loxinfo รวม CS internet

โดย ไพเราะ เลิศวิราม
นิตยสารผู้จัดการ( สิงหาคม 2545)



กลับสู่หน้าหลัก

การรวมกิจการในครั้งนี้ แม้จะเป็น ครั้งแรกของการผนึกกิจการระหว่างไอเอสพี รายใหญ่ 2 ราย ที่เกิดขึ้นท่ามกลางความ ตกต่ำของธุรกิจดอทคอม ซึ่งทั้งสองเชื่อว่า การรวมกันในครั้งนี้จะช่วยเพิ่มขีดความ สามารถในการแข่งขัน จากการลดต้นทุน ที่ซ้ำซ้อนลงได้

ภายใต้ข้อตกลงที่เกิดขึ้น ทั้งสอง จะร่วมจัดตั้งบริษัทร่วมทุนใหม่ ในชื่อบริษัท ซี.เอส. ล็อกซอินโฟ โดยบริษัท ซี.เอส.คอม มิวนิเคชั่นส์ จะเข้าถือหุ้นในสัดส่วน 51% และบริษัทพอยท์เอเซีย ซึ่งเป็นบริษัทแม่ ของล็อกซอินโฟ จะถือหุ้น 49%

การผนึกกำลังในครั้งนี้ นอกจาก ทำให้ทั้งสองกลายเป็นไอเอสพี อันดับ 1 มีฐานลูกค้ารายย่อยรวมกันเป็น 350,000 ราย และฐานลูกค้าองค์กร 500-600 ราย มียอดขาย 1,000 ล้าน ยังมีเป้าหมายอยู่ที่ การลดต้นทุนในการทำธุรกิจลง

ว่าไปแล้ว ล็อกซอินโฟ ตกอยู่ใน ฐานะที่ลำบากกว่าซีเอสอินเทอร์เน็ต มาก นัก เนื่องจากขาดเงินทุน และโมเดลธุรกิจ ดอทคอมที่ชัดเจน ยิ่งมาเจอภาวะตกต่ำ ของธุรกิจดอทคอมด้วยแล้ว สถานการณ์ ก็ยิ่งแย่ลง จนเริ่มล่าถอยออกจากธุรกิจมา พักหนึ่งแล้ว ทั้งการลดคน และปรับธุรกิจ ทางออกของพวกเขาจึงมีไม่มากนัก

วสันต์ จาติกวณิช มองว่า "ไม่ใช่ เรื่องอยู่รอด แต่เป็นการลดความเสี่ยงให้ น้อยลง ถ้าดูเรื่องของต้นทุนแล้ว มันลดลง ได้ทันที อย่างกรณี ถ้าเราซื้อวงจรต่าง ประเทศ 2 รายรวมกันซื้อ 150 เมกะบิต ถูกกว่าซื้อ 50 เมกะบิต"

ก่อนหน้านี้ล็อกซอินโฟ ก็เคยเจรจา เพื่อรวมกิจการกับเคเอสซี ของกลุ่ม MIH แต่ตกลงกันไม่ได้ ส่วนดีลในครั้งนี้ที่สำเร็จ ลงได้ ส่วนหนึ่งเป็นเพราะสิงค์เทลทำหน้าที่ เป็นคนกลาง นอกจากจะถือหุ้นในล็อกซ อินโฟแล้ว สิงค์เทลยังถือหุ้นอยู่ในชินคอร์ป และเอไอเอส จนถึงวันนี้สิงค์เทลยังไม่ได้รับ ประโยชน์จากการลงทุนในล็อกซอินโฟ การนำมารวมกับ ซีเอส อินเทอร์เน็ต น่าจะเป็นทางออกอย่างหนึ่งของสิงค์เทลเอง ใน การที่จะทำให้สถานการณ์ของล็อกซอินโฟ ดีขึ้น

สำหรับ ซีเอสอินเทอร์เน็ตนั้น นอก จากมีฐานเงินทุน และดาวเทียมไอพีสตาร์ เป็นธุรกิจดาวรุ่งแล้ว ซึ่งกำลังจะยิงขึ้นใน ปีหน้า และโครงสร้างธุรกิจของไอพีสตาร์ ก็แตกต่างไปจากไทยคม ไม่ใช่เรื่องของ การขายทรานสปอนเดอร์เพียงอย่างเดียว แต่มีโมเดลลงรายละเอียด ที่ต้องทำตลาด เข้าถึงลูกค้าในระดับองค์กรธุรกิจ ฐาน ลูกค้าองค์กรของล็อกซอินโฟ จะเป็นส่วน ช่วยให้การเข้าถึงลูกค้าเป็นไปได้ดีขึ้น

"เรามีดาวเทียมไอพีสตาร์ มีความ สามารถด้านดาวเทียม ที่ล็อกซอินโฟไม่มี ในขณะที่ล็อกซอินโฟอยู่ในตลาดอินเทอร์ เน็ตมานานกว่า เข้าใจความต้องการของ บริษัทห้างร้านได้ดีกว่า เพราะอยู่ในตลาด มาก่อนเรา" ดร.ดำรงค์ เกษมเศรษฐ์ ประธานกรรมการ บริษัทชินแซทเทลไลท์ จำกัด บอก

ดร.ดำรงค์เชื่อว่า ต่อจากนี้ไอเอสพี จะมีการรวมกิจการกันมากขึ้น เพื่อลด ต้นทุนให้ต่ำที่สุด "มันเป็นการบีบให้ผู้ ประกอบการต้องรวมกัน เพื่อให้ฐานใหญ่ ขึ้น บริหารต้นทุนได้ ลูกค้าเขาไม่สนใจว่า คุณจะทำอย่างไร ขอให้ได้ราคาที่ต้องการ ก็พอ"

จะว่าไปแล้ว การรวมกันของธุรกิจ ไอเอสพีไม่ใช่เรื่องที่เกินความคาดหมาย แต่เป็นกระแสที่ต้องเกิดขึ้นไม่ช้าก็เร็ว

มีผู้ให้บริการที่ได้รับใบอนุญาตจาก การสื่อสารแห่งประเทศไทย (กสท.) ถึง 18 ราย แต่เอาเข้าจริงแล้ว กลับมีผู้เปิดทำ ธุรกิจอย่างจริงจังเพียงแค่ 6-7 ราย และทุกวันนี้พวกเขาก็ยังต้องประสบกับความ ผันผวนทางธุรกิจอย่างต่อเนื่อง

ไอเอสพีหลายแห่งต้องขวนขวาย หาพันธมิตรข้ามชาติเข้ามาถือหุ้น โดยหวัง จะใช้เงินทุนและเครือข่ายมาช่วยสร้าง โอกาสใหม่ๆ ในขณะที่บางรายก็ขายทิ้ง ธุรกิจออกไป เช่น กลุ่มดาต้าแมท ที่ขาย บริษัทดาต้าลายไทยไปให้กับบริษัทอาร์ค ไซเบอร์ และบางรายก็กำลังหาข้อตกลง ในการรวมกิจการ เช่น กรณีของแปซิฟิก อินเตอร์เน็ต

ภาระหนักของธุรกิจไอเอสพี อยู่ที่ ค่าเช่าวงจรระหว่างประเทศ เป็นโครงสร้าง ต้นทุน มากกว่า 60-80% เป็นสิ่งที่ไอเอสพี ทุกรายต้องยอมรับ

"มันเป็น fix cost ไม่ว่าจะมีลูกค้า หรือไม่มีลูกค้า ไอเอสพีก็ต้องเสียค่าเช่า วงจร ซึ่งเป็นต้นทุนส่วนใหญ่ที่ต้องบริหาร ให้ดี" ตฤณ ตัณฑเศรษฐี กรรมการผู้จัด การ บริษัทอินเทอร์เน็ต ประเทศไทย บอก ถึงปัญหาที่ไอเอสพีต้องเผชิญ

ในขณะที่รายได้หลักของไอเอสพี มาจากค่าให้บริการอินเตอร์เน็ตหรือ access ที่นับวันจะลดต่ำลงเรื่อยๆ เนื่องจากไอเอสพี ทุกราย ต่างก็หันไปใช้นโยบายด้าน "ราคา" เพื่อหวังจะใช้เป็นแรงจูงใจในการขยายฐาน ลูกค้าให้เร็วที่สุด เพื่อให้คุ้มกับค่าเช่าวงจร ที่จ่ายออกไป

เมื่อรายได้ไม่คุ้มค่าใช้จ่าย ไอเอสพี ส่วนใหญ่จึงพยายามหันมามุ่งเน้นไปที่กลุ่ม ลูกค้าองค์กร หรือสร้างบริการใหม่ๆ ที่จะรองรับกับกลุ่มลูกค้าเหล่านี้ เช่น ธุรกิจอิน เทอร์เน็ตดาต้าเซ็นเตอร์ (ไอดีซี) หรือการ เป็นผู้ให้บริการให้เช่าพื้นที่และดูแลระบบ คอมพิวเตอร์ให้กับลูกค้าองค์กร และให้เช่า แอพพลิเคชั่นซอฟต์แวร์ หรือ Application Service Provider

แต่เอาเข้าจริงแล้ว ธุรกิจไอดีซีที่ต้อง ใช้เงินลงทุนจำนวนไม่น้อย กลับยังไม่ได้รับ ความนิยมเท่าที่ควร เนื่องจากธุรกิจส่วน ใหญ่ ยังคงต้องการดูแลเซิร์ฟเวอร์ของตัวเอง

ที่แย่ยิ่งไปกว่านั้นก็คือ การรุกเข้า ทำตลาดของผู้ให้บริการโทรศัพท์ (opera-tor) ทั้งองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย และเทเลคอมเอเซีย เปิดให้บริการอินเทอร์ เน็ต โดยเฉพาะในส่วนของ ทศท. ที่ให้ บริการอินเทอร์เน็ตฟรีผ่านเว็บไซต์ www. totonline.net ผู้ใช้เพียงแต่เสียค่าโทรศัพท์ ครั้งละ 3 บาท ก็สามารถใช้อินเทอร์เน็ตได้ ก็ยิ่งทำให้ไอเอสพีตกอยู่ในที่นั่งลำบาก มากขึ้น หลายคนเชื่อว่า โครงสร้างธุรกิจ อินเทอร์เน็ต ในส่วนที่เป็นลูกค้าส่วนบุคคล ได้ถูกทำลายลงไปแล้ว

ศุภชัย เจียรวนนท์ ประธานเจ้า หน้าที่บริหาร บริษัทเทเลคอมเอเซีย คอร์ปอเรชั่น ก็เชื่อว่า ภายใต้สถานการณ์ ที่เกิดขึ้น ธุรกิจไอเอสพีคงจะมีการรวม กิจการกันมากขึ้น

"แนวโน้มของการรวมกิจการ ไอเอสพี ในธุรกิจนี้คงมีการรวมกิจการกัน" ศุภชัยบอก "ธุรกิจไอเอสพีเป็นธุรกิจที่ขาย access พอมาเจอผู้ให้บริการโครงข่าย โทรศัพท์อย่างองค์การโทรศัพท์ หรือ ทีเอ ที่ขาย access อยู่แล้ว ก็สู้ยาก" ทางออกของผู้ประกอบธุรกิจไอเอส พีในความเห็นของเขา นอกจากจะรวม กิจการกันแล้ว ไอเอสพีจำเป็นต้องมีเนื้อหา หรือ content และ application จะมี เฉพาะการให้บริการ access อินเทอร์เน็ต อย่างที่เป็นอยู่ไม่ได้

"ต่อไป เขาจะต้องเป็น end to end service provider คือ เวลามีปัญหา เขาจะต้องแก้ปัญหาให้ลูกค้าได้ ไม่ใช่มี ปัญหาแล้ว ให้ไปคุยกับ ทศท. หรือทีเอ จึง จะรักษาฐานลูกค้าไว้ได้"

ศุภชัยเชื่อว่า ในที่สุดแล้วจะเหลือ ผู้ให้บริการไอเอสพี และใน 2-3 รายนี้จะมีเนื้อหา และ application แล้ว ยังต้องมี การบริหารต้นทุนในเรื่องของเกตเวย์ด้วย

ปัจจุบัน ทีเอมีรายได้จากธุรกิจ ไอเอสพี อินเทอร์เน็ต 400-500 ล้านบาท ฐานลูกค้า 2 แสนราย นอกจากจะมีข้อได้ เปรียบจากการเป็นผู้ให้บริการโทรศัพท์ ช่วยสามารถเกื้อกูลธุรกิจไอเอสพี ทั้งต้นทุน ธุรกิจได้อย่างเห็นผลแล้ว

ทีเอกำลังอยู่ระหว่างการขยายไปสู่ บริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง ผ่านเครือ ข่ายบรอดแบนด์ และมุ่งอยู่กับการแสวงหา ความร่วมมือในการผลิต content และ application ที่จะมารองรับกับบริการเหล่านี้ อย่างไรก็ตาม ยังเป็นคำถามว่า พวกเขาจะทำได้ประสบผลสำเร็จมากน้อยเพียงใด

หลังการรวมกิจการของล็อกซอินโฟ และซีเอสอินเทอร์เน็ต การรวมกิจการระหว่างไอเอสพี ก็อาจกลายเป็นเรื่อง ธรรมดาสำหรับธุรกิจไอเอสพี ที่ต้องแสวงหา ความอยู่รอดในธุรกิจ



กลับสู่หน้าหลัก

Creative Commons License
ผลงานนี้ ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย



(cc) 2008 ASTVmanager Co., Ltd. Some Rights Reserved.