The Greenspan Effect


นิตยสารผู้จัดการ( พฤษภาคม 2543)



กลับสู่หน้าหลัก

ธนาคารกลางแห่งสหรัฐอเมริกา (เฟด) มีบทบาทสำคัญในเหตุการณ์ทาง เศรษฐกิจนับตั้งแต่เริ่มก่อตั้งในปี 1931 แต่หน่วยงานนี้ยังไม่เคยได้ชื่นชมอำนาจของหน่วยงาน ที่มีครอบคลุมตลาดการเงินทั่วโลก

อะไรคือ เหตุผล? อลัน กรีนสแปน ประธานเฟด

กรีนสแปนเริ่มได้รับความสนใจเมื่อเขาสามารถยุติความล่มสลายของตลาดการเงินโลก ในปี 1987 ซึ่งนั่นมีส่วนผลักดันให้เศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกาเจริญเติบโตอย่างต่อเนื่องได้เป็นระยะเวลานานที่สุด

คำปราศรัยของกรีนสแปนเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม ปี 1996 ในงานเลี้ยงอาหารค่ำแห่งหนึ่ง ณ กรุงวอชิงตัน ดี.ซี. (ช่วงนั้น ดัชนีหุ้นวอลล์สตรีทพุ่งทะยาน) เผยให้เห็นถึงอำนาจอันยิ่งใหญ่ของหน่วยงานกลางแห่งนี้ เมื่อเขาวิจารณ์เกี่ยวกับตลาดหุ้น ที่พุ่งติดจรวดว่า

"เราจะรู้ได้อย่างไรว่าเมื่อไหร่มูลค่าของหุ้น ที่เติบโตรวดเร็วเช่นนี้ทำให้มูลค่าทรัพย์สิน ที่แท้จริงผิดเพี้ยนไปจากความเป็นจริง"

คำพูดในค่ำคืนนั้น วกวนเสียจนหลายคนที่ฟังอยู่ไม่เข้าใจว่า กรีนสแปน กำลังเปรยเป็นเชิงสงสัยว่านักลงทุนในตลาดหุ้นขณะนั้น กำลัง "มีความคาดหวัง ที่เกินความเป็นจริง" ซึ่งคำพูด ที่ชวนให้ปวดหัวดังกล่าวนั้น ก็ได้รับการยอมรับเชิงความสามารถของเขาจากหลายคนอยู่ดี แต่ยังมีคนไม่เข้าใจ และมีข้อโต้แย้งโดยเฉพาะนักเศรษฐศาสตร์ คือ วิธีการลึกลับซ่อนเร้นของกรีนสแปน ที่ไม่เคยบอกว่าเฟดใช้สถิติไหนเป็น ตัวอ้างอิงในการติดตามสถานการณ์เศรษฐกิจ

ข้อเสียของกรีนสแปนไม่ใช่ความสามารถของขบวนการทางด้านความคิด แต่เป็นการใช้ภาษา ที่กำกวม ซึ่งคำพูดของเขาสามารถทำให้ตลาดการเงินทั่วโลกปั่นป่วนได้ ขณะที่บรรดานักเศรษฐศาสตร์พยายามเหลือเกิน ที่จะทำความเข้าใจกับคำพูดของกรีนสแปน

กระนั้น ก็ตามเมื่อกรีนสแปนพูด ตลาดการเงินทั่วโลกต้องหยุดฟัง

คำวิจารณ์ของกรีนสแปนในงานเลี้ยงดังกล่าวส่งผลให้ตลาดหุ้นทั่วโลก ดำดิ่งลงทันทีถึง 5% เช้าวันต่อมาข่าวจากคำเตือนของเขาได้แพร่สะพัดถึงนักลงทุนในนิวยอร์ก ส่งผลให้หุ้นดาวโจนส์ทรุดฮวบทันที 2% หรือลดลงกว่า 140 จุด เพราะตลาดคาดการณ์ว่ากรีนสแปน จะประกาศขึ้นอัตราดอกเบี้ย เพื่อควบคุมความร้อนแรงของตลาดหุ้น แต่วอลล์สตรีทกลับตื่นตูมไปเสียเองเมื่ออัตราดอกเบี้ยไม่ได้ขยับเขยื้อนแม้แต่น้อย

นี่คือ สิ่งที่นักลงทุนประจักษ์ชัดในบทบาทของกรีนสแปน และผลกระทบ ที่เกิดขึ้นจากคำวิจารณ์เหล่านั้น ซึ่งเขาได้ชื่อว่าเป็น "บุรุษผู้ทรงอำนาจอันดับ สอง" รองจากประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา หนังสือ "The Greenspan Effect" เขียนโดย Dr.David B. Sicilia และ Jeffrey L. Cruikshank ได้นำคำวิจารณ์ต่างๆ ของกรีนสแปนนับตั้งแต่ ปี 1987 จนถึงปัจจุบันมารวบรวม และวิเคราะห์พร้อมทั้งดึงเหตุการณ์การเงินทั่วโลกมาบรรจุไว้อย่างครบครัน

ไม่ว่าจะเป็นความคิดเห็นของ กรีนสแปน บทพิสูจน์คำวิจารณ์ของ กรีนสแปน ที่ส่งผลกระทบต่อตลาดโลก ความสำคัญของแนวคิด และจุดยืนของ กรีนสแปนในช่วงเวลา ที่กรีนสแปนยังดำรงตำแหน่งนี้อยู่ว่ามีคำแถลงเรื่องใด บ้าง ที่คาดว่าจะได้รับ คำแถลงนี้จะมีความหมายอะไรบ้าง

มุมมองของกรีนสแปนต่อการขาดแคลนแรงงาน และผลกระทบ ที่มีต่อค่า เงิน ที่ผันผวน ความคิดของกรีนสแปนต่อข้อกำหนดของรัฐบาลในเรื่อง derivatives market ทำไมการลงทุนของต่างชาติจึงเป็นสิ่งดี และจุดใด ที่จะเป็นข้อบ่งชี้ว่าการลงทุนนั้น เกินพอดี หรือคุณค่า และอันตรายจากการแพร่หลายของเทคโนโลยีเครือข่ายอินเทอร์เน็ต

เรื่องราวของกรีนสแปนในหนังสือล่มนี้ได้กล่าวถึงชีวิตในการทำงาน และ การพัฒนาแนวคิดในการวิเคราะห์ ซึ่งได้สร้างความมีชื่อเสียงของเขา ณ ธนาคารกลางสหรัฐอเมริกา ซึ่งการทำงานของกรีนสแปนเป็นบทพิสูจน์ว่าเขาไม่เคยยอมอะไรง่ายๆ แม้แต่ภาวะสับสนทางการเมืองหรือเรื่องส่วนตัว

จากการมุ่งประเด็นไป ที่คำแถลงของกรีนสแปนในฐานะประธานธนาคารกลางฯ หนังสือเล่มนี้จะนำเสนอความคิด ที่กระชับ แม่นยำ และได้รับการกลั่นกรองของกรีนสแปน ที่มีต่อประเด็นทางเศรษฐกิจ ที่สำคัญ

กรีนสแปนเข้ารับตำแหน่งประธานเฟดในปี 1987 ในสมัยประธานาธิบดีโรนัลด์ เรแกน หลังจากเข้ารับตำแหน่งได้ไม่กี่เดือนตลาดหุ้นดิ่งลงครั้งมโหฬาร เขาก็ได้วางแผนที่จะอัดฉีดเม็ดเงินก้อนโตให้กับระบบธนาคาร ที่จะป้องกันไม่ให้ธนาคารล้ม อีกทั้งยังเป็นเกราะคุ้มกันไม่ให้วิกฤติตลาดหุ้น ส่งผลกระเทือนต่อระบบเศรษฐกิจโดยรวม

อาวุธสำคัญขอบกรีนสแปน คือ อัตราดอกเบี้ยมาตรฐาน ซึ่งใช้ได้อย่างสมบูรณ์ตลอดช่วงทศวรรษ ที่ 80 ที่การขยายตัวทางเศรษฐกิจของสหรัฐฯ เติบโต ขึ้นอย่างต่อเนื่อง และอัตราการว่างงานต่ำกว่าระดับ 5% ขณะที่อัตราเงินเฟ้อลดลงเกือบเท่าตัวมาอยู่ ที่ระดับ 2.2% ซึ่งการต่อสู้กับเงินเฟ้อถือเป็นหน้าที่ ที่มีประโยชน์สูงสุดขอ งเฟดในสายตากรีนสแปน

อัตราดอกเบี้ยมาตรฐานเป็นอัตราดอกเบี้ยในการกู้ยืมเงินระหว่าง นาคาร ซึ่งเฟดสามารถเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยนี้ผ่านการซื้อขายพันธบัตรรัฐบาลระยะสั้น ในที่สุดก็จะส่งผลต่อเนื่องไปยังอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ประเภทต่างๆ

หมัดเด็ดของกรีนสแปนนี้ทำให้นักเศรษฐศาสตร์ทั่วโลกชื่นชมในตัวเขาอย่างมากในแง่นโยบายทางการเงิน ที่เปิดทางให้ "กลไกตลาด" ทำงานอย่างเต็มที่ ส่งผลให้เศรษฐกิจสหรัฐฯ แข็งแกร่งจากผลของการเปิดตลาดการเงิน เสรี และอัตราภาษี ที่ลดต่ำลง

แนวคิดของกรีนสแปน ที่โดนใจคนสหรัฐฯ และเขาก็มีความเชื่อมั่นเห็นจะไม่พ้นเรื่อง "ระบบทุนนิยม" ที่มีการแทรกแซงน้อยที่สุด เพราะไม่เพียงแต่จะเป็นระบบ ที่ทรงประสิทธิภาพแล้วยังเป็นระบบ ที่มี "คุณธรรม" อีกด้วย

การนำเสนอของผู้เขียน The Greenspan Effect ประเด็นข้อสรุปวิเคราะห์คำกล่าว และผลกระทบ ที่มีต่อตลาดหุ้นวอลล์สตรีท และตลาดเงินอื่นทั่วโลก หนังสือเล่มนี้จึงเป็นเหมือนเครื่องมือให้กับนักลงทุน และนักธุรกิจทั้งหลาย ที่จะช่วยให้เข้าใจว่าคำกล่าวของบุรุษหมายเลขสองของสหรัฐฯใด มีผลกระทบหรือไม่มีผลกระทบ และสามารถแยกแยะระหว่างสิ่งที่ชวนหลงใหลกับสิ่งที่เป็นสัญญาณเตือนภัย ซึ่งผู้อ่านจะได้ทำความเข้าใจ "ศาสตร์ของกรีนสแปน" ที่จะช่วยให้เข้าใจคำกล่าวของเขาในอนาคต และผลกระทบ ที่มีต่อตลาดการเงินของโลก

จากนโยบายการเปิดทางให้กลไกตลาดทำงานอย่างเต็มที่ บางครั้งผู้กุมอำนาจ ในเรื่องนี้ไม่ว่าจะเป็นผู้ว่าการธนาคารกลางหรือกระทรวงการคลังมัก มีโอกาสตัดสินใจ "ผิดพลาด" ซึ่งจะทำให้สถานการณ์ย่ำแย่ลง แต่สำหรับประธานเฟดคนนี้แล้วไม่เคยมีประโยคนี้ให้กวนใจเลย

ขอแสดงความยินดีกับประเทศสหรัฐอเมริกา ที่ได้ "อลัน กรีนสแปน" เป็นประธานธนาคารกลาง



กลับสู่หน้าหลัก

Creative Commons License
ผลงานนี้ ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย



(cc) 2008 ASTVmanager Co., Ltd. Some Rights Reserved.