สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและย่อม(สสว.)เตรียมที่จะเสนอตั้งกองทุน
40,000 ล้านบาท เพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการอุตสาหกรรมขนาดกลางและย่อม(SMEs)
ที่มีปัญหาหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้หรือ NPL แต่ตลาดยังมีแนวโน้มสดใส
นายวิวัฒน์ วินิจฉัยกุล ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและย่อม(สสว.)
กล่าววว่า จะนำเสนอแนวคิดจัดตั้งกองทุนดังกล่าวต่อที่ประชุมคณะกรรมการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและย่อม
(SMEs) ที่มีนายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเป็นประธานและมีนายสุริยะ
จึงรุ่งเรือง รัฐมนตรีว่า การกระทรวงอุตสาหกรรมเป็นรองประธานในวันนี้(19ส.ค.)
ทั้งนี้ จะนำเสนอให้สสว.เป็นแกนกลางในการจัดต้งศูนย์กลางสำหรับส่งเสริมSMEs
เพื่อการส่งออก และแนวทางการบริหารกองทุน เพื่อสนับสนุนการปล่อยกู้และลงทุนให้แก่เ
SMEs วงเงิน 4 หมื่นล้าน บาทเพื่อนำไปช่วยเหลือการปล่อยกู้ให้กับ SMEs ที่เป็นNPL
แต่ยังคงสามารถดำเนินธุรกิจอยู่ จำเป็นต้องได้รับการช่วยเหลือการเงินเพื่อนำไปซื้อวัตถุดิบผลิตส่งออกต่อไปได้
และกลุ่มผู้ประกอบอื่นๆอีก เช่น ผู้ประกอบการใหม่ เป็นต้น
สำหรับรูปแบบการบริหารงาน กองทุนนั้น จะนำเสนอให้พิจารณา 2 ทางเลือก คือ
1. จัดตั้งขึ้นตามกฎ ของคณะกรรมการกำกับดูแลตลาด หลักทรัพย์หรือกลต.ซึ่งจะมีกระบวน
การที่ต้องนำเข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรีเพื่ออนุมัติให้ดำเนินการบริการต่อไป
แต่มีข้อจำกัดที่เป็นกองทุนให้ร่วมทุนได้ แต่ปล่อยกู้ไม่ได้ ซึ่งเป็นแนวทางที่จำเป็นต้อง
ใช้เวลาในการพิจารณานานพอสมควร และ 2. จัดตั้งขึ้นภายใต้พ.ร.บ.ส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและย่อม(สสว.)
ซึ่งอนุมัติตั้งกองทุน ได้ทันทีและปล่อยกู้ได้
"เบื้องต้นคณะทำงานจำเป็นต้องนำเสนอรูปแบบการบริหารกองทุน 2 ประเภท ที่มีความแตกต่างกัน
ให้คณะกรรมการส่งเสริมสสว.เป็นผู้ตัดสินใจเลือกเองว่าควรจะใช้แบบ ใดถึงจะเหมาะสมที่สุด
ซึ่งสสว.ก็จะมีหน้าที่เป็นแกนกลางในการเชื่อม โยงการให้บริการกับสถาบันการเงินที่ร่วมลงขันของทั้ง
10 สถาบันตามเดิม" นายวิวัฒน์กล่าว
ทั้งนี้ วงเงินที่จะสนับสนุน SMEs นั้นมีทั้งสิ้น 100,000 ล้าน บาท โดยก่อนหน้านี้ในระยะที่
1 ที่ปล่อย วงเงินดังกล่าวไปแล้วจำนวน 20,000 ล้านบาท เน้นส่งออกและ ผู้เป็นNPL
และระยะที่ 2 วงเงิน 40,000 ล้านบาทล่าสุดรวมเป็นวงเงินที่จะใช้เงินทั้งสิ้น
60,000 ล้านบาท ซึ่งส่วนนี้มุ่ง ไปที่การส่งออกทุกกลุ่มที่เป็นNPLแต่ยังคงมีตลาดสำคัญอยู่
ขณะเดียว กันเป็นการปูพื้นฐานให้ผู้ประกอบการใหม่ที่ตั้งใจทำธุรกิจได้มีโอกาสการลงทุนด้วย
เพราะเชื่อว่าจะเป็นรุ่น ใหม่ที่สร้างอนาคตให้กับเศรษฐกิจไทย เช่น กลุ่มชิ้นส่วน
อาหารเป็นต้น
อย่างไรก็ตาม ที่เหลืออีก 40,000 ล้านบาท ก็จะดำเนินการปล่อยกู้เพื่อให้การช่วยเหลือ
SMES ของสถาบันการเงิน 10 แห่งตามกลไกปกติของสถาบันการเงินนั้น ซึ่งปัจจุบันที่ร่วมดำเนินการ
อาทิ ธนาคารกรุงไทย ธนาคารนครหลวง ไทย เอ็กซิมแบงก์ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
(ธสก.) บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรม ขนาดย่อม (บอย.) บรรษัทการปล่อยสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม(บสย.)
ธนาคารออมสิน เป็นต้น
นายวิวัฒน์ กล่าวว่า การรวบรวมผลการปล่อยกู้ในระยะที่ 1 วงเงิน 20,000
ล้านบาท นั้น ขณะนี้ยังรอการประมวลผลจากธนาคารกรุงไทยเป็นรายสุดท้าย และจะนำเสนอให้คณะกรรมการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดย่อมรับทราบต่อไป
อย่างไรก็ตามเบื้องต้นการประมวลผลพบว่ามีการกระจายขอกู้เงินจากหลายกลุ่มอุตสาหกรรม
จึงยังยากที่จะระบุได้ว่าเป็นกลุ่มอุตสากรรมใดที่มีความต้องการเงินเพื่อการไปทำธุรกิจหรือต่อยอดธุรกิจให้ดีขึ้น
เพราะเพิ่งดำเนินการได้เพียง 1 เดือน เท่านั้น คาดว่าจะต้องรอดูอีกประมาณ
3 เดือนข้างหน้าถึงจะวัดผลการแยกประเภทกลุ่มอุตสาหกรรมที่มีการใช้วงเงินอย่างชัดเจน
"การทำงานครั้งนี้ไม่เป็นการไปแย่งหรือซ้ำซ้อนการปล่อยกู้เพื่อธุรกิจขนาดกลางและย่อมของการปล่อยกู้สถาบันการเงินที่ร่วมโครงการแต่อย่างใด
ตรงกันข้ามจะเป็น การเอื้อกันได้มากขึ้น เพราะสสว. และสถาบันการเงินจะเชื่อมโยงข้อมูล
กันตลอดเพื่อรับทราบถึงประเภทลูกค้า เพื่อกลั่นกรองไม่ให้มีการขอกู้ซ้ำกัน
ป้องกันไม่ให้เกิดNPLในระบบได้"นายวิวัฒน์กล่าว