บ้านปูเบรกซื้อโรงไฟฟ้าทีพีไอ รอศาลชี้ขาดแผนฟื้นฟูกิจการ


ผู้จัดการรายวัน(16 สิงหาคม 2545)



กลับสู่หน้าหลัก

บ้านปูแตะเบรกการซื้อโรงไฟฟ้าทีพีไอไว้ชั่วคราว รอทีพีไอเคลีย์ปัญหาความขัดแย้งของพนักงานให้เสร็จก่อน รวมทั้งรอฟังคำชี้ขาดของศาลเกี่ยวกับการขอแก้ไขแผนฟื้นฟูกิจการฯทีพีไอด้วย ระบุหากไม่มีแนวโน้มที่ดีขึ้นก็จะหยุดการซื้อโรงไฟฟ้า ชี้การเลื่อนซื้อโรงไฟฟ้าดังกล่าว ทำให้บ้านปูต้องปรับลดประมาณการรายได้ในปีนี้ลงจาก 1.4 หมื่นล้านบาทเหลือเพียง 1.2 หมื่นล้านบาท โดยครึ่งปีหลังคาดว่าจะมีรายได้เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนถึง 60% เป็นผลจากการรับรู้รายได้ของกลุ่มอินโดโคล

นายชนินท์ ว่องกุศลกิจ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท บ้านปู จำกัด (มหาชน) หรือ BANPU เปิดเผยว่า ขณะนี้บริษัทฯได้หยุดขั้นตอนการเจรจาการซื้อโรงไฟฟ้าทีพีไอของบริษัท ระยองเอนเนอยี่ มูลค่า 100 ล้านเหรียญสหรัฐเป็นการชั่วคราว เนื่อง จากเกิดปัญหาภายในของบริษัท อุตสาหกรรมปิโตรเคมีกัลไทย จำกัด (มหาชน) หรือ ทีพีไอ และรอคำสั่งศาลล้มละลายกลางเกี่ยวกับการแก้ไขแผนฟื้นฟูกิจการของทีพีไอด้วย จึงเห็นว่าบ้านปู เพาเวอร์ ไม่ควรเข้าไปเกี่ยวข้องในช่วงนี้ เพราะจะกระทบต่อธุรกิจได‰

เท่าที่ทราบผู้บริหารโรงงานทีพีไอกับผู้บริหารที่กรุงเทพฯ ยังเข้า ใจไม่ตรงกัน ซึ่งเราประมูลซื้อโรงไฟฟ้าตามข้อเสนอที่กำหนดไว้ หาก ผู้บริหารทั้งสองฝ่ายเข้าใจร่วมกันได้ โดยไม่มีการประท้วงของพนักงานทีพีไอ ทางบ้านปู เพาเวอร์ก็จะมีการ เจรจาต่อไป แต่หากไม่มีแนวโน้มที่ดีขึ้นก็จะหยุดการเจรจาไปเลย เพราะจะมีผลต่อภาพลักษณ์ของบริษัทและมีความเสี่ยงในการดำเนินธุรกิจด้วย

อย่างไรก็ตาม การเจรจาซื้อโรงไฟฟ้าทีพีไอขนาดกำลังการผลิต 108 เมกะวัตต์นั้น ยังไม่มีการตก ลงขั้นสุดท้ายที่มีผลในแง่กฎหมาย ดังนั้นการหยุดเจรจาไปชั่วคราวจึงเป็นสิทธิของทั้งสองฝ่าย หากทีพีไอ ต้องการหาผู้ซื้อโรงไฟฟ้าใหม่ก็สามารถทำได้ โดยเปิดประมูลขายโรงไฟฟ้าเหมือนที่ผ่านมา

ที่ผ่านมา บ้านปู เพาเวอร์ได้มีการเตรียมแผนการเงินโดยจะกู้เงินจากสถาบันการเงินเพื่อซื้อโรงไฟฟ้าทีพีไอแล้ว จากเดิมที่คาดว่าจะแล้วเสร็จภายในครึ่งแรกของปีนี้ โดยระยะแรกบ้านปู เพาเวอร์จะชำระเงินประมาณ 58 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยมีกู้จากทีพีไออีก 12 ล้านเหรียญสหรัฐ ส่วนที่เหลืออีก 30 ล้านเหรียญสหรัฐจะชำระเมื่อหน่วยงานราชการอนุมัติให้บ้านปู เพาเวอร์ทำการขยายโรงไฟฟ้าทีพีไออีก 80-100 เมกะวัตต์ได้

โดยล่าสุด พนักงานทีพีไอได้ออกมาประท้วงคัดค้านการขายโรงไฟฟ้าทีพีไอ รวมทั้งทำหนังสือคัดค้านยื่นให้รัฐบาลเข้ามาแก้ไขปัญหา กอปรกับ ศาลล้มละลายกลางยกคำร้องขอแก้ไขแผนฟื้นฟู กิจการของทีพีไอ ตามที่บริษัท เอ็ฟเฟ็คทีฟ แพลนเนอร์ส ในฐานะผู้บริหารแผนฯทีพีไอเป็นผู้เสนอ ส่งผลให้การขายโรงไฟฟ้าทีพีไอ ซึ่งถือเป็น สินทรัพย์รองต้องเลื่อนออกไปอย่างไม่มีกำหนด

จากการเลื่อนการซื้อโรงไฟฟ้าทีพีไอดังกล่าว นี้เอง ทำให้บ้านปูต้องปรับตัวเลขประมาณการราย ได้ในปี 2545 ใหม่ โดยลดลงไปจากเดิมที่ตั้งเป้า หมายไว้14,000 ล้านบาท เหลือเพียง 12,000 ล้าน บาท เพราะไม่สามารถรับรู้รายได้ของบริษัท ระยองเอนเนอยี่ จำกัด

นอกจากนี้ ราคาถ่านหินได้มีการอ่อนตัวลง มาตั้งแต่เมษายน 2545 ทำให้แนวโน้มราคาถ่าน หินจะอ่อนตัวลงจนถึงปลายปีนี้ คิดเป็น 7-10% เมื่อเทียบจากปีก่อน แต่จากปริมาณการขายถ่าน หินที่เพิ่มขึ้นในเหมืองอินโดนีเซียถึง 15% ทำให้ชดเชยราคาที่อ่อนตัวของถ่านหิน ดังนั้นในครึ่งปี หลังนี้ รายได้บ้านปูไม่ต่ำกว่า 4,500 ล้านบาท ซึ่ง สูงครึ่งหลังของปี 2544 ที่มีรายได้รวม 3,123 ล้าน บาท ประมาณ 60%

โดยครึ่งแรกของปีนี้ บ้านปูขายถ่านหินรวม ทั้งสิ้น 6.3 ล้านตัน คาดว่าครึ่งปีหลังนี้จะขายถ่าน หินเพิ่มขึ้นอีก 7.5 ล้านตัน ทำให้รายได้ในครึ่งปีหลังน่าจะดีกว่าครึ่งปีแรก

ปัจจุบัน บ้านปูมีกำลังการผลิตถ่านหินรวม ทั้งสิ้น 20.3 ล้านตัน โดยปีนี้จะสามารถถ่านหินทั้งในและต่างประเทศได้ 13.8 ล้านตัน ที่มีปริมาณ สำรองถ่านหินรวม 245.49 ล้านตัน โดยเป็นปริมาณสำรองถ่านหินจากอินโดนีเซียถึง 230 ล้านตัน

ทั้งนี้ บ้านปูจะมีกำลังการผลิตถ่านหินเพิ่มขึ้น 18.5-20 ล้านตันในอีก 4ปีข้างหน้า เนื่องจาก เหมืองทรูบาอินโด ซึ่งเป็นเหมืองที่มีถ่านหินคุณภาพดีที่สุดของบ้านปู จะเริ่มดำเนินการผลิต เชิงพาณิชย์ได้ โดยมีเป้าหมายผลิตถ่านหินได้ถึงปีละ 4 ล้านตัน เน้นทำสัญญาขายถ่านหินระยะยาว

นายชนินท์ กล่าวถึงกลยุทธ์การดำเนินธุรกิจ ในครึ่งปีหลัง 2545 ว่า บ้านปูจะปรับกระบวน การผลิตและการตลาด โดยจะใช้ฐานการตลาดเดิมของอินโดโคล มาเป็นตลาดใหม่ของบริษัท เพราะอินโดโคลมีลูกค้ามาก รวมทั้งจะนำถ่าน หินของเหมืองโจร่งไปขายด้วย นอกจากนี้ยังจะเจาะตลาดส่งออกใหม่ เพิ่มไม่ว่าจะเป็นเกาหลีใต้ ไต้หวัน มาเลเซีย และฟิลิปปินส์ ในลักษณะระยะสั้นเพิ่มขึ้น เนื่องจากการซื้อแบบสัญญาระยะยาวจะต้องอาศัยเวลาการสร้างสัมพันธ์นาน

ส่วนกลยุทธ์ในระยะปานกลาง (1-3 ปีข้างหน้า) บ้าปูจะขยายตลาดถ่านหินให้กระจายไปสู้ตลาดเอเชียเพิ่มขึ้น โดยอาศัยเหมืองถ่านหินที่อินโดนีเซียเป็นหลัก รวมทั้งเพิ่มสัญญาการซื้อขายถ่านหินกับลูกค้าระยะยาว เป็น 60-65% จาก เดิมที่มีสัญญาซื้อขายถ่านหินระยะยาวแค่ 40% เพื่อเพิ่มความมั่นคงทางการตลาดและลดต้นทุน การขนส่งลงด้วย

ซึ่งปริมาณสำรองถ่านหินในไทยทั้ง 3 เหมือง ใกล้หมดลงในปี 2551 และถ้ากรมทรัพยากร ธรณีเปิดให้สัมปทานเหมืองถ่านหินในประเทศเพิ่มเติม เชื่อว่าคงเป็นแหล่งสัมปทานที่มีปริมาณ สำรองถ่านหินไม่มากนัก

ส่วนการลงทุนในธุรกิจไฟฟ้านั้น บ้านปูจะเน้นลงทุนโรงไฟฟ้าที่ใช้ถ่านหินเป็นเชื้อเพลิง เพื่อ เสริมธุรกิจของบริษัทฯ แม้ว่าขณะนี้จะยังไม่มีแผนลงทุนในธุรกิจโรงไฟฟ้าใหม่เพิ่มเติมก็ตาม ปีหน้าตั้งงบลงทุน 37ล้านดอลล์

นายชนินท์ กล่าวถึงแผนการลงทุนของบ้านปูในปี 2546 ว่า บริษัทฯตั้งงบประมาณการลงทุนไว้ 37 ล้านเหรียญสหรัฐ แบ่งเป็นการลงทุน ถ่านหินในอินโดนีเซีย 14 ล้านเหรียญสหรัฐ โดย จะใช้ในการพัฒนาเหมืองถ่านหินทรูบาอินโดประมาณ 7 ล้านเหรียญสหรัฐ และใช้ลงทุนในโรงไฟฟ้าบีแอลซีพีอีก 22 ล้านเหรียญสหรัฐ

โดยโครงการโรงไฟฟ้าบีแอลซีพี เพาเวอร์ ขณะนี้ได้มีการคัดเลือกใช้เครื่องจักรจากมิตซูบิชิ รวมทั้งตั้งเอบีเอ็น แอมโร และบริษัทหลักทรัพย์ ฟินันซา เป็นที่ปรึกษาทางการเงิน เพื่อเตรียมความพร้อมในการจัดหาแหล่งเงินกู้ในการก่อสร้างโรงไฟฟ้าไอพีพีขนาดกำลังการผลิต1,347 เมกะวัตต์ ให้แล้วเสร็จภายในตุลาคม 2549

โครงการดังกล่าวจะต้องดำเนินการจัดหาแหล่งเงินกู้ให้แล้วเสร็จภายในกลางปี 2546 และดำเนินการก่อสร้างในปลายปีเดียวกัน

นายชนินท์ กล่าวถึงความคืบหน้าในการหา พันธมิตรร่วมทุนใหม่ในโรงไฟฟ้าบีแอลซีพี หลังจากกลุ่มล็อกซเล่ย์ได้ถอนตัวออกไปว่า ขณะนี้ได้มีบริษัทต่างชาติรายหนึ่งสนใจเข้าร่วมทุน ซึ่งอยู่ระหว่างการพิจารณาของบริษัท ไชน่า ไลท์ ซึ่งเป็นพาร์ทเนอร์ หากผ่านความเห็นชอบก็จะให้ ถือหุ้นประมาณ 25% ทำให้บ้านปูกลับไปถือหุ้นใน โรงไฟฟ้าบีแอลซีพีเท่าเดิมที่ 35%

เตรียมรีไฟแนนซ์หนี้โรงไฟฟ้าไตรฯ

นางสมฤดี ชัยมงคล ผู้อำนวยการสายอาวุโส การเงิน บริษัท บ้านปู จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ขณะนี้บริษัทได้ไถ่ถอนหุ้นกู้แปลงสภาพ ที่จำหน่ายต่างประเทศ (อีซีดี) เพิ่มอีก 1 ล้านเหรียญสหรัฐ คงเหลือเพียงแค่ 3 ล้านเหรียญสหรัฐ หลังจากปลายปีที่ผ่านมา บริษัทฯได้ซื้อหุ้น กู้คืนจนเหลือแค่ 4 ล้านเหรียญสหรัฐ ดังนั้นหาก ผู้ถือหุ้นกู้ตอ้งการที่จะไถ่ถอนก่อนกำหนด บริษัทฯก็พร้อมที่จะซื้อคืน เพราะหุ้นกู้ดังกล่าวนี้ จะครบกำหนดไถ่ถอนในเดือนเมษายน 2546

นอกจากนี้ บริษัท ไตร เอนเนอจี้จำกัด ซึ่ง เป็นผู้ผลิตไฟฟ้าไอพีพีขนาดกำลังการผลิต 700 เมกะวัตต์ มีแผนที่จะรีไฟแนนซ์หนี้เงินกู้ดอลลาร์ สหรัฐเป็นเงินสกุลบาทแทน โดยจะเสนอบอร์ดเพื่อพิจารณาในสัปดาห์หน้า ซึ่งรูปแบบการรีไฟแนนซ์อยู่ระหว่างการตัดสินใจว่าจะเลือกออก หุ้นกู้หรือกู้เงินจากสถาบันการเงินแทน

โดยวงเงินที่ บริษัทฯจะทำการรีไฟแนนซ์นั้นเพียง 90 ล้านเหรียญสหรัฐจากมูลหนี้เงินกู้ทั้งหมด 250 ล้านเหรียญสหรัฐ เพื่อแปลงเป็นเงิน บาท หวังลดความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนลง ครึ่งปีแรกกำไรโต 105%

ส่วนผลการดำเนินงานรอบระยะเวลา 6 เดือน ประจำปีงบประมาณ 2545 ของบริษัทฯมี กำไรสุทธิ 1,157 ล้านบาท คิดเป็นกำไรต่อหุ้นเท่ากับ 5.47 บาทต่อหุ้น เพิ่มขึ้นจากงวดเดียว กันของปีที่ผ่านมา ซึ่งมีกำไรสุทธิ 591 ล้านบาท เติบโตขึ้น 105% และกำไรต่อหุ้นเท่ากับ 2.70 บาท ต่อหุ้น เป็นผลจากการรับรู้รายได้ของกลุ่มอินโดโคลตั้งแต่ต้นมีนาคมที่ผ่านมา

ทั้งนี้ บริษัทฯมีผลกำไรขั้นต้นจากการขายจำนวน 1,386 ล้านบาท คิดเป็น 28% ของยอดขายรวม เพิ่มขึ้นจากงวดเดียวกันของปีที่แล้วซึ่งมีอัตรากำไรขั้นต้น 16% เนื่องจากความสามารถในการทำกำไรจากแหล่ง Jorong ดีขึ้น มีอัตราส่วนหนี้สินต่อทุน เมื่อสิ้นสุดเดือนมิ.ย.45 สำหรับงบการเงินรวมเท่ากับ 1.03 เท่า ต่ำกว่า ณ วันที่ 31 มี.ค.45 ซึ่งอยู่ที่ระดับ 1.15 เท่า

ในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา บริษัทฯ มีรายได้ จากการขายรวม 4,874 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากงวด เดียวกันของปีที่แล้ว 2,122 ล้านบาท คิดเป็น 77% จากรายได้ทั้งหมด แบ่งเป็นรายได้จากการจำหน่ายถ่านหิน 4,667 ล้านบาท คิดเป็น 96% ของรายได้จากการขายรวม เพิ่มขึ้น 2,808 ล้านบาท หรือ 151% โดยแบ่งเป็นรายได้จากการขาย ถ่านหินจากแหล่งผลิตในประเทศไทย 732 ล้านบาท รายได้จากการขายถ่านหินจากแหล่งผลิตใน อินโดนีเซีย 3,384 ล้านบาท โดยกลุ่มอินโดโคล เริ่มเข้ามาเมื่อเดือนมี.ค. 44 ซึ่งปัจจุบันมีการผลิต ใน 3 แหล่ง คือเหมืองโจ-ร่ง, เหมืองอินโดมินโค และเหมืองคิทาดิน และรายได้จากการนำเข้าถ่านหินจากแหล่งอื่นในต่างประเทศมาจำหน่ายในประเทศไทย 551 ล้านบาท

นอกจากนี้ บริษัทฯ มีรายได้จากการจำหน่ายแร่อุตสาหกรรมและบริการอื่นจำนวน 207 ล้านบาท คิดเป็น 4% ของรายได้รวม มีราย ได้อื่น 402 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 278 ล้านบาท เมื่อ เทียบกับงวดเดียวกันของปีที่แล้ว ส่วนใหญ่มาจากเงินปันผลบริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) 217 ล้านบาท ธุรกิจท่าเรือ 31 ล้านบาท บริษัท ลานนารี-ซอร์สเซส จำกัด (มหาชน) 11 ล้านบาท

บริษัทรับรู้ส่วนแบ่งกำไรจากการดำเนินงาน ของบริษัทร่วม ซึ่งคิดตามสัดส่วนการลงทุนเป็นกำไรจำนวน 359 ล้านบาท โดยเป็นการรับรู้ผลกำไรของ บริษัท ไตร เอนเนอจี้ จำกัด จำนวน 414 ล้านบาท และรับรู้ผลขาดทุนจากการดำเนิน งานของบริษัทร่วมอื่นจำนวน 55 ล้านบาท

บริษัทรับรู้กำไรจากอัตราแลกเปลี่ยนสำหรับงวดนี้ จำนวน 499 ล้านบาท เปรียบเทียบกับงวดเดียวกันของปีก่อนที่มีผลกำไร 151 ล้านบาท เป็นผลมาจากค่าเงินบาทและค่าเงิน รูเปียหŒของอินโดนีเซียที่แข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับค่าเงินดอลลาร์สหรัฐ



กลับสู่หน้าหลัก

Creative Commons License
ผลงานนี้ ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย



(cc) 2008 ASTVmanager Co., Ltd. Some Rights Reserved.