นอร์เทลยันซีดีเอ็มเอ กสท.ใส โยนความเสี่ยงให้เอกชนแทน


ผู้จัดการรายวัน(31 กรกฎาคม 2545)



กลับสู่หน้าหลัก

นอร์เทลฟันธง คนชนะโครงการซีดีเอ็มเอกสท. ประกอบด้วย 4 ต้องคือต้องโรมมิ่งกับเครือข่ายเดิมได้ ต้องมีเทอมการเงิน ที่ดีให้กสท. ต้องติดตั้งเครือข่ายให้เสร็จในระยะเวลาที่กำหนด

และต้องมีแรงหนุนด้านการเมืองชี้ประมูลครั้งนี้กสท.ไม่ยอมเสี่ยงให้โครงการล้ม เหมือนครั้งก่อน ทีโออาร์รัดกุมโยนความเสี่ยงให้เอกชนแทน นายทอม เครือโสภณ กรรม การผู้จัดการ บริษัท นอร์เทล

เน็ทเวิร์คส์ (ประเทศไทย) กล่าวถึง การเข้าร่วมประมูลโครงการโทรศัพท์เคลื่อนที่ในระบบซีดีเอ็มเอ ของการสื่อสารแห่งประเทศไทย (กสท.) ว่าผลแพ้ชนะของโครงการนี้ต้องประกอบด้วยหลายๆส่วนเช่น 1.

ต้องทำให้ได้ตามเงื่อนไขที่กสท. ต้องการโดยเฉพาะในประเด็นการโรมมิ่งกับเครือข่ายเดิมของบริษัท บีเอฟเคที ที่วางเครือข่ายซีดีเอ็มเอในกรุงเทพฯและ 22 จ.ภาคกลาง

หมายถึงอาจซื้อจากซัปพลายเออร์กี่รายก็ได้ แต่ต้องทำงานได้เหมือน เป็นเครือข่ายเดียวกัน "เทคโนโลยีซีดีเอ็มเอ จะได้ประโยชน์สูงสุดจากการส่งข้อมูลมากกว่าด้านเสียง ซึ่งการโรมมิ่งของ

เครือข่ายมีความสำคัญมากในการใช้งาน และเป็นสิ่งที่กสท.ให้ความสำคัญมาก" 2. หากใครผ่านเงื่อนไขด้านเทคนิคแล้ว ประการต่อมาต้องเสนอวิธีการจ่ายเงินที่กสท.ได้ประโยชน์สูงสุด

หมายถึงใครสามารถทำให้กสท.มีภาระได้น้อยที่สุด 3.ใครสามารถส่งมอบอุปกรณ์ และสามารถติดตั้งเครือข่ายได้เสร็จ ทันเวลาที่กสท.ต้องการ เนื่องจากการติดตั้งเครือข่าย

ปัญหาที่ยากเป็นอันดับต้นๆคือการหาสถานที่ติดตั้งสถานีฐาน ซึ่งโครงการซีดีเอ็มเอ กสท.ระบุให้ติดตั้งสถานีฐาน ให้ครบ 1,000 แห่งภายใน 3 ปี เริ่ม จาก 600 สถานีฐานในปีแรกและที่เหลืออีกปีละ 200

สถานีฐาน 4.

เป็นเรื่องปกติของการทำธุรกิจในประเทศไทย ในเรื่องสายสัมพันธ์หรือคอนเน็กชั่นกับทั้งด้านการเมือง และกสท.และ5.ใครจะสามารถอธิบายให้ประชาชนเห็นประโยชน์ของระบบซีดีเอ็มเอได้มาก ที่สุด

ในขณะที่ประเทศไทยมีผู้ให้บริการโทรศัพท์ มือถือจำนวนมากอย่างเอไอเอส ดีแทค ดีพีซี ทีเอออเร้นจ์ หรือแม้กระทั่งเอซีทีในระบบ 1900 ขององค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย(ทศท.)

โครงการซีดีเอ็มเอของกสท.มีกลุ่มบริษัทเอกชนร่วมยื่นข้อเสนอ 4 รายประกอบด้วย 1. บริษัท เรียลไทม์ของกลุ่มยูคอม ยื่นข้อเสนอถึง 3 ทางเลือก 3 ซัปพลายเออร์ประกอบด้วยนอร์เทล โมโตโรล่าและซัมซุง

2.บริษั ท อคิวเมนท์ ของกลุ่มจัสมิน เสนออุปกรณ์ของ ZTE ประเทศจีน 3. บริษัท อีพีซี โซลูชั่นของนายเธียร ปฏิเวชวงศ์ บุคคลที่ถูกโฉลกกับระบบซีดีเอ็มเอ เสนออุปกรณ์ของลูเซ่นต์

และ4.กลุ่มเอ็มลิ้งค์ที่ใช้อุปกรณ์อีริคสันและมีมิตซูบิชิ สนับสนุนด้านการเงิน ในช่วงสัปดาห์นี้ กสท.เรียกซัปพลายเออร์ทุกรายเข้าไปตอบคำถามด้านเทคนิค

หลังจากที่แต่ละบริษัทยื่นเอกสารข้อเสนอมาแล้ว หากใครผ่านขั้นตอนนี้ไปได้ก็จะมีการทดสอบอุปกรณ์จริง กับการโรมมิ่งเครือข่ายของบีเอฟเคที หลังจากนั้นจึงเป็นเรื่องด้านการเงิน

"โครงการนี้คงใช้เงินประมาณ 150-200 ล้านเหรียญสหรัฐ แบ่งเป็นมูลค่าด้านอุปกรณ์ประมาณ 40% ที่เหลือเป็นงานภายในประเทศไม่ว่าจะเป็นตั้งเสาหาสถานที่และอื่นๆ" นายทอม

กล่าวว่าการประมูลโครงการซีดีเอ็มเอครั้งนี้ของกสท.ถือว่ากสท.ดำเนินโครงการ ด้วยความระมัดระวังมาก จากประสบการณ์ที่ผ่านมาในการยื่นประมูลโครงการ

ข้อเสนอหรือทีโออาร์ที่เขียนออกมามักสามารถเปลี่ยนแปลงได้ ในภายหลัง แต่กับโครงการนี้ทีโออาร์เขียนมารัดกุมมาก ไม่สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงได้ ทำ ให้มีเพียง 4 บริษัทเท่านั้นที่ยื่นประมูล

"กสท.ต้องการโครงการซีดีเอ็มเอมาก เพราะรู้ว่าเมื่อแปรรูปไปแล้วไม่มีธุรกิจโทรศัพท์มือถือจะลำบาก ทำให้ต้องดำเนินโครงการอย่างสะอาด โปร่งใสที่สุด

กสท.ต้องการมากจนไม่อยากเสี่ยงเหมือนกับสิ่งที่เคยเกิดขึ้นในอดีต เพราะการประมูลครั้งก่อน หากเจ๊ง กสท. ประชาชนรับเคราะห์ แต่ครั้งนี้หากเจ๊ง คนยื่นประมูลต้องรับภาระไป"

เขาเชื่อว่าการที่เอ็มลิ้งค์เข้าร่วมประมูลด้วย ช่วยให้ภาพของโครงการซีดีเอ็มเอดีขึ้น นอก จากนี้บริษัทที่ยื่นข้อเสนอเพราะเชื่อว่าเทคโนโลยี ซีดีเอ็มเอดีและสามารถทำเงินได้จริง รวมทั้งตลาด

โทรศัพท์เคลื่อนที่ยังไม่ถึงจุดอิ่มตัวเพราะนอก จากเรื่องเครือข่ายแล้วเอกชนยังต้องรับผิดชอบใน เรื่องการทำตลาดด้วย โดยความสามารถของระบบจะรองรับเครื่องลูกข่ายได้ประมาณ 1 ล้านเครื่อง

ในแง่การตลาดแล้ว นอร์เทลเชื่อว่าซีดีเอ็มเอจะจับกลุ่มลูกค้าระดับกลางถึงบน ไม่ใช่ตลาด แบบแมสซึ่งปัจจุบันเป็นตลาดของเทคโนโลยี 2 จีอย่างจีเอสเอ็มซึ่งมีผู้เล่นมากถึง 5 รายคือเอไอเอส ดีแทค ดีพีซี

ทีเอออเร้นจ์ และเอซีที ดังนั้น การที่เสนอทำตลาดในระบบซีดีเอ็มเอ เท่า กับทำตลาดอยู่คนเดียว ในขณะที่คุณสมบัติการ ใช้งานของซีดีเอ็มเอ นอกจากเรื่องเสียงที่ดีแล้ว

ยังมีประโยชน์ด้านการสื่อสารข้อมูลจำนวนมาก ที่เป็นจุดแข็งของซีดีเอ็มเอ นอกจากนี้ซีดีเอ็มเอก็เหมือนรถยุโรป อย่าง BMW เป็นทางเลือกเหมือนเป็นโทรศัพท์มือถือเครื่องที่ 2

ที่เอาไว้ใช้สำหรับการสื่อสารข้อมูลซึ่งไม่ได้ต้องการมีลูกค้า จำนวนมากหลายล้านคน แต่ต้องการแค่จังหวัดละหมื่นคนที่มีรายได้สัก 30,000 บาทต่อเดือนก็น่าจะทำตลาดได้ "เทคโนโลยีมีอยู่แล้ว

อย่างเช่นเอาโทรศัพท์ มือถือซีดีเอ็มเอ ไปโหลดเกมเพลย์สเตชั่นของโซนี่ ก็สามารถเล่นแข่งรถกันได้ 2 คนแล้ว ซึ่งซีดีเอ็มเอมีฟังก์ชั่นและแอปพลิเคชั่นการใช้งานในรูป แบบมัลติมีเดียอีกมาก"



กลับสู่หน้าหลัก

Creative Commons License
ผลงานนี้ ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย



(cc) 2008 ASTVmanager Co., Ltd. Some Rights Reserved.