"บุญคลี"ชี้วิกฤตธุรกิจโทรคมไทย แนะเร่งปรับกลยุทธ์บริหารกิจการ


ผู้จัดการรายวัน(6 สิงหาคม 2545)



กลับสู่หน้าหลัก

บุญคลี ปลั่งศิร" ชี้กิจการโทรคมนาคมไทยต้องเร่งปรับการบริหารใหม่รับยุคการแข่งขันเสรี ประเมินสถานการณ์ธุรกิจ วางแผนการลงทุน สร้างความสมดุล ภายในองค์กร สู่รูปแบบโครงการบริหารที่ท้าทาย อาศัยทีมลีดเดอร์เจาะตรงใจกลุ่มผู้บริโภค มั่นใจทำ ได้องค์กรไปโลดแน่

นายบุญคลี ปลั่งศิริ ประธานกรรมการบริหารกลุ่มชินคอร์ปอเรชั่น ในฐานะบุคคลดีเด่นด้านโทรคมนาคมประจำปี 2545 ปาฐกถาพิเศษในงานประชุมทางวิชาการด้านโทรคมนาคม หรือเอเชียคอมม์/เอ็กซ์โปคอมม์ 2002 เรื่องการบริหารกิจการโทรคมนาคมในยุคการแข่งขันเสรี ว่าขณะนี้แม้ว่าประเทศไทยได้ยังไม่ได้ก้าวเข้าสู่การเปิดเสรีในส่วนของกิจการโทรคมนาคม แต่การแข่งขันทางธุรกิจในปัจจุบันดุเดือดและเข้มข้นเหมือนกับธุรกิจด้านนี้เปิดกว้างอย่างเสรีแล้ว

ทั้งนี้หลังจากการเปิดเสรีกิจการ โทรคมนาคม สิ่งที่ตามมาคือกระบวน การปรับโครงสร้างของแต่ละธุรกิจภาย ใต้การกำกับดูแลขององค์กรอิสระ เพื่อให้เกิดความสมดุลระหว่างการดูแล ผู้บริโภค ความอยู่รอดขององค์กรธุรกิจเอกชน และการใช้ทรัพยากรของประเทศอย่างมีประสิทธิภาพ

โครงสร้างที่ผู้ประกอบการธุรกิจ โทรคมนาคมจะต้องพิจารณา ประกอบด้วยส่วนสำคัญ 3 ด้าน ได้แก่ 1.ด้านจำนวนประกอบการที่มีผลต่อตลาด เนื่องจากจะเป็นตัวบ่งบอกถึงความอยู่รอด 2.ขอบเขตบริการ หมายถึงเทคโนโลยีเครื่องมือต่างๆ ที่นำมาใช้จะ ต้องพิจารณาการพัฒนาต่อเนื่องได้ เพราะปัจจุบันอายุการใช้งานของเทคโนโลยีไม่เกิน 10 ปี การสร้างความต่อ เนื่องทางเทคโนโลยีจนสามารถทำให้เกิดองค์กรใหม่ที่สร้างรายได้ ถือเป็นผลสำเร็จขององค์กร

และ 3. ด้านการแข่งขันคือตัวผลักดันให้องค์กรเคลื่อนไหวตลอดเวลา หากองค์กรในไม่สามารถสร้างแรงผลักดันได้องค์กรนั้นจะไม่สามารถ อยู่ในธุรกิจที่มีผู้บริโภคเป็นตัดสินการเลือกใช้งานบริษัทใดบริษัทหนึ่ง

"สินค้าโทรคมนาคมแม้จะเป็นสินค้ามวลชนเช่นเดียวกับสินค้าคอนซูเมอร์ แต่การทำตลาดต่างกันโดยสิ้น เชิง เพราะสินค้าโทรคมนาคมเป็นการ ขายสินค้าล่วงหน้า เหมือนกับการขาย สินค้าตัวอย่างให้ผู้บริโภคทดลองใช้ ซึ่งจะส่งผลในอีก 3-5 ปีข้างหน้า ส่งผล หากองค์กรโทรคมนาคมใดสามารถควบคุมราคาที่จะเกิดขึ้นในอนาคตได้ถือเป็นองค์กรที่ประสบความสำเร็จŽ

หากพิจารณาตัวเลขการลงทุนของภาคธุรกิจโทรคมนาคมในช่วงปี 2543-2544 ทั้งในส่วนของภาครัฐและเอกชนถือได้ว่าเป็นธุรกิจที่มีการลงทุนมูลค่าสูงที่สุดไม่ต่ำกว่า 100,000 ล้านบาท และยังมีแนวโน้มที่จะต้องลงทุนเพิ่มมากขึ้นต่อไปอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากการเติบโตของยอดขาย ส่งผลให้งบลงทุนในการขยายเครือข่ายเพื่อรองรับความต้องการสูงขึ้นตามไปด้วย

ในเรื่องดังกล่าวผู้บริหารกิจการ โทรคมนาคมต้องมีการวางแผนการลง ทุนอย่างรอบคอบ เนื่องจากจำนวนเงิน ลงทุนยิ่งมากก็หมายถึงจำนวนหนี้สินที่เพิ่มมากขึ้นด้วย ยกตัวอย่างบริษัทเอไอเอส ปัจจุบันมีตัวเลขหนี้สินกว่า 40,000 ล้านบาท อย่างไรก็ตามตัวเลข ดังกล่าวไม่ได้ก่อให้เกิดปัญหากับบริษัท เพราะว่ายอดขายที่เพิ่มสูงขึ้น ทำให้รายได้ของบริษัทมีมากกว่างบลงทุนและยอดหนี้สิน

"ผู้ประกอบการโทรคมนาคมในขณะนี้เร่งยอดขายมากๆ จึงต้องลงทุนให้สอดคล้องกับภาวะการเติบโตของตลาด ตัวเลขที่เกิดขึ้นของงบลงทุนหากยังสอดคล้องกับยอดขาย จะไม่ส่งผลกระทบ แต่หากไม่เป็นเช่นนั้นบริษัทเหล่านั้นจะประสบกับปัญหาทางธุรกิจในอนาคต ซึ่งผู้ประ กอบการรายใดสามารถหยุดการลงทุน ได้ก่อนในธุรกิจนี้จะเป็นผู้ชนะ สำหรับผู้ที่ต้องลงทุนแบบไม่หยุดจะเป็นผู้แพ้

นายบุญคลี กล่าวว่าที่สำคัญในขณะนี้กิจการโทรคมนาคมของไทยเป็นองค์กรขนาดใหญ่ทั้งขนาด ขอบ เขตการทำงาน พื้นที่รับผิดชอบและจำนวนพนักงาน ส่งผลต่อการบริหารงานเชื่องช้า ต้องมีการปรับโครงสร้างใหม่ให้เหมาะสมและพร้อมปรับตัวอย่างรวดเร็ว

รูปแบบของกิจการโทรคมนาคมเปลี่ยนการบริหารไปสู่รูปแบบใหม่ ในการสร้างทีมลีดเดอร์เป็นหน่วยย่อย หลายหน่วย เพื่อตอบสนองความต้อง การของลูกค้าในช่วงใดช่วงหนึ่ง โดยไม่ต้องคำนึงถึงการแบ่งตามบริการหรือเทคโนโลยีในรูปแบบของฝ่ายหรือส่วนใดส่วนหนึ่ง

"โครงสร้างบริหารกิจการโทรคมนาคมรูปแบบใหม่ที่กำลังจะเกิดขึ้นเป็นเรื่องที่ท้าทายความสามารถของ ผู้บริหารองค์กรเป็นอย่างมาก เพราะเราคงไม่อยากเห็นบริษัทโทรคมนาคมไทยต้องพึ่งพาผู้บริหารต่างประเทศ หรือไม่อยากเห็นกิจการของคนไทยตกอยู่ในมือบริษัทต่างชาติ"



กลับสู่หน้าหลัก

Creative Commons License
ผลงานนี้ ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย



(cc) 2008 ASTVmanager Co., Ltd. Some Rights Reserved.