เอไอเอสปรับกลยุทธ์ชนคู่แข่ง


ผู้จัดการรายวัน(7 สิงหาคม 2545)



กลับสู่หน้าหลัก

เอไอเอสปรับเป้าใหม่ คาดยอดลูกค้ารวมสิ้นปีสูงถึง 11 ล้านเครื่อง หรือเติบโตกว่า 112% ชี้ตลาดมือถือครึ่งปีหลังแข่งหนักจะเกิด 5 เหตุการณ์สำคัญสงครามราคา การขยายตัวของพรีเพด การเติบโตของตลาดวัยรุ่น และภูมิภาค รวมทั้งบริการอิงเทคโนโลยีใหม่ "ทรงศักดิ์ เปรมสุข"ย้ำเอไอเอสยังคงเป็นผู้นำตลาดต่อไปด้วยจุดแข็ง 6 ประการ

นายทรงศักดิ์ เปรมสุข รองกรรมการผู้อำนวยการสายงานการตลาด บริษัท แอดวานซ์อินโฟร์ เซอร์วิส ผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อน ที่ในระบบจีเอสเอ็ม แอดวานซ์ และมือถือพร้อมใช้วัน-ทูคอลกล่าว ว่าเอไอเอสคาดว่าสิ้นปี 2545 จะมีฐานลูกค้าทั้งสิ้น 11 ล้านราย เมื่อเทียบกับสิ้นปี 2544 ที่มีฐานลูกค้าประมาณ 5.2 ล้านราย เท่ากับเอไอเอสมีการเติบโตในปีนี้ประมาณ 112% และจะมีส่วนแบ่งการตลาดประมาณ 61%

"ยอดจดทะเบียนในเดือน ก.ค.มีสูงถึง 7.5 แสนราย ถือว่าเป็น สถิติใหม่ของเอไอเอส สำหรับยอด จดทะเบียนในช่วง 6 เดือนแรกของปีนี้ เราทำได้ถึง 8.4 ล้านราย"

เอไอเอสได้ตั้งเป้าเมื่อต้นปีว่า จะมียอดผู้ใช้บริการรวมประมาณ 9 ล้านคนหรือเติบโตเพียง 73% แต่เพราะสภาพตลาดที่เปลี่ยนแปลงไป จากการแข่งขันที่รุนแรงทำให้ตลาด เติบโตมากขึ้น เอไอเอสจึงปรับเป้าหมายใหม่ โดยคาดว่าตลาดรวมโทรศัพท์มือถือจะเติบโตถึง 18 ล้าน เครื่อง จากตลาดรวมในปี 2544 ที่มีประมาณ 7.9 ล้านเครื่อง หรือโตขึ้นถึง 128%

สำหรับสถานการณ์การแข่งขันในช่วงครึ่งปีหลัง เขามองว่าจะเกิดเหตุการณ์ 5 ประการที่สำคัญคือ

1. สงครามราคาที่รุนแรง ภายหลังจากที่เอไอเอสปรับโครงการการทำตลาดใหม่ โดยแยกขายเครื่องโทรศัพท์มือถือและแยกขาย ซิมการ์ด ทำให้ตลาดเติบโตอย่างรุนแรง ซึ่งทำให้ผู้ให้บริการรายอื่นอย่างดีแทคและทีเอ ออเร้นจ์หันมาขายซิมการ์ดในลักษณะแจกฟรี แถมโปรโมชั่นการโทร.บวกเข้าไป ซึ่งกลยุทธ์ดังกล่าวมีจุดประสงค์ต้อง การส่วนแบ่งตลาด

2. ตลาดมือถือจะถูกยึดครองด้วยบริการพรีเพดหรือจ่ายเงินก่อนใช้โทร.ที่หลัง ทำให้บริการโทรศัพท์มือถือกลายเป็นคอนซูเมอร์ โปรดักส์มากขึ้น ซึ่งผู้ให้บริการจำเป็นต้องรักษาฐานลูกค้าให้ได้มากที่สุด

3.ตลาดจะเป็นของกลุ่ม วัยรุ่นหรือ Youth Market ซึ่งถือเป็นตลาดใหญ่ ซึ่งลักษณะพฤติกรรมผู้บริโภคในกลุ่มนี้ จะมีความภักดีกับยี่ห้อต่ำ พร้อมจะเปลี่ยนแปลงได้ทุกเมื่อ

4. ตลาดต่างจังหวัดจะเป็นตลาดที่เติบโตได้อีกมาก หลังจากที่ตลาดในกรุงเทพฯเริ่มใกล้อิ่มตัว ผู้ให้บริการที่จะได้เปรียบในการแข่งขันใน ภูมิภาค คือคนที่มีคุณภาพของเครือข่ายที่พร้อม ให้บริการ

5.การคิดค้นบริการใหม่ๆหรือ Innovative Technology การแข่งขันของผู้ให้บริการ จะมีการหยิบยกเรื่องบริการใหม่ๆ อิงเทคโนโลยีที่ทันสมัย เพื่อประกาศความเป็นผู้นำ หรือเป็นผู้ให้บริการรายแรก

"เมื่อวิเคราะห์ถึงสิ่งที่เกิดขึ้นแล้วคำถามคือ เป้าหมายของเอไอเอสในการทำตลาดจะเป็นอย่างไร" นายทรงศักดิ์กล่าวและขยายความว่าใน เรื่องของสงครามราคา เอไอเอสไม่มีเป้าหมายใน การซื้อส่วนแบ่งตลาดด้วยวิธีการรับภาระเครื่อง หรือการแจกซิมฟรีเหมือนผู้ให้บริการรายอื่น แต่เป้าหมายของเอไอเอสคือการรักษาและขยายฐานลูกค้าชั้นดี โดยเฉพาะจีเอสเอ็ม แอดวานซ์ ที่ยังมีลูกค้าอยู่ประมาณ 2.3 ล้านคน ซึ่งถือเป็น กลุ่มลูกค้าเก่าที่อยู่กับเอไอเอสมายาวนาน ตั้งแต่ 10-12 ปี ถือเป็นลูกค้าในกลุ่มพรีเมี่ยมที่เอไอเอสต้องรักษาไว้ให้นานที่สุด

2. เป้าหมายในการทำตลาดต่อไปคือการเพิ่มรายได้ให้มากขึ้น โดยเฉพาะลูกค้าในกลุ่มพรีเพดหรือวัน-ทู-คอล ที่จำเป็นต้องให้ได้รับความสะดวกในการใช้งานมากขึ้น อย่าง การเติม เงินตลอด 24 ชม.รวมทั้งการให้บริการอินเตอร์เนชั่นแนล โรมมิ่งหรือ IR ต่อไปลูกค้าวัน-ทู-คอล สามารถนำโทรศัพท์มือถือไปใช้ต่างประเทศได้ พร้อมทั้งกระตุ้นการใช้งานด้านการสื่อสารข้อมูล ให้มากขึ้น ซึ่งต้นปี 2546 จะเห็นบริการเป็นรูปธรรมชัดเจนมากขึ้น ซึ่งในปี 2545 คาดว่าบริการ ด้านบริการเสริม (VAS) จะมีรายได้ประมาณ 3,000 ล้านบาท โดยคิดเป็นบริการประเภทนอนวอยซ์ แอปพลิเคชั่นจะมีรายได้ประมาณ 1,500 ล้านบาท โดยมีฐานลูกค้าใช้บริการประมาณ 38%

4. เอไอเอสจะมีเป้าหมายบุกตลาดภูมิภาค มากขึ้น โดยให้จีเอสเอ็ม แอดวานซ์บุกในตลาดลูกค้าพรีเมี่ยม จีเอสเอ็ม 1800 บุกตลาดคนที่ไม่ ต้องการบริการพรีเพด และใช้วัน-ทู-คอล กวาด ตลาดที่เหลือทั้งหมด

นายทรงศักดิ์กล่าวว่าจุดแข็งที่ทำให้เอไอเอส คาดว่าจะประสบความสำเร็จในการทำตลาดดังกล่าวประกอบด้วย1.Excellent Network ด้วย ความเชื่อที่ว่าเครือข่ายผู้ให้บริการรายอื่นยังยากที่จะกวดเอไอเอสทันในปีนี้จนถึงปีหน้า โดย เฉพาะเอไอเอสยังมีจุดแข็งในเรื่องเครือข่ายไม่ว่า จะเป็น In Building Network ในอาคารสำนักงานต่างๆ การครอบคลุมของเครือข่ายที่ลง ลึกไปมากกว่าแค่ 795 อำเภอ ความสามารถในการโทร.เข้าออก ไม่ใช่ว่าสัญญาณเต็ม 4 ขีดแต่ไม่สามารถโทร.ได้ ตลอดจนคุณภาพของเครือข่าย ที่ต้องไม่โทรแล้วหลุดหรือโทร.เข้าออกลำบาก

2. ความเข้มแข็งในเรื่องตรายี่ห้อหรือ แบรนด์ วันนี้ตลาดโทรศัพท์มือถือกำลังแข่งขันใน เรื่องแบรนด์หรือ Brand War เอไอเอสมีจุดแข็ง ในเรื่อง Multi Brand Strategy เน้นในเรื่องการ ทำตลาดตามกลุ่มลูกค้าหรือเซกเมนท์เตชั่น มีการ จัดกิจกรรมที่เรียกว่า 360 องศา แบรนด์ แอค ติวิตี้ ประกอบด้วยจีเอสเอ็ม แอดวานซ์ จีเอสเอ็ม 1800 และวัน-ทู-คอล ซึ่งในช่วงครึ่งปีหลังจะเห็น ภาพแบรนด์ในกลุ่มเอไอเอสทั้งหมดทั่วประเทศไทย

3. จุดแข็งในเรื่องการทำ Regional Marketing แบ่งประเทศไทยเป็น 5 ส่วน เพื่อให้เข้า ใกล้ลูกค้าและเข้าถึงความต้องการลูกค้าในแต่ละภูมิภาคมากขึ้น

4.ช่องทางจำหน่ายเรียกได้ว่าเอไอเอสมีคามแข็งแกร่งเรื่องช่องทางมาก โดยแบ่งเป็นร้านเทเลวิซ 400 แห่ง ดีลเลอร์ 300 แห่งและช่องทางที่เรียกว่า Life Style Outlet อีก 6,500 แห่ง กระจายทั่วประเทศ

5. เอไอเอสยังเน้นการทำ Personal Marketing มีโปรแกรมพิเศษเข้าถึงลูกค้าชั้นดีแต่ละราย เอไอเอส ลงทุนกว่า 3,000 ล้านบาท เพื่อทำ Database Management เก็บข้อมูลลูกค้าแต่ละรายและ

6. ให้บริการที่เป็น Innovative โดยเป็นบริการที่เน้นความสนุกสนาน (Fun) รวมทั้ง Up-to-Date-Information เป็นบริการที่สามารถใช้งานได้จริง โดยไม่จำเป็นต้องเป็นผู้ให้บริการรายแรก

"โจทย์ใหญ่เอไอเอสวันนี้คือจะดูแลลูกค้า 10 ล้านคนให้ดีได้อย่างไร การลงทุนส่วนใหญ่จะปรับปรุงบริการลูกค้าให้มีคุณภาพ ลงทุนเครือ ข่ายให้โทร.ได้สะดวกและระบบบิลลิ่งต่างๆ เอไอเอสจะเป็นผู้ชี้นำด้านบริการ แต่ไม่ใช่ผู้ชี้นำด้าน สงครามราคา ในการทำธุรกิจ"



กลับสู่หน้าหลัก

Creative Commons License
ผลงานนี้ ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย



(cc) 2008 ASTVmanager Co., Ltd. Some Rights Reserved.