ธุรกิจธนาคาร บนเส้นทางการเปลี่ยนแปลง


นิตยสารผู้จัดการ( พฤษภาคม 2543)



กลับสู่หน้าหลัก

เอเชียตะวันออกเฉียงใต้หลังภาวะวิกฤติทางการเงินนับเป็นภูมิภาค ที่แตกต่างจากเดิมอย่างสิ้นเชิงสำหรับธุรกิจธนาคาร หมดเวลาแล้วสำหรับการเรียกอัตราดอกเบี้ยสูงลิ่วจากการปล่อยสินเชื่อให้กับผู้ประกอบการอุตสาหกรรม และธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ และนับวันรายได้ของธนาคารก็จะยิ่งมาจากลูกค้ากลุ่ม ที่ถูกละเลยมานานนั่นก็คือ ผู้บริโภค การแข่งขัน ที่เข้มข้นในตลาดหุ้น และพันธบัตร การจำกัดการขยายอัตราดอกเบี้ย และกฎเกณฑ์ ที่เคร่งครัดของ ภาครัฐกำลังบีบรัดธนาคารต่างๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในประเทศ ที่ได้รับผลจากวิกฤติการเงินอย่างรุนแรง การอยู่รอดของธนาคารขึ้นอยู่กับการหาแหล่งรายได้ใหม่ๆ แม้แต่สิงคโปร์ และฟิลิปปินส์ ที่กิจการธนาคารผ่านภาวะวิกฤติมาได้โดยที่ไม่ได้รับผลกระทบมากนัก ก็ยังมีความจำเป็นที่จะริเริ่มสิ่งใหม่ ปรับโครงสร้างกิจการ และลด ต้นทุน เพื่อรับมือกับการแข่งขันระลอกใหม่ และรับการเปลี่ยนแปลงในตลาดการเงิน

แหล่งรายได้ใหม่ ที่มาจากการคิดค่าธรรมเนียมจากบริการต่างๆ จะเพิ่มขึ้นเนื่องจากอัตราการเติบโตของสินเชื่อจะชะลอตัว ขณะเดียวกัน การลดลงของส่วนต่างอัตราดอกเบี้ย ก็ทำให้ต้องเร่งปรับปรุงประสิทธิภาพการดำเนินกิจการขนานใหญ่ ซึ่งหมายถึงการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างการบริหารครั้งใหญ่ของธนาคาร รวมทั้งการปรับทิศทางมุ่งเน้นของกิจการไปสู่ธนาคาร เพื่อผู้บริโภค (consumer banking) และลงทุนทางด้านเทคโนโลยีให้มากขึ้น ธนาคารบางแห่งโดยเฉพาะธนาคาร ที่มีหุ้นส่วนเป็นกิจการธนาคารต่างชาติกำลังปรับเปลี่ยนไปในทิศทางดังกล่าวแล้ว ความเสี่ยงของกิจการกลุ่มนี้จึงอาจมีเพียงการเสียส่วนแบ่งตลาดเท่านั้น

"ธุรกิจหลัก ที่จะเติบโตได้อีกคือ ธนาคารสำหรับผู้บริโภค" ดูร์ นาร์วานี (Dru Narwani) ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของสแตนดาร์ด ชาร์เตอร์ด นครธน ให้ความเห็น "เห็นได้ชัดเลยว่าบทบาทในระยะยาวจะไปอยู่ ที่กลุ่มผู้บริโภคในประเทศ"

นักวิเคราะห์ธนาคารส่วนใหญ่ก็เห็นด้วย "เรากำลังเฝ้าดูการเปลี่ยนแปลง ที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วของซิตี้แบงก์ในไทย และในประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อื่นๆ" โรเบิร์ต คอง (Robert Kong) หัวหน้าส่วนวิจัยธุรกิจธนาคารแห่งบล.เมอริล ลินช์ภัทรให้ความเห็น "ในสหรัฐฯ และยุโรป เราพบว่า กว่าครึ่งของสินเชื่อ ที่วาณิชธนกิจปล่อยไปจะเป็นกลุ่มผู้บริโภคหรือธุรกิจค้าปลีก ซึ่งจะนำไปสู่การเปลี่ยนโครงสร้างทั้งในงบดุลของธนาคาร และวิธีการหารายได้"

แรงกดดันต่างๆ ที่มีต่อธนาคารทั่วเอเชียมาจากหลายทิศทางด้วยกัน ในเกาหลีใต้ ตลาดหุ้นได้กลายเป็นแหล่งรายได้สำคัญของธุรกิจขนาดย่อมแทน ที่ธนาคาร ส่วนในฮ่องกง อุตสาหกรรมธนาคาร ที่จับกลุ่มกันอยู่ก็ปรับตัวได้เชื่องช้า ในขณะที่ธนาคารระบบอินเทอร์เน็ตกำลังเกิดขึ้น


ผู้ออกกฎในภูมิภาคนี้กำลังพยายามกระตุ้นทั้งทางตรง และทางอ้อมให้ ธุรกิจธนาคารมีการรวมตัวกันเหลือกิจการไม่กี่แห่ง ส่วนหนึ่งก็ เพื่อให้ง่ายต่อการเฝ้าจับตา ในฟิลิปปินส์ธนาคารกลางได้ใช้วิธีออกกฎกระตุ้นให้ธนาคาร รวมกลุ่มกันอย่างรวดเร็วโดยอาศัยการตลาดเป็นตัวนำ ส่วนในสิงคโปร์ รัฐบาลได้เปิดทางอีกเล็กน้อยให้กิจการธนาคารต่างชาติเข้าไปดำเนินการในประเทศ และกระตุ้นธนาคารในท้องถิ่นให้เร่งปรับปรุงประสิทธิภาพ โดยแสดงเป็นตัวอย่างด้วยการจ้างผู้บริหารชาวอเมริกันเข้าไปยกเครื่องธนาคาร เพื่อการพัฒนาแห่งสิงคโปร์ (DBS) ซึ่งเป็นกิจการของรัฐ

ที่มาเลเซียก็เช่นกัน ขณะนี้มีแผนการรวมกิจการของธนาคารหลักราว 10 แห่ง แต่ยังมีปัญหา ที่ต้องขบคิดต่อว่าธนาคารในท้องถิ่นจะสามารถอยู่รอดหรือไม่ หากรัฐบาลยกเลิกมาตรการปกป้องธนาคารในประเทศ ที่มีมาอย่างยาวนาน

แต่ขณะที่ธนาคารทุกแห่งกำลังตกอยู่ใต้แรงกดดัน ต่างก็เร่งหาทางออก จากปัญหา ที่คล้ายคลึงกัน ทั้งนี้ ธนาคาร ที่เป็นตัวเร่งการเปลี่ยนแปลงในไทยก็คือ ธนาคารต่างประเทศสี่แห่ง ได้แก่ สแตนดาร์ดชาร์เตอร์ดแห่งอเมริกา, เอบีเอ็น อัมโรแห่งเนเธอร์แลนด์, DBS และยูเนียน โอเวอร์ซีส์แบงก์แห่ง สิงคโปร์ ซึ่งล้วนแต่จับมือกับธนาคารไทยใ นช่วง ที่เกิดภาวะวิกฤติ

อย่างไรก็ตาม ธนาคารเอเชีย (BOA) ก้าวไปสู่ธนาคารสำหรับผู้บริโภค ก่อนใคร และยังเป็นธนาคาร ที่ปรับตัวรับการเปลี่ยนแปลงมาก่อนเกิดวิกฤติการเงิน และก่อนจะควบกิจการกับเอบีเอ็น อัมโรด้วยซ้ำ โดยธนาคารเอเชีย ได้จ้างผู้บริหารธนาคารชาวอเมริกันรายหนึ่งเข้ามาบริหารกิจการในปี 1984 และจ้างเพิ่มอีกหนึ่งรายในปี 1997

อันที่จริง ธนาคารเอเชียก็เหมือนกับธนาคารขนาดเล็กอีกหลายแห่งของไทย ที่เผชิญกับภาวะต้นทุนเงินฝาก และค่าใช้จ่ายด้านการดำเนินงานสูง โดยมีส่วนแบ่งตลาดสินทรัพย์ในปี 1995 เพียง 2.5% เท่านั้น "เราต้องปรับเปลี่ยนไปสู่วัฒนธรรมองค์กรในเชิงวิเคราะห์ให้มากขึ้น หากเราต้องการอยู่รอด" จุลกร สิงหโกวินท์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารเอเชียอธิบาย

ขั้นแรก งานในส่วนบัญชี การดำเนินการ และการขยายสินเชื่อจะถูกโยกย้ายจากสาขาต่างๆ ไปไว้ ที่สำนักงาน ใหญ่ ทำให้พนักงานสาขามุ่งไป ที่การขาย และบริการได้มากขึ้น ส่วนการใช้เทคโนโลยีใหม่ๆ เชื่อมต่อระหว่างธนาคาร และจัดทำฐานข้อมูลส่วนกลางสำหรับธนาคารทุกสาขา ช่วยให้การสื่อสารภายในมีประสิทธิภาพ และให้บริการแก่ลูกค้าได้รวดเร็ว จากนั้น ก็เป็นการปรับโฉมหน้าใหม่ โดยเปลี่ยนโลโกให้บ่งบอกถึงการผสมผสานระหว่าง เทคโนโลยีของตะวันตกกับความเอื้ออาทรแบบตะวันออก

การผสมผสานดังกล่าวกำลังออกดอกผลที่ดี โดยในช่วงหนึ่งปีครึ่ง ที่ผ่านมา ธนาคารเอเชียมีฐานลูกค้าเงินฝากเพิ่มถึงสองเท่าตัว จาก 450,000 ราย เป็น 900,000 ราย ซึ่งทำให้ต้นทุนด้านเงินฝากลดลง

นอกจากนั้น ค่าใช้จ่ายด้านพนักงานประจำสาขา และค่าใช้จ่ายด้านการดำเนินการก็ลดลงตามไปด้วย โดยค่าใช้จ่ายด้านบุคลากรลดลงจาก 55% ของค่าใช้จ่ายรวมในปี 1995 มาอยู่ ที่ราว 30% ในปัจจุบัน ส่วนระบบการสื่อสารภายในองค์กรแบบใหม่ก็ทำให้ธนาคารฝึกอบรม และปรับเปลี่ยนงานของพนักงานกว่า 125 คน ให้ทำงานในแบบ ที่เน้น ที่การบริการมากขึ้น (ธนาคารเอเชียสัญญากับพนักงานว่าจะไม่ปลดพนักงาน แต่จะมีการปรับเปลี่ยนตำแหน่งเท่านั้น )

ธนาคาร ที่เป็นพันธมิตรธุรกิจกับธนาคารต่างชาติก็มีมาตรการที่เข้มข้น ในการลดค่าใช้จ่าย เช่น ดีบีเอสไทยทนุ กำลังลดจำนวนสาขาทั้งหมดลงหนึ่งในสาม สแตนดาร์ด ชาร์เตอร์ด นครธน มีแผนเกษียณอายุพนักงานก่อนกำหนด สำหรับพนักงานในตำแหน่ง ที่มีลักษณะงานซ้ำซ้อนกัน ทั้งนี้ ธนาคารตะวันตกทั่วโลกจะมีจำนวนพนักงานโดยเฉลี่ยต่อสาขาไม่เกิน 10 คน ขณะที่ ในไทยมีถึงเกือบ 30 คน

อย่างไรก็ตาม แม้ว่าประสิทธิภาพจะเป็นเรื่องสำคัญ แต่การเข้าถึงลูกค้าก็เป็นประเด็นสำคัญด้วย เพราะ 75% ของยอดเงินฝากในธนาคารไทยนั้น เป็นบัญชีเงินฝากของประชากรโดยรวมไม่ถึง 1.5% บริการลูกค้ายังเป็นสิ่งที่ธนาคารละเลยไป

ยิ่งกว่านั้น ข้อมูลสถิติประชากรยังชี้แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงเพราะ 55% ของประชากรไทยในปัจจุบัน มีอายุต่ำกว่า 30 และกำลังเข้าสู่วัยทำงาน คนรุ่นใหม่เหล่านี้จึงกำลังมองหาช่องทาง ที่สะดวกสบายในการลงทุนของตน "มีประชากรไทย 40 ล้านคนที่ยังไม่ได้ใช้บริการของภาคการธนาคาร" แอนดรู สทอต ซ์ (Andrew Stotz) vice-president และนักวิเคราะห์การลงทุนอาวุโสของเอสจี ซีเคียวริตี้ส์บอก "แต่แนวโน้มจะเปลี่ยนเร็วมาก ซึ่งหมายความว่าธนาคาร เพื่อผู้บริโภคอาจมีศักยภาพในการเติบโตไปได้อีก 30 ปีที เดียว"

ประตูสู่ตลาด

แนวโน้มดังกล่าวเกิดจากคนรุ่นหนุ่มสาวจะต้องการบริการ และทางเลือกผลิตภัณฑ์ใหม่ๆที่ดีขึ้น เมื่อพวกเขามีฐานะการเงินดีขึ้น การเติบโตของบริษัทไฟแนนซ์ในช่วงก่อนเกิดวิกฤติการเงิน แสดงให้เห็นแล้วว่ามีความต้องการบริการของธนาคาร เพื่อผู้บริโภคอยู่ แต่เมื่อบริษัทไฟแนนซ์ล้มหายตายจากไป ขณะนี้ ธนาคารพาณิชย์จึงเริ่มเสนอบริการด้านการจำนอง รวมทั้งการปล่อยสินเชื่อ และบริการกู้เงินรายย่อย ซึ่งเป็นบริการที่ธนาคารไม่เคยสนใจมาก่อน

และแม้ว่าปัจจุบันจะมีประชากรไทยราว 1 ล้านคนที่มีระบบคอมพิวเตอร์ออนไลน์ แต่ธนาคารอิเล็กทรอนิกส์ (e-banking) ก็มีโอกาสเติบโตอีกมาก เพราะเป็นทาง เปิดให้ผู้เล่นต่างชาติเข้าสู่ตลาดไทยได้ จะเห็นว่าทั้งจี อี แคปิตอล (GE Capital) และเลแมน บราเธอร์ (Lehman Brothers) ได้จัดทำเว็บไซต์ให้บริการเงินกู้ และการจำนองในไทยแล้ว ขณะที่ธนาคารกสิกรไทย และธนาคารไทยพาณิชย์ให้บริการธนาคารอิเล็กทรอนิกส์แล้ว

ตลาดการธนาคารในสิงคโปร์ ที่มีการพัฒนามากกว่า และมีระบบการควบคุมเข้มงวดกว่าไทยก็กำลังเปลี่ยนทิศทางเช่นกัน โดยรัฐบาลกำลังจะเปิดทางให้มีการแข่งขันในธุรกิจธนาคารมากขึ้นภายในสองปีข้างหน้า ธนาคารของรัฐจึงต้องปรับตัว และเตรียมพร้อม ที่จะแย่งชิงลูกค้าไว้ เป็นการรับมือกับธนาคารใหม่ๆ ที่จะเข้ามาในตลาด รวมทั้งผู้เล่นในรูปแบบใหม่ เช่น ผู้บริหารกอง ทุนต่างๆ และธนาคารอินเทอร์เน็ต

ซาลมาน คาน (Salman Khan) นักวิเคราะห์ด้านธนาคารของโกลด์ แมน ซาคส์ (Goldman Sachs) ในสิงคโปร์กล่าวว่า ในตลาดที่มีการพัฒนาดีแล้ว ธนาคาร เพื่อผู้บริโภคจะรวมถึงธุรกิจการบริหารสินทรัพย์ และประกันภัยด้วย ปัจจุบันธนาคารสิงคโปร์มีสินทรัพย์ ที่บริหารอยู่เป็นมูลค่า 3.6 พันล้านดอลลาร์ แต่โกลด์แมน ซาคส์ คาดว่าตัวเลขจะเพิ่มเป็น 20 พันล้านดอลลาร์ในอีกห้าปี "เราคาดว่าจะมีการช่วงชิงลูกค้าเงินฝากกันครั้งใหญ่" คานบอก "เมื่ออัตราดอกเบี้ยลดต่ำลงที่สุดในรอบ 25 ปี ทำไมจึงไม่เปลี่ยนจากธุรกิจเงินฝากไปเป็นการบริหารสินทรัพย์?"

การมุ่งไป ที่ลูกค้าผู้บริโภคเป็น "ทิศทาง ที่ต้องไป" คานกล่าว "ธนาคารในเอเชียยังมีรายได้ไม่มากนักจากค่าธรรมเนียม ค่าบริการการกู้ เพื่อจำนอง การบริหารสินทรัพย์ รวมทั้งการปล่อยสินเชื่อลูกค้ารายย่อย"

สิงคโปร์กำลังเดินหน้าในเกมนี้ โดยมุ่ งไปยังบริการที่อิงระบบอินเทอร์เน็ต ธนาคารโอเวอร์ซีส์ยูเนียนแบงก์ ซึ่งเป็นธนาคารของรัฐ ที่มีขนาดเล็กที่สุดในกลุ่ม "Big Four" อาจจะก้าวไปได้ไกลที่สุด โดยได้แยกธุรกิจด้านอินเทอร์เน็ตเป็นหน่วยอิสระ และอัดฉีดเงิน 300 ล้านดอลลาร์สิงคโปร์ (175 ล้าน ดอลลาร์สหรัฐ) เพื่อพัฒนาระบบให้บริการใหม่ๆ เช่น การโอนเงินผ่านธนาคารทางอินเทอร์เน็ต และการซื้อขายหุ้นออนไลน์ DBS ก็ทุ่มเงินก้อนโตเช่นกันในการพัฒนาศักยภาพของธนาคาร โดยเตรียมรับมือกับคู่แข่งอย่างซิตี้ แบงก์ และสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด ที่เพิ่งได้รับอนุญาตให้เข้าตลาดสิงคโปร์เมื่อปีที่แล้ว

จะเห็นได้ชัดว่า อินเทอร์เน็ตเป็นสิ่งที่กำลังคุกคามธุรกิจธนาคารอยู่ ดัง ที่วิลเลียม แมคโดนัฟ (William Mc Donough) ประธานกรรมการของธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) ระบุในที่ประชุมนักการธนาคาร ที่สิงคโปร์เมื่อ 24 มีนาคม ที่ผ่านมาว่า "หากธนาคารยังคงเชื่อว่าคนจะมาฝากเงิน ที่สาขาต่างๆ และไม่สนใจอินเทอร์เน็ตล่ะก็ ธนาคารนั้น ก็เสี่ยง ที่จะพบกับความผิดพลาดอย่างมหันต์"

การตัดสินใจ ที่ยุ่งยาก

การตัดสินใจว่าจะนำเทคโนโลยีข้อมูล และบริการอินเทอร์เน็ตมาใช้อย่างไรจะ เป็น "การตัดสินใจ ที่ยุ่งยากที่สุดในเชิงยุทธศาสตร์ ที่ผู้บริหารธนาคารในทุกประเทศทั่วโลกต้องเผชิญหน้า" แม็คโดนัฟกล่าว

ที่มะนิลา ราฟาเอล บัวนาเวนจูรา (Rafael Buenaven- tura) ผู้ว่าการธนาคารกลางของฟิลิปปินส์กล่าวว่าเขาจะดีใจ "ถ้าหากเราสามารถมีธนาคารท้องถิ่นรายใหญ่เพียงสี่หรือห้าแห่ง"

บัวนาเวนจูรา เคยเป็นประธานเจ้าหน้าที่บริหารของธนาคารแห่งหนึ่งก่อนได้รับแต่งตั้งเป็นผู้ว่าการธนาคารกลางเมื่อปีที่แล้ว บัวนาเวนจูราได้ดำเนินการรวมกลุ่มธนาคารอย่างรวดเร็วที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเริ่มชักจูงธนาคารให้เห็นด้วยกับแนวคิดรวมกิจการตั้งแต่วันแรกที่รับตำแหน่งดังกล่าว และรุกคืบเรื่อยมา ผลคือ เกิดกระแสควบ และซื้อกิจการธนาคารในฟิลิปปินส์ครั้งใหญ่ และธุรกิจธนาคารฟิลิปปินส์ก็ปรับเปลี่ยนโฉมใหม่ภายในเวลาเพียงปีเดียว

" ที่เราต้องจัดการเรื่องขนาดของกิจการก็ เพื่อให้ธนาคารมีเงินทุนเพียงพอ ที่จะยกระดับด้านเทคโนโลยีครั้งใหญ่" เขาแจงเหตุผล

บัวนาเวนจูราได้ออกข้อกำหนดส่วนหนึ่ง เพื่ออำนวยความสะดวกแก่กระบวนการดังกล่าว ไม่ว่าจะเป็นการห้ามเปิดสาขาธนาคารใหม่ แต่อนุญาตให้ธนาคาร ที่ซื้อกิจการธนาคารอื่นใช้ใบอนุญาตสาขาของธนาคาร ที่ตนซื้อไว้ในการเปิดสาขาใหม่ได้ วิธีนี้จึงเป็นการบีบให้ธนาคาร ที่ต้องการขยายกิจการ ต้องซื้อธนาคารอื่นไว้

นอกจากนั้น ยังมีข้อกำหนด ที่ช่วยให้เจ้าของธนาคารขนาดเล็ก "มีทางออก ที่สมเหตุสมผล" โดยการเสนอราคาขาย ที่เหมาะสมกับผู้ซื้อ ซึ่งหมายความว่า "ธนาคารขนาดเล็กบางแห่งอาจจะเป็นผู้เล่น ที่แทรกช่องว่างตลาดได้สำเร็จ แต่ธนาคาร อื่นๆ จะต้องขายทิ้งไป"

ในขณะที่ภาวะการเงินในเอเชียกำลังฟื้นตัว กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) และธนาคารโลก (WB) ได้กระตุ้นให้ผู้ออกกฎในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อนุญาตให้ธนาคารต่างชาติเข้าไปมีบทบาทมากขึ้น ในตลาดธนาคารท้องถิ่น ประเทศ ที่เผชิญกับวิกฤติ ซึ่งไม่อาจขัดขืนต่อแรงบีบจากวอชิงตันได ้ก็จะต้องยอมให้ธนาคารต่างชาติเข้าไปซื้อกิจการหรือควบคุมกิจการบางส่วน ในธนาคารท้องถิ่นอย่างน้อยในขณะนี้ ธนาคารต่างชาติก็มีความได้เปรียบเชิงแข่งขันในตลาดธนาคาร เพื่อผู้บริโภคแล้ว เนื่องจากมีความชำนาญในตลาดนี้ และมีเทคโนโลยีเหนือกว่า

แต่ธนาคารต่างประเทศจะรักษาความได้เปรียบเชิงแข่งขันนี้ได้นานเท่าไรยังไม่เป็นที่แน่ชัด "มันจะเป็นแบบนี้อีกไม่นาน หากคนคิดกันให้มากขึ้น" สทอตซ์บอก "เพราะธนาคาร เพื่อผู้บริโภคเป็นผลิตภัณฑ์ ที่เลียนแบบกันได้ง่าย และเป็นธุรกิจ ที่กำไรสูง และมีส่วนต่างกำ ไรสูง ทุกคนจึงวิ่งเข้าสู่ทิศทางนี้กันหมด"

ที่จริงแล้ว ธนาคารไทยบางแห่งก็เรียนรู้ ที่จะเล่นเกมจับผู้บริโภคแล้ว อย่างเช่นธนาคารทหารไทย ที่ไม่ค่อยไวต่อผู้บริโภคเท่าไร ก็ได้เริ่มให้บริการลูกค้าในวันเสาร์ และดูเหมือนจะเป็นธนาคารแรก ที่เข้าสู่บริการธนาคารผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่ด้วย

อย่างไรก็ตาม กิจการธนาคารของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ก็จะไม่เปลี่ยนแปลงไปภายในเวลาชั่วข้ามคืน แม้ว่า จะต้องรับมือกับการแข่งขันจากธนาคารต่างชาติเพิ่มขึ้น นาร์วานีได้ชี้ถึงแรงกดดันเล็กๆ น้อยๆ ที่ธนาคารต่างประเทศจะต้องอดทนในตลาดไทย ถ้าหากต้องการส่วนแบ่งตลาดเพียง 10% อีกทั้งเกณฑ์ในการปล่อยสินเชื่อ ที่เข้มงวดของธนาคารต่างประเทศอาจจะนำไปสู่การเสียเปรียบเชิงแข่งขันเมื่อมีคู่แข่งรายใหม่ได้

"ในฐานะ ที่เป็นนักการธนาคารต่างประเทศ บ่อยครั้ง ที่เราอยู่ในฝ่าย ที่เสียเปรียบ เพราะมักมีการใช้วิธีการอื่นๆ ในการเข้าถึงลูกค้า ซึ่งเป็นวิธีการที่เรารับไม่ได้ 100%" นาร์วานิบอก และว่า "บางครั้งเราก็เสียเปรียบโดยสิ้นเชิง"

เนื่องจากธนาคารไทยทุกแห่งต่างต้องการหลุดพ้นจากภาระหนี้สิน ที่เกิดจากหนี้ ที่ไม่ก่อรายได้ อาจเป็นไปได้ว่าจะมีการผ่อนปรนเรื่องการพิจารณาสินเชื่อ และสำหรับธนาคาร ที่บริหารแบบธุรกิจครอบครัวนั้น นาร์วานิเห็นว่า "ยิ่ง คุณใหญ่เท่าไร ก็ยิ่งกุมบังเหียนธุรกิจได้ยากขึ้นเท่านั้น เรากำลังพูดถึงการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรม การเปลี่ยนแปลงนั้น เกิดขึ้นทุกวัน แต่ต้องใช้เวลา"



กลับสู่หน้าหลัก

Creative Commons License
ผลงานนี้ ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย



(cc) 2008 ASTVmanager Co., Ltd. Some Rights Reserved.