"เอไอเอส"เปิด2แนวรบตลาดมือถือ คุณภาพเครือข่าย-การตลาดภูมิภาค


ผู้จัดการรายวัน(26 กรกฎาคม 2545)



กลับสู่หน้าหลัก

เอไอเอสยกระดับหนีคู่แข่ง ใช้สำนักควบคุมคุณภาพเครือข่าย สร้างมาตรฐานตรวจสอบเครือข่ายให้ใช้งานได้โดนใจลูกค้าด้วย 3 องค์ประกอบเริ่มจากพื้นที่ให้บริการครอบคลุมต่อเนื่อง

ความสามารถในการเข้าถึงระบบ และความมีเสถียรภาพของระบบ พร้อมเดินหน้าตั้ง Regional Head Quarter ภาคใต้ บริหารงานเบ็ดเสร็จทั้งเครือข่ายและการตลาด

เพื่อให้แพกเกจโปรโมชั่นสนองตอบตรงความต้อง การมากที่สุด นายพีรเวท กิจบูรณะ ผู้จัด การสำนักควบคุมคุณภาพเครือข่าย บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์เซอร์วิส

หรือเอไอเอสกล่าวว่าเอไอเอสให้ความสำคัญกับคุณภาพเครือข่าย (Network Quality) ที่จะต้องสามารถสนองตอบความต้องการใช้งานของผู้บริโภคให้ได้ เอไอเอสจึงได้มองการพัฒนาเครือข่ายในเชิงลึก

ด้วยการจัดตั้งหน่วยงานควบคุมคุณภาพเครือข่ายขึ้น เพื่อเป็นเหมือนศูนย์กลางในการรวบ รวมข้อมูลผลการวัดคุณภาพของเครือข่าย สรุปคำร้องเรียนลูกค้าและความต้องการของลูกค้า

จากนั้นทำหน้าที่วิเคราะห์และจัดทำเป็น เกณฑ์เพื่อวัดและสร้างมาตรฐานในการจัดการและควบคุมคุณภาพเครือข่ายของเอไอเอส มาตรฐานการจัดการที่ตั้งขึ้นสามารถแบ่งได้เป็น 3 ลักษณะกล่าวคือ

1.พื้นที่ให้บริการของเครือ ข่ายต้องครอบคลุมและต่อเนื่อง สอดคล้องกับความต้องการใช้งานของผู้บริโภคในแต่ละบริเวณอย่างแท้จริง

โดยจะต้องสามารถปรับเปลี่ยนแผนงานได้ทันสถานการณ์ความต้องการที่เกิดขึ้น 2.ความสามารถในการเข้าถึงระบบ หมายถึงต้องสามารถโทร.เข้าออกได้อย่าง ไร้ข้อจำกัดในทุกพื้นที่

และ3.ความมีเสถียรภาพของระบบ หมายถึงความเชื่อมั่นในการใช้งาน อาทิ สัญญาณคมชัด ปราศจากเสียงรบกวนและโทร.ได้ต่อเนื่อง ในปี 2544-2545 เอไอเอสลงทุนเครือข่ายเป็นจำนวนเงินที่สูงมาก

โดยในปี 2544 รวมเป็นเงิน 21,800 ล้านบาท และเพียงแค่สิ้นสุดไตรมาส 2 ของปี 2545 เอไอเอสลงทุนด้านเครือข่ายไปแล้วประ มาณ 18,620 ล้านบาท คิดเป็นจำนวนสถานีฐานในระบบจีเอสเอ็ม

แอดวานซ์ทั้งหมด 4,766 แห่ง ระบบเซลลูล่าร์ 900 ประมาณ 1,551 แห่ง โดยมีความสามารถของระบบจีเอส เอ็ม แอดวานซ์ รองรับผู้ใช้บริการได้ประมาณ 8.2 ล้านเครื่อง ในขณะที่มีคนใช้ประมาณ 7.2

ล้านเครื่อง เอไอเอสดำเนินการทดสอบคุณภาพของเครือข่ายด้วยการพาสื่อมวลชนเดินทางไปยังอ.หาดใหญ่ จ.สงขลา แล้วใช้วิธีการนั่งรถบัสทด

สอบสัญญาณไปตามเส้นทางหลวงสายหลักจนถึงจ.สุราษฎร์ธานี และข้ามไปยังเกาะสมุย ซึ่งปรากฏว่าตลอดเส้นทางสัญญาณสามารถใช้งานได้ดีในระดับน่าพอใจ

ไม่เพียงแต่มีการจัดตั้งสำนักควบคุมคุณภาพเครือข่าย แต่ภายหลังจากที่เอไอเอสมีการปรับโครง สร้างการบริหารงานแบบ Network Organization

ที่เป็นรูปแบบของการกระจายอำนาจการบริหารในแนวตั้งและแนวนอน โดยส่วนหนึ่ง คือการจัดตั้งสำนักงานปฏิบัติการ ส่วนภูมิภาคหรือ Regional Head Quarter เพื่อเข้าใกล้ผู้บริโภคให้มากขึ้น

"การจัดองค์กรแบบนี้ เพื่อให้มีแผนงานเป็นของภาคใต้ เพื่อให้ สนองตอบความต้องการของลูกค้า ภาคใต้อย่างแท้จริง"นายสุทธิศักดิ์ กุณทีกาญจน์ ผู้จัดการสำนักปฏิบัติ การส่วนภูมิภาคเอไอเอส

กล่าวย้ำว่าแนวทางดังกล่าวจะเป็นการสนอง ตอบการทำตลาดแบบ Localize Marketing ซึ่งการตัดสินใจด้านการตลาดในการจัดแพกเกจโปรโมชั่นต่างๆจะเบ็ดเสร็จในภาคใต้

แต่ก็อาจต้องมีการขอความเห็นจากส่วนกลางด้วย โดยจะเห็นการทำตลาดเป็นรูปธรรมในต้นปีหน้า สำหรับพฤติกรรมการใช้งานโทรศัพท์มือถือของคนในภาคใต้ เอไอเอสพบว่า

1.ลูกค้าส่วนใหญ่ใช้โทร.ทางไกลมากกว่าโทร.ในพื้นที่ ในสัดส่วน 80/20 2.ลูกค้าจะมีการเดินทางบ่อยครั้ง ไม่อยู่กับที่เดินทางข้ามจังหวัดมาก การใช้งานจะอยู่ตามเส้นทางหลวงสายหลักค่อน ข้างสูง

3.ลูกค้าเป็นชาวต่างชาติ เข้ามาใช้บริการข้ามแดนอัตโนมัติหรืออินเตอร์เนชั่นแนล โรมมิ่งจำนวนมาก และบางพวกหันมาซื้อซิมการ์ดโลคัลจำนวนมาก ซึ่งแนว

ทางการทำโปรโมชั่นเฉพาะภาคใต้อาจใช้วิธีการให้โทร.เป็นอัตราคงที่หรือแฟลตเรต แล้วเพิ่มจำนวนนาทีให้มากขึ้น "ผมเพิ่งเข้ามารับตำแหน่ง 2 เดือน

ภารกิจหลักๆตอนนี้คือการดูแลและสนับสนุนตัวแทนจำหน่าย ในการเรื่องการทำธุรกิจให้เกิดความ คล่องตัวมากที่สุด รวมทั้งสร้างความใกล้ชิดกับดีลเลอร์ รวมทั้งการให้บริการลูกค้ารายใหม่ ส่วนลูก

ค้าปัจจุบันก็จัดให้มีกิจกรรมเพิ่มมากขึ้น ดูแลเรื่องการเปลี่ยนโปร โมชั่นต่างๆ ซึ่งราไยด้เฉลี่ยต่อเลขหมายในภาคใต้ หากเป็นระบบโพสต์เพดประมาณ 1,200 บาทต่อเลขหมายถ้าเป็นพรีเพดประมาณ 600

บาทต่อเลขหมาย" นายสุทธิศักดิ์กล่าวว่าการจัดตั้งสำนักปฏิบัติการส่วนภูมิภาค เชื่อว่าจะทำให้เอไอเอสสามารถเข้าใจความต้องการของผู้บริโภคในแต่ ละภูมิภาคอย่างแท้จริง

รวมทั้งสามารถตอบสนองลูกค้าได้รวดเร็ว ทันต่อความต้องการ ไม่ว่าจะเป็นรูป แบบการให้บริการ การจัดกิจกรรม ต่างๆที่ถูกใจคนท้องถิ่น

การใช้พนักงานที่เป็นคนในพื้นที่ซึ่งเข้าใจถึงนิสัยใจคอและไลฟ์สไตล์ของผู้ใช้บริการ รวมทั้งศักยภาพในการขยายเครือข่ายได้อย่างรวดเร็วเนื่อง จากความคุ้นเคยพื้นที่



กลับสู่หน้าหลัก

Creative Commons License
ผลงานนี้ ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย



(cc) 2008 ASTVmanager Co., Ltd. Some Rights Reserved.