Robert Wood Johnson


นิตยสารผู้จัดการ( พฤษภาคม 2543)



กลับสู่หน้าหลัก

นักธุรกิจส่วนใหญ่ต่างรู้ดีว่าบริษัทของตนมีความรับผิดชอบไม่เพียงแค่ต่อผู้ถือหุ้น และเจ้าของกิจการเท่านั้น แต่ยังต้องรับผิดชอบต่อลูกค้า พนักงาน และชุมชน ซึ่งรวมทั้งชุมชน ที่บริษัทตั้งอยู่ด้วย แต่สิ่งที่รู้กันดี ในปี 2000 นี้ นับเป็นความคิดแบบปฏิวัติทีเดียวเมื่อช่วงต้นทศวรรษ 1900 ด้วยเหตุนี้จึงต้องนับว่า โรเบิร์ต วู้ด จอห์นสัน ที่สอง ซึ่งเป็นหลานของผู้ ก่อตั้งกิจการจอห์นสันแอนด์จอห์นสัน และรับช่วงกิจการต่อจากพ่อของเขา ในตำแหน่งผู้กุมบังเหียนกิจการ เป็น "สุภาพบุรุษใจกบฏ" คนหนึ่ง ดังคำกล่าว อ้างในชื่อรองของหนังสือชีวประวัติเล่มนี้

จอห์นสันตระหนักดีว่า การที่จะต้องเอาใจใส่ลูกค้า และพนักงานก่อน โดยให้ผู้ถือหุ้นอยู่รั้งท้ายนั้น เป็นการ "นำความสำเร็จมาสู่ผลประโยชน์ส่วนตัว" ในการทำธุรกิจ เขาเริ่มบันทึกแนวคิดนี้ลงในเอกสารชื่อ "Try Reality" ในปี 1935 และอธิบายว่า "มันเป็นการนำความสำเร็จมาสู่ผลประโยชน์ส่วนตัวของ อุตสาหกรรมสมัยใหม่ ที่ตระหนักดีว่าบริการที่จะให้กับลูกค้านั้น เป็นสิ่งที่มา เป็นอันดับแรก บริการที่จะให้กับพนักงาน และฝ่ายบริหารเป็นอันดับ ที่สอง และบริการที่จะให้แก่ผู้ถือหุ้นเป็น อันดับสุดท้าย มันเป็นการนำความสำเร็จมาสู่ผลประโยชน์ส่วนตัวของอุตสาหกรรม ที่จะยอมรับ และมีส่วนร่วมในการรับผิดชอบต่อสังคมอย่างเต็มที่" ต่อมาจอห์นสันยังได้ขยายความแนวคิดเหล่านี้เพิ่มเติมในข้อบัญญัติของบริษัท

จอห์นสันยังให้การสนับสนุน และเป็นผู้นำการร่วมมืออย่างกว้างขวาง ระหว่างธุรกิจกับผู้นำศาสนา ซึ่งนำไปสู่การจัดทำเอกสารประกอบการสัมมนา "Human Relations in Modern Bu siness" ในปี 1949 เป้าหมายของเอกสารชุดนี้คือ การสร้างแนวทางปฏิบัติเชิงศีลธรรมสำหรับธุรกิจ

แม้ว่าหนังสือเล่มนี้จะเขียนโดยอดีตรองประธานฝ่ายองค์กรสัมพันธ์ของ จอห์นสันแอนด์จอห์นสัน แต่การเขียนหนังส ือชีวประวัติหนา 700 หน้าก็ไม่ได้เขียนเชิงยกย่องเทิดทูนอย่างที่มีผู้เขียนถึงประธานเจ้าหน้าที่บริหารองค์กรรุ่นหลังๆ บางคน หนังสือเล่มนี้จึงเป็นหนังสือสำหรับการสอบของบริษัทแห่งหนึ่ง ครอบครัวครอบครัวหนึ่ง และของคนคนหนึ่ง ที่ได้ทำคุณงามความดีให้กับสังคมอเมริกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในแง่ความสัมพันธ์ระหว่างพนักงานกับฝ่ายบริหาร ที่ควรค่าแก่การอ่าน



กลับสู่หน้าหลัก

Creative Commons License
ผลงานนี้ ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย



(cc) 2008 ASTVmanager Co., Ltd. Some Rights Reserved.