World of Risk : Next Generation Strategy for a Volatile Era


นิตยสารผู้จัดการ( พฤษภาคม 2543)



กลับสู่หน้าหลัก

หนังสือ "โลกแห่งความเสี่ยง" ยังมีชื่อสมทบว่า Next Generation Strategy for a Volatile Era ผู้เขียน เป็นผู้อำนวยการใหญ่ของบริษัท Brain & Company ใน Asia มี ที่ตั้ง ที่สิงคโปร์

ประวัติทำงาน ของเดเนียลเป็นที่ปรึกษาทางยุทธศาสตร์บริษัทการค้า และการลงทุนกลุ่มวาณิชธนกิจ เคยผ่านงานระดับโลกมาร่วม 50 ประเทศ มีส่วนออกแบบ และจัดการทางกลยุทธ์ธุรกิจ เช่น การรวมบริษัท และการเข้าเทกโอเวอร์ มีฝีมือ ที่ผนวกรวมกิจการต่างๆ มาประมาณ 50 บิลเลียนเหรียญสหรัฐ

จบการศึกษาจากสถาบันฟิลิปส์ เอกซ์เตอร์, แอมเฮิร์ท คอลเลจ, มหาวิทยาลัยซอร์บอร์น และ The Institut d" Etudes Politiques de Paris, มหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด และ Harvard Law School มีปริญญาเอกพ่วงท้าย

World of Risk เป็นหนังสือเล่มแรก แบ่งเป็น 2 ภาค ภาคแรกก็ว่าด้วยรูปแบบใหม่สำหรับยุทธศาสตร์แบบ global ซึ่งบรรจุการมองปัจจัยเสี่ยง จากการมอง ที่ตัวระบบ เพื่อดูปัจจัยท้าทายของยุทธศาสตร์โลก และมีการพูดถึงยุทธศาสตร์ในยุคต่อไปในลักษณะ how to ภาค ที่สอง ก็นำต้นแบบ ที่ว่าไว้ในภาคแรกสู่การปฏิบัติ โดยเนมนปัญหาเก่ากับบริบททางความคิดใ หม่ และยุทธศาสตร์โลกอนาคตต่อปัจจัยเสี่ยงในโลก

ประสบการณ์ของผู้เขียนแม้จะผ่านมามาก และอยู่ในภาคปฏิบัติเข้าร่วมสัมมนาชั้นนำทางเศรษฐกิจ และธุรกิจ แต่เขาก็ได้รับอิทธิพลมากจากนักเขียนดังๆ ไม่ว่า ปีเตอร์ ครุกเกอร์, แซมมวล ฮันติงตัน, พอล เคนเนดี้, ฮามิช แมค เครย์, เคนนิจิ โอเมะ เป็นต้น

เขาชี้ในภาพรวม ( ซึ่งสำคัญมากก่อนเข้าสู่วิธีเข้าไปวิเคราะห์ระบบ) โดยเห็นว่าโลกผันผวน มีความเสี่ยงเต็มไปหมด การแก้ปัญหาต้องเพิ่มประสิทธิภาพมากกว่า ที่ผ่านมา ปัญหาเก่าๆ และปัจจัยเสี่ยงเดิมดำรงอยู่ ซึ่งมีระบบยุทธศาสตร์, สถาบันนิยม, มาตรฐาน และทัศนคติแบบเดิมครเอมอยู่กับกลไก แก้ปัญหา และมาตรคุมเข้มในระดั บชาติหรือระหว่างประเทศ กลไกเก่าเหล่านี้ ล้มเหลว ที่จะขับเคลื่อนประสิทธิภาพ ที่แก้ไขพื้นที่ปัญหา เช่น อาชญากรรม ภัยจากโรคร้าย, การก่อการร้าย, ความเสื่อมต่อสภาพแวดล้อมธรรมชาติ, ปัญหาความไม่เท่าเทียมกันทางเศรษฐกิจ, การปอกเปลือกวัฒนธรรมดั้งเดิม และปัญหาโดยตรงด้านสุขภาพชีวิต

ผมวิเคราะห์ว่า วิธีมองไม่ใช่ใหม่ ประการแรกชี้ปัญหาสมัยใหม่แล้วจัด ระบบดูว่าตะกอนปัญหาเก่ายังอยู่หรือเปล่ามากน้อยกว่าเดิมหรือไม่ หลังจากนั้น จึงชี้ว่า "การผ่านสมัย" เกิดปัจจัยอะไรขึ้นบ้าง ที่จะมา ซึ่ง "ประสิทธิภาพ" ที่จะบริหารปัจจัยเสี่ยง

นักพุทธศาสตร์ทุกคนมักเริ่มต้นจากนี้ เพราะแยกมาเขียนเรื่องเฉพาะได้ง่ายขึ้น เดเนียลก็ย่ำรอยเดิม

ดังนั้น เขาวางเป้าไว้ชัดเลยครับ คือ "การผ่านสมัย" ถือเอาปี 2000 นี้ แหละ ตั้งคำถามเกี่ยวกับธรรมชาติของอารยธรรมโลก ที่คนยุคหลังปี 2000 จะสร้างขึ้น และจะให้มันดีกว่า " ของเดิม" ได้อย่างไร โดยอาศัยเส้นแบ่งระหว่างอดีตกับปัจจุบัน

วัตถุประสงค์ของหนังสือ เพื่อให้กรอบความคิดหลักสำหรับอนาคต และ รูปแบบการทำธุรกรรมใหม่รองรับการเปลี่ยนแปลงโดยชี้ประเด็นเรื่องปัจจัยเสี่ยง ซึ่งจะเพิ่มมากขึ้น ขณะเดียวกันก็สามารถพลิก "ความเสี่ยง" เป็น "โอกาส" โดยมีคุณค่าของการเปลี่ยนแปลงรองรับ

ปัจจัยเสี่ยง ที่เป็นด้านหลักคือ อะไร? มันคือ ก'รทำงาน ที่ล้มเหลวในการใช้องค์ความรู้ใหม่ ไปแก้วิกฤติ ถ้าเราเลี่ยงความเสี่ยงนี้ได้แล้ว เราจะเพิ่มประสิทธิภาพให้ผลตอบแทนสูงสุดได้มากน้อยแค่ไหน?

การปรับตัวจะคลุมถึงการพิจารณาด้านคุณค่าของโอกาสใหม่ๆ แนวโน้ม ที่จับกระแสของโอกาส ที่เกิดขึ้นใหม่ๆ ขณะเดียวกันในภาคปฏิบัติการก็เป็นประเด็นสำคัญด้วย

วิกฤติการณ์ข้อแรก คือ เศรษฐกิจใหม่ ซึ่งประเทศในเอเชียพบว่าการที่ค่าเงินบาทโดนโจมตี ก่อผลกระทบเป็นลูกโซ่ต่อการพังทลายของกลุ่มประเทศทั้งภูมิภาค

วิกฤติการณ์ข้อสอง ไวรัสระบาดในมาเลเซีย ก่อผลให้ภัยพิบัติ การติดต่อโรคไม่ได้คลุมพื้นที่เดียว ไข้ต่างๆ ก็ระบาด

วิกฤติการณ์ข้อสาม วิกฤติการณ์เงินส่งผลให้มาตรการอื่นๆ อ่อนแอ เช่น กรณีไฟป่า ฯลฯ ปัญหาความยากจนยืดเยื้อ มาตรการความปลอดภัยหย่อน

ทั้งหมดเป็นส่วนของระบบ ที่มีปัจจัยในขอบเขตของภัยพิบัติ ที่เป็นรูปธรรม

ถ้าจะให้ภาพด้านกว้าง หนังสือเล่มนี้วางการวิเคราะห์ประเด็น ที่เรียกว่า issue analysis และมองทั้งระบบจะเห็นความหลากหลาย ที่ส่อเค้าว่ามีการเปลี่ยนทั้งกระบวน แม้กระทั่งเรื่องความเสื่อมของลัทธิความเชื่อ และศาสนา ที่มีคุณค่าเก่า ของเดิมถูกทดแทนด้วยลัทธิใหม่ ที่คนตายหมู่ ความเชื่อไร้รากฐานเป็นจริง ฯลฯ

กรอบ และวิธีการต่างๆ เหล่านี้ส่งผลอย่างไรเป็นเรื่อง ที่น่าสนใจที่สุด เมื่อมีการปรับตัว เพื่อการปฏิบัติ

ผู้เขียนให้ตัวอย่างเป็นรูปธรรม เพื่อชี้ให้ เห็นถึงพฤติกรรมการบริหาร ที่มี การปรับตัวให้เกิดขึ้นรวดเร็ว และทันกาล

ดังนั้น หนังสือเล่มนี้จึงเท่ากับเป็นการวิเคราะห์ระบบเชื่อมต่อกับสถานการณ์ และประเด็น ที่เป็นจริงคือ ทำ Situation analysis และ Issue handing analysis

เครือข่ายของเทคโนโลยี ที่เกิดขึ้นเร็วหมายถึงกงล้อใหม่ของธุรกรรม ที่จะปฏิวัติกระบวนการผลิต การปรุง และการใช้ข้อมูลที่ทันกาลมากขึ้น และเพิ่มคุณค่ามากขึ้น

โดยสรุปแล้ว หนังสือเล่มนี้เหมาะสำหรับนักวางยุทธศาสตร์องค์กร แต่ขณะเดียวกันภาครัฐ และรัฐบาล ที่ต้องการแก้ไขปัญหาระดับชาติจะเข้าใจได้ง่ายขึ้นกว่าการแก้ปัญหาหลักของชาติ มีมากขึ้นเป็นการแก้ปัญหาแนวดิ่งอาจไม่เป็นผลในการรองรับ

รัฐบาลอาจต้อง "จัดการ" แก้ไขยุทธศาสตร์ใหม่ ที่เปลี่ยนวิกฤติเป็นโอกาส และมีความรวดเร็ว ที่จะเพิ่มประสิทธิภาพในประเด็นสังคม, เศรษฐกิจ, ธุรกิจ และสิ่งแวดล้อมได้ดียิ่งขึ้น ผลประโยชน์ตกกับทุกกลุ่มโดยรวม



กลับสู่หน้าหลัก

Creative Commons License
ผลงานนี้ ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย



(cc) 2008 ASTVmanager Co., Ltd. Some Rights Reserved.