เรือคะยัค (KAYAK) เดิมเป็นเรือของชาวเอสกิโม ที่ใช้ในการล่าสัตว์ แต่ปัจจุบันเรือชนิดนี้ถูกพัฒนา
เพื่อใช้สำหรับการท่องเที่ยวแนวผจญภัยมากขึ้นแบ่งเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ เรือคะยัคสำหรับล่องแก่ง
และเรือคะยัคสำหรับสู้คลื่นลมในทะเลหรือ ซีคะยัค
จากขอมูลของททท. กิจกรรมพายเรือคะยัคในประเทศไทยส่วนใหญ่ เป็นซีคะยัค ที่นิยมเล่นกันอยู่ทางภาคใต้
โดยเฉพาะบริเวณอ่าวพังงา ซึ่งนักท่องเที่ยวนิยมพายไปเที่ยวชมทัศนียภาพแปลกใหม่ตามเกาะ
และลอดเข้าไปตาม ถ้ำต่างๆ โดยมีบริษัททัวร์รับจัดการเรื่อง เส้นทาง และ ที่พักให้พร้อม
ส่วนเรือคะยัคล่องแก่งนิยมเล่น กันตามลำน้ำ ที่ไหลผ่านป่าเขา เช่น แม่น้ำแควน้อย
แควใหญ่ ในกาญจนบุรี ห้วยแม่กลองในอำเภออุ้มผาง จังหวัดตาก แม่น้ำแม่แตง
เชียงใหม่ แม่น้ำแม่กก เชียงราย ซึ่งจะมีบริษัททัวร์ ให้บริการทั้งการเดินทาง
อาหาร ที่พัก และ อุปกรณ์ พร้อมกับสอนเทคนิคการพายเรือให้เสร็จสรรพ
แต่หากจะพูดถึงความนิยมการเล่นเรือคะยัคในจังหวัดชลบุรีแล้ว ค่อนข้างจะแตกต่างออกไป
เพราะกิจกรรมเรือคะยัคของ "ชมรมเรือพายจังหวัดชลบุรี" มี ที่มาต่างจากกิจกรรมเรือคะยัคทั้งสองแบบข้างต้น
ชมรมเรือพายจังหวัดชลบุรี เกิดขึ้นจากการบุกเบิกของ ฤือชัย กาญจนวนิช นักธุรกิจด้านค้าปลีกจากกรุงเทพฯ
หนึ่งในสมาชิกชมรมจักรยานเสือภูเขา ที่ต้องการแสวงหากิจกรรมท่องเที่ยวเชิงผจญภัยแนวใหม่หลังบุกเบิกเส้นทางบนบกมาจนทั่วแล้ว
และมีกลุ่มแพทย์-นักธุรกิจในจังหวัด ที่ต้องการบุกเบิกการท่องเที่ยวแนวใหม่เข้าร่วม
ฤือชัย ซึ่งมีบ้านพักอยู่บริเวณริมอ่างเก็บน้ำบางพระ ได้ซื้อเรือซีคะยัคเข้ามาพายเล่นในอ่างเก็บน้ำบางพระ
ตั้งแต่ เมื่อ 4 ปี ก่อน และเผยแพร่สู่สมาชิกในกลุ่มเดียวกัน จนปัจจุบันจำนวนเรือซีคะยัคในกลุ่มมีจำนวนกว่า
10 ลำ จึงได้ตั้งเป็นชมรมเรือพายชลบุรี ขึ้นมา และให้นายแพทย์กฤษดา บานชื่น
นายแพทย์ประจำโรงพยาบาลชลบุรี ผู้ชื่นชอบกิจกรรมท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ กึ่งผจญภัย
เป็นประธาน
กฤษดาบอกว่า จำนวนเรือซีคะยัคมีไม่เพียงพอกับจำนวนผู้สนใจ เพราะการหาซื้อเรือซีคะยัคในประเทศทำได้ไม่ง่ายนัก
เนื่องจากมีผู้ผลิตเพียงรายเดียว คือ บริษัทซี สปอร์ต จำกัด ซึ่งรับผลิตเรือคะยัคจากไฟเบอร์
ออฟติกราคา ลำละประมาณ 3 หมื่นบาท ขณะที่การสั่งซื้อจากต่างประเทศค่อนข้างลำบาก
เพราะจะต้องผ่านขั้นตอนการนำเข้ามากมาย การเล่นเรือซีคะยัคจึงจำกัดอยู่ในกลุ่มผู้ที่
ชื่นชอบจริงๆ เท่านั้น
เส้นทางเรือซีคะยัคของชมรมเรือพายชลบุรี มี 4 เส้นทาง เส้นทางแรก นำเรือมาจอดเทียบ
ที่บริเวณแนวชายทะเลจังหวัดชลบุรี หน้าศาลาร่วมใจชล เพื่อพายเรือฝ่าคลื่นลมทะเลออกไปยังกระชังปลา
ที่ชาวบ้านเลี้ยงไว้กลางทะเล การพายเรือออกไปแต่ละครั้งสมาชิกสามารถซื้อปลาในกระชังนำไปให้ร้านอาหาร
ที่ลอยอยู่กลางทะเลปรุงให้รับประทานก่อนพายเรือกลับ
เส้นทาง ที่ 2 พายเรือออกไปยังปากแม่น้ำบางปะกง เพื่อชมธรรมชาติ 2 เส้นทางแม่น้ำ
และชมนกกาน้ำ ที่อาศัยอยู่บนเกาะร้างกลางปากแม่น้ำบางปะกง เส้นทางนี้ผู้พายเรือจะต้องนำเรือซีคะยัค
บรรทุกใส่รถยนต์ เพื่อนำเรือไปเทียบท่า ที่บริเวณตลิ่งแม่น้ำ ซึ่งลงได้หลายจุด
ก่อนพายเรือออกไปชมต้นตะบูน ที่ปลูกอยู่บริเวณ 2 ข้างทาง นอกจากนั้น สำหรับผู้ที่ชื่นชอบการล่องแก่ง
แม่น้ำบางปะกงก็มีแก่งให้ล่องเช่นกัน โดยผู้ที่ต้องการล่องแก่งจะพายเรือย้อนมาทางด้านหลังของปากแม่น้ำ
เพื่อผจญกับแก่ง ที่เกิดจากการปล่อยน้ำหล่อเย็นของโรงไฟฟ้าบางปะกง ซึ่งมีลักษณะเกือบจะเหมือนแก่งธรรมชาติ
ที่ให้ความ สนุกตื่นเต้นกับผู้รักการผจญภัยได้เป็นอย่างดี
เส้นทาง ที่ 3 ล่องไปตามคลองบ่อ ทอง ซึ่งเป็นเส้นทางน้ำธรรมชาติ ที่ยาวที่สุดในจังหวัด
ไหลจากอำเภอบ่อทองลง สู่แม่น้ำบางปะกง มีระยะทางประมาณ 70-80 กิโลเมตร การพายเรือซีคะยัคผ่าน
เส้นทางสายนี้ ผู้พายต้องพบอุปสรรค นานัปการ เริ่มตั้งแต่พายเรือผ่านป่าอ้อย
ที่ปลูกมากในอำเภอบ่อทอง ซึ่งจะต้องพกมีดสำหรับฟันอ้อย ที่หักลงมาขวางเส้นทางน้ำ
บางครั้งยังต้องลงจากเรือ เพื่อแบกเรือผ่านเส้นทางน้ำ ที่ตื้นเขิน การผจญภัยเส้นทางนี้ถือว่าเป็นทั้งการท่องเที่ยว
และการผจญภัยแบบสุด ๆ เช่นกัน
เส้น ที่ 4 กำลังถูกบรรจุให้เป็นเส้นทางท่องเที่ยวทางธรรมชาติแห่งใหม่ในจังหวัดชลบุรี
คือ การพายเรือซีคะยัคชมป่าชายเลน ที่ปัจจุบันถือเป็นพื้นที่ป่าชายเลน ผืนสุดท้ายของจังหวัด
มีเหลือไม่ถึง 500 ไร่ เริ่มจากนำเรือซีคะยัคมารวมกัน ที่บริเวณหมู่บ้านเทศบาลชลบุรี
หน้าศาลาร่วมใจชล ก่อนนำเรือพายลัดเลาะไปตามเส้นทางป่าชายเลน ไปสิ้นสุด ที่บริเวณหลังหมู่บ้านริมทะเล
ตลอดเส้นทางผู้พายจะได้ชมธรรมชาติ และนกนานาชนิด รวมทั้งยังได้รับรู้ถึงความร่มรื่น
ที่เกิดจากต้นไม้ ที่ขึ้นปกคลุม 2 ข้างทาง เส้นทางนี้มีความยาวประมาณ 5 กิโลเมตร
ในบางโอกาสสมาชิกของชมรมเรือพายชลบุรี ยังได้รวมตัวกันพายเรือซีคะยัค ออกไปยังปากแม่น้ำบริเวณตำบลบางทรายจังหวัดชลบุรี
เพื่อชมปลาโลมาเผือก ที่มักว่ายเข้ามาติดกระชังปลาของชาวประมงเป็นประจำ
การพายเรือซีคะยัคออกไปชมปลาโลมาเผือกใช้เวลาไม่นาน เพราะจุดชมปลาโลมาเผือกห่างจากฝั่งแม่น้ำตำบลบางทรายเพียง
2-3 กิโลเมตร
กฤษดา บานชื่น ประธานชมรมเรือพายชลบุรี เล่าว่า การพายเรือซีคะยัคในแต่ละเส้นทาง
จะใช้เวลาประมาณ 4-5 ชั่วโมง ชั่วโมงหนึ่งจะพายได้ประมาณ 1-2 กิโลเมตร เนื่องจากเรือซีคะยัคเป็นเรือขนาดเล็ก
ที่ต้องอาศัยกำลังงาน และความชำนาญ ในการพายเป็นอย่างยิ่ง
ความสนุกสนานของการพายเรือซีคะยัค นอกจากได้ชื่นชมความงามตามธรรมชาติแล้ว
การแก้ปัญหา และอุปสรรคข้างหน้ายังเป็นสิ่งท้าทายใหม่ของผู้รักการผจญภัย
ที่สำคัญเรือซีคะยัคสามารถทนต่อกระแสน้ำ และคลื่นลมได้เป็นอย่างดี