ในศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาธอลิคนั้นมีคณะต่างๆ เกิดขึ้นมากมาย เพื่อเผยแพร่หลักธรรมคำสั่งสอนของพระผู้เป็นเจ้า
คณะเซนต์คาเบรียลก็เช่นกันได้สถาปนาขึ้นในปี พ.ศ.2248 ที่ประเทศฝรั่งเศส
โดยนักบุญหลุยส์ มารี เดอ มงฟอร์ต (ST.LOUIS MARIE DE MONTFORT) เพื่อดำเนินการจักการศึกษาโดยจุดมุ่งหมายเริ่มแรกให้เยาวชนอ่านออกเขียนได้
และมีแนวทางศาสนาได้ประพฤติตนเป็นคนดี
อนึ่งการถือพรหมจรรย์ในคริสตศาสนาโรมันคาธอลิคนั้นแบ่งเป็น 2 ขั้น ขั้นสูงนั้นยอมรับอุปสมบทเป็นบาทหลวงซึ่งทำหน้าที่ประกอบศาสนกิจโดยตรง
เป็นผู้แทนระหว่างพระผู้เป็นเจ้ากับคริสตังทั้งหลาย ส่วนขั้นต่ำเพียงรับบรรพชาเข้าในสำนักหรือคณะต่างๆปฎิบัติตามที่บ่งไว้ในวัตรปฎิบัติ
ไม่มีศานกิจโดยตรง ดังเช่นคณะเซนต์คาเบรียลซึ่งมีกิจโดยตรงในการให้การศึกษาแก่เยาวชน
คณะเซนต์คาเบรียลเข้ามาในประเทศไทยครั้งแรกเมื่อปี เพื่อดำเนินกิจการโรงเรียนอัสสัมชัญจากบาทหลวงกอลมเบต์
และมีคณะดำเนินงานอยู่ที่โรงเรียนอัสสัมชัญ ยังไม่มีการตั้งเป็นมูลนิธิอย่างชัดเจนแต่ได้ดำเนินการเพื่อการศึกษาแก่เยาชนเรื่อยมา
จนกระทั่งปี 2499 ได้จดทะเบียนเป็นมูลนิธิคณะเซนต์คาเบรียลแห่งประเทศไทยกับกระทรวงมหาดไทย
เมื่อแรกคณะเซนต์คาเบรียลมุ่งให้การศึกษาแก่เยาวชนในระดับต้นๆไม่เกินชั้นมัธยมปลาย
และคณะภราดาเป็นผู้บริหารโรงเรียนและครูผู้สอนด้วย โดยมีครูสามัญไม่มากนัก
"…แต่ละคนไม่มีทรัพย์สมบัติของตนเอง แต่ละคนต้องอ่อนน้อมถ่อมตนฟังบังคับบัญชาของผู้มีตำแหน่งหน้าที่ในคณะบริหาร"ศุลักษณ์
ศิวรักษ์ อัสสัมชนิกคนหนึ่งกล่าวไว้ในงานเขียนชื้นหนึ่งของเขา ถึงการทำงานที่มีระเบียบวินัยของภราดาคณะเซนต์คาเบรียล
ซึ่งเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้การดำเนินงานของคณะเซนต์คาเบรียลเป็นไปด้วยดีมาตลอด"
แต่เมื่อขยายสถาบันการศึกษาในเครืออกไป ทั้งระดับพาณิชยการและรดับอุดมศึกษาซึ่งต้องใช้บุคลากรและเงินทุนมากขึ้น
"สถาบันการศึกษาที่เราเข้าไปดำเนินการส่วนใหญ่จะมีที่ดินหรือโรงเรียนหลูกสร้างอยู่แล้ว
แม้บางแห่งยังไม่มีที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างอยู่แล้ว แม้บางแห่งยังไม่มีที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้าง
เมื่อมีผู้มาขอให้ทางมูลนิธิเข้าไปดำเนินการ ถ้ามูลนิธิฯเห็นควรก็จะเข้าไปดำเนินการ
เราจะเข้าไปจัดการทั้งทางด้านบุคลากรและการเงิน เข้าไปจัดการทุกอย่าง"
อดีตอธิการเจ้าคณะเซนต์คาเบรียลท่านหนึ่ง กล่าวถึงสถาบันการศึกษาในเครือทั้งหมด
ที่อยู่ภายใต้การบริหารของมูลนิธิคณะเซนต์คาเบรียลแห่งประเทศไทย
"อธิการสถาบันการศึกษาในเครือจะมีการผลัดเปลี่ยนกันจะอยู่ในตำแหน่งได้ติดต่อกันไม่เกิน
2 เทอมๆละ 3 ปี จากนั้นจะหมุนเวียนกันทั้ง 14 แห่ง บางที่ก็ผลัดเปลี่ยนคนใหม่มา
ซึ่งก็แล้วแต่คณะกรรมการของทางมูลนิธิ" อดีตอธิการกล่าวเสริม
เมื่อสถาบันการศึกษาต่างๆ อยู่ในเครือภายใต้การบริหารงานของคณะเซนต์คาเบรียลแล้ว
ทางมูลนิธิฯ จะต้องลงทุนพัฒนาสถาบันนั้นๆ และอธิการของแต่ละสถาบันก็เป็นภราดาของคณะเซนต์คาเบรียล
เปรียบไปก็เหมือนเถ้าแก่ที่ลงทุนแล้วเข้าไปบริหารงานเอง
ในโลกธุรกิจบทเรียนการบริหารงานแบบเถ้าแก่มีให้พบเห็นมากมาย คณะเซนต์คาเบรียลคงพอจะเข้าใจเรื่องนี้
จึงได้มีการพัฒนาส่งเสริมความรู้แก่บุคลากรของสถาบันในเครือรวมทั้งคณะภราดาด้วย
"มีการส่งไปศึกษาเพิ่มเติม อาจเรียนทางด้านบริหารการศึกษา เรียนปริญญาโททางบริหารธุรกิจหรือเรียนเศรษฐศาสตร์ก็แล้วแต่ความเหมาะสม
นอกจากนี้ก็ยังมีการจัดสัมมนาทางวิชาการ หรือ ส่งไปดูงานต่างประเทศเสมอๆ"
อธิการโรงเรียนอัสสัมชัญ กรุงเทพ กล่าวกับ "ผู้จัดการ"ถึงการพัฒนาความรู้ความสามารถของภรดาคณะเซนต์คาเบรียล
เพื่อให้ทันโลกทันเหตุการณ์มากยิ่งขึ้น
ดูเหมือนคณะเซนต์คาเบรียลกำลังพยายามจะทำตัวเป็นเถ้าแก่ที่เป็นมืออาชีพในโลกการศึกษา
แต่จะทำได้สักเพียงไรต้องคอยติดตาม