ผู้บริหารกองทุน SME ยอมรับไม่สามารถบริหารได้ตามเป้าหมาย ที่ทางการกำหนด
แจงเหตุ ส่วนหนึ่งเพราะขั้นตอนอนุมัติราชการ โดยเฉพาะในส่วนกองทุนฯที่ล่าช้า
ถูกธนาคารแย่งลูกค้า ย้อนกองทุนของภาครัฐเอง ยังปล่อยกู้ได้ไม่กี่ราย ส่วนจะให้บริหารต่อหรือไม่
ขึ้นกับกระทรวงอุตสาหกรรมพิจารณา ขณะที่รองนายกรัฐมนตรีและขุนคลัง สมคิด
จาตุศรีพิทักษ์ ที่นำคณะรัฐบาลไทยเยือนญี่ปุ่นขณะนี้ เพื่อ เสาะหาความร่วมมือพัฒนาภาคธุรกิจเอสเอ็มอีของไทย
โดยใช้รูปแบบการพัฒนาของเมืองปลาดิบในอดีต ที่เฟืองจักรเอส เอ็มอียุ่น
มีส่วนสำคัญผลักดันการส่งออกญี่ปุ่นรุ่งเรืองมาทุกยุคทุกสมัย เป็นตัวขับเคลื่อนการส่งออกญี่ปุ่น
และผลักดันเศรษฐกิจญี่ปุ่น จนเติบใหญ่เป็นอันดับ 2 ของโลกปัจจุบัน สะท้อนแนวคิดนายกรัฐมนตรี
พ.ต.ท. ทักษิณ ที่ต้องการก้าวเดินตามแบบญี่ปุ่น เดินมาถูกทางแล้ว คำถามอยู่ที่
ต้องหาผู้รับลูก หรือผู้กระจายกองทุน ร่วมทุนเอสเอ็มอีไทยให้เดินหน้า เข้าสู่เป้าหมาย
สนองนโยบายรัฐ เพื่อพลิก ฟื้นเศรษฐกิจไทยได้หรือไม่ กองทุนเพื่อเอสเอ็มอีไทยล้มเหลว?
นางวิวรรณ ธาราหิรัญโชติ กรรมการผู้จัดการบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวมวรรณ
จำกัด ในฐานะผู้บริหารกองทุนเพื่อร่วมลงทุนใน วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม
(SMEs Venture Capital Fund) เปิดเผยว่า ช่วง 2-3 เดือนที่ผ่านมา การปล่อยกู้ของกองทุนฯ
ให้บริษัท SME มีปัญหา เนื่องจากบริษัทขนาดเล็กหันไปกู้เงินกับธนาคารพาณิชย์มากขึ้น
ทำให้การบริหารกองทุนฯ อาจ จะไม่เป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้ จากเดิมที่เคยมีลูกค้าสนใจจะขอความ
ช่วยเหลือจากกองทุน SME มากกว่า 10 บริษัท แต่ขณะนี้ลูกค้าลดน้อยลง
นอกจากนี้บริษัทไม่จำเป็นต้องแบ่งความเป็นเจ้าของให้กับใคร อย่าง ไรก็ตาม
ขณะนี้มีลูกค้าที่อยู่ระหว่างการพิจารณาประมาณ 4-5 บริษัท ขนาดบริษัทที่จะปล่อยกู้ประมาณ
2-25 ล้านบาท
สาเหตุที่ลูกค้าลดลง เพราะการ แข่งขันกับธนาคารพาณิชย์มากขึ้น เกิดการแย่งลูกค้า
ซึ่งเป็นธรรมดาของ การทำธุรกิจ รวมทั้งขั้นตอน หรือการ ดำเนินงานจะยุ่งยากกว่า
เมื่อพิจารณา กองทุนอื่นๆ ที่ภาครัฐตั้ง ก็สามารถลงทุนได้น้อยมาก ดังนั้น
จะส่งผลกระทบต่อเป้าหมายที่กองทุน SME คาดว่า ภายในสิ้นปีนี้จะต้องปล่อยกู้ให้ได้ถึง
800 ล้านบาท จากกองทุนฯ ที่ได้รับมอบหมายจากภาครัฐบาลให้บริหาร 1,000 ล้านบาท
หากไม่สามารถบริหารได้ตามเป้า หมาย ขึ้นอยู่กับกระทรวงอุตสาหกรรม จะพิจารณาว่า
จะเปลี่ยนผู้บริหารกองทุนฯ หรือหาผู้บริหารกองทุนรายใหม่เพิ่มเข้ามาหรือไม่
ปัจจุบันกองทุนฯ ปล่อยกู้ให้ SME จำนวน 140 ล้านบาท บริษัทจำนวน 14 บริษัท
ซึ่งเหลือเงินที่จะบริหารอีก 660 ล้านบาท
ล่าสุด ปล่อยกู้บริษัทที่ 14 คือบริษัท อรุณสวัสดิ์ ดอท คอม ซึ่งดำเนินธุรกิจผู้พัฒนาซอฟต์แวร์
ใช้คอมพิวเตอร์ขนาดพกพา โดยเงินทุนที่ปล่อยกู้และร่วมทุน 1 ล้านบาท คิดเป็น
50% ของทุนจดทะเบียน กองทุนฯ มีนโยบายที่จะถือหุ้นประมาณ 3-5 ปี บริษัทจะนำเงินไปพัฒนาบริษัท
และเพิ่มบุคลากรของบริษัท
ผลดำเนินงานของบริษัท อรุณสวัสดิ์ ดอทคอม ดำเนินธุรกิจ 2 ปี ครึ่งปีแรก
กำไร 1.6 ล้านบาท ปีที่ 2 กำไรประมาณ 5.4 ล้านบาท และปีนี้คาดว่าจะมีกำไร
7 ล้านบาท
ส่วนเป้าหมายที่บริษัท อรุณสวัสดิ์ต้องการจาก การร่วมกองทุน SME นอกจากการระดมทุนแล้วต้องการจะขอความช่วยเหลือในการให้การสนับสนุน
ภาษีธุรกิจพิเศษ จากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (Board of Investment)
กองทุนเพื่อร่วมลงทุนในวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs Venture Capital
Fund) จุดประสงค์ลงทุน หรือซื้อหุ้นกิจการ หรือวิสาหกิจ (Small and Medium
Enterprises) ที่มีศักยภาพการเติบโตสูง เป็นการลงทุนระยะยาว มุ่งหวังให้กิจการหรือวิสาหกิจนั้น
สามารถเพิ่มประสิทธิภาพ การดำเนินธุรกิจ และเติบโตได้อย่างมั่นคง
กองทุนฯ ตั้งขึ้นตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 10 สิงหาคม 2542 เพื่อสนับสนุนวิสาหกิจขนาดกลาง
และขนาดย่อม วัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนด้านการเงินแก่ SMEs ในรูปแบบการร่วมลงทุน
(Equity Participation) โดยเป็นแหล่งเงินทุนระยะยาว
เสริมสร้างการบริหารจัดการที่ดีภายในองค์กร (Good Corporate Governance)
เช่น ระบบการเงิน ระบบการบริหาร สร้างรากฐานการพัฒนาเศรษฐกิจไทย โดยสนับสนุน
SMEs ภาคเศรษฐกิจที่สำคัญ และมีศักยภาพสูงเชิงพาณิชย์
ช่วยเสริมสร้างพัฒนาการของตลาดทุน (Capital Market) ซึ่งจะมีส่วนช่วยพัฒนาระบบการเงินไทยให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น
ประเภทกองทุน เป็นกองทุนรวมตราสารแห่งทุนประเภทไม่รับซื้อคืนหน่วยลงทุน
หรือกองทุนปิด อายุโครงการ 10 ปี จำนวนเงินทุนโครงการ 1,200 ล้านบาท เป็นเงินลงทุนจากรัฐบาล
1,000 ล้านบาท ผู้ดูแลผลประโยชน์ ธนาคารซิตี้แบงก์ เอ็น เอ จากแดนมะกัน สาขากรุงเทพมหานคร
ปี 44 กองทุนฯ ลงทุนต่ำเป้า 300 ล้านบาท
ต้นปี 2545 บริษัทเปิดเผยแผนงานการลงทุนอย่างชัดเจน ที่จะร่วมลงทุนธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมภายในปีนี้
ประมาณ 700 ล้านบาท โดยปี 2544 บริษัทร่วมลงทุนแล้วจำนวน 10 บริษัท คิดเป็น
มูลค่าลงทุนประมาณ 100 ล้านบาท ซึ่งเป็นการร่วมลงทุนที่ต่ำกว่าเป้าหมายที่กำหนดไว้
ประมาณ 300 ล้านบาท หรือคิดเป็น 66% ของมูลค่าการลงทุน
จนถึงปัจจุบัน กองทุนฯ ร่วมลงทุนแล้ว 14 บริษัท ร่วมมูลค่าลงทุนเพียง 143.54
ล้านบาท เบื้องต้น สาเหตุที่กองทุนฯ ไม่สามารถร่วมทุน ได้ตามเป้าหมายที่วางไว้
เนื่องจากขั้นตอนการทำ ธุรกรรมด้านกฎหมายล่าช้า เพราะเป็นช่วงเริ่มต้น แต่เชื่อมั่นว่าปี
2546 จะดีขึ้น โดยกองทุนฯ พุ่งเป้าร่วมลงทุนที่ธุรกิจท่องเที่ยว โดยนางวิวรรณลั่นวาจาไว้ก่อนหน้านี้ว่า
จะพยายามให้ได้ตามเป้าหมายที่วางไว้
ส่วนหนึ่งบริษัทวางแผนว่า บริษัทที่ร่วมลงทุนนั้น จะพยายามให้คำปรึกษาในด้านการบริหารจัดการ
เพื่อดันบริษัทที่มีความพร้อม จดทะเบียนในตลาด หลักทรัพย์ ขณะนี้มีบริษัท
อิเมจิแมกซ์ ที่ดำเนินธุรกิจภาพยนตร์ และกองทุนฯ ร่วมทุนตั้งแต่ต้นปี 2545
พอจะมีความพร้อม อาจจะสามารถจดทะเบียน ได้ปี 2546
บริษัทที่กองทุนฯ ร่วมลงทุนส่วนใหญ่ เป็นลูกค้าที่ธนาคารพาณิชย์ต่างๆ ส่งให้
เพราะมีความขัดแย้งทางผลประโยชน์ที่ธนาคารนั้นๆ ไม่สามารถลงทุน หรือให้คำปรึกษาได้
แต่ปัจจุบันแนวโน้มการดำเนินงานลักษณะนี้เริ่มเปลี่ยนไป
สาเหตุสำคัญ จากอัตราดอกเบี้ยธนาคารที่ลดลง ทำให้บริษัทเอสเอ็มอีไม่สนใจต้องการให้กองทุนฯ
นี้ มีส่วนร่วมในการลงทุนอีก ลักษณะที่เกิดขึ้น กลายเป็นจุดบอดของการสนองตอบนโยบายภาครัฐ
เพราะกองทุนฯ ดังกล่าว ตั้งขึ้นโดยนโยบายรัฐบาล ที่ต้องการส่งเสริมธุรกิจเอสเอ็มอี
แต่มาบัดนี้อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ในระบบ กลับเป็นตัวทำลายกลไกที่วางไว้
การสนับสนุนธุรกิจเอสเอ็มอี โดยพาะการส่งออก ถือเป็นนโยบายหลักที่ภาครัฐ
ภายใต้การนำของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ให้ความสำคัญมาโดยตลอด
แม้ตัวเลขการส่งออกครึ่งปีแรก ไม่สูงเท่าที่ควรอย่างที่คาดหวังไว้ แต่ก็ไม่ต่ำเกินไป
ประกอบกับการเยือนญี่ปุ่นอย่างเป็นทางการของรัฐบาลช่วงนี้ นำโดยรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
นายสมคิด จาตุ-ศรีพิทักษ์ สะท้อนให้เห้นว่า ความรุ่งเรืองของเศรษฐกิจญี่ปุ่นในอดีต
ที่ทะยานขึ้นอย่างรวดเร็ว อาศัยภาคการส่งออกเป็นตัวกอบโกยเงินตราเข้าสู่ประเทศ
ซึ่งกว่า 50% มาจากภาคธุรกิจเอสเอ็มอี ดังนั้น จึงเป็นการยืนยันนโยบายภาครัฐได้อย่างดีว่า
มาถูกทางแล้ว
ตลาดหุ้นไทยยังมีเสน่ห์ แต่ดัชนีชน 500 จุดปีหน้า
นางวิวรรณกล่าวว่านโยบายการบริหารบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวมวรรณ
ยังมองว่าตลาดหุ้นน่าสนใจ และความเสี่ยงน้อยลงแล้วเมื่อเทียบกับช่วงก่อน
โดยเฉพาะช่วงเศรษฐกิจดิ่งต่ำสุด 5 ปีที่แล้ว เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจไทยโดยรวม
มีทิศทางที่ดีขึ้น
ผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียนดีขึ้นอย่างชัดเจน และสัดส่วนราคาหุ้นต่อกำไร
(P/E ratio) ของตลาดหุ้นไทยอยู่ในระดับต่ำ รวมทั้งจะเห็นว่า นักลงทุนต่างชาติยังทยอยซื้อต่อเนื่อง
ซึ่งมั่นใจว่าดัชนีตลาดหุ้นไทยภายใน 12 เดือนข้างหน้า คาดจะสามารถปรับตัวขึ้นยืน
500 จุดได้ แต่คงไม่ใช่ปีนี้แน่นอน 11 ก.ย. บอมบ์มะกันทำให้ทุกฝ่ายระวัง
ส่วนการครบรอบขวบปีการเกิดวิกฤตสหรัฐอเมริกาถูกก่อวินาศกรรมเมื่อวันที่
11 กันยายน 2544 จะมีอะไรเกิดขึ้นหรือไม่ เป็นเรื่องที่ไม่สามารถควบคุม ได้
แต่เชื่อว่าทุกคนจะต้องระมัดระวัง ทั้งการลงทุนและการดำเนินธุรกิจ
สำหรับผลการดำเนินงานของกองทุนวรรณ ณ วันที่ 23 ส.ค. กองทุนมีสินทรัพย์รวม
6.2 หมื่นล้านบาท คาดว่าสิ้นปีนี้ จะมีสินทรัพย์รวม 6.8 หมื่นล้านบาท การบริหารงาน
1 ปีย้อนหลัง อัตราผลตอบแทนของกองทุนตราสารหนี้ 6.51% กองทุนหุ้นทุน 19.54%
ขณะที่ดัชนีตลาดหุ้นไทยให้ผลตอบแทนประมาณ 10.49%