มือขวาของเจริญในแบงก์มหานคร


นิตยสารผู้จัดการ( ตุลาคม 2532)



กลับสู่หน้าหลัก

เจริญ สิริวัฒนภักดี เป็นคนใจกว้างต่อคนทั่วไป ที่สำคัญเขาเป็นคนมีสปิริตอย่างสูงต่อญาติในครอบครัวเอามากๆ

เจริญยิ่งใหญ่ขนาดไหนในวงการค้าที่ดิจและธุรกิจอุตสาหกรรมสุราในเมืองไทยเป็นที่รู้ก้นได้

แต่คนทั่วไปคงไม่รู้หรอกว่าเจริญมีมือขวาอยู่คนหนึ่งที่เขาไว้ใจและเชื่อถือในความซื่อสัตย์และความสามารถมาก คนที่ใกล้ชิดเจริญเคยบอกกับ"ผู้จัดการ" ว่า

เขาเป็นคนเรียนหนังสือน้อยแต่ความจำเป็นเลิศ ลูกน้องของเขาถ้าเป็นนักบัญชีด้วยย่อยมีโอกาสเป็นที่รักใครไว้ใจของเจริญมาก เหตุผลง่ายๆก็เพราะเจริญทำธุรกิจด้วยความเชื่อในตัวเลยทางบัญชีมากๆ

เมื่อ อุทัย อัครพัฒนากุล กรรมการผู้จัดการใหญ่แบงก์มหานครซึ่งเป็นคนของเจริญที่มาอยู่แบงก์นี้ มีปูมหลังเป็นนักบัญชีเก่าเคยตรวจสอบบัญชีให้บริษัทหลายบรษัทในเครือของเจรอญมาตั้งเกือบ 10 ปี

มาแล้ว เช่น บริษัท ทีซีซี ทรัพย์สินเจริญ จำกัด ซึ่งทำธุรกิจถ้าที่ดิน จึงไม่พักต้องสงสัยว่าเจริญจะไว้ใจและเชื่อถือในความสามารถของอุทัยมาก อุทัยจบ MBA (การเงิน)จากมหาวิทยาลัยอีสเทิร์น

นิวเม็กซิโก สหรัฐฯเคยผ่านการฝึกอบรมด้านแบงกิ้งที่ AIM มะนิลา มีประสบการณ์ด้านการบริหารงานมาแล้วหลายแหล่ง ไม่ว่าจะเป็นที่แบงก์ชาติฝ่ายกำกับตรวจสอบ เอสโซ่สแตนดาร์ดเป็น

CORESPONDENT BANKER ที่ซิตี้คอร์ป กรุงเทพฯ อยู่ที่ซิตี้ครอ์ป 4 ปี พอดีศรินทร์ นิมมานเหมินท์ ซึ่งขณะนั้นเป็นผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่อยู่ที่แบงก์เอเชีย มาชวนให้ไปอยู่ฝ่ายธนาคารต่างประเทศ

อยู่ที่แบงก์เอเชีย 3 ปี ก็ย้ายมาอยู่ที่เครดิตฟองซิเอร์ สินเคหะการ ในตำแหน่งรองกรรมการผู้จัดการใหญ่ "ช่วงเวลานั้น ผมรู้จักกับเจริญแล้ว

ท่านให้ผมเป็นผู้ตรวจสอบบัญชีบริษัทหลายแห่งในกลุ่มของท่าน"อุทัยเล่าย้อนอดีตให้ "ผู้จัดการ"ฟังถึงที่มาการรู้จักกับเจริญ อุทัยทำงานอยู่กับสินเคหะการอยู่ดีๆ เจริญซึ่งขณะนั้นเข้าไปเทคโอเวอร์

บงล.มหาธนกิจ ก็ใส่ชื่ออุทัยเข้าไปเป็นรองประธานกรรมการบริษัท โดยอุทัยเองก็ไม่รู้ตัวก็เลยต้องออกจากสินเคหะการมาอยู่มหาธนกิจ มหาธนกิจเวลานั้น(ปี 2528) มีผลการดำเนินการขาดทุนประมาณ

55 ล้านบาทอุทัยต้องแก้ปัญหาการขาดทุนนี้ให้ได้ "ผมถือว่าสภาพเช่นนี้เป็นสิ่งท้าทาย และที่สำคัญ นาย(เจริญ)ไว้ใจผมมากจึงส่งผมมาแก้ปัญหาที่นี่ให้สำเร็จ"อุทัยกล่าวกับ"ผู้จัดการ"

อุทัยแก้ปัญหาขาดทุนที่มหาธนกิจได้สำเร็จในเวลา 2 ปีกว่าเท่านั้น ก็สำเร็จสามารถล้างการขาดทุนได้หมด แล้วเจริญก็ดึงตัวเขากลับมาอยู่ที่ ทีซีซี ข้างๆ เขา "ตอนแก้ปัญหาที่มหาธนกิจ ช่วง 6 เดือนแรก

มัน PANIC คนมาถอนตั๋ว P/N กันมาก ทางกลุ่มทีซีซีก็ช่วยยันไว้จัด P/N gเข้ามาเป็นระลอกๆ ขณะเดียวกันก็ป้อนธุรกิจมาให้มหาธนกิจ รวมเบ็ดเสร็จแล้ว ผมโชคดีที่ได้กลุ่มทีซีซีเข้ามาช่วยถึงเกือบ 400

ล้านบาท ทำให้แก้ปัยหาสภาพคล่องตกไปได้พร้อมกับมีธุรกิจเข้ามาป้อนทำรายได้ให้บริษัทอย่างต่อเนื่องด้วย ตอนผมออก(กลางปี 2530) ปรากฏว่าบริษัทมหาธนกิจมีกำไรสุทธิ 1 ล้านกว่าบาท " อุทัยเล่า

เมื่ออุทัยกลับมาอยู่ทีซีซี เขาคุมงานด้านสายงานบัญชีและการเงินของกลุ่มทั้งหมด แม้แต่เวลาเจริญประสงค์เข้าซื้อหุ้นในตลาด ซึ่งส่วนใหญ่เป็นหุ้นแบงก์ ก็ได้อุทัยนี่แหละเป็นกุนซือคู่ในคอยแนะนำให้

ถ้าจะพูดว่าอุทัยเป็นมือขวาของเจริญก็ไม่ผิด!นรฤทธิ์ โชติกเสถียร เคยเล่าให้ "ผู้จัดการ" ฟังว่า ตอนที่เขาขายหุ้นอาคเนย์ประกันภัยในกลุ่มของเขา 40 %ให้แก่บริษัททีซีซีธุรกิจของเจริญ

ก็มีอุทัยนี่แหละเป็นคนช่วยเจริญในการซื้อครั้งนั้น ทุกวันนี้ อุทัยนั่งอยู่ ธ.มหานครในฐานะคนของเจริญ เขาเพิ่งเข้ามาอยู่ทีแบงก์แห่งนี้ไม่นานเพียง 6 เดือนเท่านั้นๆเรียกว่าเก้าอี้ยังอุ่นๆอยู่เลย

อุทัยเข้ามากินตำแหน่งแทนภุชงค์ ชาญธนากิจ หรือ ฮั่งชองตั้งที่เจริญดึงกลับไปอยู่ทีซีซี

อุทัยมีบุคลิกนอบน้อมรูปร่างอ้วนท้วน สำเนียงภาษาบ่งบอกถึงความสามารถที่จะพูดเจรจา กับกลุ่มลูกค้าชาวจีนที่เป็นฐานตลาดสำคัญที่สุดของแบงก์มหานครได้เหมาะสมมาก

เจริญเลือกเขามาอยู่ที่แบงก์เป็นการตัดสินใจที่ไม่ผิดเลย



กลับสู่หน้าหลัก

Creative Commons License
ผลงานนี้ ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย



(cc) 2008 ASTVmanager Co., Ltd. Some Rights Reserved.