สสว.เดินหน้าจัดทำสมุดปกขาว"SMEs" สำรวจข้อมูลพื้นฐานปี44เตรียมเสนอครม.


ผู้จัดการรายวัน(27 สิงหาคม 2545)



กลับสู่หน้าหลัก

สสว.จับมือ TDRI สำรวจข้อมูลผู้ประกอบการ SMEs ทั่วประเทศ หวังจัดทำสมุดปกขาว SMEs เสนอครม.พบภาคธุรกิจที่ลดลงคืออุตสาหกรรมอาหาร เครื่องดื่ม ขณะที่ธุรกิจที่มีการขยายตัวคือเครื่อง แต่งกาย รองเท้า ด้านค้าปลีกดั้งเดิมรวมถึงโชห่วยลดลงจากปี 43 ถึง 9.8% โดยปัญหาที่ผู้ประกอบการประสบเป็นเรื่องการเงินที่มาจาก ตัวผู้ประกอบการเองเป็นส่วนมาก

สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลาง และขนาดย่อม (สสว.) ร่วมสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) จัดทำสมุดปกขาว SMEs เพื่อรายงานสถานการณ์ SMEs ของปี 2544 ต่อคณะรัฐมนตรีและเผยแพร่รายงานต่อสาธารณชน โดย มุ่งประเด็นหลัก 3 เรื่องคือ 1. วิเคราะห์สถานภาพ SMEs ในภาคการผลิต การบริการ และการค้า 2. วิเคราะห์การส่งเสริม SMEs โดยรวมถึงการจ้างงาน การตลาด การเงิน เทคโนโลยีและ 3. นวัตกรรม การบริหารจัดการ

ดร.สราวุธ ไพฑูรย์พงษ์ หนึ่งในคณะทำงานกล่าวถึงสถาน ภาพของผู้ประกอบการ SMEs ในปัจจุบันพบว่าในระหว่างปี 2537-42 ภาคการผลิตมีการ ผลิตขยายตัว 1.2% ภาคการ ค้าขยายตัว 4% ส่วนภาคบริหารขยายตัว 3.1% เฉลี่ยการขยายตัวของธุรกิจที่อยู่ในระดับ SMEs ระหว่างปี 2537-42 ประมาณ 3.3%

จากศึกษาลงลึกพบว่า ภาคธุรกิจที่ลดสัดส่วนลงคือการผลิตอาหาร เครื่องดื่ม ไม้และเฟอร์นิเจอร์ ส่วนธุรกิจที่มีการขยายตัวเพิ่มขึ้นคือผลิต ภัณฑ์ยาสูบ เครื่องแต่งกาย เครื่องหนัง รองเท้า ยาง พลาสติก เฟอร์นิเจอร์ที่ไม่ใช่จากไม้ ในขณะที่ภาคการผลิตที่คงตัว คือ อุตสาหกรรมสิ่งทอ

ในส่วนภาพรวมธุรกิจการค้าจากการสำรวจพบว่าการค้าปลีกดั้งเดิมประเภทของชำ/โชห่วยในปี 2544 ลดลงจากปี 2543 ประมาณ 9.8% ส่วนร้านค้า ปลีกสมัยใหม่ขยายตัวอย่างรวด เร็ว ส่วนร้านค้าสะดวกซื้ออย่าง 7-eleve ร้านค้าตามปั๊มน้ำมันขยายตัวเพิ่มขึ้น 8.1%

จากการสำรวจผู้ประกอบการในภาคการบริการพบว่า ในปี 2540 ธุรกิจก่อสร้างและอสังหาริมทรัพย์เป็นช่วงที่ตกต่ำที่สุด และมาฟื้นตัวในปี 2543 โดยมีการขยายตัวเพิ่มขึ้น 17.1 % ต่อปี ขณะที่ธุรกิจท่องเที่ยวเดินทางซึ่งรวมถึงภัตตาคาร ร้านอาหาร พักแรม นำเที่ยวในปี 2541 ธุรกิจเริ่มฟื้นตัวตั้งแต่ปี 2541 โดย ธุรกิจมีมูลค่าประมาณ 275,000 ล้านบาท

โดยปัญหาที่ผู้ประกอบการ SMEs ประสบเป็นปัญหาทางด้านการเงินเป็นส่วนมาก เช่นเป็นกิจการขนาดเล็กมีทรัพย์ สินถาวรน้อยทำให้ขาดหลัก ประกันเงินก็ มีการทำระบบบัญชีที่ไม่เป็นระบบ ไม่มีมาตร ฐานขาดความชัดเจน ไม่โปร่งใส ไม่มีแผนการดำเนินธุรกิจทำให้ขาดความน่าเชื่อถือ ไม่มีระบบการบริหารจัดการที่ดี ทั้งตัวผู้ประกอบการเองก็ไม่มีข้อมูลแหล่งสินเชื่อที่เป็นทางเลือกและไม่มีความสามารถในการะดมทุนจากตลาดทุน

โดยทางออกของผู้ประกอบการที่ทำกันส่วนมากคือก็ยืมกันเองโดยใช้เครดิตทาง การค้า เล่นแชร์ ก็ยื่มจากแหล่งเงินก็ที่ไม่เป็นทางการ และมีอยู่บ้างที่ปรับปรุงตนเองให้อยู่ในเงื่อนไขที่จะขอก็ได้



กลับสู่หน้าหลัก

Creative Commons License
ผลงานนี้ ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย



(cc) 2008 ASTVmanager Co., Ltd. Some Rights Reserved.