สรรหา"ซีอีโอ"ทศท.คึกคัก "สิทธิชัย"เข้าตากรรมการ


ผู้จัดการรายวัน(1 สิงหาคม 2545)



กลับสู่หน้าหลัก

คาดรองผู้อำนวยการ"สิทธิชัย ส่งพิริยะกิจ" เป็นตาอยู่ คว้าเก้าอี้ซีอีโอ ทศท.คอร์ปอเรชั่น ด้วยคุณสมบัติเข้าตากรรมการสรรหาไม่ว่าจะเป็นคนใน เป็นที่ยอมรับของพนักงานและผู้บริหารด้วยกัน

รวมทั้งได้ชื่อว่าโปร่งใสตามกฏกติกามากที่สุดคนหนึ่ง แหล่งข่าวจากบริษัท ทศท คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) กล่าวถึง กระบวนการ สรรหากรรมการผู้จัดการใหญ่หรือซีอีโอ คนใหม่ของบริษัท

ทศท.คอร์ปอเรชั่น ภายหลังจากที่ทศท.จดทะเบียนเป็นบริษัทว่าระยะเวลา ที่กำหนดให้ผู้ที่สนใจมาสมัครภายในวันที่ 31 ก.ค.นั้นปรากฏว่านายสิทธิชัย ส่งพิริยะกิจ รองผู้อำนวยการทศท.ลงสมัครด้วย

"รองสิทธิชัย เป็นที่ยอมรับของพนักงานทศท.มากแต่ที่สำคัญเป็นผู้บริหารที่ไม่มีพ่อค้ามานั่งรอพบหน้าห้องทุกๆเย็นหรือทุกๆเช้า"

กระบวนการสรรหาซีอีโอทศท.ชะงักมาตั้งแต่เดือนเม.ย.เนื่องจากความไม่ชัดเจนของนโยบายรัฐบาลในการแปรสภาพทศท.และกสท.ว่าจะรวมหรือจะแยก

แต่เมื่อครม.มีมติชัดเจนให้ทศท.เข้าจดทะเบียนโดยไม่ ต้องมีบริษัทรวมทุนหรือโฮลดิ้ง คัมปานี กระบวนการสรรหาก็เดินหน้าต่อไป สำหรับผู้สมัครชิงตำแหน่งซีอีโอ ทศท.คอร์ปอเรชั่น มีทั้งหมด 5 คน คือ

1.นายอรัญ เพิ่มพิบูลย์ รองผู้อำนวยการทศท.2.ดร.สมควร บรูมินเหนทร์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการทศท.3.นายไพโรจน์ วงศ์เจริญ อดีตผู้อำนวย การระดับฝ่ายทศท.แต่ใช้ตำแหน่งที่ปรึกษาส่วนตัวนายประชา

มาลีนนท์ รมช.คมนาคมมาสมัคร 4.นายอรณพ จันทรประภา ประธานกรรมการบริษัท สยามฟิวเจอร์ ดีเวลลอปเมนต์ อดีต กรรมการผู้จัดการไออีซี รอง ผู้จัดการใหญ่ทีทีแอนด์ที และ5.นายมัชฌิมา กุญชร

ณ อยุธยา รองกรรม การผู้จัดการสายบริหารและการเงิน บริษัท ผลิตไฟฟ้า แหล่งข่าวกล่าวว่า 5 คนเดิมคนแรกสุดที่ไม่ผ่านการพิจารณาเงื่อนไข คือนายมัชฌิมา

เพราะถือว่าไม่มีทั้งความรู้และประสบการณ์เกี่ยวกับธุรกิจด้านโทรคมนาคมซึ่ง จำเป็นมาก

ส่วนกรณีนายอรณพถึงไม่มีความรู้หรือจบการศึกษาด้านนี้โดยตรงแต่ถือว่ามีประสบการณ์จากการที่อยู่ไออีซีและทีทีแอนด์ทีมาก่อน รายชื่อทั้ง 5

ดังกล่าวในช่วงแรกถือว่านายอรัญเป็นตัวเก็งที่คาดว่าจะได้นั่งเก้าอี้ซีอีโอคนแรก ด้วยคุณสมบัติที่ทำงานเร็ว กล้าคิด กล้าตัดสินใจ และพร้อมออกหน้ารับผิดชอบแทนผู้บังคับบัญชา ซึ่งเรื่องนี้นายสุธรรม

มลิลา ผู้อำนวยการทศท. ยืน ยันได้ดี อย่างกรณีที่นายอรัญนำโทรศัพท์มือถือในระบบ 1900 เมกะเฮิรตซ์ไปมอบให้ปลัดกระทรวงคมนาคมตามคำสั่งของนายสุธรรม แต่

เมื่อมีการต่อว่ากันในที่ประชุมบอร์ดทศท.หาว่าทำ เกินหน้าประธานบอร์ด นายอรัญกลับนั่งเฉยไม่ปริปากว่าเป็นคำสั่งของนายสุธรรม แต่ยอมรับเพียงผู้เดียว แต่ยิ่งทิ้งเวลาสรรหาให้นานออกไป ชื่อของ

นายอรัญก็เริ่มจางหายไปเรื่อยๆ โดยเฉพาะเมื่อสายพรรคความหวังใหม่เริ่มหมดอำนาจในทศท. จากการโละกรรมการ บอร์ดทศท.สายความหวังใหม่ครั้งล่าสุด

ทำให้เห็นได้ชัดเจนว่าเส้นทางซีอีโอของนาย อรัญเริ่มตีบตันลงทุกขณะ ในขณะที่เขาเองก็ยอมรับถึงสิ่งที่เกิดขึ้น เพราะหากรายชื่อทั้ง 5 คนเข้าตากรรมการก็ไม่จำเป็นต้องยืดเวลารับสมัครออกไปอีก 2

สัปดาห์ โดยเฉพาะ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี กล่าวปรารภกับตัวแทนสหภาพแรงงานรัฐวิสาห- กิจองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย(สรท.) ที่เข้า พบพร้อมกับผู้บริหารระดับผู้ช่วยผู้อำนวยการ

ว่า ต้องการให้คนในสมัครกันให้มาก สัญญาณเพียง เท่านี้ก็ทำให้นายอรัญเริ่มคิดและตัดสินใจว่าอาจ จะถอนตัวจากการสรรหาในครั้งนี้ นายอรัญ เพิ่มพิบูลย์ รองผู้อำนวยการทศท.

กล่าวกับ"ผู้จัดการรายวัน"ว่า อย่าเรียกว่าถอดใจ แต่เรียกว่าเป็นการเปิดทางให้คนที่ยังเหลืออายุราชการนานกว่า รวมทั้งยังมีวิสัยทัศน์หรือแนวคิด ใหม่ๆ มานำพาให้ทศท.คอร์ปอเรชั่นเจริญรุ่งเรือง

จะดีกว่า "ผมไม่ได้ถอดใจ แต่เปิดทางให้คนที่มีแนว คิดใหม่ๆมีเวลาทำงานได้มากกว่าผมเป็นซีอีโอ เพียงแต่ถ้าเป็นคนในน่าจะดีที่สุด"

แหล่งข่าวกล่าวว่าเมื่อสำรวจผู้บริหารระดับสูงของทศท.จะเห็นได้ว่านายสิทธิชัย ส่งพิริยะกิจ รองผู้อำนวยการทศท.อาวุโสลำดับที่ 1 เป็นคนที่น่าจะเหมาะสมที่สุด

สำหรับการบริหารงานช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อในระหว่างการแปรรูปทศท. เป็นทศท.คอร์ปอเรชั่น นอกจากนี้นายสิทธิชัยยังได้รับการยอมรับจากพนักงานตลอดจนผู้บริหารระดับสูงด้วยกัน

เพียงแต่หากนายสิทธิชัยได้เป็นซีอีโอ ก็เท่ากับเป็นการปิดฉากการ สืบทอดตำแหน่งผู้อำนวยการทศท.ให้อยู่เฉพาะในแวดวงวิศวจุฬาเท่านั้น

สำหรับแนวทางการบริหารของนายสิทธิชัยจะแตกต่างจากนายสุธรรมที่จะเกษียณใน เดือนก.ย.อย่างสิ้นเชิง เพราะนายสุธรรมรวบทุก อย่างไว้ทำเองหมด เข้าประชุมเกือบจะทุกเรื่อง ทำ

ให้งานคั่งค้างเป็นอย่างมาก รวมทั้งยังมีปัญหาเรื่องความโปร่งใสในการดำเนินโครงการประมูลหลายโครงการไม่ว่าจะเป็นการเช่าโทรศัพท์ในระบบ WLL

ปัญหาการจัดพิมพ์การ์ดโฟนล่วงหน้ารวมทั้งปัญหาโครงการระบบสื่อสัญญาณความเร็วสูง TNEP หรือ SDH ที่ล่าช้ากว่ากำหนด มาก "ตำแหน่งผู้บริหารระดับสูง

ควรกำหนดแนวนโยบายหรือกำหนดทิศทางของ องค์กร ไม่ ใช่เข้าไปล้วงลูกในทุกเรื่องทุกโครงการ" สำหรับคนที่มาสมัครเพิ่มเติมนอกเหนือจาก นายสิทธิชัย มีนาย มัชณิมา ซึ่งเดิมคาดว่าไม่ผ่าน

การพิจารณา คนที่ 2 ชื่อนาย เกียรติยศ เอี่ยมพงศ์เอก ผู้ช่วยผู้อำนวยการโรงเรียน โพธิ์นิมิตร วิทยาคม คนที่ 3 นายำพรัตน์ เปียถนอม อดีตผู้บริหารล็อกซเล่ย์



กลับสู่หน้าหลัก

Creative Commons License
ผลงานนี้ ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย



(cc) 2008 ASTVmanager Co., Ltd. Some Rights Reserved.