นับตั้งแต่ปี 2544 ตลาดที่อยู่อาศัยมีการ ฟื้นตัวขึ้นอย่างต่อเนื่อง เครื่องชี้ภาวะธุรกิจที่อยู่อาศัยขานรับไปในทิศทางเดียวกันว่าตลาดโดยภาพรวมมีการขยายตัวค่อนข้างดี
ในด้านยอดขาย บริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์มียอดขายในช่วง
6 เดือนแรกของปี 2545 เพิ่ม ขึ้นโดยเฉลี่ยร้อยละ 49 จากช่วงเดียวกันของ ปี
2544 โดยผู้ประกอบการธุรกิจบ้านจัดสรรต่างมียอดขายช่วงครึ่งปีแรกเพิ่มขึ้นกว่าร้อยละ
50 บางรายเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 150 เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ในด้านผู้ประกอบการธุรกิจรับสร้างบ้าน
และผู้ประกอบการธุรกิจบ้านมือสองต่างก็มียอดขายในช่วงครึ่งปีแรกเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ
30 เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
เพื่อศึกษาทิศทางของตลาดที่อยู่อาศัยในระยะต่อไป ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ได้สำรวจ
แนวโน้มตลาดที่อยู่อาศัยภายในช่วง 2-3 ปีนับจากนี้ โดยการใช้แบบสอบถาม ซึ่งเป็น
การสอบถามความต้องการที่อยู่อาศัย และช่วงเวลาที่คิดจะซื้อหาที่อยู่อาศัย
โดยให้ผู้ตอบแบบสอบถามระบุว่าคิดจะซื้อหาที่อยู่อาศัยภายในปี 2545 ภายในปี
2546 หรือปี 2547 เป็นต้นไป นอกจากนี้ การสำรวจยังสอบถามถึงลักษณะความต้องการที่อยู่อาศัยในแง่มุมต่างๆ
เช่น ความต้องการที่อยู่ อาศัยจำแนกตามประเภท จำแนกตามระดับราคา รูปแบบความต้องการที่อยู่อาศัยของคนในกลุ่มเซกเมนต์ต่างๆ
แหล่งเงินทุนที่นำมาใช้ซื้อหาที่อยู่อาศัย เป็นต้น การสำรวจจัดทำในเขตกรุงเทพมหานครระหว่างวันที่
19-28 กรกฎาคม กลุ่มเป้าหมายคือประชากรในวัยทำงานและมีรายได้จากการทำงาน
โดยผู้ตอบแบบสอบถามที่ ใช้ในการวิเคราะห์มีจำนวน 985 คน ผลการ สำรวจมีประเด็นที่น่าสนใจดังนี้
แนวโน้มตลาดที่อยู่อาศัย ' ความต้องการที่อยู่อาศัยยังมีต่อเนื่อง ในระยะ
2-3 ปีข้างหน้า
ความต้องการที่อยู่อาศัยยังมีอยู่อย่างต่อเนื่อง จากจำนวนผู้ตอบแบบสอบถามทั้งหมด
ผู้ที่คิดจะซื้อหรือสร้างที่อยู่อาศัยภาย ในปี 2545 คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ
20.2 สำหรับผู้ที่คิดจะซื้อหรือสร้างภายในในปี 2546 มีสัดส่วนร้อยละ 21.5
และผู้ที่คิดจะซื้อหรือสร้างในปี 2547 หรือหลังจากนั้นมีสัดส่วนร้อยละ 30.8
เห็นได้ว่าผู้ที่คิดจะซื้อหาที่อยู่อาศัยภายในปีนี้มีสัดส่วนค่อนข้างสูง
หากพิจารณาถึงช่วงเวลาที่เหลืออยู่อีกประมาณ 5 เดือนนับจากวันที่ตอบแบบ สอบถาม
ทั้งนี้ สาเหตุน่าจะมาจากการพยายามซื้อหาให้ทัน ก่อนที่มาตรการลดหย่อนภาษีและค่าธรรมเนียมในการซื้อขายอสังหาริมทรัพย์จะสิ้นสุดลงในวันที่
31 ธันวาคม 2545 และรัฐบาลยังไม่มีความชัดเจนเกี่ยวกับการต่ออายุมาตรการกระตุ้นธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ดังกล่าว
(ซึ่งการลดหย่อนค่าธรรมเนียมจดทะเบียนสิทธิ และนิติกรรมจาก 2% เหลือ 0.01%
ค่าธรรมเนียมการจดจำนองจาก 1% เหลือ 0.01% ตลอดจนภาษีธุรกิจเฉพาะจาก 3.3%
เหลือ 0.11% ช่วยให้ผู้ซื้ออสังหาริมทรัพย์ประหยัดค่าใช้จ่ายได้ประมาณ 5%
ของราคา อสังหาริมทรัพย์ที่ซื้อ ในส่วนของมาตรการที่ ให้นำเงินค่าซื้อบ้านมาหักลดหย่อนภาษีเงินได้
ได้ไม่เกิน 200,000 แสนบาท กรณีซื้อเป็นเงิน สด และไม่เกิน 100,000 บาท กรณีซื้อเป็นเงินผ่อน
ซึ่งจะสิ้นสุดในวันที่ 6 กันยายน 2545 นี้ ดูเหมือนรัฐบาลจะไม่ต่ออายุมาตรการ
จึงคงเหลือเพียงการให้นำค่าใช้จ่าย ดอกเบี้ยเงินกู้เพื่อที่อยู่อาศัยไปหักลดหย่อน
ภาษีเงินได้ไม่เกินปีละ 50,000 บาท ที่ยังคงมีผลต่อไปอยู่)
อย่างไรก็ตาม ภายใต้ความไม่ชัดเจนใน การต่ออายุมาตรการกระตุ้นอสังหาริมทรัพย์
ผลสำรวจชี้ให้เห็นว่า ตลาดที่อยู่อาศัยในปี 2546 และปี 2547 ยังมีแนวโน้มความต้อง
การเข้ามาอย่างต่อเนื่อง แม้ว่าอาจลดลงไปบ้างจากปี 2545 เนื่องจากผู้บริโภคเร่งการซื้อในปีนี้
' กลุ่มเซกเมนต์ที่มีความต้องการที่อยู่อาศัยสูง
การสำรวจพบว่า เพศและอาชีพไม่ได้มี ผลต่อความต้องการซื้อหาที่อยู่อาศัย
ขณะที่ ช่วงอายุ สถานภาพสมรส รายได้ และการเป็นเจ้าของที่อยู่อาศัยเป็นสิ่งที่มีผลต่อระดับความต้องการ
โดยกลุ่มเซกเมนต์ผู้บริโภคที่มีความต้องการซื้อหาที่อยู่อาศัยสูงกว่ากลุ่มอื่นๆ
ได้แก่ คนกลุ่มอายุ 31-50 ปี ผู้ที่สมรสแล้ว ผู้ที่มีรายได้สูงกว่า 20,000
บาทขึ้นไป (ผู้ที่รายได้ต่ำกว่า 10,000 บาท มี จำนวนกว่าครึ่งที่ไม่คิดจะซื้อหรือสร้างที่อยู่อาศัย)
และผู้ที่ยังไม่มีที่อยู่อาศัยเป็นของตน เอง โดยเฉพาะผู้ที่เช่าที่อยู่อาศัยอยู่ในปัจจุบัน
' บ้านเดี่ยวยังเป็นที่ต้องการสูงสุด
รูปแบบที่อยู่อาศัยที่ผู้บริโภคต้องการมากที่สุดยังคงเป็นบ้านเดี่ยว คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ
40.2 ของผู้ที่คิดจะซื้อหาที่อยู่ อาศัยทั้งหมด รองลงมาคือทาวน์เฮาส์ ร้อยละ
33.7 คอนโดมิเนียมมีผู้ต้องการร้อยละ 10.1 และอาคารพาณิชย์ ร้อยละ 15.3 แต่จะเห็นได้ว่าผู้ตอบแบบสอบถามจำนวนไม่น้อยระบุรูปแบบที่อยู่อาศัยที่อยากจะได้
แต่ ระดับรายได้ที่มีอยู่อาจเป็นข้อจำกัดที่ทำให้ไม่สามารถซื้อหาที่อยู่อาศัยประเภทนั้นได้
' ผู้สนใจซื้อเกือบครึ่งอยากได้บ้านใหม่จากโครงการจัดสรร
ในจำนวนผู้ที่คิดจะซื้อหรือสร้างที่อยู่อาศัยทั้งหมด เป็นผู้ที่สนใจซื้อบ้านใหม่จาก
โครงการจัดสรรสูงถึงร้อยละ 49.9 ผู้ที่สนใจ ซื้อบ้านมือสองร้อยละ 30.0 และผู้ที่ต้อง
การปลูกสร้างบ้านเองมีร้อยละ 20.1 ในช่วงที่ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ประสบภาวะหยุดชะงักหลังจากเกิดวิกฤตเศรษฐกิจ
สัดส่วนบ้านที่ผู้อยู่อาศัยปลูกสร้างเองจะสูงกว่าการซื้อบ้านในโครงการจัดสรร
ซึ่งสาเหตุมาจากมีสินค้าที่คุณภาพดีและมีสินค้าในทำเลที่หลากหลายออกสู่ตลาดน้อย
แต่เมื่อตลาดบ้านจัดสรรมีสินค้าคุณภาพดีออกมาให้เลือก มากขึ้น จึงมีการเคลื่อนย้ายความต้องการจากตลาดปลูกสร้างบ้านเองมาสู่ตลาดบ้านจัดสรรมากขึ้น
หากพิจารณาตามกลุ่มเซกเมนต์ของผู้ตอบแบบสอบถาม แบ่งตามกลุ่มอายุ พบว่า
ทุกกลุ่มอายุมีผู้สนใจซื้อบ้านใหม่โครงการจัดสรรมากกว่ารูปแบบอื่นๆ แต่เป็นที่น่าสังเกตว่า
คนกลุ่มอายุ 31-40 ปี และ อายุ 41-50 ปี จะมีสัดส่วนผู้ที่สนใจบ้านมือสองมากกว่ากลุ่มอายุอื่น
โดยมีสัดส่วนความสนใจบ้านมือสองร้อยละ 31.2 และร้อยละ 38.8 ตามลำดับ ขณะที่กลุ่มอายุสูงกว่า
50 ปีมีผู้สนในบ้านมือสองน้อย คือมีเพียงร้อยละ 18.2 ส่วนหนึ่งอาจเป็นเพราะคนสูงอายุยังไม่ค่อยยอมรับบ้านมือสองมากนัก
อีกเหตุ ผลหนึ่งอาจเป็นเพราะการซื้อบ้านสำหรับคน ช่วงอายุนี้มักเป็นการเปลี่ยนระดับบ้านจากที่เคยอยู่เดิม
จึงอยากซื้อบ้านที่คุณภาพดี
ในจำนวนผู้ตอบแบบสอบถามอาชีพต่างๆ ผู้ที่รับราชการมีสัดส่วนความสนใจบ้านมือสองมากกว่าบ้านใหม่และการสร้างบ้านเอง
โดยข้าราชการที่สนใจบ้านมือสองมี สัดส่วนร้อยละ 40.6 แต่คนกลุ่มอาชีพอื่นๆจะสนใจซื้อบ้านใหม่โครงการจัดสรรมากกว่าบ้านมือสองและการสร้างบ้านเอง
หากพิจารณาในด้านรายได้ ผู้ที่มีรายได้ สูงจะให้ความสนใจบ้านใหม่มากกว่า
โดยกลุ่มผู้มีรายได้ตั้งแต่ 40,001 บาทขึ้นไปจะสนใจซื้อบ้านใหม่โครงการจัดสรรมากถึงประมาณร้อยละ
65 และรองลงมาเป็นบ้านปลูกสร้างเองประมาณร้อยละ 25 ขณะที่บ้าน มือสองมีเพียงร้อยละ
10 เทียบกับผู้ที่มีราย ได้ไม่เกิน 40,000 บาท จะมีความต้องการบ้านมือสองมากกว่าร้อยละ
30
เมื่อพิจารณาตามการเป็นเจ้าของที่อยู่อาศัย ผู้ที่เป็นเจ้าของที่อยู่อาศัยอยู่แล้วจะสนใจซื้อบ้านใหม่โครงการจัดสรรมากกว่า
โดยมีสัดส่วนสูงถึงประมาณร้อยละ 60 และต้องการปลูกสร้างบ้านเองร้อยละ 24
ขณะที่คนกลุ่มนี้ที่ต้องการบ้านมือสองมีเพียง ร้อยละ 19 แสดงถึงกลุ่มผู้ที่มีที่อยู่อาศัยแล้ว
มักจะสนใจหาบ้านหลังใหม่ที่มีระดับดีขึ้นกว่าบ้านที่อยู่เดิม แต่สำหรับผู้ที่เช่าอยู่หรือผู้ที่
อาศัยอยู่กับผู้อื่นจะค่อนข้างสนใจบ้านมือสองมากกว่าที่อยู่อาศัยประเภทอื่น
ซึ่งอาจเนื่องจากระดับราคาที่ต่ำกว่า และความยอม รับต่อบ้านที่เคยมีผู้อาศัยมาแล้ว
' ความต้องการส่วนใหญ่ยังเป็นการซื้อหาเพื่ออยู่อาศัยเอง
นับตั้งแต่ช่วงวิกฤตเศรษฐกิจเป็นต้นมา กล่าวได้ว่าความต้องการซื้อที่อยู่อาศัยในตลาดเป็นการซื้อเพื่อการอยู่อาศัยจริง
ซึ่งเป็น ความต้องการที่อยู่อาศัยที่มีความจำเป็นโดย พื้นฐาน (Basic Housing
Needs) เช่น การ ตั้งครัวเรือนใหม่ และเป็นความต้องการที่มีกำลังซื้อ (Purchasing
Power) รวมอยู่ด้วย ปัจจุบัน สถานการณ์ในตลาดที่อยู่อาศัยก็ยังเป็นสภาวะเช่นนี้อยู่
โดยกลุ่มลูกค้าที่ยังไม่มีความจำเป็นเร่งด่วนก็ยังคงรอดูทิศทางการฟื้นตัวที่ชัดเจนของเศรษฐกิจ
และผู้ซื้อเพื่อการลงทุนยังมีจำนวนน้อย
จากการสำรวจพบว่า ในจำนวนผู้ที่คิดจะซื้อหรือสร้างที่อยู่อาศัย ผู้ที่ซื้อหรือสร้างเพื่อการอยู่อาศัยเองมีสัดส่วนถึงร้อยละ
70.1 ซื้อให้ลูกหลานอีกร้อยละ 11.4 ส่วนการซื้อเพื่อลงทุนหรือเก็งกำไรยังมีอยู่เพียงร้อยละ
17.9
เงินทุนในการจัดหาที่อยู่อาศัย ' วงเงินสำหรับซื้อหาที่อยู่อาศัย
วงเงินโดยเฉลี่ย หรือราคาโดยเฉลี่ยของที่อยู่อาศัยที่มีผู้สนใจซื้อหาคือ
1.58 ล้าน บาท หากจำแนกเป็นระดับราคา ที่อยู่อาศัยที่มีผู้ต้องการมากที่สุดคือ
ระดับราคา 600,001-1,000,000 บาท และ 1,00,001-2,000,000 บาท คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ
33.2 และร้อยละ 35.2 ตามลำดับ บ้านที่ราคาต่ำกว่า 300,000 บาท แทบไม่เป็นที่ต้องการของ
ตลาด (ร้อยละ 1.7) ส่วนบ้านราคา 300,001-600,000 บาท มีความต้องการร้อยละ
10.3 สำหรับบ้านราคา 2,000,001-3,000,000 ล้าน บาท มีความต้องการร้อยละ 12.4
และบ้านราคาสูงกว่า 3,000,000 บาท มีความต้อง การคิดเป็นสัดส่วนรวมกันร้อยละ
7.3 ' แหล่งเงินทุนเพื่อซื้อหาที่อยู่อาศัย
แหล่งเงินทุนที่นำมาเพื่อใช้ซื้อหรือสร้าง ที่อยู่อาศัย ส่วนใหญ่มาจากเงินออมและเงิน
กู้จากสถาบันการเงิน โดยร้อยละ 91.9 ของผู้ที่คิดจะซื้อหาที่อยู่อาศัยตอบว่าใช้เงินออม
ของตัวเอง (ตอบได้มากกว่า 1 คำตอบ) ซึ่งผู้ที่จะซื้อหาที่อยู่อาศัยโดยใช้เงินออมของตัวเองทั้งหมด
100% มีประมาณร้อยละ 10 และอัตราของแหล่งเงินทุนที่มาจากเงินออมต่อวงเงินทั้งหมดในการซื้อหาที่อยู่อาศัย
ตาม ที่ผู้ตอบแบบสอบถามระบุ มีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ระดับ 57% (เงินส่วนที่เหลือมาจากแหล่งอื่น)
สำหรับผู้ที่ตอบว่าใช้เงินกู้จากสถาบันการเงิน มีจำนวนร้อยละ 82.4 ของผู้ที่คิดจะซื้อหาที่อยู่อาศัย
ซึ่งอัตราส่วนของเงินกู้สถาบันการเงินต่อวงเงินเพื่อซื้อหาที่อยู่อาศัยทั้งหมด
มีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 48% นอกจากนี้ ผู้ที่ตอบว่า ใช้เงินกู้ยืมจากญาติพี่น้องมีจำนวนร้อยละ
10.9 ของผู้ที่ตอบว่าจะซื้อ และผู้ที่ใช้เงินกู้ยืมจากเพื่อนและอื่นๆมีจำนวนร้อยละ
2.0 ของผู้ที่ตอบว่าจะซื้อ
ผลจากการสำรวจประกอบกับการศึกษาภาวะและแนวโน้มตลาดที่อยู่อาศัย ศูนย์วิจัยกสิกรไทย
ประเมินขนาดตลาดที่อยู่อาศัยในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑล ใน ช่วงปี 2545-2547
ว่าจะมีมูลค่าตลาดไม่ต่ำกว่าประมาณ 60,000-90,000 ล้านบาทต่อปี และจะทำให้เกิดการปล่อยสินเชื่อใหม่เพื่อการซื้อหรือสร้างที่อยู่อาศัย
(เป็น New Purchase ที่ไม่รวมรีไฟแน้นซ์และการต่อเติมซ่อมแซมบ้าน) ไม่ต่ำกว่าประมาณ
30,000-43,000 ล้านบาทต่อปี
บทสรุปและข้อคิดเห็น
การสำรวจความต้องการที่อยู่อาศัยโดย ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ได้แสดงให้เห็นว่าความ
ต้องการที่อยู่อาศัยยังมีอยู่อย่างต่อเนื่อง โดย ในปี 2545 คาดว่าเม็ดเงินที่จะเข้ามากับการซื้อหรือสร้างที่อยู่อาศัยในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑลน่าจะมีประมาณ
71,000-78,000 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 10-20 เมื่อ เทียบกับมูลค่าตลาดที่ประเมินสำหรับปี
2544 ประมาณ 65,000 ล้านบาท สำหรับทิศทางตลาดในปี 2546 และปี 2547 คงขึ้นอยู่กับปัจจัยด้านภาวะเศรษฐกิจ
การเปลี่ยน แปลงราคาที่ดินและราคาวัสดุก่อสร้าง และการต่ออายุมาตรการกระตุ้นธุรกิจอสังหาริม-
ทรัพย์ เป็นตัวแปรสำคัญ ภาวะเศรษฐกิจ
หากภาวะเศรษฐกิจในปี 2546 มีการเติบโตที่ชะลอลงกว่าปีนี้ การซื้อที่อยู่อาศัยอาจชะลอตามไปด้วย
เนื่องจากในช่วงภาวะที่เศรษฐกิจยังไม่ฟื้นตัวอย่างเข้มแข็ง แรงซื้อจะยังคงมาจากความต้องการที่อยู่อาศัยพื้นฐาน
(Basic or Fundamental Housing Needs) ที่เป็นตลาดกลุ่มที่มีกำลังซื้อ มีความจำเป็นต้องซื้อ
และซื้อเพื่อการอยู่อาศัยจริง ซึ่งผู้ซื้อกลุ่มนี้จะเป็นกลุ่มแรกที่จะเข้ามาในตลาดที่อยู่อาศัย
แม้ภาวะเศรษฐกิจจะเป็นเช่นไรก็ตาม และผู้ซื้อกลุ่ม นี้จำนวนไม่น้อยจะซื้อไปแล้วในปี
2545 เพื่อ ให้ได้สิทธิประโยชน์จากมาตรการลดหย่อนภาษีและค่าธรรมเนียมในการซื้อขายอสังหา-
ริมทรัพย์จะสิ้นสุดลงในวันที่ 31 ธันวาคม 2545 อันเป็นผลให้ปริมาณการซื้อในปี
2546 อาจลดลง แต่ในทางตรงกันข้าม หากเงื่อนไข ภาวะเศรษฐกิจปี 2546 มีทิศทางฟื้นตัวดีขึ้น
กว่าปี 2545 อาจส่งผลให้ผู้ซื้อกลุ่มอื่นๆเข้ามาสู่ตลาดมากขึ้น เช่น ผู้ที่มีความมั่นใจต่อความมั่นคงทางรายได้ของตนในอนาคตมาก
ขึ้น จากภาวะเศรษฐกิจที่ฟื้นตัวชัดเจน หรือ ผู้ที่ซื้ออสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุน
ราคา
ราคาที่อยู่อาศัยเป็นปัจจัยสำคัญอีกประการหนึ่งที่จะกำหนดปริมาณการซื้อที่อยู่
อาศัย หากราคาที่อยู่อาศัยเพิ่มขึ้นสูงกว่าการ เพิ่มขึ้นของรายได้ ก็อาจเป็นปัจจัยลบต่อการ
ซื้อที่อยู่อาศัยได้ เนื่องจากกำลังซื้อลดต่ำลงเมื่อเปรียบเทียบกับฐานราคาบ้านที่ต้องการ
แม้อัตราดอกเบี้ยที่ทรงตัวอยู่ในระดับต่ำจะช่วยเพิ่มกำลังซื้อขึ้นมาก็ตาม
ราคาที่อยู่อาศัยใหม่มีโอกาสปรับสูงขึ้นจากปัจจัยต้นทุนหลักๆ 2 ด้าน คือ
ราคาวัสดุก่อสร้างและราคาที่ดิน ราคาวัสดุก่อสร้างบางประเภทมีการปรับขึ้น
และแนวโน้มอาจเพิ่ม ขึ้นอีกหากต้นทุนการผลิต เช่น ราคาน้ำมันเพิ่มสูงขึ้น
และภาวะแข่งขันตัดราคาหมดไป สำหรับราคาที่ดิน ราคาอสังหาริมทรัพย์ในปัจจุบันถือว่าอยู่ในจุดที่เป็นระดับต่ำสุด
และแนวโน้มราคาที่ดินคงจะปรับตัวสูงขึ้น โดยเฉพาะที่ดินในทำเลดีๆ ซึ่งทิศทางราคาประเมินที่ดินใหม่ที่จะประกาศใช้สำหรับปี
2547-2550 มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น 10-30% กลับไปสู่ระดับราคาประเมินในช่วงปี
2539-2542 หลังจากมูลค่าสินทรัพย์ประเภทอสังหาริมทรัพย์ตกต่ำลงไประหว่างช่วงวิกฤตเศรษฐกิจจนถึงปัจจุบัน
ขณะที่การก่อสร้างโครงข่ายระบบคมนาคมขนส่งของภาครัฐ ได้ผลักให้ที่ดินจุดที่มีโครงข่ายตัดผ่านมีราคาพุ่งขึ้น
บางทำเลเพิ่มขึ้นถึง 4 เท่า อย่างไรก็ตาม ปัญหาทรัพย์สินที่ไม่ก่อให้เกิด
รายได้ หรือ NPA ที่ยังคงค้างอยู่อีกจำนวน มาก ก็อาจทำให้ราคาทรัพย์สินประเภทนี้ยังไม่ปรับตัวสูงขึ้นเท่าไรนัก
เพราะผู้ถือพอร์ตทรัพย์สินยังต้องการเร่งระบายทรัพย์สินเหล่านี้ออกไป
มาตรการของภาครัฐ
สำหรับประเด็นการต่ออายุมาตรการกระตุ้นอสังหาริมทรัพย์ที่จะสิ้นสุดลงในวันที่
31 ธันวาคม 2545 นี้ รัฐบาลยังไม่มีการประกาศออกมาอย่างชัดเจน ความไม่ชัดเจนนี้ไม่เป็นผลดีนักต่อตลาดอสังหาริมทรัพย์โดยรวมและผู้ประกอบการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์
ทั้งนี้เนื่องจากตลาดจะเกิดภาวะเร่งการซื้อสินค้าภายในระยะเวลาที่มาตรการยังมีผลบังคับใช้
และตลาดจะกลับหดตัวหลังจากช่วงเวลาดังกล่าว ทำให้อุปสงค์ขาดความต่อ เนื่อง
และแผนการฟื้นธุรกิจภาคอสังหาริม- ทรัพย์อาจมีการสะดุด นอกจากนี้ ผู้ประกอบการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์จำเป็นต้องพิจารณาแนวนโยบายของภาครัฐประกอบในการวางแผนธุรกิจของตน
และที่ สำคัญ กระบวนการในการดำเนินการให้มาตรการมีผลบังคับใช้ต้องใช้เวลาพอสมควร
หากรัฐบาลมีแนวทางต่ออายุมาตรการ แต่การประกาศล่าช้าเกินไปก็อาจเกิดปัญหาตามาดังเช่นในช่วงต้นปีที่ผ่านมา
ซึ่งผู้ประกอบการและผู้ซื้อมีปัญหาติดขัดในการโอนบ้าน เพราะมาตรการยังไม่มีผลบังคับใช้อย่างเป็นทางการ
แม้มีการประกาศต่ออายุไปแล้ว