|
กทช.ทบทวนเงื่อนไลเซนส์ไอเอสพีใหม่หลังยูคอมทักเหมือนเก็บส่วนแบ่งรายได้
ผู้จัดการรายวัน(1 สิงหาคม 2548)
กลับสู่หน้าหลัก
กทช.ปรับเงื่อนไขใบอนุญาตไอเอสพีใหม่ 2 ประเด็นคือหลักเกณฑ์การขอใบอนุญาตและค่าธรรมเนียมใบอนุญาตหลังถูกยูคอมทักท้วงว่าใบอนุญาตประเภท 2 และ 3 เหมือนการเก็บส่วนแบ่งรายได้ในลักษณะ สัญญาร่วมการงานเดิม ด้านประ-ธานกทช.ย้ำพร้อมปรับปรุงเงื่อน ไขและค่าธรรมเนียมให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีและการแข่งขันของอุตสาหกรรม
พล.อ.ชูชาติ พรหมพระสิทธิ์ ประธานคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.) กล่าวว่า กทช.อยู่ระหว่างการปรับปรุงเงื่อนไขในการออกใบอนุญาต ไอเอสพีใหม่ หลังจากมีการทัก ท้วงจากเอกชนหลายรายถึงความไม่เหมาะสม ทั้งนี้ กทช.ได้ออกใบอนุญาตไอเอสพีใบแรกให้เคเอสซี โดยเป็นใบอนุญาตประเภทที่ 1 คือไม่มีโครงข่ายเป็นของตัวเอง เพื่อให้ทันเวลาที่สัญญาร่วมทุนเดิมที่ทำไว้กับบริษัท กสท โทรคมนาคมจะสิ้นสุดลง ซึ่งในขณะนี้มีเอกชนประมาณ 8 ราย ยื่นขอใบอนุญาต ไอเอสพีประเภท 1 ซึ่งกทช.อยู่ในระหว่างการพิจารณา
อย่างไรก็ตาม กทช.ได้ออกเงื่อนไขการเก็บค่าธรรมเนียมสำหรับใบอนุญาตไอเอสพีประเภทที่ 2 (มีและไม่มีโครงข่าย) ในอัตรา ปีละ 3% ของรายได้ก่อนหักค่าใช้จ่าย และใบอนุญาตไอเอสพีประ-เภทที่ 3 (มีโครงข่าย) ในอัตราปีละ 5% ของรายได้ ซึ่งภายหลังจากที่เอกชนทักท้วงมา กทช.ก็เห็นด้วยและพร้อมที่จะปรับปรุงเงื่อนไขดังกล่าวเพื่อให้เหมาะสมกับภาพรวมอุตสาหกรรม
แหล่งข่าวในกทช.กล่าวว่า บริษัท ยูไนเต็ด คอมมูนิเกชั่น อิน-ดัสตรี หรือยูคอมเป็นเอกชนรายหนึ่งที่ทำหนังสือเข้ามาสอบถามถึงหลักเกณฑ์ในการออกใบอนุญาตไอเอสพีประกอบด้วย 1.หลักเกณฑ์วิธีการขอรับใบอนุญาตและ 2.อัตราค่าธรรมเนียมสำหรับใบอนุญาตประเภทที่ 2 และ 3 ที่ดูเหมือนเป็นการจ่ายส่วนแบ่งรายได้ในลักษณะสัญญาร่วมการงานเหมือนที่ผ่านมา
อย่างไรก็ตาม เรื่องนี้ กทช.ได้ทำหนังสือตอบกลับไปยูคอมเมื่อวันที่ 27 ก.ค.ที่ผ่านมาว่าค่าธรรม-เนียมใบอนุญาตที่ออกมา กทช.วางบนพื้นฐานของการเปรียบเทียบภาระค่าใช้จ่ายต่างๆที่ไอเอสพีดำเนินธุรกิจในปัจจุบัน เคยจ่ายให้บริษัท กสท โทรคมนาคมเพื่อให้ได้รับสิทธิก่อนที่จะมี กทช.โดยที่ผ่านมาไอเอสพีเคยจ่ายเป็นค่าหุ้นลมที่จ่ายแทนกสท.และพนักงานกสท, ค่าหลักประกันสัญญา, ค่าหลักประกันผู้ถือหุ้น, ค่าส่งมอบเครื่องอุปกรณ์ รวมแล้วเกิน 6 ล้านบาท ทั้งนี้ไม่รวมค่าเช่าโครงข่าย ค่าบริการอื่นที่จ่ายแบบรายปี และเงินปันผลโดยไม่มีหลักประกันเรื่องการแข่งขันเสรีแต่อย่างใด
ดังนั้น การที่กทช.คิดเป็นเปอร์เซ็นต์จากรายได้ก็เป็นแนวทาง เดียวกับของหลายประเทศ และใบ อนุญาตของไอเอสพี ก็จะไม่เหมือน กับเป็นสัญญาร่วมการงานหรือสัญญาสัมปทานแน่นอน เพราะการร่วมการงานหรือสัมปทานเป็น การตกลงของคู่กรณี 2 ฝ่าย ผูกพันไปจนสิ้นสุดสัญญา และเงื่อนไขจำนวนส่วนแบ่งรายได้อาจแตกต่างกัน แต่ค่าธรรมเนียมใบอนุญาต ที่ออกมานี้เรียกเก็บอัตราเท่ากันทุกราย
แหล่งข่าวกล่าวว่า สิ่งที่กทช. อยู่ระหว่างทบทวนเรื่องการออกใบ อนุญาตไอเอสพีคือ 1.หลักเกณฑ์การขอใบอนุญาต และ 2.ค่าธรรมเนียมใบอนุญาตซึ่งจะนำความเห็นจากเอกชนมาร่วมพิจารณาด้วย
ด้านพล.อ.ชูชาติกล่าวว่า กทช.พร้อมปรับเปลี่ยนเงื่อนไขและอัตราค่าธรรมเนียมต่างๆ เพื่อความเหมาะสมทั้งกับอุตสาหกรรม และเทคโนโลยีที่มีการเปลี่ยนแปลง รวดเร็ว เหมือนกับใบอนุญาตที่จะออกให้บริษัท ทีโอทีและบริษัท กสท โทรคมนาคมในวันที่ 4 ส.ค.ที่จะถึงนี้ ทั้ง 2 บริษัทจะได้รับใบอนุญาต ครบทั้ง 3 ประเภท โดยจะครอบ คลุมบริการต่างๆที่มีก่อนพ.ร.บ. ประกอบกิจการโทรคมนาคมจะบังคับใช้ ส่วนบริการหลังจากนั้นจะต้องมีการขอใบอนุญาตใหม่ สำหรับภาระต่างๆที่ทั้ง 2 บริษัทจะต้องรับผิดชอบตามลักษณะผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบด้วยบริการโทรคมนาคมพื้นฐานโดยทั่วถึงและบริการเพื่อสังคมหรือ USO ซึ่งในเบื้องต้นตอนประชา-พิจารณ์เมื่อวันที่ 28 ก.ค.ที่ผ่านมาจะคิดค่าธรรมเนียม 4% ของรายได้ก่อนหักค่าใช้จ่าย, ค่าธรรมเนียม เลขหมายโทรคมนาคมในอัตราเลขหมายละ 12 บาทต่อปีและค่าธรรมเนียมใบอนุญาตระหว่าง 3-5% นอกจากนี้ยังมีค่าธรรมเนียมเรื่องความถี่ ซึ่งกทช.จะใช้อัตราที่กรรม-การบริหารคลื่นความถี่ (กบถ.)เคยคิดก่อนหน้านี้
ค่าธรรมเนียมเราถือเป็นอัตราชั่วคราว ที่พร้อมปรับเปลี่ยนได้ หากไม่เหมาะสมกับภาพรวมอุตสาหกรรม ซึ่งภายในวันที่ 2 ส.ค.เราจะสรุปตัวเลขที่ชัดเจนครั้งสุดท้ายก่อนให้ใบอนุญาตในวันที่ 4 ส.ค.
กลับสู่หน้าหลัก
ผลงานนี้ ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย
(cc) 2008 ASTVmanager Co., Ltd. Some Rights Reserved.
|