พบช่องค้าปลีก ละเมิดสิทธิบัตรทำ"เฮ้าส์แบรนด์"ขายแข่ง


ผู้จัดการรายวัน(31 กรกฎาคม 2545)



กลับสู่หน้าหลัก

พาณิชย์พบอีกช่องฟันแม็คโคร เทสโก้โลตัส บิ๊กซีและคาร์ฟูร์ เผยผลจากการสำรวจสินค้าในชั้นวางสินค้าของ 4

รายพบว่ามีการผลิตสินค้าเฮาส์แบรนด์ในชื่อของตัวเองแล้วนำมาวางจำหน่ายแข่งกับสินค้าของซัปพลายเออร์จริง ทั้งน้ำยาปรับผ้านุ่ม น้ำอัดลม ยาสระผม น้ำยาล้างจาน เต้าเจี้ยว สบู่เหลว "ยรรยง"

ระบุการเอาผิดกรณีละเมิดเครื่องหมายการค้าทำได้ยาก เพราะไม่เหมือนจริง แต่อาจ ผิดตรงที่ว่าละเมิดสิทธิบัตรการดีไซน์ แนะกรมการค้าภายในเล่นงานได้กรณีทำให้เกิด ความสับสน

และเป็นการทำการค้าที่ไม่เป็นธรรมต่อซัปพลายเออร์ แหล่งข่าวจากกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่าขณะนี้กรมการค้าภายใน ในฐานะเลขานุการคณะอนุกรรมการแข่งขันทางการค้าที่มีนายเนวิน ชิดชอบ

รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์เป็นประธานได้ออกสำรวจและเก็บตัว อย่างสินค้าที่ดิสเคานต์สโตร์ว่าจ้าง ให้ซัปพลายเออร์ผลิตภายใต้ยี่ห้อการค้าของตนเอง (เฮาส์แบรนด์)

และนำออกมาจำหน่ายแข่งขันกับสินค้าเดิมของซัปพลายเออร์ หรือบางครั้งได้ทำการนำสินค้าของซัปพลายเออร์ออกจากห้าง แล้วนำสินค้าเฮ้าส์แบรนด์ของตนเองมาวาง จำหน่ายแทนแล้ว ทั้งนี้

สินค้าที่กรมการค้าภาย ในได้ออกเก็บตัวอย่างในดิสเคานต์ สโตร์รายใหญ่ เช่น น้ำยาปรับผ้านุ่ม น้ำอัดลม ยาสระผม เต้าเจี้ยว น้ำยา ล้างจาน น้ำส้มบรรจุขวด สบู่เหลวชนิดถุง เป็นต้น

พบว่าส่วนใหญ่เป็นสินค้าที่ถูกดิสเคานต์สโตร์ลอก เลียนแบบแล้วนำมาวางจำหน่ายแข่งขันกับสินค้าของซัปพลายเออร์ โดยลักษณะของสินค้ามักจะมีรูปแบบและหีบห่อคล้ายกับสินค้าของ ซัปพลายเออร์

แต่อาจจะแตกต่างใน เรื่องของชื่อ และสัญลักษณ์ แต่หาก มองผิวเผินก็อาจจะเข้าใจผิดได้ว่าเป็นสินค้าของซัปพลายเออร์ "เท่าที่ตรวจสอบดูพบว่าบางสินค้าจงใจที่จะทำให้เกิดความเข้า

ใจผิดต่อการซื้อสินค้าของผู้บริโภค จริง เพราะขนาด และลักษณะต่างๆ ของสินค้าเกือบจะเหมือนสินค้าที่ซัปพลายเออร์ผลิต โดยหากไม่สังเกตให้ดี ก็อาจจะเกิดความเข้า ใจผิดได้

ซึ่งหลังจากที่รวบรวมได้แล้ว กรมการค้าภายในจึงได้ขอ คำปรึกษาไปยังกรมทรัพย์สินทางปัญญาว่าการกระทำของดิสเคานต์สโตร์มีเจตนา ที่จะลอกเลียนแบบเครื่องหมายการค้าหรือไม่แล้ว"

แหล่งข่าวกล่าว นายยรรยง พวงราช อธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญา กล่าวว่า จากการตรวจสอบของกรมฯ พบว่าในประเด็นของสินค้าเฮ้าส์แบรนด์นั้นไม่อาจ

จะมองว่าเป็นการลอกเลียนแบบเครื่องหมาย การค้าได้ เนื่องจากลักษณะของเครื่องหมาย การค้าของสินค้าเฮ้าส์แบรนด์ไม่มีลักษณะเหมือน กับสินค้าเดิมของซัปพลายเออร์ชัดเจนนัก

จึงไม่สามารถเอาผิดในกรณีนี้ได้ แต่อาจจะเข้าข่ายการละเมิดสิทธิบัตรด้านการออกแบบได้ เนื่อง จากรูปร่าง รูปทรงของบรรจุภัณฑ์ของสินค้าเฮ้าส์ แบรนด์คล้ายคลึงกับสินค้าเดิมของซัปพลายเออร์

"เรื่องการละเมิดเครื่องหมายการค้า มองดูแล้วไม่เข้าข่าย เพราะไม่ได้ละเมิดเครื่องหมาย การค้า แต่อาจจะเข้าข่ายละเมิดสิทธิบัตรด้านการ ออกแบบที่ทำสินค้าออกมาคล้ายๆ กัน แต่ก็เป็น

เรื่องของเอกชนต่อเอกชนที่จะต้องไปว่ากันเอาเอง ในการปกป้องรักษาสิทธิในตัวสินค้าที่ตนเองเป็น ผู้ผลิต โดยกรมฯ พร้อมที่จะให้ความร่วมมืออย่าง เต็มที่" นายยรรยงกล่าว นายยรรยงกล่าวว่า

จะเสนอให้กรมการค้าภายในทราบว่าในประเด็นเครื่องหมายการค้า คง จะเข้าไปดำเนินการอะไรมากไม่ได้ แต่จากการพิจารณาเกี่ยวข้องกับทรัพย์สินทางปัญญาบ้าง

เพราะมีเจตนาลวงทำให้ผู้บริโภคเกิดการเข้าใจผิด ในกรณีของความสับสนเรื่องของเครื่องหมายทาง การค้า แต่กรมฯ จะเข้าไปจัดการโดยตรงได้ยาก ต้องให้เอกชนผู้เสียหายเป็นผู้จัดการเอง แต่หาก

รัฐต้องการเข้าไปจัดการเอง ก็ทำได้ โดยกรมการ ค้าภายในจะต้องใช้อำนาจตามกฎหมายที่มีอยู่ คือ พ.ร.บ.การแข่งขันทางการค้า และพ.ร.บ.ว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ

กรณีที่ใช้อำนาจเหนือตลาดที่มีอยู่ทำให้เกิดการค้าที่บิดเบือน "กรมการค้าภายในเข้ามาดูแลตรงนี้ได้ เพราะมีอำนาจตามกฎหมาย เนื่องจากดิสเคานต์ สโตร์ใช้อำนาจที่มีอยู่ทำให้เกิดการค้าที่ไม่เป็นธรรม

โดยพยายามทำให้ผู้บริโภคเกิดความสับสนว่าสินค้าเฮ้าส์แบรนด์เป็นสินค้าชนิดเดียว กันกับที่ซัปพลายเออร์ผลิตมาจำหน่ายถือเป็น การทำให้ซัปพลายเออร์เสียหาย เพราะขายสินค้า ไม่ได้"

นายยรรยงกล่าว แหล่งข่าวกล่าวอีกว่าในกรณีซัปพลายเออร์ถูก ดิสเคานต์สโตร์รายใหญ่ผลิตสินค้าเฮ้าส์แบรนด์ ออกมาจำหน่ายแข่งนั้น จากการตรวจสอบพบว่า

บางครั้งเกิดขึ้นจากการบังคับของดิสเคานต์สโตร์ ที่ขอให้ซัปพลายเออร์ผลิตสินค้าเฮ้าส์แบรนด์ให้ โดยเนื้อของสินค้าเป็นชนิดเดียวกันกับที่ซัปพลายเออร์ผลิต แต่แตกต่างกันที่ฉลาก

หากซัปพลายเออร์ไม่ยอมก็จะตัดสินค้าของซัปพลายเออร์ออกจากห้าง หรือนำสินค้าของซัปพลายเออร์ ไปจัดวางไว้ในมุมอับ ทำให้มีผลกระทบต่อยอดขาย ซัปพลายเออร์ก็ต้องยอม นอกจากนี้

ยังพบอีกว่าดิสเคานต์สโตร์จะอ้างเงื่อนไขสารพัดเพื่อขจัดสินค้าของซัปพลายเออร์ออกจากชั้นวางสินค้า เช่น การอ้างยอดขาย ของสินค้าซัปพลายเออร์ตกต่ำหรือสินค้าไม่ได้คุณภาพตามที่กำหนด

ทั้งที่ไม่เป็นความจริง เพื่อ เปิดทางให้สินค้าเฮ้าส์แบรนด์ของตนเองมาวางจำหน่ายแทน "ตอนนี้คณะอนุกรรมการฯ ที่มีนายเนวินเป็นประธานกำลังรวบรวมรายละเอียดทั้งหมด ก่อนเสนอให้นายอดิศัย

โพธารามิก รัฐมนตรีว่า การกระทรวงพาณิชย์ในฐานะประธานคณะกรรม การการแข่งขันทางการค้าพิจารณาว่าจะดำเนินการอย่างไรต่อไปในเร็วๆ นี้

กรณีที่หากผลการสอบสวนพบว่าดิสเคานต์สโตร์มีการทำการค้าที่ไม่เป็นธรรม ตามข้อร้องเรียนของซัปพลายเออร์จริง" แหล่งข่าวกล่าว สำหรับการดำเนินการแก้ไขปัญหาดิสเคานต์

สโตร์กระทำการค้าที่ไม่เป็นธรรมต่อซัปพลายเออร์นี้ คณะอนุกรรมการแข่งขันทางการค้าที่มีนายเนวิน เป็นประธาน ได้เรียกดิสเคานต์สโตร์ ยักษ์ใหญ่ 4 ราย ได้แก่ แมคโค เทสโก้โลตัส บิ๊กซี และคาร์ฟูร์

เข้าชี้แจงข้อร้องเรียนว่ามีพฤติกรรม การค้าที่ไม่เป็นธรรมแล้ว แต่ที่ผ่านมาดิสเคานต์สโตร์ทั้ง 4 รายยังชี้แจงไม่ชัดเจน และจากการสอบสวนพบว่าบางประเด็นคณะอนุกรรมการฯ

เห็นว่ามีพฤติกรรมการตามที่มีการร้องเรียนจริง โดยเฉพาะประเด็นสินค้าเฮ้าส์แบรนด์ที่ดิสเคานต์ สโตร์ว่าจ้างให้ซัปพลายเออร์ผลิตสินค้าให้และนำ มาวางจำหน่ายแข่งกับสินค้าของซัปพลายเออร์



กลับสู่หน้าหลัก

Creative Commons License
ผลงานนี้ ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย



(cc) 2008 ASTVmanager Co., Ltd. Some Rights Reserved.