อาการสงบปากสงบคำของเขาหลังจากศาลสั่งให้บริษัทฝรั่ง ตัวแทนเจ้าหนี้เข้าบริหารกิจการทีพีไอ
พร้อมกับทำแผนฟื้นฟูฉบับใหม่ นับเป็นการปรับบทบาทเชิงยุทธศาสตร์ ที่สำคัญมาก
นั่นคือ การกลับมาคิดทบทวนแนวคิดเชิงยุทธศาสตร์ธุรกิจระดับโลกเสียใหม่
ประชัย เลี่ยวไพรัตน์ถูกกล่าวถึงมากที่สุดจากสื่อตะวันตก ในช่วง ที่ประเทศไทยกำลังเผชิญวิกฤติการณ์ทางเศรษฐกิจ
ที่รุนแรงที่สุด ตั้งแต่สังคมธุรกิจไทยมีอิทธิพลอย่างมาก สื่อตะวันตกกล่าวถึงเขามากกว่ากล่าวถึงนายกรัฐมนตรีของประเทศไทยเสียอีก
ซึ่งเขาเองไม่ภูมิใจกับสิ่งที่เกิดขึ้น โดยบอกกับ "ผู้จัดการ" ว่าสื่อเหล่านั้น
โจมตีเขาให้เสื่อมเสียชื่อเสียง
บริษัทอุตสาหกรรมปิโตรเคมีกัลไทย (ทีพีไอ) เป็นกลุ่มอุตสาหกรรมปิโตรเคมี ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศ
มีหนี้สินมากที่สุด ที่ต้องมีการเจรจาปรับโครงสร้างถือเป็นดีลสำคัญที่สุดแห่งยุคที่สำคัญในการเจรจายืดเยื้อกับเจ้า
หนี้ธนาคารต่างประเทศ ซึ่งส่วนใหญ่มีอิทธิพลในวงการธนาคารโลกอย่างมาก ทำให้ดีลครั้งนี้ได้รับความสนใจมากอย่างไม่เคยปรากฏมาก่อน
ทีพีไออยู่ในอันดับ 4 ของ "ผู้จัดการ 100" ในปี 2542 ซึ่งมีความหมาย ว่ากิจการนี้แม้จะอยู่ในภาวะวิกฤติ
ก็ยังมีความสามารถในการทำรายได้ในระดับดีอย่างต่อเนื่องเมื่อเปรียบเทียบกับ
3 บริษัทแรก ก็นับว่าทีพีไอเป็น กิจการที่เกิดใหม่เพียง 20 ปีที่เติบโตอย่างรวดเร็วอย่างมหัศจรรย์ยิ่งกิจการหนึ่ง
ประชัยดำเนินการพลิกแพลงอย่างมากในการต่อสู้ และเจรจากับเจ้าหนี้ บทสนทนาของเขากับสื่อมวลชนไทยมีสีสัน และดุเดือด
โดยเฉพาะการวิพากษ์วิจารณ์เจ้าหนี้ต่างชาติ เขาจึงเป็นหัวแถวคนหนึ่งในเกมการต่อสู้ เพื่อยึดครองของต่างชาติตามทฤษฎีของคนรักชาติ ที่ส่วนหนึ่งกู้เงินฝรั่งมาใช้อย่างมากมาย
ซึ่งสอดคล้องกับกระแสสังคมไทยระดับหนึ่ง มีชัย ฤชุพันธุ์ อดีตประธานวุฒิสภาก็เป็นคนหนึ่ง ที่ชื่นชม และให้กำลังใจในการต่อสู้อัน
เข้มแข็งของประชัยผ่านกลอนอวยพรปีใหม่ ที่ส่งถึงเขา มีสำเนาติดประกาศให้อ่านกันอย่างเปิดเผยภายในอาคารทีพีไอ
วันนี้ แม้เขาดูเหมือนจะพ่ายแพ้ในเกม ที่ว่านั้น แต่เชื่อว่าบทบาท ที่ผ่านมาของเขายังปร
ะทับใจผู้คนไม่น้อยทีเดียว
ประชัย เลี่ยวไพรัตน์ก้าวขึ้นมาเป็นผู้นำตระกูลเลี่ยวไพรัตน์อย่างเต็มตัวในปี
2529 เมื่อพร เลี่ยวไพรัตน์ บิดาของเขาเสียชีวิตไป ในฐานะผู้นำตระกูลหลังสงครามโลกครั้ง ที่สองตระกูลเดียว ที่กำลังเดินหน้าเข้าสู่โลกอุตสาหกรรมหนัก ที่มีอนาคตอย่างเต็มตัว
ด้วยความมั่นใจ และไม่มีใครคิด และทำมาก่อนในสังคมไทย สังคมเศรษฐกิจ ที่ถูกกล่าวขานว่าเป็นสังคมการค้า
(Trading Sociaty) หลังจากนั้น เขาก็ดูเหมือนมีความเชื่อมั่นตัวเองอย่างสูงในฐานะผู้ประกอบการที่ประสบความสำเร็จ
สูงสุดคนหนึ่งในสังคมธุรกิจไทย ที่นอกเหนือไปจาก "ธุรกิจหมุนกระดาษ"
อย่างไรก็ตาม รากเหง้าความคิดในการสร้างอาณาจักร ที่ยิ่งใหญ่ครบวงจรอย่างรวดเร็ว
ภายใต้อำนาจบริหาร และผลประโยชน์ของตระกูลของเขาอย่างเหนียวแน่น และความพยายามรักษากิจการเอาไว้
โดยถูกวิจารณ์ว่า ยุทธศาสตร์ของเขาเน้น "ความเป็นเจ้าของ" มากกว่า "ความอยู่รอด"
ของกิจการ เป็นฐานในการเดินเกม ที่ทำให้ประชัย และทีพีไอ เดินมาถึงจุดอับอย่างไม่น่าจะเป็นไปได้
ความเป็นไป
นับตั้งแต่วันที่ 20 เมษายน 2543 เป็นต้นไป การบริหารกิจการขนาด ใหญ่ มีสินทรัพย์รวมเกือบ
2 แสนล้านบาท ที่เคยอยู่ภายใต้การบริหารอย่างเบ็ดเสร็จของประชัย เลี่ยวไพรัตน์
ในฐานะผู้นำตระกูล และประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มทีพีไอ ต้องตกไปอยู่กับบริษัทฝรั่ง ที่เป็นตัวแทนเจ้าหนี้
บริษัท เอ็ฟเฟ็คทิฟ แพลนเนอร์ส จำกัดหรืออีพี ส่งจดหมายหลายฉบับถึงผู้คนกลุ่มต่างๆ
ตั้งแต่กรรมการ และผู้บริหารทีพีไอ พนักงาน รวมทั้งธนาคาร ที่ทีพีไอใช้บริการ เพื่อแสดงอำนาจในการบริหารกิจการอย่างฉับพลัน
พร้อมๆ กับบทบาทของผู้บริหารเดิม (โดยเฉพาะผู้บริหารระดับสูง) ในการลงนามทำนิติกรรมทางการค้าใดๆ
ต้องเปลี่ยนมือทันที (โปรดอ่านรายละเอียดของจดหมาย)
อย่างไรก็ตาม อีพีพยายามแสดงความชัดเจนโดยย้ำว่า ผู้บริหารชุดเดิม และพนักงานทำงานโดยปกติต่อไป
ขณะเดียวกัน ธนาคารกรุงไทย สาขาสวนมะลิ ซึ่งอยู่ในทำเลใกล้เคียงกับสำนักงานทีพีไอ
ก็ได้มีจดหมาย เพื่อให้ระงับการดำเนินการใดๆ อันเกี่ยวข้องกับบัญชีธนาคาร ที่ทีพีไอเคยใช้ทันที
(ดูในล้อมกรอบ)
หลายคนบอกว่าฐานะของประชัยตอนนี้แตกต่างจากเดิมอย่างสิ้นเชิง ถ้าเขายอมรับการลงนามสัญญาหลังจากลงนามในสิ่งที่เรียกว่า
term sheet ซึ่งทั้งเจ้าหนี้ และลูกหนี้เห็นพ้องต้องกันก่อนหน้านี้ปีกว่า
เพราะแผนการฟื้น ฟูกิจการครั้งนั้น ประชัย และทีมบริหารตระกูลเลี่ยวไพรัตน์
ยังมีอำนาจในการบริหารกิจการอย่างเต็มที่ แม้จะอยู่ภายใต้การกำกับของเจ้า
หนี้อย่างเข้มข้นก็ตาม แต่หลังจากวันที่ 20 เมษายนนี้เป็นต้นไป ประชัยเป็นเพียงผู้บริหาร ที่อยู่ภายใต้ผู้ทำแผน
(อีพี) ซึ่งอยู่ภายใต้การกำกับของเจ้าหนี้อีกชั้นหนึ่ง ทั้งนี้ ยังไม่แน่ใจว่า
อีก 5 เดือนข้างหน้า แผนปรับปรุงโครงสร้างหนี้ใหม่ ที่ทำโดยอีพี จะมีสาระอย่างไร
ซึ่งถือว่า อยู่นอกเหนือการต่อรองของประชัยไปแล้ว
ผู้ใกล้ชิดบอกว่า การที่เขาเงียบไม่แสดงความเห็นขัดแย้งใดออกมาอีก โดยกล่าวยอม
รับการเปลี่ยนแปลงไปอย่างพลิกหน้ามือเป็นหลังมือในวันต่อมานั้น แสดงว่าเขาเป็นนักยุทธศาสตร์ในการเจรจา
ความพยายามรักษาบทบาทในทีพีไอต่อไปก็คือ ความพยายามบรรลุเป้าหมายในการรักษา และฟื้น
ฟูกิจการทีพีไอให้รุดหน้าไป "เขามองความสำคัญของทีพีไอมากกว่าความเป็น เจ้าของอย่างเห็นได้ชัด"
ซึ่งถือเป็นคำกล่าว ที่พยายามจะโต้แย้งกับนักสังเกต การณ์บางคนที่มองว่า ประชัยมุ่งรักษาความเป็นเจ้าของมากกว่าความอยู่รอดของทีพีไอ
โดยบอกเป็นการมองเชิงยุทธศาสตร์อย่างยิ่ง และมีเหตุผลมากกว่าอารมณ์ ซึ่งนับว่าเป็นยุทธศาสตร์ใหม่ ที่ตรงกันข้ามกับบทบาทในช่วงเกือบ
3 ปีที่ผ่านมาของประชัย
อย่างไรก็ตาม เสียงจากฝ่ายเจ้าหนี้บอกว่า ประชัย เลี่ยวไพรัตน์ไม่มีทางเลือกเพราะเขาไม่รู้ว่าอะไรจะเกิดขึ้น
เมื่อแผนฟื้นฟูใหม่ผ่านความเห็น ชอบเจ้าหนี้ ผู้ทำแผนสามารถเปลี่ยนผู้บริหารได้อย่างเต็มที่
ซึ่งรวมทั้งประชัยด้วยการสงบ ปากสงบคำ และให้ความร่วมมือ เป็นทางเดียว ที่ประชัยจะทำได้ในขณะนี้
ประชัย เลี่ยวไพรัตน์ ยอมรับกับ "ผู้จัดการ" ก่อนหน้าวันที่ 20 เมษายนเพียงไม่กี่วันว่า
ความผิดพลาดของเขา ที่สำคัญประการหนึ่ง ก็คือ เ ขารีบลงนามใน term sheet เร็วเกินไปกลายเป็นเงื่อนไขผูกมัด
และเมื่อเขาตัดสินใจไม่ลงนามในสัญญา ซึ่งถือเป็นจุดเปลี่ยน ที่ทำให้ความขัดแย้งระหว่างเขากับบรรดาเจ้าหนี้รุนแรงขึ้น
โดยเขาถูกมองว่าไม่มีความ จริงใจในการประนอมหนี้
term sheet ถือเป็นสัญญาปรับโครงสร้างหนี้ ที่ลงนามเกือบจะสมบูรณ์ เพียงขาดรายละเอียดอีกเพียงเล็กน้อย
ที่ไม่ใช่สาระสำคัญเท่านั้น การลงนาม ใน term sheet ในวงการการเงินโลกถือว่า
เท่ากับการลงนามฉบับสมบูรณ์ก็ว่าได้ "TA ปรับโครงสร้างหนี้ ลงนามกันครึกโครมต่อหน้าสื่อมวลชนก็แค่
term sheet หลังจากนั้น สัญญาฉบับสมบูรณ์เซ็นอีกครั้ง ก็ไม่มีความสำคัญแล้ว"
ผู้รู้ในวงการปรับโครงสร้างหนี้คนหนึ่งให้ข้อมูล
ประชัยเคยบอกว่า Chase Manhatton Bank ที่ปรึกษาของเขาเสนอให้ลงนามใน term
sheet ไปก่อน ซึ่งเป็นที่รู้กันต่อมา ประชัยเปลี่ยนใจไม่ลงนามในสัญญา โดยมาศึกษารายละเอียดภายหลังพบว่าเป็นสัญญา ที่เสียเปรียบอย่างยิ่ง
ซึ่งเจ้าหนี้สามารถเข้ายึดกิจการได้ตลอดเวลา ภายใต้เงื่อนไข ที่เข้มงวดต่อผู้บริหารแผน
บุญศรี กอบบุญ ที่ปรึกษากฎหมายคนใหม่ของประชัย ที่เข้ามาภายหลังการลงนามใน
term sheet เป็นคนเสนอความเห็นไม่ให้ลงนามสัญญาฉบับสมบูรณ์ ที่เสียเปรียบนั้น
เขามีประสบการณ์เป็นผู้พิพากษามาประมาณ 40 ปี ล่าสุดก่อนเกษียณเขาเป็นหัวหน้าคณะในศาลฎีกา
สมัยหนุ่มเขาเคยเป็น อาจารย์สอนหนังสือ ที่โรงเรียนอัสสัมชัญ ในช่วง ที่ประชัยเรียนหนังสือระดับมัธยมอยู่ ที่นั่น
อย่างไรก็ตาม เป็นที่รู้กันว่า ในการเจรจาปรับโครงสร้างหนี้รายใหญ่ที่สุดของประเทศครั้งนี้อยู่ในอำนาจการตัดสินใจของประชัย
เลี่ยวไพรัตน์ เพียงคนเดียวอย่างเบ็ดเสร็จ แม้แต่น้องๆ ก็ไม่สามารถให้ความเห็นใดๆ
ขัดแย้งกับประชัยได้ ที่ปรึกษา ที่จ้างก็เป็นเพียงผู้เสนอความเห็น เทคนิค
และแผน ในการเจรจาขั้นต่างๆ อยู่ ที่ประชัยคนเดียวจริงๆ "คุณวชิรพันธุ์ พรหม
ประเสริฐ รองผู้จัดการใหญ่ การเงิน ที่มาจากศรีมิตร ก็คือ ผู้คอยรับแผนคุณประชัยไปทำรายละเอียดเท่านั้น "
กรรมการคนหนึ่งของทีพีไอ แย้มให้ฟัง
ระยะหลังมานี้ อรพินท์ เลี่ยวไพรัตน์ ภรรยาของประชัยก็เข้ามาช่วยด้วย แต่เธอก็มักจะเห็นคล้อยตามประชัย
น้องๆ ที่ร่วมสร้างกิจการกันมาก็ยิ่งไม่เข้ามายุ่ง ภรรยาของเขาเคยเป็นกรรมการผู้จัดการบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์คา
เธ่ย์ฯ ซึ่งถูกทางการสั่งปิดกิจการถาวรเมื่อ 2 ปีก่อน จึงเข้ามาทำงานในกลุ่มทีพีไอ
ในฐานะผู้เชี่ยวชาญการเงินคนหนึ่ง
การมองอย่างเข้มข้นของประชัย เลี่ยวไพรัตน์ ในเรื่องความพยายามยึดกิจการที่เขาสร้างมันมาในช่วงชีวิตของเขาของบรรดาเจ้าหนี้
ซึ่งบางครั้งอาจจะเป็นสิ่งที่เขาคิดไปเอง (สังเกตจากคำกล่าวของเขา ที่เริ่มจากการโจมตีไอเอฟซี
ซึ่งโยงไปถึงเครือซิเมนต์ไทย ในช่วงแรก และมาลง ที่แบงก์กรุงเทพในช่วงท้าย)
ทำให้เกมการเจรจามิได้มองถึงการเจรจาต่อรองในสาระของสัญญา กลับกลายเป็นเรื่องความนึกคิด
อารมณ์ และการวิเคราะห์ทางการเมืองอันเป็นมูลเหตุในดีลแห่งทศวรรษนี้ ต้องจบลงในลักษณะเช่นนี้
กรรมการหรือเจ้าหน้าที่ระดับสูงทีพีไอส่วนใหญ่มีความเห็นต้องกันว่า ทีพีไออ่อนประชาสัมพันธ์
ในขณะที่เจ้าหนี้จ้างบริษัทประชาสัมพันธ์ต่างประเทศ ทำหน้าที่อย่างรอบคอบกับสาธารณชน
ซึ่งนักประชาสัมพันธ์เชื่ อว่า นั่นก็คือ การวิจารณ์บทบาทประชัยโดยอ้อม ที่เขาทำหน้าที่ประชาสัมพันธ์ในเกมการต่อสู้นี้ด้วยตนเอง
และด้วยคำพูดของเขาเอง ซึ่งจะมีความดุเดือดมากกว่าข้อมูลที่จะเป็นประโยชน์
ความเป็นมา
ประชัย เลี่ยวไพรัตน์ ถือเป็นผู้ประกอบการที่สามารถเชื่อมยุครอยต่อการค้ายุคเก่ากับยุคใหม่ได้ดีกว่าคนอื่นๆ
บุกเบิก
พร เลี่ยวไพรัตน์ (2459-2529) เริ่มต้นการค้าตามโมเดลของการสะสมทุนในยุคก่อนสงครามโลกครั้ง ที่สอง
ก็คือ การค้าข้าวตามหัวเมือง (สระบุรี) ซึ่งต้องมีโรงสีเป็นหัวใจของธุรกิจ
ในยุคนั้น การค้าข้าวมีมูลค่าสูงถึง 70% ของการค้าระหว่างประเทศ จากนั้น มาก็ก้าวเป็นผู้ส่งออกข้าว
ซึ่งถือเป็นธุร กิจทรงอิทธิพลอย่างมาก ในช่วงหลังสงครามโลกครั้ง ที่สอง
ห่งเอี๊ยเซ้ง (ธนาพรชัย) ก่อตั้งขึ้นในปี 2489 ภายหลังธนาคารกรุงเทพก่อตั้งขึ้นเพียง
2 ปี เชื่อกันว่ากัมประโด ที่ชื่อ ชิน โสภณพนิช ในขณะนั้น มีส่วนสำคัญในการสนับสนุนกิจการค้าข้าวหลายแห่ง
จนในที่สุดธนาพรชัยก็คือ กลุ่ม 5 เสือค้าข้าวยุคใหม่ ที่เติบโตอย่างมาก ภายใต้การสนับสนุนของธนาคารกรุงเทพ
จากนั้น ไม่นาน เมื่อชิน โสภณพนิชขึ้นเป็น ผู้จัดการใหญ่ธนาคารแห่งนี้
ธนาคารกรุงเทพในของยุคชิน มีโมเดลการขยายตัวด้วยการเกื้อกูล "เครือข่าย"
ให้เติบโตอันเป็นฐานให้ธนาคารเติบโต ซึ่งค่อนข้างจะแตกต่างกับธนาคารระบบครอบครัวอื่นๆ
ซึ่งมุ ่งสร้างเครือข่ายธุรกิจของตระกูลเท่านั้น (ต่อมาภายหลังในยุคชาตรี
โสภณพนิช ยุคแรกๆ ก็ใช้โมเดลเดียวกับธนาคารครอบครัวรายอื่นๆ) ดังนั้น เมื่อโอกาสใหม่เกิดขึ้น
"เครือข่าย-บุญคุณน้ำมิตร" เหล่านี้ก็จะมีโอกาสในการสถาปนาธุรกิจใหม่เกิดขึ้น
เช่น ร่วมกับพร และ เพื่อนเริ่มก่อตั้งโรงงานทอผ้า (ลักกี้เท็กซ์)ใน ปี 2503
(ต่อมาขายกิจ การให้ Toray Group ในปี 2515 แต่ก็ยังเหลือโรงทอผ้าแห่งอื่นๆ
อีก) โรงปั่นฝ้าย โรงทอกระสอบ เป็นต้น
พรขยายตัวตามโอกาส ตามสถานการณ์ของกลุ่มธุรกิจ ที่อยู่ในใจกลางสังคมธุรกิจไทย
ไม่ว่าจะเป็นประกันภัย (2505) บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ (2509) ขณะเดียวกันก็ร่วมกับ เพื่อนใน
ฐานะหุ้นส่วนในการเริ่มต้นแนวคิดธุรกิจปศุสัตว์ ครบวงจร (กลุ่ม เบทราโก)
พร เลี่ยวไพรัตน์ เติบโตในยุคอำนาจรัฐมีอิทธิพลอย่างมาก เขาก็ย่อมจะเข้าไปอยู่ในเครือข่ายอำนาจทางการเมืองด้วย
โดยเขาเลือกเดินตามนาย ห้างชิน โสภณพนิช ที่มีความสัมพันธ์เริ่มต้นกับกลุ่มซอยราชครู
( ซึ่งบังเอิญ สมาชิกคนสำคัญในกลุ่มซอยราชครูมีพื้นเพจากสระบุรีเหมือนกัน)
อย่างไรก็ตาม เมื่อสถานการณ์เปลี่ยนเขาก็ปรับตัวเสมอ
ด้วยความโชคดีของพร เลี่ยวไพรัตน์ ลูกๆ ของเขาล้วนมีการศึกษาที่ดี ถือเป็นความภาคภูมิใจที่สุดของหนึ่งในวงการค้าพืชไร่ในยุคนั้น ที่ต้องถือเขาเป็นแบบอย่างที่น่าศึกษา
สร้างอาณาจักรใหม่
ประชัย เลี่ยวไพรัตน์เกิดปี 2487 ในช่วง ที่บิดาของเขากำลังก้าวเข้าสู่ทำเนียบนักธุรกิจระดับประเทศ
เขาผ่านการศึกษาอย่างดี ด้านวิศวกรรมศาสตร์ทั้งระดับปริญญาตรี ที่นิวซีแลนด์
(University of Canterbury) และปริ ญญาโท ที่สหรัฐฯ (University of California-Berkeley)
ในฐานะคนที่เรียนหนังสือเก่งมากคนหนึ่ง
เขากลับมาเมืองไทยในฐานะบุตรชายคนโตเมื่อปี 2512 ในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อของธุรกิจครอบครัว
กิจการของตระกูลเลี่ยวไพรัตน์ค่อนข้างกระจัดกระจาย และมีปัญหามากพอสมควร
การค้าส่งออกข้าว อยู่ในช่วงการปรับตัวครั้งใหญ่จากตลาดเดิม (ย่านเอเชีย)
เริ่มต้นหดหรือไม่เติบโตต้องแสวงหาตลาดใหม่ ระบบโควตาแบบเดิมท ี่พวกเขาเคยได้ประโยชน์อย่างคงเส้นคงวา
เริ่มผันเปลี่ยนตามการเมือง ประกอบกับผู้ค้ารายใหม่เกิดขึ้นมาอย่างน่ากลัว
อาทิ กลุ่ม เกษตรรุ่งเรือง
การค้าปศุสัตว์ ที่มุ่งหวังจะครบวงจรประกบกลุ่มเจริญโภคภัณฑ์ ซึ่งเริ่มประสบความสำเร็จมากขึ้น
ก็เผชิญเสียงเรียกร้องจากครอบครัว และคนใกล้ชิดให้ถอนตัวออกมาเนื่องจากความเชื่อ
ขณะที่ธุรกิจอื่นๆ ก็เดินไปอย่างช้าๆ ไม่หวือหวาไม่สามารถจะเป็นอนาคตของรุ่นเขา ที่กำลังจะจบการศึกษาตามออกมาได้
อย่างไรก็ตาม ประชัยก็ได้แสดงบทบาทในการปรับตัวในธุรกิจค้าข้าว ก็ทำได้อย่างดีในการแสวงหาตลาดใหม่
ด้วยกลยุทธ์การค้าแบบใหม่ ทำให้ธนาพรชัย หวือหวาขึ้นมาช่วงหนึ่งในช่วงท้ายของการค้าข้าว ที่เฟื่องฟู
และ เกี่ยวพันกับการเมืองอย่างเต็มที่ช่วงหนึ่ง
เขาจึงเป็นลูกคนเดียว ที่มีประสบการณ์ ที่ถ่ายทอดมาจากรุ่นพ่ออย่างกลมกลืน
โดยเฉพาะการค้า ที่เกี่ยวกับอำนาจทางการเมือง รวมทั้งได้สะสมโมเดลในการทำธุรกิจลักษณะครอบงำของสังคมไทย
บทเรียนของการขยายกิจการอย่างครบวงจร การมุ่งไป ที่การสร้างธุรกิจ ที่มีอำนาจในการบริหารของครอบครัวอย่างเต็มที่
มีอำนาจต่อตลาด และสังคม เป็นโมเดล ที่สังคม ไทยให้ความสนับสนุนตลอดมา ซึ่งถือเป็นโมเดลธุรกิจครอบครัวของไทยหลังสงครามโลก ที่สอง ที่ยึดมั่นกันมา
ประมวล เลี่ยวไพรัตน์ ลูกชายคนที่ 3 จบการศึกษาด้านปิโตรเคมีระดับปริญญาเอกคนแรกของเมืองไทย
(B.S "with Honors in Chemical Engineering, University of California Berkeley
และ S.M, Sc.D in Chemical Engineering MIT) ได้จุดประกายธุรกิจใหม่ ที่ไม่เคยมีใครสนใจ และทำมาก่อนในเมืองไทย
อุตสาหกรรมปิโตรเคมีในช่วง ที่ดร.ประมวลศึกษา ที่ MIT นั้น ในตะวัน ตกได้กลายเป็นอุตสาหกรรม ที่มีการศึกษาครบวงจร
ในเรื่องนำก๊าซธรรมชาติ และน้ำมันมาผลิตสินค้าครบวงจร อันเป็นแนวทางพัฒนาใหม่ของมนุษย์ในเรื่องการใช้ผลิตภัณฑ์ต่างๆ
เพื่อความสะดวกสบาย ดร.ประมวลวาดฝัน และบอกบิดา และพี่ๆ ซึ่งก็ได้รับการสนับสนุนอย่างเต็มที่จากพี่ๆ
ทั้งประชัย และประทีป ซึ่งมีพื้นความรู้ด้านวิศวกรรมอย่างดีทั้งคู่ < dd>
ความคิดรวบยอดของประมวลเป็นจริงเป็นจังมากขึ้นเมื่อรัฐบาลไทยกำลังส่งเสริมอุตสาหกรรมนี้
โครงการปิโตรเคมีแห่งชาติ เนื่องมาจากการ ค้นพบ ก๊าซธรรมชาติในประเทศไทย
ความคิดเริ่มแรกค่อนข้างอุดมคติก็คือ การสร้าง complex อุตสาหกรรมปิโตรเคมีอย่างครบวงจรภายใน
16 ปี ด้วยเหตุนี้ ทีพีไอจึงสร้างนิคมอุตสาหกรรมของตนเองขึ้นมาแต่แรก ที่ระยอง
โดยไม่รวมอยู่ในนิคม ของทางการ ซึ่งถือเป็นนิคม ที่สมบูรณ์ด้านภูมิศาสตร์
ในปัจจุบันมีเนื้อ ที่ใช้งานกว่า 4,000 ไร่ ซึ่งสามารถเพิ่มขึ้นได้อีก
การสร้างโรงงานผลิตเม็ดพลาสติกแห่งแรกภายใต้บริษัททีพีไอจึงเกิดขึ้น ตั้งแต่ปี
2524 นับเป็นการลงรากฐานครั้งสำคัญในอุตสาห กรรมนี้ ทำให้พัฒนาการของทีพีไอมีความสัมพันธ์กับโครงการปิโตรเคมีแห่งชาติอย่างกลมกลืน และได้ประโยชน์มากที่สุด
"เราสร้างขึ้นมา เพื่ออยากให้ประเทศไทยพัฒนาไปข้างหน้า คือ ปูนใหญ่เขามองว่าปิโตรเคมีพัฒนาไม่ได้
แต่เรามองว่าทำได้แต่ต้องครบวงจร" ประชัยพูดเรื่องเก่าอีกครั้งกับ "ผู้จัดการ"
ก่อนลงมติเลือกผู้ทำแผนเพียงไม่กี่วัน ซึ่งสะท้อนความคิดเชิงยุทธศาสตร์ ที่ว่าด้วย
"ครบวงจร"
อย่างไรก็ ตาม พรก็ยังมีส่วนช่วยให้โครงการนี้ดำเนินไปด้วยดีจากความสัมพันธ์ ที่เขามีอยู่กับผู้มีอำนาจ
รวมทั้งระดมเงินจากพันธมิตรจำนวนหนึ่ง ไม่ว่าการเชิญสุนทร หงส์ลดารมภ์มาเป็นประธานตั้งแต่วันแรกจนถึงปัจจุบัน
"แรกๆ คุณพรเกือบจะเชิญพลเอกกฤษณ์ สีวะราอยู่แล้ว แต่มีคนที่เสนอดร.สุนทร
ซึ่งก็ถือว่าเป็นการตัดสินใจ ที่ถูกต้อง เพราะท่านกว้างขวาง ในหน่วยราชการ
และมีบารมีอย่างมาก ทั้งกระทรวงพาณิชย์ สภาพัฒน์ฯ จน ถึงบีโอไอ" คนเก่าแก่คนหนึ่งเล่าอดีตให้ฟัง
เช่นเดียวกับตระกูลแต้ไพศิษฐ์พงษ์ เพื่อนบ้าน ที่หอบหิ้วมาจากสระบุรี มาสร้างกิจการธนาพรชัย
หรือเบทราโกก็ร่วมหุ้นด้วย รวมทั้งสรร อักษรานุเคราะห์ พ่อตาของ ดร.ประมวล
เลี่ยวไพรัตน์ ก็เป็นบุคคลสำคัญอีกคนหนึ่ง ที่เข้าร่วมหุ้น "คุณพรมาชวนผมถือหุ้นในโรงงาน ซึ่งเขาก็ไม่รู้ว่ามันทำอะไร
ตอนนั้น เริ่มลงทุน 300 ล้านบาท แต่ผมลงไปเพียง 1 ล้านบาทเท่านั้น ที่ควรผมน่าจะลงสัก
10%" สรร อักษรานุเคราะห์ รองประธานกรรมทีพีไอตั้งแต่ต้นจนถึงปัจจุบันเคยเล่าให้
"ผู้จัดการ" ฟังเมื่อไม่นานมานี้
ความสำเร็จครั้งนั้น ของทีพีไอเป็นบทเรียนสำหรับธุรกิจยุคใหม่อย่างน้อย 2
ประการ หนึ่ง - พวกเขาสามารถเรียนรู้ และบริหารการ ใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่จากตะวันตกสำหรับอุตสาหกรรม ที่ซับซ้อนมาประยกุต์ใช้ได้อย่างดีในประเทศไทย
สอง-พวกเขาเรียนรู้ และเข้าถึงแหล่งเงินทุนในโลกการเงิน และการค้ายุคใหม่จากตะวันตกได้ผ่านกระบวนการจัดซื้อเทคโนโลยี
(supplier credit)
บทบาทสำคัญ ที่ถือเป็นผลงานสำคัญของประชัย เลี่ยวไพรัตน์ก็คือ ในช่วงหลัง
ปี 2530 ในการต่อภาพ "จิ๊กซอว์" ครบว งจรอย่างจริงจังครั้งสำคัญในการเข้าร่วมชิงชัยในการเข้าร่วมโครงการพัฒนาปิโตรเคมีแห่งชาติระยะ ที่สอง
ซึ่งรัฐเป็นผู้คัดเลือก
บางคนบอกว่าเหตุการณ์ครั้งนั้น มีความหมายสำคัญสำหรับประชัยมากทีเดียว มากจนส่งผลมาถึงปัจจุบันด้วย
เหตุการณ์ครั้งนั้น เกิดขึ้นหลังการจากไปอย่างไม่มีวันกลับของพร เลี่ยวไพรัตน์
ที่มีความเชี่ยวกรำในฐานะนักธุรกิจระดับชาติคนหนึ่ง ประชัยก็สามารถถ่ายทอดสิ่งนั้น มาอยู่ในตัวเขาไม่น้อย
ในฐานะผู้นำตระกูลคนใหม่ ที่มีความพร้อมที่สุดคนหนึ่ง ท่ามกลางการแข่งขัน ที่ดุเดือด
อันเนื่องมาจากรายใหญ่ อื่นๆ เริ่มมองเห็นความสำเร็จของทีพีไอในเชิงธุรกิจ
จึงพาเหรดเข้าสู่สนามการแข่งขัน ที่ดุเดือด
ในบรรดา 60 รายที่เข้าชิงชัย โครงการปิโตรเคมีขั้นใหม่ ที่รัฐเสนอ 10 ผลิตภัณฑ์ต่อเนื่องในขั้น
down stream ตามปรัชญาไม่ให้รายหนึ่งรายใดผูกขาด ซึ่งตามแนวนี้ทีพีไอกลายเป็นเป้าหมายใหญ่ในการโจมตี
เนื่องจากเป็นรายเก่า ที่ ยึดครองตลาดส่วนนี้ไปก่อนแล้ว
อย่างไรก็ตาม ในที่สุดประชัยก็สามารถฝ่าด่านความเข้มแข็งของคู่แข่ง ที่มีทั้งเครือซิเมนต์ไทย
ซีพี และแบงก์กรุงเทพ ซึ่งมาพร้อมกั บพันธมิตรระดับ โลก ซึ่งถือเป็นศึก ที่ยิ่งใหญ่มาก
ทีพีไอสามารถเข้าป้ายคว้าสิทธิในการตั้งโรงงานไว้มากที่สุด ทีพีไอก็คือ กลุ่มอุตสาหกรรมปิโตรเคมี ที่ใหญ่ที่สุด
และมีโครงข่ายในการบรรลุครบวงจรมากขึ้น
ไม่ต้องสงสัยเลยว่า ในยุคการ เมืองไทยยุคนั้น ประชัยต้องลงทุนอย่างมากทั้งสติปัญญา และเงินทอง
ผู้ใหญ่บางคนบอกว่า ตั้งแต่นั้น มา ประชัยรู้จักวิธีดีลกับนักการเมือง ซึ่งเป็นการดีล ที่มีต้นทุนมากพอควร
แม้เขาจะระลึกเสมอมาว่าเขาเป็น "ผู้มาใหม่" ในสังคมวงในของไทย แต่เขาก็คิดว่าวิธีการดีล
ของเขาจะทำให้เขาบรรลุวัตถุประสงค์ไม่ยากเย็นจนเกินไป
บทเรียนครั้งนี้มันตอกย้ำความเชื่อของเถ้าแก่ไทย ที่ว่า ธุรกิจไทยมีความสัมพันธ์กับรัฐเสมอ
การมีความสัมพันธ์กับรัฐอย่างเหมาะสม แม้มิใช่ระบบสัมปทานโดยตรงก็ตาม ก็ย่อมให้ประโยชน์มากทีเดียว
อย่างไรก็ตาม ความ เชื่อมั่นในบทเรียนนี้มากเกินไปสร้างความ "เจ็บปวด" แก่ประชัยอย่างมากใน
เวลาต่อมา
ประชัย เลี่ยวไพรัตน์ มีวิญญาณในการต่อสู้กับคู่แข่ง ที่เข้มข้นมากด้วยพลังขับเคลื่อนที่น่าสนใจ
ผู้ใกล้ชิดบอกว่า เขามักวาดภาพอุปสรรคของเขาอย่างน่ากลัว และยิ่งใหญ่ ที่เขาจะต้องเอาชนะ
แล้วทุกครั้งเขาก็เอาชนะได้เสมอ แม้ว่าการวาดภาพ บางครั้งจะเป็นจริงหรือไม่ก็ตาม
เขามีคำอรรถาธิบาย ที่น่าทึ่งในเรื่องนี้ตลอดมา ตั้งแต่ทีพีไอเกิดขึ้น
เขาบอกว่าการก่อสร้างโรงงานแรกในช่วงปี 2520 มีอุปสรรคมากมายจากคู่แข่ง ที่ไม่ต้องการให้ทีพีไอเิด
โดยเฉพาะพ่อค้าเม็ดพลาสติก
แล้วมาถึงเครือซิเมนต์ไทย กิจการที่ถือหุ้นใหญ่โดยสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์เข้ามาสู่อุตสาหกรรมปิโตรเคมี
เพราะต้องการล้มทีพีไอ เป็นตรรกะ ที่สมจริงพอสมควร การต่อสู้เชิงยุทธศาสตร์ระหว่างทีพีไอกับเครือซิเมนต์ไทยดำเนิน
มาช่วงหนึ่ง ในที่สุด ทีพีไอก็ตั้งโรงงานซิเมนต์ขึ้นมาแข่งขัน ในสายตาของคนทั่วไปมองว่า
การขยายตัวของเครือซิเมนต์ไทยก็ใช้ ยุทธศาสตร์ครบวงจร ดังนั้น การต่อกรก็ต้องครบวงจรเช่นเดียวกัน
ทำให้โมเ ดลธุรกิจนี้เร้าใจมากขึ้น
แรงขับเคลื่อนนี้ยกระดับกว้างขวางมากขึ้นในช่วงรัฐบาลอานันท์ ปันยารชุน
"เรื่องทั้งหมดต้องโทษ globalization แต่เราไม่ได้โทษตรงๆเพราะว่า สมัยคุณอานันท์เป็นนายกฯ
ไปเร่งเรื่องนี้เปิดเสรี ต้องการ fast track เมื่อต้องการ วิธีเดียว ที่จ
ะเอาชนะ globalization หรือ fast track เพราะว่าเมื่อ เปิดเสรีแล้วต้องลดต้นทุนการผลิต
และวิธี ที่จะลดต้นทุน คือ ต้องทำให้ครบวงจร คือ เริ่มจากน้ำมันแล้วมาเม็ดพลาสติก
เดิมเรามีเฉพาะเม็ดพลาสติกเท่านั้น เรายังไม่มีโรงกลั่น และยังไม่ผลิตแคร็กเกอร์
ถ้ารัฐบาลต้องการคุ้มครองเรา ก็ไม่ไปเร่งสิ่งเหล่านั้น ต้องค่อยๆ ทำไป กำไรเท่าไหร่ก็ขยายไปเรื่อยๆ
คือ อาจจะต้องใช้เวลาสัก 10 ปี เราขอเวลารัฐบาล 10 ปี เ พื่อให้ ครบวงจร
แต่รัฐบาลก็ไม่ยอมพยายาม เร่งให้เราครบวงจรให้ได้ 3-4 ปี ดังนั้น เมื่อรัฐบาลต้องการ
fast track เราก็ต้องทำให้ครบวงจรเร็วกว่า fast track อยู่ๆ
เราต้องเพิศมกล้ามให้เท่ากับฝรั่ง จากรุ่นไลฟ์เวทเป็นเฮฟวี่เวทแล้ว ไปสู้กับต่างชาติไม่ได้
ถ้าเราทำไม่สำเร็จ เราก็โดนเขาต่อย ซึ่งถ้าจะแข่งขัน กับต่างชาติได้มีวิธีเดียว
คือ เร่งสร้างโรงงาน และเร่งขอยืมเงินขนาดหนัก และเร่งเพิ่มทุน ทั้งกู้เงินเข้าตลาดหลักทรัพย์ฯ
เพิ่มทุน เดิมเราจดทะเบียน 2 พันกว่าล้าน เราเพิ่มเป็น 5 พันล้านบาท และเพิ่มเป็น
2 หมื่นล้านบาท ตอนนั้น เราเพิ่มหนักมาก ขณะเดียวกันไปกู้ต่างประเทศมาก จนกระทั่งกู้ต่างประเทศสูงถึง
3 พันกว่าล้านเหรียญสหรัฐ" คำอธิบาย ที่ยืดยาว และให้ อารมณ์ของประชัย เลี่ยวไพรัตน์กับ
"ผู้จัดการ" เมื่อกลางเดือนเมษายน 2543 นี่เอง นับเป็น การให้เหตุผลของความพยายามก้าวเข้าสู่ปิโตรเคม
ีครบวงจร อย่างน่าฟัง
นี่คือ เดิมพันครั้งใหม่ ที่เขาจะต้องสู้กับต่างประเทศ ตามแนวความเชื่อเดิมของเขา
พิมพ์เขียวนี้ถูกวาดขึ้นอย่างชัดเจนในรายงานประจำของทีพีไอในปี 2537 (อ่านจาก
"สู่อนาคตก ับโครงการปิโตรเคมีครบวงจร")
ผู้เชี่ยวชาญด้านปิโตรเคมีของไทยคนหนึ่ง ซึ่งไม่สังกัดทีพีไอบอกว่า แนวทางของทีพีไอครั้งนี้เท่ากับเดินสู่กับดัก ที่น่ากลัวที่สุด
-ทีพีไอลงทุนภายใน 3 ปี สร้าง upst ream integration ด้วยการลง ทุน อย่างหนักอย่างที่ไม่มีใครทำมาก่อน
- ทีพีไอลงทุนด้วยตนเองทั้งสิ้น (กิจการหลักไม่ร่วมทุนเลย) แม้จะซื้อเทคโนโลยีต่างประเทศ
แต่ก็ไม่สามารถสร้างความชำนาญขึ้นในเวลาอันรวด เร็ว เพราะอุตสาหกรรมนี้ในแต่ละขั้นตอนมีความชำนาญ ที่แตกต่างกัน
ทั้ง นี้มาจากความคิดไม่ไว้ใจใคร
- ทีพีไอยังคงยึดมั่นครบวงจรในประเทศไทยเท่านั้น ตามความคิดเถ้าแก่เอเชียนั้น
ซึ่งล้าสมัยไปแ ล้ว ในโลกธุรกิจปัจจุบัน ที่โฟกัสมากขึ้นตามความชำนาญเฉพาะของตนร่วมมือกับคนอื่นๆ
ที่มีความชำนาญมากขึ้น มิได้มุ่ง หวังในการคุมอำนาจการบริหารอย่างเบ็ดเสร็จเช่นอดีต
ครบวงจรมิได้เป็นคำตอบเรื่องต้นทุนเสมอไป มิใช่คำตอบผลตอบแทนทางธุรกิจที่ดีเสมอไป
อย่างไรก็ตาม แนวความคิดนี้ ยังจะต้องพิสูจน์กันต่อไปว่า แนวทางไหนจะถือว่าประสบความสำเร็จ
แนวคิดนี้ได้สร้างให้ทีพีไอกลายเป็นเจ้าของอุตสาหกรรมปิโตรเคมี ที่ครบวงจรที่สุดแห่งหนึ่งในโลก
และเป็นอุตสาหกรรมหนัก ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศ จากความสามารถของพี่น้องตระกูลเลี่ยวไพรัตน์
โดยใช้เวลาเพียง 20 ปี ซึ่งถือว่าเป็นความสำเร็จในภาพรวม ที่ยิ่งใหญ่ทีเดียว
เผอิญทีพีไอโชคร้าย ผลักดันแนวคิดนี้ในช่วงไม่เหมาะ เมื่อเศรษฐกิจเผชิญกับวิกฤติ
จึงทำให้ทีพีไอมีปัญหาทางการเงิน ที่รุนแรงที่สุด แต่อย่างไรก็ตาม ภาพครบวงจรของพวกเขาก็เสร็จสิ้นพอดี
นอกเหนือสิ่ง อื่นใดสิ่งที่ประชัยผิดพลาดประการสำคัญ ไม่ใช่เรื่องข้างต้น
นักวิเคราะห์เชื่อว่าเป็นเรื่องการเดินเกมเข้าสู่เขาควายอย่างที่ตนเองไม่รู้มาก่อนหรือไม่ก็ตาม
นักวิเคราะห์เชิงยุทธศาสตร์คนหนึ่งบอกว่า ความสามารถในการดีลกับรัฐ ไม่สามารถจะใช้อย่างกว้างกับโลกการเงินได้
เช่นเดียวกับทีพีไอ ซึ่งกลายเป็น "สัญลักษณ์" ในการเจรจาต่อรองระหว่างรัฐไทยกับอำนาจการเงินโลก
ซึ่งรัฐบาลไทย ไม่มีทางชนะ โ ดยเฉพาะภายใต้การบริหารของรั0บาลชุดนี้ ซึ่งมีความเห็นคล้อยตามกับอำนาจการเงินโลกมาแต่ต้น
<$d>
"คุณประชัย เดินเข้ากับดักอย่างไม่รู้ตัวในกระบวนการปรับโครงสร้างธุรกิจไทย
ให้สอดคล้องกับมาตรฐานของตะวันตก ที่อ้างว่าเป็นมาตรฐานโลก" เขาเน้น
สื่อตะวันตกให้ความสนใจเรื่องทีพีไออย่างไม่เคยปรากฏมาก่อน มิใช่เรื่องถูกต้องหรือเป็นธรรมหรือไม่
หากแต่อยู่ในเกมการต่อสู้ "ถ้าผมเป็นคุณ ประชัย ซึ่งวิเคราะห์การเมืองไทยเก่งมากคนหนึ่ง
จะต้องวิเคราะห์เกมระดับโลกด้วย เพราะเขาอยู่ในเกมระดับโลกมาตั้งแต่คิดแผนปิโตรเคมีครบวงจร"
กับดักอันสุดท้ายน่ากลัวที่สุด
บางคนบอกว่า ประชัยน่าจะรู้มานานแล้วถึงผลท ี่จะออกมาเมื่อวันที่ 19 เมษายน
แต่เขาก็อาจไม่เข้าใจ
แม้ว่าเรื่องนี้จะเกี่ยวข้องหรือไม่ก็ตาม
กล่าวคือ เมื่อวันที่ 16 มีนาคม แก้วขวัญ วัชโรทัย เลขาธิการสำนักพระราชวัง
ซึ่งดำรงตำแหน่งรองประธานทีพีไอ ยื่นจดหมายลาออกจากกรรมการทีพีไอ ซึ่งเขาเข้ามาดำรงตำแหน่งตั้งแต่ปี
2539
บทเรียนของประชัย เลี่ยวไพรัตน์ ในฐานะผู้ประกอบการที่มีความเป็นเลิศในการประกอบการอุตสาหกรรมคนหนึ่งในยุคนี้ก็คือ
การพัฒนาความสามารถในการวิเคราะห์เชิงยุทธศาสตร์ในระดับโลก ซึ่งเข้ามาเกี่ยวพันกับธุรกิจระดับโลกของพวกเขาแล้ว
แม้ว่าธุรกิจของพวกเขาจะอยู่ในประเทศไทยก็ตาม
การเรียนรู้ และต่อสู้กับฝรั่งนั้น มีมิติมากกว่า ที่คิดไว้มากทีเดียว