กรุงไทยจับมือพันธมิตร


ผู้จัดการรายวัน(19 สิงหาคม 2545)



กลับสู่หน้าหลัก

แบงก์กรุงไทยสวมบทบาทผู้นำฟื้นเศรษฐกิจ จับมือสสว.และธนาคารพาณิชย์เทสินเชื่ออุตสาหกรรมเอสเอ็มอีรวมกันเกิน 100,000 ล้านบาท เป็นการเดิมพันประเทศตามนโยบายรัฐบาลที่ต้องการให้เอสเอ็มอีเข้าตลาดหลักทรัพย์ใหม่ (MAI) นำไปสู่การฟื้นเศรษฐกิจระดับรากหญ้า ด้านสินเชื่อโครงการรัฐของแบงก์กรุงไทยปล่อยแล้ว 1.1 แสนล้านบาท

การช่วยเหลือวิสาหกิจขนาดกลางและย่อม(เอสเอ็มอี)รัฐบาลได้บรรจุนโยบายดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของแผนบริหารประเทศ ซึ่งเป็นนโยบายระดับชาติที่มุ่งหวังผลักดันให้ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีมีศักยภาพมากขึ้นและสามารถดำเนินธุรกิจต่อไปได้

เนื่องจากในช่วงที่ผ่านมาผลพวงจากวิกฤตเศรษฐกิจ ได้สร้างผลกระทบต่อภาคอุตสาหกรรมขนาดใหญ่อย่างมาก และลามไปถึงผู้ประ กอบการเอสเอ็มอีที่เป็นฐานซัพพอร์ตสินค้าให้กับอุตสาหกรรมขนาดใหญ่

“ต้องยอมรับว่าการพัฒาประเทศในช่วงที่ผ่านมา ละเลยธุรกิจเอสเอ็มอีอย่างมาก แต่มุ่งเพียงอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ที่จะสร้างความเป็นเศรษฐกิจใหม่ในภูมิภาคเอเชียขึ้นมาก แต่ก็ผิดหวัง เพราะโครงสร้างเศรษฐกิจยังไม่มีความพร้อม ในต่างประเทศธุรกิจเอสเอ็มอีจะมีบทบาทสำคัญอย่างมากในการรองรับประเทศในระยะยาว ต้องเข้าใจว่ารัฐบาลหลายชุดที่ผ่านมาก็มีนโยบาบช่วยเหลือเอสเอ็มอีแต่น้ำหนักของนโยบายไม่รุนแรงเหมือนปัจจุบัน ”แหล่งข่าวกล่าว

สำหรับแผนการช่วยเหลือเอสเอ็มอีในขณะนี้ รัฐบาลได้ออกมาตรการหลากหลายรูปแบบ เช่น การลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลให้กับธุรกิจเอสเอ็มอีโดยขยับฐานภาษีมูลค่าเพิ่มขึ้นเป็น 2 ล้านบาท การจัดตั้งบรรษัทสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บอย.)ที่เตรียมยกระดับสู่ธนาคารเอสเอ็มอี การจัดตั้งบรรษัทค้ำประกันสินเชื่อ อุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) เพื่อเข้าไปเพิ่มเครดิตการปล่อยสินเชื่อให้กับธนาคารพาณิชย์มากขึ้น

นอกจากนี้ การผลักดันให้ธนาคารของรัฐที่มีอยู่ เข้าไปสนับสนุนสินเชื่อให้กับเอสเอ็มอี โดยมีธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) KTB เป็นแกนหลัก ขณะเดียวกันรัฐบาลยังมีแผนให้ธุรกิจเอสเอ็มอีเข้าไประดมทุนในตลาดหลักทรัพย์ใหม่ (MAI) ในเบื้องต้นจะต้องเป็นธุรกิจเอสเอ็มอีที่มีทุนจดทะเบียนขั้นต่ำ 40 ล้านบาทแต่ไม่เกิน 200 ล้านบาท

ชำแหละตัวเลขแสนล้าน

กองทุน-แบงก์แห่ปล่อยกู้

ผู้สื่อข่าวรายงานจากธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) KTB ว่าขณะนี้ธนาคารมีแผนที่จะขยายความช่วยเหลือทางด้านสินเชื่อให้กับอุตสาหกรรมเอสเอ็มอี เพื่อให้เอสเอ็มอีสามารถรับได้ความช่วยเหลือทางด้านเงินทุน โดยธนาคารคาดว่าจะปล่อยกู้สินเชื่อให้กับอุตสาหกรรมเอสเอ็มอีได้ประมาณ 106,500 ล้านบาท

แบ่งเป็นโครงการแรกร่วมกับสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) ปล่อยกู้ 7 โครงการ โดยธนาคารเป็นผู้สนับสนุนเงินกู้ในวงเงินประมาณ 78,500ล้านบาท และอีกโครง การคือธนาคารร่วมกับสถาบันการเงินของรัฐจำนวน 10แห่ง จัดตั้งกองทุนสนับสนุนเอสเอ็มอี 3 กองทุน วงเงิน 60,000 ล้านบาท โดยเป็นส่วนของธนาคารกรุงไทยร่วมลงเงินใน 3กองทุนจำนวน

28,000 ล้านบาท

สำหรับรายละเอียดของโครงการที่ร่วมกับสสว.ปล่อยกู้ 7 โครง การ ประกอบด้วย

โครงการสินเชื่อเพื่อผู้ประกอบการใหม่, โครงการเพื่อผู้ประกอบการส่งออก,โครงการจัดสินเชื่อเพื่อพัฒนาเอสเอ็มอีสำหรับผู้ประกอบการทั่วไป, โครงการจัดสินเชื่อเพื่อพัฒนาเอสเอ็มอีสำหรับผู้ประกอบการขนาดเล็ก (สินเชื่อห้องแถว)

โครงการจัดสินเชื่อเพื่อพัฒนาเอสเอ็มอีสำหรับผู้ประกอบการขนาดจิ๋ว,โครงการสนับสนุนเงินทุนดำเนินงาน (แมทชิ่งฟันด์) และโครงการซัพพลายเออร์ เครดิต

ในเบื้องต้นทางสสว.เตรียมรายชื่อลูกค้าเอสเอ็มอีให้กับธนาคาร ของรัฐประมาณที่เข้าร่วมประมาณ5,000 รายทั้งนี้ในบางโครงการทางบสย.จะเข้ามาค้ำประกันสินเชื่อ

สำหรับโครงการจัดตั้งกองทุน 3 กองทุน ประกอบด้วย โครง การกองทุนเพื่อสนับสนุนสินเชื่อแก่ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีชุมชน

,โครงการร่วมทุนเพื่อสนับสนุนเอสเอ็มอีที่มีศักยภาพ แต่ติดเงื่อนไขบางอย่างของธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.)และโครงการจัดตั้งกองทุนร่วมทุน

ทั้งนี้การจัดตั้งกองทุนดังกล่าวจะมีจัดตั้งคณะทำงานขึ้นมา 1 ชุด คือคณะทำงานเพื่อการติดตามผลการดำเนินงานแผนยุทธศาสตร์ธนา คารพาณิชย์ของรัฐเพื่อสนับสนุนเอสเอ็มอีตามนโยบายของรัฐบาล

และโครงการปล่อยกู้เอสเอ็มอีของธนาคารกรุงไทยในครั้งนี้เป็นโครง การระยะเวลา2 ปี

ปัจจุบันธนาคารกรุงไทยปล่อยกู้ให้กับเอสเอ็มอีไปแล้วเกิน 10,000 ล้านบาท จากเป้าสินเชื่อที่ปล่อยกู้เอสเอ็มอีในปีนี้15,000 ล้านบาท และเพื่อให้ธนาคารสามารถปล่อยกู้เอสเอ็มอีได้มากขึ้น จึงได้มีการจัดอบรมสัมมนาผู้จัดสาขาทั่วประเทศเกี่ยวกับนโยบายการปล่อยสินเชื่อเอสเอ็มอีอีกด้วย

ก่อนหน้านี้สสว.ได้ประเมินว่าหากภาวะเศรษฐกิจของประเทศเติบโต 4% นั้นหมายความว่าจะส่งผลให้เอสเอ็มอีโตได้ 4% ในขณะที่อุตสาหกรรมขนาดใหญ่ยังไม่ฟื้นตัว นอกจากนี้ตามข้อมูลของ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศ (TDRI)ระบุว่ามูลค่าทางเศรษฐกิจของเอสเอ็มอีจะคิดเป็น 45% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ (GDP) ซึ่งในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมาอุตสาหกรรมขนาดใหญ่มีการจ้างงานลดลง 4% สวนทางกับการจ้างงานของเอสเอ็มอีที่เพิ่มขึ้นปีละ 4.7%

ปล่อยกู้ภาครัฐฉลุย1.1แสนล.

ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า ยอดการปล่อยสินเชื่อในส่วนของการปล่อยกู้ให้กับภาครัฐและรัฐวิสาหกิจของธนาคารกรุงไทยตั้งแต่ต้นปีจนถึงปัจจุบัน ได้ปล่อยกู้ไปแล้วถึง 112,200 ล้านบาทโดยการปล่อยกู้เกือบทั้งหมดกระทรวงการคลังเป็นผู้ค้ำประกันเงินกู้ทำให้ธนาคารไม่มีความเสี่ยงในการปล่อยกู้

สำหรับโครงการที่ปล่อยกู้ไปแล้วอาทิเช่นปล่อยกู้ให้กับกระทรวงการคลัง เพื่อนำเงินไปรีไฟแนนซ์พันธบัตรรัฐบาล ประมาณ 45,000 ล้านบาท นอกจากธนาคารกรุงไทยยังได้ปล่อยกู้ให้กับโครงการถไฟรางคู่เพิ่มเติมอีก 2,000 ล้านบาท จากเงินกู้ที่ปล่อยไว้เดิม 2,700 ล้านบาทและยังมีโครงการปล่อยกู้ให้กับองค์การขนส่งมวลชนกรุง เทพ (ขสมก.) เพื่อนำเงินไปชำระหนี้ค่าน้ำมันให้บริษัทปตท.จำกัด (มหาชน) และชำระค่าอะไหล่รถ ในวงเงิน 2,000ล้านบาท โดยการปล่อยกู้ทั้งโครงการรถไฟรางคู่และขสมก.ในครั้งนี้กระทรวงการคลังเป็นผู้ค้ำประกันเงินกู้

อย่างไรก็ตามการปล่อยสินเชื่อให้กับภาครัฐถือว่าทะลุเป้าที่ตั้งไว้จากเดิมธนาคารตั้งเป้าจะปล่อยกู้ 100,000 ล้านบาทขณะนี้สามารถปล่อยได้ถึง 112,200 ล้านบาทอย่างไรก็ตามเชื่อว่าเป้าสินเชื่อรวมในปีนี้ที่ตั้งไว้170,000 ล้านบาท จะสามารถทำได้ตามเป้าอย่างแน่นอน



กลับสู่หน้าหลัก

Creative Commons License
ผลงานนี้ ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย



(cc) 2008 ASTVmanager Co., Ltd. Some Rights Reserved.