Stock Options......ดาบสองคม บริษัทศูนย์วิจัยกสิกรไทย


ผู้จัดการรายวัน(31 กรกฎาคม 2545)



กลับสู่หน้าหลัก

เหตุการณ์อื้อฉาวทั้งกรณีของบริษัทเอนรอน (Enron Corp)ซึ่งเป็นบริษัทธุรกิจพลังงานยักษ์ใหญ่และบริษัทเวิลด์คอม (WorldCom Inc) ซึ่ง

เป็นบริษัทที่ให้บริการสื่อสารโทรคมนาคมและข้อมูลทางไกลใหญ่เป็นอันดับสองของสหรัฐ และเป็นหนึ่งในผู้ให้บริการเครือข่ายอินเทอร์เน็ต รายใหญ่ของโลก ที่เคยมีพนักงานกว่า 85,000

คนและให้บริการใน 65 ประเทศทั่วโลก ได้ก่อให้เกิดประเด็นคำถามต่างๆ ตามมาในสหรัฐฯเกี่ยว กับมาตรฐานและความเชื่อถือได้ของตัวเลขทางบัญชี ตลอดจนมูลเหตุที่นำไปสู่การตกแต่งบัญชี

ซึ่งประเด็นหนึ่งที่ได้รับความสนใจมาก คือเรื่องของ Stock Options หรือสิทธิ์ที่บริษัทซึ่งเป็นนายจ้างมอบให้กับพนักงานในการซื้อหุ้นของบริษัทด้วยราคาที่กำหนดไว้ ซึ่งโดยทั่วไปก็จะต่ำ

กว่าราคาตลาดมาก ทั้งนี้เพื่อเป็นรางวัลจูงใจในการทำงานของพนักงาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเจ้าหน้าที่บริหารระดับสูงของบริษัทที่มักจะได้รับสิทธิ์ดังกล่าวคิดเป็นมูลค่าเงินจำนวนมาก อย่างไรก็ตาม

สืบเนื่องจากหลายกรณีเกี่ยว กับการตกแต่งบัญชีที่ได้เกิดขึ้นรวมทั้งกรณีของเวิลด์คอมนี้ ได้ทำให้ในสหรัฐฯขณะนี้ เรื่องของ Stock Options จึงกลายเป็นประเด็นที่ทำให้เกิด

ข้อพิจารณากันอย่างกว้างขวาง ซึ่งศูนย์วิจัยกสิกร ไทย ขอสรุปการวิเคราะห์ไว้เป็น 2 ประเด็น คือ 1. ปัจจุบันในสหรัฐฯ Stock Options ได้

กลายเป็นรางวัลหรือสิ่งจูงใจที่มีผลอย่างมากต่อพนักงานบริษัท โดยเฉพาะอย่างยิ่งพนักงานในระดับเจ้าหน้าที่บริหารซึ่งมักได้รับ Stock Options ในปริมาณมากๆ เพราะนั่นหมายถึงกำไร

มหาศาลจากหุ้นของบริษัทที่ตนเองถืออยู่ หาก ราคาหุ้นนั้นสูงทะยานขึ้น ดังนั้นในฐานะที่เป็นเจ้าหน้าที่บริหารของบริษัท ก็จะต้องพยายามบริหารบริษัทให้มีผลการดำเนินงานดีที่สุด

มีตัวเลขทางบัญชีที่สวยงาม มีผลกำไรสูงสุด เพื่อ ให้ราคาหุ้นในตลาดหลักทรัพย์อยู่ในระดับสูง อย่างไรก็ตาม ได้มีเจ้าหน้าที่บริหารบริษัทบางคน พยายามตกแต่งบัญชี โดยการบิดเบือนข้อมูลตัวเลข

ด้วยการปิดบังค่าใช้จ่ายและหนี้สินที่ แท้จริง เพื่อให้งบการเงินดูสวยงามกว่าความเป็นจริง จนกลายเป็นประเด็นว่าเสน่ห์ของ Stock Options กลับกลายเป็นดาบสองคม

และได้มีส่วนทำให้เกิดแรงจูงใจในการตกแต่งและบิดเบือนตัวเลขทางบัญชีของบริษัท เพราะหากราคาหุ้นของบริษัทในตลาดซึ่งอิงอยู่กับตัวเลขผลประกอบการของบริษัทยิ่งสูงขึ้นมาก เท่าไร

เจ้าหน้าที่ของบริษัทผู้นั้นก็จะสามารถทำกำไรจาก Stock Options ที่ได้รับได้มากเท่านั้น 2. จากแนวปฏิบัติในปัจจุบัน บริษัทในสหรัฐฯส่วนใหญ่ยังถือว่า Stock Options ที่ให้ กับพนักงาน

ไม่ได้เป็นรายการต้นทุนค่าใช้จ่าย ต่างกับค่าจ้าง เงินเดือน หรือโบนัส ทั้งนี้ปัจจุบันก็ยังไม่มีข้อกำหนดทางกฎหมายให้บริษัทต้องบันทึก Stock Options เป็นต้นทุนค่าใช้จ่าย

ดังนั้นรายการดังกล่าวจึงมักไม่ถูกนำ มาหักจากรายรับบริษัท ส่งผลให้ตัวเลขกำไรของ บริษัทดูดีกว่าที่ควรจะเป็น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง บริษัทใหญ่ๆหลายแห่งในสหรัฐฯ ที่มักจะมีขนาด ของ Stock

Options ที่ให้กับพนักงานในปริมาณ ที่ค่อนข้างมาก ซึ่งหากนำมานับเป็นรายจ่ายก็จะกระทบผลกำไรของบริษัทไม่น้อยเลย อย่าง ไรก็ตาม หลังจากกรณีอื้อฉาวของบริษัทใหญ่ๆในสหรัฐฯ

อย่างเอนรอนและเวิลด์คอม ขณะนี้ ได้มีเสียงเรียกร้องในสหรัฐฯให้ทางการมีการปฏิรูปกฎระเบียบเกี่ยวกับการลงบัญชี ประเด็น หนึ่งคือการให้นับ Stock Options เป็นต้นทุนค่าใช้จ่ายของบริษัท

ซึ่งล่าสุดก็ปรากฏว่ามีบางบริษัทในสหรัฐฯ อาทิ บริษัท โคคา โคล่า ได้สมัครใจนำเอารายการ Stock Options มาบันทึกเป็นต้นทุนค่าใช้จ่าย เพื่อเป็นการส่งเสริม มาตรฐานทางบัญชี

ขณะเดียวกันในส่วนของรัฐ ก็คาดว่าจะมีกฎระเบียบใหม่ๆที่เกี่ยวกับ Stock Options ออกมาเป็นระยะๆ ซึ่งเมื่อเร็วๆนี้ทางคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาด

หลักทรัพย์ของสหรัฐฯก็ได้เปิดโอกาสให้ผู้ถือหุ้นบริษัทสามารถมีสิทธิ์ลงคะแนนเสียง เกี่ยวกับการจ่ายผลตอบแทน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการให้Stock Optionsของบริษัทที่ให้กับเจ้าหน้าที่บริหาร

ซึ่งถือว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงด้านนโยบายที่สำคัญ อำพรางบัญชี โยงใยซับซ้อน....ยิ่งสาวยิ่งบานปลาย ดังได้กล่าวมาแล้วว่าความอื้อฉาวในพฤติกรรมฉ้อฉลของธุรกิจในสหรัฐฯ

ไม่ได้จำกัดอยู่เพียงแค่บริษัทผู้ประกอบธุรกิจทำการบิดเบือนตัวเลขผลการดำเนินงานที่แท้จริงเท่านั้น แต่บริษัทผู้ตรวจสอบบัญชีก็มักมีส่วนรู้เห็นหรือร่วมกันกระทำการอำพรางตัวเลขทางบัญชีด้วย

ดังเช่นกรณีของบริษัทเอนรอนและผู้ตรวจสอบบัญชีคือ อาร์เธอร์ แอนเดอร์เซ่นที่ได้ร่วมรับชะตากรรมไปแล้ว อย่างไรก็ตาม ขณะนี้เหตุการณ์ทำ ท่าว่าจะไม่จำกัดขอบเขตอยู่เพียงเท่านี้ เนื่องจาก

ขณะนี้จากการสืบสวนของทางการก็พบว่ามีการโยงใยธนาคารยักษ์ใหญ่ของสหรัฐฯ 2 แห่ง คือ Citigroup และ J.P. Morgan Chase

ซึ่งได้ถูกกล่าวหาว่าได้มีการอำพรางเงินที่ปล่อยกู้ให้เอนรอนจำนวน 8.5 พันล้านเหรียญสหรัฐ ในช่วงปี 1992-2001 โดยได้ช่วยเอนรอนบิดเบือน

บัญชีว่าเป็นรายได้จากการทำธุรกิจค้าน้ำมันและก๊าซกับบริษัทหุ่นที่ตั้งขึ้นในต่างประเทศในลักษณะ Offshore Companies เพื่องานนี้โดยเฉพาะ โดยบันทึกบัญชีเป็นการชำระค่าสินค้า ล่วงหน้า หรือ

Prepays ทำให้ยอดเงินจำนวน นี้ไม่ปรากฏเป็นหนี้สินในงบการเงินของเอนรอน วิธีการนี้ ทั้ง 2 ธนาคารได้ทำธุรกรรมเงินกู้แบบซ่อนเร้นให้เอนรอนด้วยการแลกกับอัตราดอกเบี้ย

และค่าธรรมเนียมบริการที่สูงมาก ด้วยวิธีการ นี้ได้ทำให้ยอดหนี้ของเอนรอนที่ปรากฏในปี 2000 ต่ำกว่าที่เป็นจริงไป 40% คือมีประมาณ 10 พันล้านเหรียญสหรัฐเท่านั้น แทนที่จะเป็น 14

พันล้านเหรียญสหรัฐ และทำให้รายรับจากการดำเนินธุรกิจสูงเกินความจริงไป 47% คือมีจำนวน 3.2 พันล้านเหรียญสหรัฐ แทนที่จะมีเพียง 1.7 พันล้านเหรียญสหรัฐ ซ้ำร้ายยิ่งกว่านั้นการสืบ

สวนยังพบว่าทั้งสองธนาคารมิได้ให้บริการแบบนี้ (ซึ่งได้สมญาว่า ENRON-Style Prepays) เพียง เฉพาะให้เอนรอนเท่านั้น แต่ยังให้บริการกับบริษัทอื่นๆอีกรวมกว่า 10 บริษัท คือ Citigroup

ให้บริการแบบนี้กับอีก 3 บริษัทเป็นอย่างน้อย ใน ขณะที่ J.P. Morgan Chase ให้กับอีก 7 บริษัท ซึ่งทางธนาคารก็แก้ตัวว่า ไม่รู้ว่าเอนรอนจะไปลง บัญชีเงินกู้ด้วยวิธีใด และเอนรอนก็ยังบอกว่าเป็น

วิธีการที่ถูกต้องแล้ว เพราะผู้ตรวจสอบบัญชีคือ อาร์เธอร์ แอนเดอร์เซ่น ก็รับรองเห็นชอบด้วย

เนื่องจากการอำพรางธุรกรรมด้วยวิธีการที่ซับซ้อนและการตกแต่งตัวเลขผลประกอบการเป็นจำนวนเงินมากมายขนาดนี้ คงเป็นไปได้ยาก

ที่บริษัทผู้ประกอบธุรกิจจะทำได้ตามลำพังโดยไม่ได้รับความร่วมมือหรือมีส่วนรู้เห็นด้วยจากบุคคลหรือองค์กรอื่นที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็น บริษัทผู้ตรวจสอบบัญชี หรือคู่ค้า/ คู่กรณีทางธุรกิจฯลฯ ดังนั้น

ศูนย์วิจัยกสิกรไทยจึงมีความวิตกว่า หากทางการสหรัฐฯมีการสืบสาวเพิ่มเติมในกรณีอื่นๆ นอกเหนือไปจากคดีของเอนรอน ก็อาจจะพบการโยงใยที่ขยายวงกว้างออกไปเรื่อยๆ

รวมทั้งการเกี่ยวโยงกับนักการเมืองในสหรัฐฯ โดยเฉพาะอย่างยิ่งขณะนี้ ทั้งคดีของเอนรอนจนมาถึงกรณีของเวิลด์คอม นอกจากจะได้นำไปสู่วิกฤติศรัทธาในวงการธุรกิจสหรัฐฯแล้ว

ยังเป็นชนวนนำไปสู่ประเด็นทางการเมืองในสหรัฐฯด้วย เมื่อได้มีความพยายามโยงใยผู้บริหารในคณะรัฐบาลว่ามีพฤติกรรมไม่ชอบมาพากลเมื่อครั้งอดีตสมัยที่เป็นผู้บริหารอยู่ในบริษัทธุรกิจเอกชน

ไม่ว่าจะเป็นประธานาธิบดี จอร์จ ดับเบิลยู บุช ซึ่งถูกตั้งข้อสงสัยในกรณีที่ได้เคยขายหุ้นบริษัทน้ำมันที่ชื่อว่า Harken Energy Corp. เป็นจำนวนมากในช่วงที่เคยดำรงตำแหน่งเป็นกรรมการบริษัทนี้

ก่อนที่บริษัทจะ แจ้งผลดำเนินการขาดทุนที่ยังผลให้ราคาหุ้นในตลาดร่วงลง มิหนำซ้ำประธานาธิบดีบุชยังรายงานการขายหุ้นต่อก.ล.ต.ของสหรัฐฯช้าไป 8 เดือน หรือแม้แต่กรณีของรองประธานาธิบดี

นายดิค เชนีย์ สมัยที่เป็นผู้บริหารของบริษัทธุรกิจ น้ำมัน Halliburton Co.

ซึ่งบริษัทนี้ปัจจุบันกำลังถูกตรวจสอบจากก.ล.ต.สหรัฐฯในข้อหาตกแต่งตัวเลขทางบัญชีในช่วงที่นายเชนีย์ดำรงตำแหน่งผู้บริหารบริษัท ดังนั้น ในขณะนี้ประธานาธิบดีบุชจึงมีความ

วิตกกับปัญหาวิกฤติศรัทธาของธุรกิจสหรัฐฯเป็นอย่างมาก เพราะนอกจากจะได้สร้างความเสียหายต่อวงการธุรกิจสหรัฐฯแล้ว ยังอาจส่งผล

กระทบทางการเมืองโดยเฉพาะอย่างยิ่งต่อการเลือกตั้งสมาชิกสภาคองเกรสในเดือนพฤศจิกายนที่จะถึงนี้

ซึ่งที่ผ่านมาก็ได้ปรากฏว่ามีความพยายามที่จะโยงใยนักการเมืองในคณะรัฐบาลชุดปัจจุบัน กับกรณีฉ้อฉลทางธุรกิจในสมัยที่เคยดำรงตำแหน่งเป็น ผู้บริหารในบริษัทเอกชนดังได้กล่าวมาแล้ว ดังนั้น

เมื่อเร็วๆ นี้ประธานาธิบดีบุชจึงได้ประกาศจุดยืนอย่างชัดเจนด้วยท่าทีแข็งกร้าวเอาจริงเอาจัง ในการผลักดันการปฏิรูปการดำเนินธุรกิจ โดยมุ่งเน้นที่

บรรษัทภิบาลและจริยธรรมทางธุรกิจเพื่อที่จะเรียกศรัทธาจากประชาชนอเมริกันกลับมาให้ได้

และได้ขอให้สภาคองเกรสเร่งรัดการพิจารณาออกกฎหมายเพื่อปรับปรุงแก้ไขวิธีการดำเนินธุรกิจและระบบบัญชีของสหรัฐฯ ตลอดจนการเพิ่มโทษผู้บริหารบริษัทที่มีพฤติกรรมฉ้อฉล

ทั้งนี้ให้เสร็จสิ้นโดยเร็ว เพื่อเตรียมพร้อมล่วงหน้า ก่อนการเลือกตั้งสมาชิกสภาคองเกรสที่จะมีขึ้นในเดือนพฤศจิกายนนี้



กลับสู่หน้าหลัก

Creative Commons License
ผลงานนี้ ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย



(cc) 2008 ASTVmanager Co., Ltd. Some Rights Reserved.