ชี้ศก.ไทยยังไม่ฟืนตัว ธุรกิจคอนซูเมอร์ซบต่อ


ผู้จัดการรายวัน(26 กรกฎาคม 2545)



กลับสู่หน้าหลัก

"ดีทแฮล์ม"ยักษ์ใหญ่คอนซูเมอร์ชี้กำลังซื้อสินค้าอุปโภค บริโภคครึ่งปีแรกฝืด กำลังซื้อชนชั้นกลาง-ล่างซบเซาต่อเนื่อง ผลเสียผู้ประกอบการใช้กลยุทธ์โปรโมชั่น ลดงบโฆษณาสร้างแบรนด์

ส่งผลตลาดหดตัว บริษัทคอนซูเมอร์เข้าสู่ยุคลำบาก แย่งส่วนแบ่งลูกค้าเก่ากันเอง ครึ่งปีแรก ดีทแฮล์มโตแค่ 9% ต่ำสุดในรอบ 3 ปี แม้ช่วงวิกฤตยังโตได้ ถึง 20% คาดทำยอดขายได้ 6,800 ล้านบาท

"เอเยนซี่"บ่นลูกค้าอินเตอร์เนชั่นแนลแบรนด์ระวังใช้งบโฆษณา หลังวินาศกรรมสหรัฐฯเจ้าของสินค้ากลับมาใช้งบ 60% ด้านค้าปลีกรับผลกระทบมาตรการรัฐกระตุ้นอสังหาฯ

ลูกค้าไม่จับจ่ายใช้สอยในภาคค้าปลีก นายสมบุญ ประสิทธิ์จูตระกูล ผู้จัดการทั่วไป ฝ่ายสินค้าอุปโภค บริโภค บริษัทดีทแฮล์ม จำกัด ผู้จัดจำหน่ายสินค้าอุปโภคบริโภค เปิดเผย "ผู้จัดการรายวัน"

ว่าภาพรวมกำลังซื้อของผู้บริโภคระดับชนชั้นกลางในช่วงครึ่งปีแรกตลาดค่อนข้างซบเซาอย่างมาก โดยภาพความเป็นจริงของประชากรระดับกลางยังไม่มีกำลังซื้อ

จากภาพรวมเศรษฐกิจประเทศที่ยังไม่ดีขึ้น ทำให้ คนไม่มีความมั่นใจในการใช้จ่ายเงิน จะเห็นได้จากผู้บริโภคจะเลือก ซื้อสินค้าแพคใหญ่ลดลง เพราะไม่ต้องการใช้จ่ายเงินเป็นจำนวนมากใน

การซื้อสินค้าแต่ละครั้ง ถึงแม้ว่าสินค้าแพกใหญ่จะมีราคาถูกกว่าแพก เล็กก็ตาม แต่ผู้บริโภคก็จะเลือกซื้อสินค้าขนาดเล็กราคาถูกแทน แม้ว่าเทียบปริมาณสินค้าแล้วจะมีราคาแพงกว่า

และจะต้องเสียเวลามาซื้อสินค้าบ่อยครั้งก็ตาม การที่เห็นตลาดรถยนต์ และอสังหาริมทรัพย์ มีอัตราการเติบโตสูงขึ้นในช่วงนี้ มาจากปัจจัยการกระตุ้นด้านอัตราดอกเบี้ยต่ำของภาครัฐเป็นหลัก

ไม่ได้เกิดจากกำลังซื้อของผู้บริโภคที่มีอำนาจใน การจับจ่ายใช้สอยจริง โดยในส่วนของอสังหาริม- ทรัพย์นั้นถือเป็นสินค้าที่ผู้บริโภคระดับกลางต้องการซื้ออยู่แล้ว และเมื่อได้รับอานิสงส์ดอกเบี้ย

ต่ำจากภาครัฐ ผู้บริโภคส่วนใหญ่จึงพยายามที่จะหา ทางเป็นเจ้าของ ถึงแม้ว่ากำลังซื้อของตัวเองยังไม่พร้อมก็ตาม ส่วนรถยนต์ถือเป็นสินค้าฟุ่มเฟือย ที่ ได้รับผลดีจากดอกเบี้ยเงินฝากต่ำ

ทำให้ผู้บริโภคระดับสูงที่ยังมีอำนาจซื้อ ไม่ต้องการฝากเงินที่ได้รับดอกเบี้ยต่ำ และหันมาซื้อรถยนต์ที่เป็นสิ่งอำนวย ความสะดวกมากขึ้น นายสมบุญกล่าวต่อว่าสำหรับดีทแฮล์ม

ในช่วงครึ่งปีที่ผ่านมายอดขายมีอัตราการเติบโตเพิ่มขึ้นเพียง 9% เท่านั้น ซึ่งเป็นอัตราการเติบโตที่ต่ำสุด ในรอบ 3 ปี จากเดิมที่เคยมีอัตราการเติบโตในระดับ 20% ต่อเนื่อง แม้จะอยู่ในช่วงวิกฤตเศรฐกิจ

ประเทศไทยปี 2540 ดีทแฮล์มก็มีตัวเลขอัตราการเติบโตที่ดี เนื่องจากได้ดำเนินกลยุทธ์การตลาด ในลักษณะเข้าไปแย่งส่วนแบ่งของคู่แข่งขัน ซึ่งประสบความสำเร็จมาอย่างต่อเนื่อง

และมีอัตราการเติบโตเพิ่มขึ้นอย่างมาก แต่การที่ตลาดไม่มีการขยายตัวตลอดช่วงเวลาที่ประเทศไทยประสบปัญหาวิกฤต และผู้ประกอบการไม่ได้ให้ความสนใจในการสร้างตลาด ให้มีขนาดใหญ่ขึ้น

แต่จะแก้ปัญหาด้วยการจัดกิจกรรมส่งเสริมการขาย ณ ช่องทางการจำหน่ายต่างๆ เพื่อสร้างยอดขายในระยะสั้น โดยได้ลดลงปริมาณโฆษณาผ่านสื่อ ที่ถือเป็นการสร้างตลาด และสร้างแบรนด์สินค้าลง

โดยไม่ได้มองว่าการโฆษณา เป็นการสร้างการรับรู้ และความจงรัก ภักดีต่อแบรนด์สินค้า ซึ่งจะส่งผลต่อยอดขายของ สินค้าในระยะยาว การตัดงบโฆษณาลงทำให้ผู้บริโภคไม่ได้รับข้อมูลข่าวสาร

จึงไม่เกิดผู้บริโภคกลุ่มใหม่ ตลาดของสินค้าก็ไม่มีการขยายตัว มูลค่า ก็อยู่ในระดับคงที่หรือลดลง "ปัญหาวิกฤตที่เกิดขึ้น ทำให้ผู้ประกอบการต่างคิดเอาตัวรอดด้วยการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า เร่ง

จัดโปรโมชั่นเพิ่มยอดขาย โดยหวังเพียงการดึงส่วน แบ่งการตลาดมาจากคู่แข่งเท่านั้น โดยไม่ให้ความ สนใจในการสร้างตลาดใหม่ๆ ซึ่งเป็นการแก้ไขปัญหาระยะยาว ทำให้ขณะนี้ผู้ประกอบการในธุรกิจ

สินค้าอุปโภค บริโภค เข้าสู่ยุคลำบาก เพราะไม่สามารถเพิ่มยอดขายจากตลาดที่มีขนาดเท่าเดิมได้อีกต่อไป" นายสมบุญกล่าว ในช่วงที่เกิดเหตุการณ์วินาศกรรมประเทศสหรัฐอเมริกาเมื่อปีที่ผ่านมา

ทำให้บริษัทเจ้าของสินค้าอินเตอร์เนชั่นแนลแบรนด์ หลายรายเช่น ยูนิลีเวอร์ฯลดงบประมาณโฆษณาลงอย่างมาก ในบางกลุ่มสินค้าลดลงถึง 50% บางรายใช้งบประมาณอย่างระมัดระวัง

สำหรับภาพรวมของสินค้าอุปโภค บริโภคใน ปีนี้ น่าจะมีการขยายตัวในระดับ 5% เท่านั้น ในขณะที่เมื่อ 3 ปีก่อนอัตราการเติบโตอยู่ในระดับ 7-8% ในส่วนของดีทแฮล์ม เมื่อ 3

ปีก่อนเคยมีอัตราการเติบโตของยอดขายในระดับ 10-15% และ 20% ในปี 2544 แต่ในปีที่ผ่านมา บริษัทได้รับผลดี จากการได้ลูกค้าใหม่ คือ ผู้ผลิตนมสำหรับเด็ก มี้ด จอห์นสัน ที่มียอดขายปีละ 1,000

ล้านบาท ทำให้ในปี 2544 ดีทแฮล์มมียอดขายราว 6,100 ล้าน บาท แต่หากไม่รวมรายได้ของมี้ด จอห์นสัน ก็จะทำให้ปี 2544 ดีทแฮล์มจะมีอัตราการเติบโตเพียง 10-11% เท่านั้น

ส่วนในปีนี้ที่ผลประกอบการช่วงครึ่งปีแรก มี อัตรการเติบโตเพียง 9% คาดว่าถึงสิ้นปีนี้ ก็น่าจะทำได้ในอัตราเดียวกัน หรือมีมูลค่ายอดขายราว 6,800 ล้านบาท โดยน่าจะมีลูกค้าใหม่เข้ามาอีก 2 ราย

จากเมื่อต้นปีนี้บริษัทได้ลูกค้าใหม่ 1 ราย คือ ราชาชูรส ลีโอเบอร์เนทท์ชี้ลูกค้ายังตัดงบ นางพรศิริ โรจน์เมธา กรรมการผู้จัดการ บริษัทลีโอเบอร์เนทท์ จำกัด เปิดเผยว่า

หลังจากเหตุการณ์ก่อวินาศกรรมประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อวันที่ 11 กันยายน 2544 หลังเหตุการณ์ดังกล่าวได้ส่งผลให้ บริษัทอินเตอร์เนชั่นแนลแบรนด์ ได้ปรับลดงบประมาณการทำกิจกรรมการตลาด

โฆษณา ประชาสัมพันธ์ลงเป็นจำนวนมาก เพื่อรอดูสถานการณ์ของโลกว่าเป็นไปในทิศทางใด ปัจจุบันแม้ว่าสถานการณ์และเหตุการณ์ต่างๆ จะเริ่มคลี่คลายไปในแนวทางที่ดีขึ้นแล้วก็ตาม แต่

ขณะนี้ลูกค้าที่เป็นบริษัทอินเตอร์เนชั่นแนลแบรนด์ ได้กลับมาใช้เม็ดเงินโฆษณาเพียง 60% เท่านั้น ซึ่ง สินค้าคอมซูเมอร์ ประเภทอุปโภคบริโภค ที่เคยเป็นผู้นำในอันดับต้นๆ ในการใช้จ่ายงบโฆษณา พบ

ว่าขณะนี้สินค้าบางกลุ่มก็ยังคงชะลอการใช้งบในส่วนดังกล่าว โดยจะระมัดระวังในการใช้งบประมาณเป็นอย่างมาก สาเหตุหลักอีกประการคงมาจากความไม่มั่นใจว่าผู้บริโภคจะมีกำลังซื้ออย่าง

แท้จริงในสินค้าอุปโภคบริโภคเพิ่มขึ้น "ลูกค้าส่วนใหญ่ได้เปลี่ยนแปลงวีธีการใช้งบ ประมาณการทำตลาด จากการโฆษณาผ่านสื่อ เป็น การจัดกิจกรรมส่งเสริมการขายที่คาดว่าจะเห็นผล

ด้านยอดขายได้ทันที ในส่วนนี้ลูกค้าจะต้องกำหนด สัดส่วนการใช้โฆษณาและกิจกรรมที่ชัดเจนว่าควร จะเป็นสัดส่วนอย่างไร เพราะหากละเลยการสร้างแบรนด์ผ่านสื่อโฆษณา

ก็จะเป็นปัญหาในอนาคตของแบรนด์นั้น ที่ผู้บริโภคจะไม่มีความจงรักภักดีในแบรนด์สินค้า" นางพรศิริกล่าว ค้าปลีกรับผลกระทบรัฐฟื้นอสังหาฯ นายพิทยา เจียรวิสิฐกุล อดีตประธานสมาคม

ผู้ค้าปลีกไทย เปิดเผยว่า ภาพรวมธุรกิจค้าปลีกในช่วง 6 เดือนแรกมีอัตราการขยายตัวประมาณ 5-6% ต่ำกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อนที่เติบโตประมาณ 7% การขยายตัวครึ่งปีแรกในอัตราดังกล่าว

ถือว่าค่อนข้างฝืดในมุมมองของผู้ประกอบการค้าปลีก สาเหตุหลักมาจากหลายปัจจัย เช่น การฟื้นตัวของ เศรษฐกิจโดยรวมยังไม่ดีขึ้นเท่าที่ควร การเข้ามาฟื้น

ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ของภาครัฐด้วยการเสนออัตราดอกเบี้ยต่ำ ทำให้ผู้บริโภคไปใช้เงินภาคธุรกิจ อสังหาฯมากขึ้นการเสนอดอกเบี้ยต่ำของธุรกิจรถยนต์

ก็เป็นอีกปัจจัยที่ทำให้ผู้บริโภคใช้เงินเพื่อซื้อรถยนต์มากขึ้น จากปัจจัยต่างๆดังกล่าวทำให้ผู้บริโภคจับจ่ายใช้สอยในธุรกิจค้าปลีกลดลง และส่งผลต่อเนื่องทำให้ค้าปลีกมีอัตราการเติบโตต่ำตามไปด้วย

ในปี 2544 ภาพรวมของธุรกิจค้าปลีกมีอัตราเติบโตทั้งปี 7% คาดว่าในช่วง 6 เดือนหลังของปีนี้ค้าปลีกน่าจะขยายตัวมากขึ้น ทำให้ภาพรวม ทั้งปีขยายตัวเท่ากับปีก่อน คือ 7% ได้

เพราะฤดูกาลขายของค้าปลีกช่วง 6 เดือนหลังจะดีกว่า 6 เดือนแรก อย่างไรก็ตาม การขยายตัวของค้าปลีกในปีนี้ยังมาจากกลุ่มดิสเคานต์สโตร์เป็นหลัก เนื่องจาก เป็นกลุ่มที่มีการเปิดสาขามากที่สุด

พบว่าผู้ประกอบการ 4 รายหลัก คือ เทสโก้ โลตัส,บิ๊กซี, คาร์ฟูร์ และแม็คโคร เปิดสาขารวมกันในปีนี้ 20 แห่ง และคาดว่าก่อนกฎหมายค้าปลีกไทยจะออกมาบังคับใช้

ผู้ประกอบการกลุ่มดังกล่าวยังคงขยาย สาขาในอัตราดังกล่าวอยู่ ในขณะที่กลุ่มห้างสรรพสินค้ากลับไม่มีอัตราการเติบโตเพิ่มขึ้น เนื่องจากไม่มีการขยายสาขาใหม่

ปัจจุบันตลาดรวมค้าปลีกไทยทุกประเภทมีมูลค่าประมาณ 1.3 ล้านล้านบาท แบ่งเป็นโมเดิร์นเทรด 25-30% ที่เหลือเป็นค้าปลีกดั้งเดิม ที่ยังมีสัดส่วนสูงกว่า แต่มีอัตราลดลงเรื่อยๆ

กำลังซื้อลดฉุดตัวเลขศก. ด้านศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดการณ์ว่าปีนี้ภาพ รวมเศรษฐกิจน่าจะขยายตัวประมาณ 3.2% ถือว่าค่อนข้างดีในภาวะปัจจุบัน การเติบโตดังกล่าวจะมา

จากภาครัฐกระตุ้นกำลังซื้อในประเทศ และตลาดส่ง ออกจะต้องขยายตัวในอัตรา 3% อย่างไรก็ตามจาก สถานการณ์การส่งออกในช่วง 6 เดือนแรกในปีนี้ ที่ไม่สามารถขยายตัวได้ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้

ถึงสิ้น ปีนี้หากตัวเลขการส่งออกไม่ติดลบก็ถือว่าอยู่ในระดับดี สาเหตุหลักที่การส่งออกของไทยไม่สามารถ ขยายตัวได้ เนื่องจากเศรษฐกิจสหรัฐฯซบเซา และการส่งออกของไทยไปยังสหรัฐฯมีสัดส่วนถึง

20% เป็นตลาดใหญ่ที่สุดของประเทศ ทำให้ได้รับผลกระทบตามไปด้วย ทั้งนี้ ในช่วงต้นปี 2545 นักเศรษฐศาสตร์และนักวิเคราะห์ ให้ความเห็นสอดคล้องกันว่า

เศรษฐกิจไทยจะขยายตัวได้ขึ้นอยู่กับกำลังซื้อภาย ในประเทศเป็นหลัก ซึ่งที่ผ่านมารัฐบาลได้ออกมาตรการ เพื่อกระตุ้นการใช้จ่ายของประชาชน อาทิ โครงการกองทุนหมู่บ้าน หมู่บ้านละ 1 ล้านบาท

โครงการสินเชื่อพ่อค้าแม่ค้าแผงลอย ที่ดำเนินการ โดยธนาคารออมสิน โครงการสินเชื่อเพื่อเอสเอ็มอี ที่ดำเนินการโดยสถาบันการเงินของภาครัฐ รวมถึงการลดเพดานเงินเดือนขั้นต่ำ

ของผู้มีสิทธิทำบัตรเครดิตลงมาเหลือ 7,500 บาท จากเดิม 10,000 บาท ฯลฯ อย่างไรก็ตาม ผลจากยอดขายสินค้าอุปโภค บริโภคที่มีอัตราการลดลงอย่างมากในช่วง 6 เดือน แรกของปี 2545

เมื่อเทียบกับช่วงที่ไทยประสบภาวะวิกฤตเศรษฐกิจเมื่อปี 2541 เป็นการสะท้อนให้เห็นว่ามาตรการกระตุ้นกำลังซื้อภายในประเทศได้ผลไม่มากนัก

โอกาสที่จะเห็นการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่เกิดจากการขับเคลื่อนโดยกำลังซื้อภาย ในประเทศจึงเป็นเรื่องยาก ท่ามกลางการแข็งค่าของ เงินบาทส่งผลให้ผู้ส่งออกของไทยเสียเปรียบด้านการแข่งขัน



กลับสู่หน้าหลัก

Creative Commons License
ผลงานนี้ ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย



(cc) 2008 ASTVmanager Co., Ltd. Some Rights Reserved.