ตลาดคอมพิวเตอร์ในเวลานี้ นอกเหนือ จากตลาดค้าปลีกอย่างพีซี ที่ยังคงดุเดือดแล้ว
ตลาดของ System Integrator หรือ SI ก็เป็น อีกตลาดที่มีการแข่งขันไม่แพ้กัน
ลักษณะของการทำธุรกิจ SI ต่างไป จากการขายฮาร์ดแวร์ หรือซอฟต์แวร์เพียง
อย่างเดียว แต่ครอบคลุมงานตั้งแต่การ ออกแบบ และติดตั้งระบบคอมพิวเตอร์ ฮาร์ดแวร์
และซอฟต์แวร์ ระบบเครือข่าย เรียกว่าเป็นบริการติดตั้งแบบครบวงจร
ลูกค้าจะเป็นหน่วยงานราชการ รัฐวิสาหกิจ เอกชน จะมีตั้งแต่ขนาดเล็กไม่กี่ล้าน
บาท จนไปถึงระดับพันล้านบาท
มีการประเมินว่า มูลค่าของตลาด SI จะอยู่ที่ 30,000 ล้านบาท จากตลาดรวม
60,000 ล้านบาท และคาดว่ามีอัตราการ เติบโต 30% จัดเป็นธุรกิจที่มีแนวโน้มที่ดีกว่าธุรกิจค้าส่ง
เพราะรายได้หลักของ SI ไม่ได้มาจากฮาร์ดแวร์ ที่มีแต่ราคาจะต่ำ ลงเรื่อยๆ
แต่เป็นเรื่องของซอฟต์แวร์และการติดตั้ง
อย่างไรก็ตาม ผู้ประกอบการที่อยู่ในธุรกิจนี้ จำเป็นต้องอาศัย ความชำนาญเฉพาะด้าน
ทั้งทีมงาน เงินทุน และสายสัมพันธ์ที่ดี เพราะส่วนใหญ่จะเป็นงานประมูลโครงการ
ผู้ประกอบการที่อยู่ในตลาดเวลานี้จะมี 6-7 ราย ส่วนใหญ่ เป็นผู้ประกอบการรายเดิม
เช่น กลุ่ม CDG ที่ครองตลาดหน่วยงาน ภาครัฐมาอย่างยาวนาน และในช่วงหลังยังมีบริษัทลูก
คือ LOGIC ที่กำลังมาแรงในตลาดราชการ และเอกชน
นอกจากนี้ยังมีบริษัทไทยสงวนวาณิช ที่กลับเข้ามาอยู่ในตลาด สถาบันการเงิน
บริษัทเมโทรซิสเต็มส์ เป็นบริษัทค้าคอมพิวเตอร์คู่บุญ ของไอบีเอ็มอีกราย
ที่มีบทบาทอยู่ในตลาด SI ในภาคการผลิต ธนาคาร และเอกชน บริษัทยิบอินซอย ยังยืนหยัดอยู่ในตลาดราชการ
เช่นเดียวกับล็อกซเล่ย์ ที่อยู่ในตลาดภาครัฐ หน่วยงานทหาร
ในช่วงหลังยังมีบริษัทที่ปรึกษาข้ามชาติ อย่าง ไพร้ซวอเตอร์เฮาส์ คูเปอร์
และดีพีเอส คอนซัลติ้ง ที่ไม่เพียงแต่ให้คำปรึกษาอย่างเดียวยังขยับขยายเข้ามาในตลาดทางด้าน
SI เพื่อให้บริการแบบเบ็ดเสร็จ
เช่นเดียวกับบริษัทผู้ผลิตคอมพิวเตอร์อย่างเอชพี ไอบีเอ็มซันไมโครซิสเต็ม
ก็หันมาทำตลาดทางด้าน SI เองเช่นกัน เช่นกรณีของ ไอบีเอ็ม ที่ยึดครองอยู่ในตลาดธนาคารมาเป็นเวลายาวนาน
ในขณะที่ เอชพีเองก็เริ่มบุกตลาดเหล่านี้มากขึ้นเรื่อยๆ
สัญญาณของการแข่งขันที่เข้มข้นเรื่อยๆ นี่เอง ทำให้ผู้ประกอบ การขนาดกลาง
ต้องหันมาทบทวนตัวเอง เช่นเดียวกับเหตุผลของ การขายกิจการให้กับดาต้าแมทในครั้งนี้
ก็เป็นเพราะศิริพงษ์ อุ่นทรพันธ์ อดีตเจ้าของ AIT มองว่า การแข่งขันโดยลำพังในธุรกิจ
SI เวลานี้ ไม่ใช่เรื่องง่าย
"การเดินไปคนเดียวโดดๆ คงทำลำบาก" ศิริพงษ์บอก "ผู้ที่ครองตลาดส่วนใหญ่เวลานี้
เป็นบริษัทข้ามชาติ อย่างเอชพี คอมแพค และซัน"
สิ่งที่ศิริพงษ์พยายามบอกก็คือ ไม่ใช่เรื่องของเงินสด 50 ล้านบาท เท่านั้น
แต่เป็นเพราะสถานการณ์ของการแข่งขันในธุรกิจ ที่พวกเขา แข็งแกร่งขึ้น ทั้งเงินทุน
และทีมงาน ที่จะแข่งขันกับบริษัทเหล่านี้ได้
เฉพาะอย่างยิ่ง ในช่วงเวลาที่ความต้องการระบบไอทีของหลาย หน่วยงาน การเปลี่ยนระบบคอมพิวเตอร์ของธนาคาร
การจัดซื้อจัดหา ไอทีของภาครัฐ ภายใต้โครงการต่างๆ ที่กำลังถูกผลักดันให้เป็นรูป
เป็นร่าง สนามรบของธุรกิจ SI ก็ยิ่งดุเดือดเรื่อยๆ