงงานด้านต่างๆ
เพื่อให้สอดคล้องและให้เหมาะสมกับการให้บริการในประเทศไทยมากที่สุด